3 บริษัทลูกรถไฟฟ้าใต้ดิน ควบรวม เป็น “แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์” ช่วงเศรษฐกิจทรุด ปรับทัพใหม่ เตรียมลุยเต็มที่กลางปีหน้า ชี้ แนวทางการขายโฆษณาแบบแพกเกจ มั่นใจดัน แบงคอก เมโทรฯ ไปได้ไกล ส่วน เมโทรมอลล์ เตรียมรีเฟรชแบรนด์ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเดินทาง สิ้นปีวางรายได้รวมที่ 150 ล้านบาท ปีหน้าขยับขึ้นอีกอย่างน้อย 3-5%
นายเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) เปิดเผยว่า บีเอ็มเอ็น คือ การควบรวมกันระหว่าง 3 บริษัทลูก ของ BMCL คือ เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเม้นท์, บีเอ็มซีแอล เน็ตเวิร์ค และ ไตรแอด เน็ตเวิร์ค โดยได้รวมกันเป็นบริษัทเดียวตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดย BMCL ถือหุ้น 65% กลุ่มตระกูลยิ้มวิไล ถือหุ้น 14% และที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย จากเดิมในส่วนของไตรแอด เน็ตเวิร์ค กลุ่มตระกูลยิ้มวิไล ถือหุ้นอยู่ 44% ที่เหลือเป็น BMCL กว่า 56%
สำหรับเหตุผลที่มีการรวมบริษัทนั้น เนื่องจากเดิมต่างคนต่างดำเนินธุรกิจ อีกทั้งมีสายงานบางส่วนมีการทับซ้อนกันเกิดขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดในการรวมบริษัทกัน เพื่อช่วยในการทำงานที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการขายโฆษณา ที่จะสามารถทำการขายออกมาได้หลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำกิจกรรมคู่การขายโฆษณาได้มากขึ้น ซึ่งการรวมบริษัทในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงที่ดีขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในส่วนของทีมงานจำนวนกว่า 84 คน ยังอยู่ครบ แต่จะมีการรวมแผนกเข้าด้วยกัน ทำงานเป็นทีมเดียวกัน เช่น ในส่วนของการตลาด กำลังฟอร์มทีมกันใหม่ คาดว่า จะมีประมาณ 7-8 คน ขณะเดียวกัน ยังได้เพิ่มแผนกความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเข้ามาอีกทีมด้วย โดยจะทำงานร่วมกับทีมฝ่ายขาย ที่นำเสนอแพกเกจโฆษณาให้กับลูกค้า
ทั้งนี้ ในส่วนของการขายโฆษณาแบบเป็นแพกเกจนั้น ได้เริ่มแนะนำลูกค้าไปบ้างแล้ว และจะขายจริงตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ขณะที่ 4 เดือนที่ผ่านมา ยอดรายได้จากการขายโฆษณายังดีอยู่ เทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าใกล้เคียงกัน
อย่างไรก็ตาม การรวมบริษัทครั้งนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องของการปรับปรุงเป็นหลัก โดยในส่วนของเมโทรมอลล์ จะมีการรีเฟรชแบรนด์ และปรับโพซิชันนิงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาพันธมิตรร้านค้าและบริการ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้โดยสาร โดยขณะนี้ในส่วนของเมโทรมอลล์ สาขา พหลโยธิน พื้นที่กว่า 40-60% ถูกจัดเป็นโรงเรียนกวดวิชา และ พ.ท.ที่เหลือจะเป็นร้านค้าและบริการต่างๆ
ขณะที่ สาขาจตุจักร ได้ร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์ จัดเป็นบลูคอมเพล็กซ์ หรือเป็นโครงการธงฟ้าราคาประหยัด โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณ ต้นเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนสาขาสุขุมวิท จะมีการเพิ่มร้านค้าและบริการที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ผู้โดยสารมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของสื่อบนรถไฟฟ้าใต้ดิน อาจจะทำให้ลูกค้ามองว่าไม่ช่วยให้เกิดการสร้างแบรนด์ได้ แต่ในความเป็นจริง การรับรู้สื่อโฆษณาทางรถไฟฟ้าใต้ดิน มีน้อยกว่าสื่อบนรถไฟฟ้าบีทีเอสเพียง 3% เท่านั้น ดังนั้นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้บีเอ็มเอ็น ก้าวไปข้างหน้าได้ คือ การเรียนรู้ และทำความรู้จักกับผู้โดยสารให้มากที่สุด
ดังนั้น จึงได้ร่วมกับทางเอซี เนลสัน ร่วมกันทำผลสำรวจ จากจำนวนผู้โดยสารกว่า 1,600 คน ณ สถานี และอีก 600 คนจากอินเทอร์เน็ต พบว่า ลูกค้าหลักของรถไฟฟ้าใต้ดินกว่า 50% เป็นกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ซึ่งมีฐานเงินเดือนสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไปต่อครัวเรือน รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และระดับผู้บริหาร ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นคนละกลุ่มกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่หลักๆ แล้วจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เป็นหลัก ขณะที่จำนวนผู้โดยสาร จะใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ประมาณ 4.47 วันต่อสัปดาห์ โดยผู้ที่ใช้บริการทุกวันมีกว่า 435 จากจำนวนผู้สำรวจทั้งหมด
“ในอนาคตการทำงานในการดำเนินธุรกิจของ บีเอ็มเอ็น จะแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น คาดว่า กลางปี 2553 ทุกอย่างจะลงตัว และขับเคลื่อนไปได้อย่างดี โดยภายในสิ้นปี 2553 มั่นใจว่า อย่างน้อยบีเอ็มเอ็นจะเติบโตขึ้นประมาณ 3-5% จากรายได้ 150 ล้านบาท ที่วางไว้ในปีนี้ ซึ่งมองดูแล้วอาจจะเป็นตัวเลขที่ดูน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของไตรแอดฯ ปีก่อนที่ทำได้ 112 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกัน 3 บริษัท กลับตั้งไว้ที่ 150 ล้านบาทในปีนี้ เนื่องจากบางบริษัทก็มีการปรับลดรายได้ลง เนื่องจากมีการลงทุนค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ต้นปีหน้า จะเริ่มเห็นการลงทุนของทางBMCL ในการเพิ่มจอภาพแอลซีดี ทีวี ทั้งภายในสถานี และภายในรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจต่อไป” นายเอกลักษณ์ กล่าวในที่สุด
นายเอกลักษณ์ ยิ้มวิไล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) เปิดเผยว่า บีเอ็มเอ็น คือ การควบรวมกันระหว่าง 3 บริษัทลูก ของ BMCL คือ เมโทร มอลล์ ดีเวลลอปเม้นท์, บีเอ็มซีแอล เน็ตเวิร์ค และ ไตรแอด เน็ตเวิร์ค โดยได้รวมกันเป็นบริษัทเดียวตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดย BMCL ถือหุ้น 65% กลุ่มตระกูลยิ้มวิไล ถือหุ้น 14% และที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย จากเดิมในส่วนของไตรแอด เน็ตเวิร์ค กลุ่มตระกูลยิ้มวิไล ถือหุ้นอยู่ 44% ที่เหลือเป็น BMCL กว่า 56%
สำหรับเหตุผลที่มีการรวมบริษัทนั้น เนื่องจากเดิมต่างคนต่างดำเนินธุรกิจ อีกทั้งมีสายงานบางส่วนมีการทับซ้อนกันเกิดขึ้น ทำให้เกิดแนวคิดในการรวมบริษัทกัน เพื่อช่วยในการทำงานที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการขายโฆษณา ที่จะสามารถทำการขายออกมาได้หลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำกิจกรรมคู่การขายโฆษณาได้มากขึ้น ซึ่งการรวมบริษัทในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงที่ดีขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในส่วนของทีมงานจำนวนกว่า 84 คน ยังอยู่ครบ แต่จะมีการรวมแผนกเข้าด้วยกัน ทำงานเป็นทีมเดียวกัน เช่น ในส่วนของการตลาด กำลังฟอร์มทีมกันใหม่ คาดว่า จะมีประมาณ 7-8 คน ขณะเดียวกัน ยังได้เพิ่มแผนกความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเข้ามาอีกทีมด้วย โดยจะทำงานร่วมกับทีมฝ่ายขาย ที่นำเสนอแพกเกจโฆษณาให้กับลูกค้า
ทั้งนี้ ในส่วนของการขายโฆษณาแบบเป็นแพกเกจนั้น ได้เริ่มแนะนำลูกค้าไปบ้างแล้ว และจะขายจริงตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป ขณะที่ 4 เดือนที่ผ่านมา ยอดรายได้จากการขายโฆษณายังดีอยู่ เทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าใกล้เคียงกัน
อย่างไรก็ตาม การรวมบริษัทครั้งนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องของการปรับปรุงเป็นหลัก โดยในส่วนของเมโทรมอลล์ จะมีการรีเฟรชแบรนด์ และปรับโพซิชันนิงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาพันธมิตรร้านค้าและบริการ ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้โดยสาร โดยขณะนี้ในส่วนของเมโทรมอลล์ สาขา พหลโยธิน พื้นที่กว่า 40-60% ถูกจัดเป็นโรงเรียนกวดวิชา และ พ.ท.ที่เหลือจะเป็นร้านค้าและบริการต่างๆ
ขณะที่ สาขาจตุจักร ได้ร่วมกับทางกระทรวงพาณิชย์ จัดเป็นบลูคอมเพล็กซ์ หรือเป็นโครงการธงฟ้าราคาประหยัด โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณ ต้นเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนสาขาสุขุมวิท จะมีการเพิ่มร้านค้าและบริการที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ผู้โดยสารมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของสื่อบนรถไฟฟ้าใต้ดิน อาจจะทำให้ลูกค้ามองว่าไม่ช่วยให้เกิดการสร้างแบรนด์ได้ แต่ในความเป็นจริง การรับรู้สื่อโฆษณาทางรถไฟฟ้าใต้ดิน มีน้อยกว่าสื่อบนรถไฟฟ้าบีทีเอสเพียง 3% เท่านั้น ดังนั้นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้บีเอ็มเอ็น ก้าวไปข้างหน้าได้ คือ การเรียนรู้ และทำความรู้จักกับผู้โดยสารให้มากที่สุด
ดังนั้น จึงได้ร่วมกับทางเอซี เนลสัน ร่วมกันทำผลสำรวจ จากจำนวนผู้โดยสารกว่า 1,600 คน ณ สถานี และอีก 600 คนจากอินเทอร์เน็ต พบว่า ลูกค้าหลักของรถไฟฟ้าใต้ดินกว่า 50% เป็นกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ซึ่งมีฐานเงินเดือนสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไปต่อครัวเรือน รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และระดับผู้บริหาร ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นคนละกลุ่มกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่หลักๆ แล้วจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เป็นหลัก ขณะที่จำนวนผู้โดยสาร จะใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ประมาณ 4.47 วันต่อสัปดาห์ โดยผู้ที่ใช้บริการทุกวันมีกว่า 435 จากจำนวนผู้สำรวจทั้งหมด
“ในอนาคตการทำงานในการดำเนินธุรกิจของ บีเอ็มเอ็น จะแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น คาดว่า กลางปี 2553 ทุกอย่างจะลงตัว และขับเคลื่อนไปได้อย่างดี โดยภายในสิ้นปี 2553 มั่นใจว่า อย่างน้อยบีเอ็มเอ็นจะเติบโตขึ้นประมาณ 3-5% จากรายได้ 150 ล้านบาท ที่วางไว้ในปีนี้ ซึ่งมองดูแล้วอาจจะเป็นตัวเลขที่ดูน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของไตรแอดฯ ปีก่อนที่ทำได้ 112 ล้านบาท แต่เมื่อรวมกัน 3 บริษัท กลับตั้งไว้ที่ 150 ล้านบาทในปีนี้ เนื่องจากบางบริษัทก็มีการปรับลดรายได้ลง เนื่องจากมีการลงทุนค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ต้นปีหน้า จะเริ่มเห็นการลงทุนของทางBMCL ในการเพิ่มจอภาพแอลซีดี ทีวี ทั้งภายในสถานี และภายในรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจต่อไป” นายเอกลักษณ์ กล่าวในที่สุด