ช่วงนี้และที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนไม่น้อยหลงเชื่อ “บริษัทเถื่อน” ที่อ้างตนว่าเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยหลอกว่าจะนำเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในน้ำมันดิบ ทองคำ ดัชนีหลักทรัพย์ หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้ง ๆ ที่บริษัทเหล่านี้ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจดังกล่าว หากท่านถูกชักชวนให้ลงทุน อย่ารีบตัดสินใจแล้วโอนเงินไปให้เขานะคะ เพราะท่านอาจโดนหลอกและไม่ได้เงินก้อนนั้นกลับมาอีกเลย
บริษัทที่จะประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนหรือนายหน้าที่จะนำเงินของผู้ลงทุนในประเทศไทยไปซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าต่าง ๆ (เช่น น้ำมัน ทองคำ หรือดัชนีหลักทรัพย์) ได้นั้น จะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ซึ่งการอนุญาตมีทั้งแบบที่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปได้ และแบบจำกัด สามารถให้บริการได้เฉพาะแก่ลูกค้าสถาบันเท่านั้น ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ถูกชักชวนจึงจะต้องตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) หรือโทรศัพท์สอบถามที่ 0-2263-6000 ก่อนตัดสินใจ
วิธีการชักชวนของบริษัทเถื่อนมีหลายรูปแบบค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ อีเมล์ เว็บไซต์ หรือแม้แต่ส่งพนักงานไปติดต่อถึงที่บ้านหรือที่ทำงานของท่าน แต่ที่น่ากลัวกว่าคือ ญาติหรือญาติของเพื่อนท่านมาชักชวนเอง บางรายพาไปดูสถานที่ทำการของบริษัท ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจชั้นนำเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าเขาทำธุรกิจจริง โดยตกแต่งเหมือนมีการทำธุรกิจจริงทุกอย่าง และหากถามถึงใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เขาจะชี้ให้ดูหนังสือรับรองของบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ แต่นั่นไม่ใช่ใบ อนุญาตสำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้ค่ะ
เขาจะเริ่มต้นการชักชวนด้วยคำสัญญาที่จะให้ผลตอบแทนท่านสูงถึง 30% ต่อปี ด้วยเงินลงทุนสัญญาละ 100,000 - 300,000 บาท และเมื่อตัดสินใจลงทุนแล้วจะมีการทำสัญญากัน ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เป็นการเซ็นกันเองระหว่างผู้ที่ถูกชักชวนกับพนักงานเท่านั้น ไม่ใช่กับบริษัทหรือผู้มีอำนาจของบริษัท
หลังจากนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับเงินโอนเข้ามาในบัญชีจำนวนค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนรู้สึกว่าคิดถูกแล้วที่ลงทุนและอยากลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก จากนั้นไม่นานพนักงานจะแจ้งกับผู้ลงทุนว่า สัญญาที่ลงทุนไว้เกิดขาดทุน และผู้ลงทุนจะต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปอีก แต่จะถอนเงินหรือขอเงินส่วนที่เหลือคืนไม่ได้ เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นจริงค่ะ และสุดท้ายผู้ลงทุนก็จะติดต่อพนักงานและบริษัทนั้นไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. บอกได้เลยค่ะว่า บริษัทเหล่านี้ทุกแห่งไม่ได้เอาเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างที่โฆษณาไว้เลย ความจริงแล้วพฤติกรรมเบื้องหลังคล้ายกับแชร์ลูกโซ่ที่นำเงินของสมาชิกใหม่มาจ่ายให้แก่สมาชิกเก่านั่นเอง
บริษัทเถื่อนเหล่านี้ ก.ล.ต. ได้เข้าตรวจค้นและแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว 14 บริษัท แต่อำนาจของ ก.ล.ต. มีจำกัด ไม่สามารถที่จะสั่งปิดบริษัทได้ บางครั้งจึงพบว่า บริษัทที่ ก.ล.ต. แจ้งความไปแล้ว ยังทำการชักชวนผู้ลงทุนรายใหม่อยู่ หรือบางบริษัทก็เปลี่ยนชื่อหรือย้ายสถานที่ประกอบการและยังทำการชักชวนประชาชนเหมือนเดิม จึงต้องขอย้ำค่ะว่า ตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนตัดสินใจ และเมื่อไม่มั่นใจขอให้สอบถาม ก.ล.ต. นะคะ และสำหรับผู้ที่หลงเชื่อไปแล้ว อย่าอายที่จะไปแจ้งความกับตำรวจหรือ ร้องเรียนมายัง ก.ล.ต. ได้เช่นเดียวกัน เพื่อกำจัดธุรกิจเถื่อนเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปค่ะ
รายชื่อบริษัทที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
1. บริษัท แฟคซิลิตี้ เอวิเอชั่น ซัพพอร์ท (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท โอเวอร์ซีส์ บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด
3. บริษัท ทริปเปิ้ล วี เซอร์วิส แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด
4. Swiss Cash (www.thaiswisscash.com) (ศาลพิพากษาจำคุกและปรับผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา)
5. บริษัท โอ. แอล. ที เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด
6. บริษัท กลอรี บูลเลียน (ไทยแลนด์) จำกัด (ศาลพิพากษาจำคุกและปรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา)
7. บริษัท ที เอช เค เทรดดิ้ง จำกัด
8. บริษัท เบสท์ พอยท์ แอสโซซิเอท จำกัด
9. บริษัท วิคเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
10. บริษัทหวาง ลี่ โกลบอล มาร์เก็ต จำกัด
11. บริษัทกลอรี่ พรอสเพอริตี้ (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัทเวิลด์ เทรดดิ้ง พรอสเพอริตี้ จำกัด
13. บริษัทดับเบิ้ลยู เอส ดี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
14. บริษัท WSD Financial (NZ) Ltd.
บริษัทที่จะประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนหรือนายหน้าที่จะนำเงินของผู้ลงทุนในประเทศไทยไปซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงสินค้าต่าง ๆ (เช่น น้ำมัน ทองคำ หรือดัชนีหลักทรัพย์) ได้นั้น จะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ซึ่งการอนุญาตมีทั้งแบบที่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าทั่วไปได้ และแบบจำกัด สามารถให้บริการได้เฉพาะแก่ลูกค้าสถาบันเท่านั้น ดังนั้น ผู้ลงทุนที่ถูกชักชวนจึงจะต้องตรวจสอบข้อมูลของบริษัทที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต. (www.sec.or.th) หรือโทรศัพท์สอบถามที่ 0-2263-6000 ก่อนตัดสินใจ
วิธีการชักชวนของบริษัทเถื่อนมีหลายรูปแบบค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ อีเมล์ เว็บไซต์ หรือแม้แต่ส่งพนักงานไปติดต่อถึงที่บ้านหรือที่ทำงานของท่าน แต่ที่น่ากลัวกว่าคือ ญาติหรือญาติของเพื่อนท่านมาชักชวนเอง บางรายพาไปดูสถานที่ทำการของบริษัท ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจชั้นนำเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าเขาทำธุรกิจจริง โดยตกแต่งเหมือนมีการทำธุรกิจจริงทุกอย่าง และหากถามถึงใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เขาจะชี้ให้ดูหนังสือรับรองของบริษัทที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้ แต่นั่นไม่ใช่ใบ อนุญาตสำหรับการทำธุรกิจประเภทนี้ค่ะ
เขาจะเริ่มต้นการชักชวนด้วยคำสัญญาที่จะให้ผลตอบแทนท่านสูงถึง 30% ต่อปี ด้วยเงินลงทุนสัญญาละ 100,000 - 300,000 บาท และเมื่อตัดสินใจลงทุนแล้วจะมีการทำสัญญากัน ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เป็นการเซ็นกันเองระหว่างผู้ที่ถูกชักชวนกับพนักงานเท่านั้น ไม่ใช่กับบริษัทหรือผู้มีอำนาจของบริษัท
หลังจากนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับเงินโอนเข้ามาในบัญชีจำนวนค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนรู้สึกว่าคิดถูกแล้วที่ลงทุนและอยากลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก จากนั้นไม่นานพนักงานจะแจ้งกับผู้ลงทุนว่า สัญญาที่ลงทุนไว้เกิดขาดทุน และผู้ลงทุนจะต้องใส่เงินเพิ่มเข้าไปอีก แต่จะถอนเงินหรือขอเงินส่วนที่เหลือคืนไม่ได้ เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นจริงค่ะ และสุดท้ายผู้ลงทุนก็จะติดต่อพนักงานและบริษัทนั้นไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งจากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. บอกได้เลยค่ะว่า บริษัทเหล่านี้ทุกแห่งไม่ได้เอาเงินไปลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างที่โฆษณาไว้เลย ความจริงแล้วพฤติกรรมเบื้องหลังคล้ายกับแชร์ลูกโซ่ที่นำเงินของสมาชิกใหม่มาจ่ายให้แก่สมาชิกเก่านั่นเอง
บริษัทเถื่อนเหล่านี้ ก.ล.ต. ได้เข้าตรวจค้นและแจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว 14 บริษัท แต่อำนาจของ ก.ล.ต. มีจำกัด ไม่สามารถที่จะสั่งปิดบริษัทได้ บางครั้งจึงพบว่า บริษัทที่ ก.ล.ต. แจ้งความไปแล้ว ยังทำการชักชวนผู้ลงทุนรายใหม่อยู่ หรือบางบริษัทก็เปลี่ยนชื่อหรือย้ายสถานที่ประกอบการและยังทำการชักชวนประชาชนเหมือนเดิม จึงต้องขอย้ำค่ะว่า ตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนตัดสินใจ และเมื่อไม่มั่นใจขอให้สอบถาม ก.ล.ต. นะคะ และสำหรับผู้ที่หลงเชื่อไปแล้ว อย่าอายที่จะไปแจ้งความกับตำรวจหรือ ร้องเรียนมายัง ก.ล.ต. ได้เช่นเดียวกัน เพื่อกำจัดธุรกิจเถื่อนเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปค่ะ
รายชื่อบริษัทที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
1. บริษัท แฟคซิลิตี้ เอวิเอชั่น ซัพพอร์ท (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท โอเวอร์ซีส์ บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด
3. บริษัท ทริปเปิ้ล วี เซอร์วิส แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด
4. Swiss Cash (www.thaiswisscash.com) (ศาลพิพากษาจำคุกและปรับผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา)
5. บริษัท โอ. แอล. ที เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด
6. บริษัท กลอรี บูลเลียน (ไทยแลนด์) จำกัด (ศาลพิพากษาจำคุกและปรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา)
7. บริษัท ที เอช เค เทรดดิ้ง จำกัด
8. บริษัท เบสท์ พอยท์ แอสโซซิเอท จำกัด
9. บริษัท วิคเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
10. บริษัทหวาง ลี่ โกลบอล มาร์เก็ต จำกัด
11. บริษัทกลอรี่ พรอสเพอริตี้ (ประเทศไทย) จำกัด
12. บริษัทเวิลด์ เทรดดิ้ง พรอสเพอริตี้ จำกัด
13. บริษัทดับเบิ้ลยู เอส ดี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
14. บริษัท WSD Financial (NZ) Ltd.