บล.บัวหลวง หวังแชร์อนุพันธ์ปีหน้า 5.2% เตรียมขยายฐานลูกค้าสถาบันในประเทศ-รายย่อยมากขึ้น ปรับปรุงระบบซื้อขายพร้อมกระตุ้นลูกค้าเดิมซื้อขายมากขึ้น หวังรายได้ 80 ล้านบาท คาดวอลุ่ม 1.8 หมื่นสัญญาต่อวันจากปีนี้ 1.5 หมื่นสัญญาต่อวัน “ ผู้บริหาร” แจงมาร์เกตแชร์ปีนี้หด เหลือ 4.8% จากปีก่อน 7.1% เหตุ นักลงทุนหันเทรดหุ้นมากขึ้นจากดัชนีผันผวนรุนแรง –โดนโบรกเกอร์อื่นแย่งจากมีระบบงานดีกว่า
นายมนู ตังทัตสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานผลิตภัณฑ์พิเศษ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)บัวหลวง จำกัด (มหาชน)หรือ BLS เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในธุรกิจอนุพันธ์ปี 2552 ว่า บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์)เฉลี่ยที่ 5.2% โดยบริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้นทั้งในส่วนของลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นอีก 30% จากปัจจุบันที่มีเปิดบัญชีจำนวน 1,100 บัญชี
ทั้งนี้โดยการจัดสัมมนากลุ่มย่อยให้ความรู้แก่นักลงทุนมากขึ้น ให้ข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสนิใจลงทุนและมีการปรับปรุงระบบข้อมูลการซื้อขายบนเว็บไซต์ได้ดีมากขึ้นโดยใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท และกระตุ้นให้ลูกค้าเดิมของบริษัทมีการซื้อขายสม่ำเสมอมากขึ้นเป็น 35-40% จากปัจจุบันที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอเพียง 25% และบริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าสถาบันในประเทศเข้ามาซื้อขายกับบริษัทมากขึ้นในเช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกัน ฯลฯได้อีกประมาณ 3 แห่ง ส่วนลูกค้าต่างประเทศบริษัทจะยังคงมีมอร์แกนสแตนเลย์เพียง 1 แห่งเท่านั้น
สำหรับการที่ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ TFEXจะมีการเปิดซื้อขายฟิวเจอร์ส หุ้นรายตัว (สต็อกฟิวเจอร์ส) 3 ตัว คือ PTT PTTEP และ ADVANC ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 และฟิวเจอรส์ทองคำ (โกลด์ฟิวเจอร์ส)ซึ่งบริษัทมีความพร้อมในการเปิดเซื้อขาย และ ซึ่งบริษัทคาดมูลค่าการซื้อขายอนุพันธ์ปีหน้าเฉลี่ย 18,000 สัญญาต่อวันในปี 2552 แบ่งเป็นฟิวเจอร์SET50 เฉลี่ย 15,500 สัญญาต่อวัน ฟิวเจอร์หุ้นรายตัวเฉลี่ย 1,000 สัญญาต่อวัน ฟิวเจอร์สทองคำเฉลี่ย1,000 สัญญาต่อวัน
อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าปีหน้าจะมีรายได้จากธุรกิจอนุพันธ์ จำนวน 80 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมี 60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทคาดไว้ที่จะมี 75 ล้านบาท จากการที่มาร์เกตปรับตัวลดลง โดย9 เดือนแรกปีนี้ของบริษัทมีรายได้จำนวน 45 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีรายได้ 30ล้านบาท
นายมนู กล่าวว่า มาร์เกตแชร์ปีนี้ของบริษัทปรับตัวลดลงเหลือ 4.8% จากปี2550 ที่มีมาร์เกตแชร์ 7.1% เนื่องจาก ลูกค้าของบริษัทมีการชะลอการซ้อขายจากการที่ดัชนีตลาดหุ้นผันผวนทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหุ้นมากขึ้น และจากการที่มีบริษัทเข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้น ประกอบกับบริษัทยังไม่มีพอร์ตการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน เพราะ ปัจจุบันสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในที่เข้ามาซื้อขายนั้นเป็นสถาบันในประเทศถึง 26% แต่ส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ บลจ.มีเพียง 1-2 รายเท่านั้น
นอกจากนี้ระบบในการซื้อขายของบริษัทยังไม่ค่อยดี ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงในปีหน้าแล้ว โดยมาร์เกตแชร์ของบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง มาอยู่อันดับที่ 2 จากการที่ระบบการซื้อขายของกิมเอ็งดีกว่า และทางบล.ซีมิโก้แชร์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเช่นกัน
นายมนู ตังทัตสวัสดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานผลิตภัณฑ์พิเศษ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)บัวหลวง จำกัด (มหาชน)หรือ BLS เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในธุรกิจอนุพันธ์ปี 2552 ว่า บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์)เฉลี่ยที่ 5.2% โดยบริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้นทั้งในส่วนของลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นอีก 30% จากปัจจุบันที่มีเปิดบัญชีจำนวน 1,100 บัญชี
ทั้งนี้โดยการจัดสัมมนากลุ่มย่อยให้ความรู้แก่นักลงทุนมากขึ้น ให้ข้อมูลข่าวสารประกอบการตัดสนิใจลงทุนและมีการปรับปรุงระบบข้อมูลการซื้อขายบนเว็บไซต์ได้ดีมากขึ้นโดยใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท และกระตุ้นให้ลูกค้าเดิมของบริษัทมีการซื้อขายสม่ำเสมอมากขึ้นเป็น 35-40% จากปัจจุบันที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอเพียง 25% และบริษัทจะมีการขยายฐานลูกค้าสถาบันในประเทศเข้ามาซื้อขายกับบริษัทมากขึ้นในเช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกัน ฯลฯได้อีกประมาณ 3 แห่ง ส่วนลูกค้าต่างประเทศบริษัทจะยังคงมีมอร์แกนสแตนเลย์เพียง 1 แห่งเท่านั้น
สำหรับการที่ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ TFEXจะมีการเปิดซื้อขายฟิวเจอร์ส หุ้นรายตัว (สต็อกฟิวเจอร์ส) 3 ตัว คือ PTT PTTEP และ ADVANC ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 และฟิวเจอรส์ทองคำ (โกลด์ฟิวเจอร์ส)ซึ่งบริษัทมีความพร้อมในการเปิดเซื้อขาย และ ซึ่งบริษัทคาดมูลค่าการซื้อขายอนุพันธ์ปีหน้าเฉลี่ย 18,000 สัญญาต่อวันในปี 2552 แบ่งเป็นฟิวเจอร์SET50 เฉลี่ย 15,500 สัญญาต่อวัน ฟิวเจอร์หุ้นรายตัวเฉลี่ย 1,000 สัญญาต่อวัน ฟิวเจอร์สทองคำเฉลี่ย1,000 สัญญาต่อวัน
อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่าปีหน้าจะมีรายได้จากธุรกิจอนุพันธ์ จำนวน 80 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมี 60 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทคาดไว้ที่จะมี 75 ล้านบาท จากการที่มาร์เกตปรับตัวลดลง โดย9 เดือนแรกปีนี้ของบริษัทมีรายได้จำนวน 45 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีรายได้ 30ล้านบาท
นายมนู กล่าวว่า มาร์เกตแชร์ปีนี้ของบริษัทปรับตัวลดลงเหลือ 4.8% จากปี2550 ที่มีมาร์เกตแชร์ 7.1% เนื่องจาก ลูกค้าของบริษัทมีการชะลอการซ้อขายจากการที่ดัชนีตลาดหุ้นผันผวนทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหุ้นมากขึ้น และจากการที่มีบริษัทเข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้น ประกอบกับบริษัทยังไม่มีพอร์ตการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน เพราะ ปัจจุบันสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในที่เข้ามาซื้อขายนั้นเป็นสถาบันในประเทศถึง 26% แต่ส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ บลจ.มีเพียง 1-2 รายเท่านั้น
นอกจากนี้ระบบในการซื้อขายของบริษัทยังไม่ค่อยดี ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะปรับปรุงในปีหน้าแล้ว โดยมาร์เกตแชร์ของบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง มาอยู่อันดับที่ 2 จากการที่ระบบการซื้อขายของกิมเอ็งดีกว่า และทางบล.ซีมิโก้แชร์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเช่นกัน