บล.บัวหลวง ชี้ หลังก.ล.ต.ยืนยันใช้ค่าคอมมิชั่นขั้นบันใดแบบเดิม จะทำให้ภาพรวมรายได้ธุรกิจโบรกเกอร์หด 10-15% โดยเฉพาะโบรกฯที่มีฐานลูกค้ารายใหญ่จะลดลงถึง 25-30% อีกทั้งส่งผลให้นักลงทุนปรับพฤติกรรมการเทรด หรือยกเลิกบัญชีที่มีอยู่หายแห่ง ยืนยันบล.ทุกแห่งเห็นฟ้องแบบใหม่ และไม่ได้ร้องขอให้เลื่อนเปิดเสรีด้าน“พิเชษฐ”เล็ง กระตุ้นลูกค้าลงทุนผ่านบริษัทมากขึ้น โดยการหันไปให้คำแนะนำการลงทุน “แอ็กคลูซีฟเวลท์” ฟุ้ง 8 เดือนสร้างผลตอบแทนสูงถึง 23%
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง จัดกัด(มหาชน) หรือ BLS เปิดเผยว่า ส่วนตัวมองว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)กำหนดให้คิดอัตราค่าธรามเนียมการซื้อขายขั้นบันไดเดิมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ภาพรวมรายได้ของบล.จะลดลงเฉลี่ย 10-15% จากค่าคอมมิชชั่นปัจจุบันที่ 0.25% ของมูลค่าการซื้อขาย แต่หากบล.ใดมีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีการซื้อขายต่อวัน 20 ล้านบาท จะทำให้รายได้ลดลง 25-30% ส่วนบล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยที่มีการซื้อขายต่อวัน 1-2 ล้านบาทจะทำให้รายได้ลดลง 5-10%
นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนที่มีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์หลายรายนั้น อาจมีการหันมาเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์รายเดียว แต่ก็จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ต้องการได้ข้อมูลการซื้อขายที่หลากหลายนั้นก็จะยังคงเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายรายอยู่ แต่จะมีการหันมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวต่อวัน จากเดิมที่กระจายการเทรดกับหลายโบรกเกอร์ เช่น จากเดิมเทรดกับโบรกเกอร์2 แห่ง แห่งละ 3 ล้านบาทต่อวัน เปลี่ยนมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวภายใน1 วัน หรือเปลี่ยนเป็นบล.ละ 1 สัปดาห์
“เรื่องการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดใหม่นั้น ที่ประชุมของสมาคมโบรกเกอร์ สมาชิกทุกแห่งมีมติเอกฉันท์ให้มีการปรับใหม่ ไม่มีบล.รายใดคัดค้านเลย ซึ่งเราไม่ได้ต้องการให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดให้มีความเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งการใช้ค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดตามประกาศเดิมนั้น จะทำให้โบรกเกอร์ลดลงแน่นอน แต่ละลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับฐานลูกค้าของบล.แต่ละแห่ง หากใครมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เทรดต่อวัน 20 ล้านบาทก็จะลดลงมากกว่าบล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อย”นายพิเชษฐ กล่าว
สำหรับการที่ก.ล.ต.หนุนให้โบรกเกอร์มีการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆมากขึ้นโดยลดการพึ่งพาค่าคอมมิชชั่นนั้น ที่ผ่านมาโบรกเกอร์ทุกแห่งนั้นมีการปรับตัว เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ ฯลฯ นั้นรายได้ยังไม่มากนัก เพราะ เป็นช่วงเริ่มต้นและจะต้องมีการลงทุนเพิ่มนั้น ซึ่งกว่าที่โบรกเกอร์จะมีรายได้และกำไรที่ดีนั้นจะต้องใช้เวลา ประมาณ 2 ปีกว่าจะทำรายได้กับบริษัท และทางโบรกเกอร์ไม่ได้ขอให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บล.บัวหลวงนั้นยืนยันว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวไม่มากนัก เพราะ บริษัทมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขาย 20 ล้านบาทต่อวันไม่มากนัก ซึ่งฐานลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะมีการเทรดอัตราค่าคอมมิชชั่นขั้นบันได ที่ 1 และ 2 ที่มีการเทรด ไม่เกิน1 ล้านบาท และมากกว่า 1ล้านบาทแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายพิเชษฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้มีการให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในรูปแบบ “แอ็กคลูซีฟเวลท์ แก่ลูกค้าในลักษณะแนะนำการลงทุนและการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากการที่บริษัทมีการแนะนำลูกค้าในการจัดพอร์ตในสัดส่วน ลงทุนในหุ้น 39% ลงทุนในตั๋วเงินคลัง 18% พันธบัตรระยะกลาง 3-4ปี 10% พันธบัตรระยะยาว 7-10ปี 4% ลงทุนหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิตBBB+ ขึ้นไป 9% ทองคำ 7% สินค้าโภคภัณฑ์ 6% และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 5% ซึ่งจากการจัดพอร์ตดังกล่าวทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนช่วง 8 เดือน (1ม.ค.-31 ส.ค.)อยู่ที่ 23%
โดย จากการให้คำปรึกษาในการจัดพอร์ตการลงทุนนั้นขณะนี้มีนักลงทุนบุคคล และบริษัทนิติบุคคล ให้ความสนใจเข้ามาปรึกษากับทางบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทางบล.บัวหลวงจะมีความร่วมมือกับทางธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ในการแนะนำลูกค้าให้กับทางบล.บัวหลวงมากขึ้น และผ่านมาทางบริษัทได้มีการให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารในการแนะนำสินค้าการลงทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารไปแนะนำกับทางลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้ามากขึ้นในการเข้ามาลงทุน และทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาชดเชยรายได้ค่าคอมมิชชั่นที่ลดลงในอนาคตที่จะมีการใช้ค่าคอมมิชชั่นขั้นบันได
“การให้บริการแอ็กคลูซีฟเวลท์แก่ลูกค้าเป็นเพียงการให้คำแนะนำเท่านั้นไม่ได้บริหารเงินให้กับลูกค้า แต่บริษัทจะได้รายได้จากการที่ลูกค้ามีการเทรดผ่านบล.เท่านั้น”นายพิเชฐ กล่าว
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง จัดกัด(มหาชน) หรือ BLS เปิดเผยว่า ส่วนตัวมองว่าจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)กำหนดให้คิดอัตราค่าธรามเนียมการซื้อขายขั้นบันไดเดิมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ภาพรวมรายได้ของบล.จะลดลงเฉลี่ย 10-15% จากค่าคอมมิชชั่นปัจจุบันที่ 0.25% ของมูลค่าการซื้อขาย แต่หากบล.ใดมีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีการซื้อขายต่อวัน 20 ล้านบาท จะทำให้รายได้ลดลง 25-30% ส่วนบล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยที่มีการซื้อขายต่อวัน 1-2 ล้านบาทจะทำให้รายได้ลดลง 5-10%
นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนที่มีการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับโบรกเกอร์หลายรายนั้น อาจมีการหันมาเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์รายเดียว แต่ก็จะมีนักลงทุนบางส่วนที่ต้องการได้ข้อมูลการซื้อขายที่หลากหลายนั้นก็จะยังคงเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์หลายรายอยู่ แต่จะมีการหันมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวต่อวัน จากเดิมที่กระจายการเทรดกับหลายโบรกเกอร์ เช่น จากเดิมเทรดกับโบรกเกอร์2 แห่ง แห่งละ 3 ล้านบาทต่อวัน เปลี่ยนมาเทรดกับโบรกเกอร์รายเดียวภายใน1 วัน หรือเปลี่ยนเป็นบล.ละ 1 สัปดาห์
“เรื่องการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดใหม่นั้น ที่ประชุมของสมาคมโบรกเกอร์ สมาชิกทุกแห่งมีมติเอกฉันท์ให้มีการปรับใหม่ ไม่มีบล.รายใดคัดค้านเลย ซึ่งเราไม่ได้ต้องการให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดให้มีความเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งการใช้ค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดตามประกาศเดิมนั้น จะทำให้โบรกเกอร์ลดลงแน่นอน แต่ละลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับฐานลูกค้าของบล.แต่ละแห่ง หากใครมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่เทรดต่อวัน 20 ล้านบาทก็จะลดลงมากกว่าบล.ที่มีฐานลูกค้ารายย่อย”นายพิเชษฐ กล่าว
สำหรับการที่ก.ล.ต.หนุนให้โบรกเกอร์มีการหารายได้จากธุรกิจอื่นๆมากขึ้นโดยลดการพึ่งพาค่าคอมมิชชั่นนั้น ที่ผ่านมาโบรกเกอร์ทุกแห่งนั้นมีการปรับตัว เช่น การทำธุรกิจอนุพันธ์ ฯลฯ นั้นรายได้ยังไม่มากนัก เพราะ เป็นช่วงเริ่มต้นและจะต้องมีการลงทุนเพิ่มนั้น ซึ่งกว่าที่โบรกเกอร์จะมีรายได้และกำไรที่ดีนั้นจะต้องใช้เวลา ประมาณ 2 ปีกว่าจะทำรายได้กับบริษัท และทางโบรกเกอร์ไม่ได้ขอให้มีการเลื่อนเปิดเสรี แต่ขอให้มีการปรับค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ บล.บัวหลวงนั้นยืนยันว่าได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าวไม่มากนัก เพราะ บริษัทมีฐานลูกค้ารายใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขาย 20 ล้านบาทต่อวันไม่มากนัก ซึ่งฐานลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่จะมีการเทรดอัตราค่าคอมมิชชั่นขั้นบันได ที่ 1 และ 2 ที่มีการเทรด ไม่เกิน1 ล้านบาท และมากกว่า 1ล้านบาทแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายพิเชษฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทได้มีการให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในรูปแบบ “แอ็กคลูซีฟเวลท์ แก่ลูกค้าในลักษณะแนะนำการลงทุนและการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจากการที่บริษัทมีการแนะนำลูกค้าในการจัดพอร์ตในสัดส่วน ลงทุนในหุ้น 39% ลงทุนในตั๋วเงินคลัง 18% พันธบัตรระยะกลาง 3-4ปี 10% พันธบัตรระยะยาว 7-10ปี 4% ลงทุนหุ้นกู้เอกชนที่มีอันดับเครดิตBBB+ ขึ้นไป 9% ทองคำ 7% สินค้าโภคภัณฑ์ 6% และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 5% ซึ่งจากการจัดพอร์ตดังกล่าวทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนช่วง 8 เดือน (1ม.ค.-31 ส.ค.)อยู่ที่ 23%
โดย จากการให้คำปรึกษาในการจัดพอร์ตการลงทุนนั้นขณะนี้มีนักลงทุนบุคคล และบริษัทนิติบุคคล ให้ความสนใจเข้ามาปรึกษากับทางบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทางบล.บัวหลวงจะมีความร่วมมือกับทางธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ในการแนะนำลูกค้าให้กับทางบล.บัวหลวงมากขึ้น และผ่านมาทางบริษัทได้มีการให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารในการแนะนำสินค้าการลงทุนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารไปแนะนำกับทางลูกค้าของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีฐานลูกค้ามากขึ้นในการเข้ามาลงทุน และทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาชดเชยรายได้ค่าคอมมิชชั่นที่ลดลงในอนาคตที่จะมีการใช้ค่าคอมมิชชั่นขั้นบันได
“การให้บริการแอ็กคลูซีฟเวลท์แก่ลูกค้าเป็นเพียงการให้คำแนะนำเท่านั้นไม่ได้บริหารเงินให้กับลูกค้า แต่บริษัทจะได้รายได้จากการที่ลูกค้ามีการเทรดผ่านบล.เท่านั้น”นายพิเชฐ กล่าว