ASTVผู้จัดการรายวัน- แผนพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันไม่คืบ ร.ฟ.ท.สั่งที่ปรึกษาทบทวนใหม่ หลังประเมิน ค่าเช่าที่เพียง 300-400 บาทต่อตร.ม. ซึ่งน้อยเกินไปสำหรับพื้นที่ทำเลทองใจกลางเมือง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะมีมูลค่า กว่า 1แสนล้านบาท และให้ทบทวนเรื่องโครงข่ายคมนาคมเชื่อมพื้นที่ใหม่ เหตุที่ปรึกษาโยนกทม.ดูแล
นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่า ด้านบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ดินย่านมักกะสันว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนและทำรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของผลประโยชน์ตอบแทนโครงการ และวิธีการพัฒนาที่ให้ผลคุ้มค่ากับร.ฟ.ท.มากที่สุด เนื่องจากรายละเอียดการพัฒนาที่บริษัท สถาปนิก A.49 จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเสนอมานั้น คำนวณราคาค่าก่อสร้างของโครงการไว้ที่ 120,000 บาท ต่อตารางเมตร และเปิดให้ผู้เช่าพื้นที่ในราคาค่าเช่าเฉลี่ย 300-400 บาทต่อตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นมูลค่าที่น้อยเกินไปกับขนาดโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางย่านธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังให้ที่ปรึกษาทบทวนการจัดทำโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงในพื้นที่โครงการ จากที่บริษัทที่ปรึกษาระบุว่าแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมต่างๆ ควรจะมอบให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นผู้ดำเนินการซึ่งไม่เหมาะสม รวมถึงให้จัดทำแผนโครงข่ายคมนาคมให้ชัดเจนมากขึ้น และสอดรับการพัฒนาของเศรษฐกิจและควรเสนอหน่วยงานที่เหมาะสมเข้ามารับรับผิดชอบ
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นไปตามแนวคิดเดิมที่เคยศึกษาไว้ แต่มีการปรับรายละเอียดในการดำเนินการพัฒนา จากเดิมที่แบ่งทำเป็นเฟสใหญ่ 4 เฟส เป็นการแบ่งทำไปทีละเฟส หรือหากเอกชนมีความสามารถก็สามารถเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดพร้อมกันทั้งหมดได้ โดยการทบทวนการศึกษาของที่ปรึกษาได้เสนอพัฒนาพื้นที่เป็นเฟสเหมือนเดิม แต่ให้แบ่งแต่ละเฟสให้มีขนาดพื้นที่เล็กลง เพื่อความคล่องตัวในการเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาโครงการได้เร็ว และเชื่อว่าจะทำให้มีรายได้มากขึ้น
มูลค่าโครงการเบื้องต้นนั้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุน รายละเอียดการพัฒนาพื้นที่ขนาด 650 ไร่ ถือเป็นที่ดินที่มีศักยภาพมากที่สุดเพราะอยู่ใจกลางเมือง ใกล้แหล่งธุรกิจที่สำคัญ เช่น ประตูน้ำ ราชประสงค์ สุขุมวิท เป็นต้น และมีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกเนื่องจากใกล้กับทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ถนนสายหลักต่างๆ เช่น ถนนจตุรทิศ ราชปรารภ เพชรบุรี รัชดาภิเษก และยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไทและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี
โดยมีการกำหนดการพัฒนาไว้ 2 ทางเลือก คือ แนวทางที่ 1 จะมีพื้นที่ในการพัฒนาประมาณ 2,200,000 ตารางเมตร คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน 202,000 ล้านบาท จะประกอบไปด้วย พื้นที่สำหรับก่อสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าที่พักอาศัย โรงแรมอาคารสำนักงาน อาคารร้านค้า ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์อาหาร และ โรงพยาบาล และแนวทางที่ 2 จะใช้พื้นที่ในการพัฒนารวม 1,030,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 82,000 ล้านบาท ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์แสดงสินค้า และโรงพยาบาล
ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่อื่นของร.ฟ.ท.นั้น นายอิทธิพล กล่าวว่า ขณะนี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ได้อนุมติให้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำแผนพัฒนาที่พื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 277 ไร่ คาดว่าจะสามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานให้เช่าได้ โดยจะเร่งจัดทำทีโออาร์เพื่อประกาศเชิญชวนในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ที่ดินของ รฟท.ปัจจุบันมีจำนวน 234,976 ไร่ ประกอบด้วยที่ดินที่ใช้รองรับภารกิจหลักขององค์กร 198,674 ไร่ ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ 36,302 ไร่ ที่ดินย้านสถานี 5,333 ไร่ ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่
นายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่า ด้านบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ดินย่านมักกะสันว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนและทำรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของผลประโยชน์ตอบแทนโครงการ และวิธีการพัฒนาที่ให้ผลคุ้มค่ากับร.ฟ.ท.มากที่สุด เนื่องจากรายละเอียดการพัฒนาที่บริษัท สถาปนิก A.49 จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเสนอมานั้น คำนวณราคาค่าก่อสร้างของโครงการไว้ที่ 120,000 บาท ต่อตารางเมตร และเปิดให้ผู้เช่าพื้นที่ในราคาค่าเช่าเฉลี่ย 300-400 บาทต่อตารางเมตรเท่านั้น ซึ่งเป็นมูลค่าที่น้อยเกินไปกับขนาดโครงการโดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางย่านธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังให้ที่ปรึกษาทบทวนการจัดทำโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงในพื้นที่โครงการ จากที่บริษัทที่ปรึกษาระบุว่าแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมต่างๆ ควรจะมอบให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นผู้ดำเนินการซึ่งไม่เหมาะสม รวมถึงให้จัดทำแผนโครงข่ายคมนาคมให้ชัดเจนมากขึ้น และสอดรับการพัฒนาของเศรษฐกิจและควรเสนอหน่วยงานที่เหมาะสมเข้ามารับรับผิดชอบ
สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นไปตามแนวคิดเดิมที่เคยศึกษาไว้ แต่มีการปรับรายละเอียดในการดำเนินการพัฒนา จากเดิมที่แบ่งทำเป็นเฟสใหญ่ 4 เฟส เป็นการแบ่งทำไปทีละเฟส หรือหากเอกชนมีความสามารถก็สามารถเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดพร้อมกันทั้งหมดได้ โดยการทบทวนการศึกษาของที่ปรึกษาได้เสนอพัฒนาพื้นที่เป็นเฟสเหมือนเดิม แต่ให้แบ่งแต่ละเฟสให้มีขนาดพื้นที่เล็กลง เพื่อความคล่องตัวในการเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาโครงการได้เร็ว และเชื่อว่าจะทำให้มีรายได้มากขึ้น
มูลค่าโครงการเบื้องต้นนั้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุน รายละเอียดการพัฒนาพื้นที่ขนาด 650 ไร่ ถือเป็นที่ดินที่มีศักยภาพมากที่สุดเพราะอยู่ใจกลางเมือง ใกล้แหล่งธุรกิจที่สำคัญ เช่น ประตูน้ำ ราชประสงค์ สุขุมวิท เป็นต้น และมีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกเนื่องจากใกล้กับทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ถนนสายหลักต่างๆ เช่น ถนนจตุรทิศ ราชปรารภ เพชรบุรี รัชดาภิเษก และยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไทและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี
โดยมีการกำหนดการพัฒนาไว้ 2 ทางเลือก คือ แนวทางที่ 1 จะมีพื้นที่ในการพัฒนาประมาณ 2,200,000 ตารางเมตร คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน 202,000 ล้านบาท จะประกอบไปด้วย พื้นที่สำหรับก่อสร้างเป็นห้างสรรพสินค้าที่พักอาศัย โรงแรมอาคารสำนักงาน อาคารร้านค้า ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์อาหาร และ โรงพยาบาล และแนวทางที่ 2 จะใช้พื้นที่ในการพัฒนารวม 1,030,000 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 82,000 ล้านบาท ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์ออกกำลังกาย ศูนย์แสดงสินค้า และโรงพยาบาล
ส่วนความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่อื่นของร.ฟ.ท.นั้น นายอิทธิพล กล่าวว่า ขณะนี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ได้อนุมติให้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษา เพื่อจัดทำแผนพัฒนาที่พื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ (ช่องนนทรี) ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 277 ไร่ คาดว่าจะสามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานให้เช่าได้ โดยจะเร่งจัดทำทีโออาร์เพื่อประกาศเชิญชวนในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ที่ดินของ รฟท.ปัจจุบันมีจำนวน 234,976 ไร่ ประกอบด้วยที่ดินที่ใช้รองรับภารกิจหลักขององค์กร 198,674 ไร่ ที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ 36,302 ไร่ ที่ดินย้านสถานี 5,333 ไร่ ที่ดินบ้านพัก 3,755 ไร่ และที่ดินที่เป็นพื้นที่เขตทาง 189,586 ไร่