"ไตรรงค์" เย้ย "นช.แม้ว" แค่นักเลงอัมพฤก มีแค่ราคาคุย เหมือนก้อนกรวดในรองเท้าทำให้รำคาญ ยันควบคุมได้ไร้ปัญหา เชื่อไม่ยุบสภาเพราะอันตราย บ้านเมืองอยู่ในภาวะอนาธิปไตย เสื้อแดงยังใช้วิธีกุ๋ยขวางคู่แข่ง พท.หาเสียง ยันพรรคร่วมรัฐบาลยังหนุน "อภิสิทธิ์"หลังได้มีโอกาสพูดคุยกับแกนนำตัวจริงเสียงจริงพรรคร่วมฯ
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวระหว่างปิดงานสมัชชาประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ วาระประชาชนภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ว่า ในการขับเคลื่อนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดสรรงบประมาณให้กับทหาร ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งต่างจากในอดีตที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยจัดสรรให้คิดเป็นจำนวนเงินน้อยมาก เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลได้ไม่มาก เพราะแนวคิดและจิตสำนึก พวกเราไม่เคยคิดหาผลประโยชน์ แม้แต่พรรคพวกที่เป็นนักธุรกิจด้วยกัน เราก็ไม่เคยคิดหาผลประโยชน์ พรรคประชาธิปัตย์ดูแลประชาชน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
นายไตรรงค์ กล่าวว่า ผู้ที่รักนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ คือหลงรักประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นความมั่นคงตลอดชีวิตจะหาไม่ และมีหลายคนห่วงพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นรัฐบาลที่มีเสียงไม่ชนะขาด มีเพียง 160 กว่าเสียง ในขณะที่ต้องไปร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้มีเสียง 234 เสียง
"ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริง ซึ่งมีอำนาจสั่งหัวหน้าพรรคปัจจุบันได้ อาทิ นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน สมาชิกบ้านเลขที่ 111 และนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ยอมรับว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีอำนาจจริง สามารถสั่งพรรคร่วมรัฐบาลได้ พร้อมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งความรู้สึกของผมมี 2 อย่างคือ อุ่นใจว่าคนพวกนี้ประวัติเป็นอย่างไรก็ตาม บางคนอาจส่ายหน้าเมื่อพูดถึง แต่เขาคือคนที่ค้ำบัลลังก์รัฐบาล และยังมีความมั่นใจและมั่นนคงในพรรคประชาธิปัตย์และมั่นใจนายอภิสิทธิ์"
นายไตรรงค์ กล่าวว่า หากได้ฟังข่าว พวกเด็กๆให้สัมภาษณ์ เดี๋ยวก็เรื่องเลือก ผบ.ตร. อย่าไปฟังเพราะผู้ใหญ่โทรศัพท์คุยกัน ดังนั้นไม่ต้องสนใจเด็กพวกนี้ และพรรคร่วมรัฐบาลก็มีความมั่นคงสูง คนกลุ่มนี้ตนรู้จักมา 30 ปี แล้ว มีความมั่นคงสูง ส่วนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ พรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้ดันทุรัง เขาก็ยังฟังพรรคประชาธิปัตย์และประชาชน และต้องรอบคอบ โดยคำนึงว่าหากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ไม่เกิดความสงบ แต่ต้องดูว่าประเด็นไหนบ้างที่ทั้งพรรคการเมืองและประชาชนพอจะรับกันได้ เพราะถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง
"รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยต้องฟังเสียงประชาชน ไม่ใช่ว่าเรามีมติกันเองในสภา โดยที่ประชาชนไม่เห็นด้วย อย่างนั้นไม่เรียกว่าประชาธิปไตย ถ้าเช่นนั้นสมมุติว่า โจร 10 คน มาขอเสียง 8 คน จะไปปล้นเจ้าอาวาส อย่างนั้นเรียกว่าประชาธิปไตยหรือ แล้วถ้าถามว่าประชาชนเห็นด้วยกับโจร ก็แสดงว้าเห็นด้วยทั้งประเทศอย่างนั้นหรือ ดังนั้นมติของโจร 8 ต่อ 2 ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย ทำอย่างนั้นไม่ได้ จะทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องคิดถึงประชาชนเป็นหลัก เพราะเป็นเจ้าของประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นเจ้าของอำนาจตัวจริง และหากประชาชนไม่เลือกนักการเมืองเข้ามา ก็เป็นใหญ่ไม่ได้ในระบอบนี้ นักการเมืองก็ไม่มีอำนาจ สิ่งที่ถูกคือ เราต้องไม่มองข้ามประชาชน และยืนยันว่าจะไม่ทอดทิ้งประชาชน ต่อให้เก่งขนาดไหน หากไม่มีประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนายชวน นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่มีประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้นประชาชนคือเจ้านายเรา เราต้องยกเอาไว้สูง เราจะข้ามความรู้สึกของประชาชนไม่ได้ นี่คืออุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์"
นายไตรรงค์ กล่าวว่า สำหรับการรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากการร่วมสมัชชาประชาชน ประชาธิปัตย์ ภาคกลาง นั้นทุกความคิดเห็นจะไม่ไปไหน เราจะรับฟังมาเป็นนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหา ให้เสียงสะท้อนส่วนใหญ่ต่อไป ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกรฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ และงบประมาณรายจ่ายที่รัฐบาลมีอยู่ ซึ่งพรรคยืนยันว่าจะนำไปปฏิบัติต่อไปอย่างแน่นอน
นายไตรงค์ กล่าวว่า บ้านเมืองขณะนี้ไม่สงบ เพราะมีสีแดงอยู่ และพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี ก็ยังให้เงินสนับสนุน แต่ก็ไม่มีอะไรน่ากลัว รู้ลึก เพราะสนิทกับเหล่าทัพ และหน่วยข่าวกรอง ดังนั้นไม่มีอะไรน่ากลัว เปรียบเหมือนก้อนกรวดในรองเท้า ก็รำคาญนิดหน่อย แต่บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ เขาก็เป็นนักเลงที่ออกมาอาละวาด แต่เราเป็นประชาชนก็เกรงใจนักเลงเหมือนกัน เพราะเขาใช้กำลังแต่นักเลงคนนั้นเป็นอัมพฤก ก็ไม่ค่อยน่ากลัวเท่าไหร่ พวกนี้เป็นนักเลงอัมพฤกทำอะไรไม่ถนัด เพราะมีแค่ราคาคุยมากกว่าที่จะกระทำจริง ซึ่งเราควบคุมดูแลได้ไม่ต้องห่วง
นายไตรรงค์ กล่าวว่า มีตัวแทนประชาชนจ.กาญจนบุรี ฝากความเห็นถึงนายกรัฐมนตรี ว่าอย่ายุบสภา อยู่ให้ครบเทอม เพราะยังมีประชาชนสนับสนุน แม้คนเสื้อแดงจะเป็นนักเลง
"สมมุติว่าหากมีการยุบสภา และพรรคประชาธิปัตย์จะไปหาเสียงได้หรือไม่ใน จ.อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย และสมมุติว่าไปได้แต่ใช้วิธีนักเลง แม้ว่าเป็นอัมพฤกก็ตาม แต่การหาเสียงก็ไม่สะดวกและมีปัญหา ซึ่งถือว่าขัดหลักสิทธิเสรีภาพอย่างยื่ง ที่ผ่านมาแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์เคยเจอมาแล้ว มีการปาไข่ โดนนายชวน อย่างนี้ไม่ใช้ประชาธิปไตย แต่เป็นอนาธิปไตย หรือบ้านป่าเมืองเถื่อน"
นายไตรรงค์ กล่าว เพราะฉะนั้นตราบใดที่เราพูดจากันไม่รู้เรื่อง ควบคุมให้อยู่ ในระเบียบไม่ได้ ก็ถือว่าการยุบสภาถือว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก ถึงแม้ว่าตน นายชวน นาย อภิสิทธิ์ และส.ส.อีกหลายคนของพรรค เราไม่ต้องการใช้กำลังเพราะเราเป็นนักประชาธิปไตย แต่ผมไม่รับผิดชอบเรื่องญาติและเพื่อนฝูงของผม ถ้าเขามารุนแรงกับผม แล้วพวกญาติของผมไปรุนแรงกับเขา โดยที่ผมไม่รู้เรื่อง ก็อาจจะมีการล้มตาย เพราะทุกคนก็มีญาติด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นก็อันตรายหากบ้านเมืองไม่สงบและมีการยุบสภา แล้วเลือกตั้งก็จะมีการฆ่ากันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ถึงเวลา
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าว ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า มีหลายฝ่ายเสนอความ คิดเห็นมา และถ้าเป็นไปได้หากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลพรรคเดียว ก็จะไม่มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขณะนี้รัฐบาลได้รับแนวทางจากคณะกรรมการสมานฉันท์ จะแก้ไขเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 และรัฐธรรนูญปี 40 ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ส่วนเรื่องการคอรัปชั่นจากที่มีข่าวในโครงการ ชุมชนพอเพียง ก็ยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นอีก จะป้องกันทุกวถีทางและจะดำเนินการทุกเรื่องอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งขอสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นอีก
นางผุศดี ตามไทย ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีผู้เข้าร้วมสัมนา แสดงความคิดเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเรื่องต่างๆล่าช้า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะไม่อยู่ข้างนายกรัฐมนตรีแล้วนั้น ตนขอชี้แจงว่านายกรัฐมนตรี เป็นคนที่ประณีประนอม ไม่ใช่คนที่จะทุบโต๊ะโดยไม่ฟังเสียงใครอย่างเช่น การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) นายกฯจะทุบโต๊ะก็ได้แต่ไม่ทำ เพราะอยากจะใช้วิธีโน้มน้าวจูงใจ โดยใช้เหตุผลเพื่อที่ประชุมจะได้เห็นพ้องต้องกัน และไม่คิดที่จะใช้อำนาจนิยม นั่นคือความเป็นประชาธิปไตยสูงสุด แม้วว่าในสายตาของหลายคนจะมองว่าช้ามาก แต่อยากให้เข้าใจว่านายกรัฐมนตรีพยามยามที่จะดึงสังคมไทยกลับมาให้อยบู่บนพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวระหว่างปิดงานสมัชชาประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ วาระประชาชนภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี ว่า ในการขับเคลื่อนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดสรรงบประมาณให้กับทหาร ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งต่างจากในอดีตที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยจัดสรรให้คิดเป็นจำนวนเงินน้อยมาก เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์ดูแลได้ไม่มาก เพราะแนวคิดและจิตสำนึก พวกเราไม่เคยคิดหาผลประโยชน์ แม้แต่พรรคพวกที่เป็นนักธุรกิจด้วยกัน เราก็ไม่เคยคิดหาผลประโยชน์ พรรคประชาธิปัตย์ดูแลประชาชน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
นายไตรรงค์ กล่าวว่า ผู้ที่รักนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ คือหลงรักประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นความมั่นคงตลอดชีวิตจะหาไม่ และมีหลายคนห่วงพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเป็นรัฐบาลที่มีเสียงไม่ชนะขาด มีเพียง 160 กว่าเสียง ในขณะที่ต้องไปร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้มีเสียง 234 เสียง
"ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปรับประทานอาหารกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริง ซึ่งมีอำนาจสั่งหัวหน้าพรรคปัจจุบันได้ อาทิ นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน สมาชิกบ้านเลขที่ 111 และนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ยอมรับว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีอำนาจจริง สามารถสั่งพรรคร่วมรัฐบาลได้ พร้อมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งความรู้สึกของผมมี 2 อย่างคือ อุ่นใจว่าคนพวกนี้ประวัติเป็นอย่างไรก็ตาม บางคนอาจส่ายหน้าเมื่อพูดถึง แต่เขาคือคนที่ค้ำบัลลังก์รัฐบาล และยังมีความมั่นใจและมั่นนคงในพรรคประชาธิปัตย์และมั่นใจนายอภิสิทธิ์"
นายไตรรงค์ กล่าวว่า หากได้ฟังข่าว พวกเด็กๆให้สัมภาษณ์ เดี๋ยวก็เรื่องเลือก ผบ.ตร. อย่าไปฟังเพราะผู้ใหญ่โทรศัพท์คุยกัน ดังนั้นไม่ต้องสนใจเด็กพวกนี้ และพรรคร่วมรัฐบาลก็มีความมั่นคงสูง คนกลุ่มนี้ตนรู้จักมา 30 ปี แล้ว มีความมั่นคงสูง ส่วนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ พรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้ดันทุรัง เขาก็ยังฟังพรรคประชาธิปัตย์และประชาชน และต้องรอบคอบ โดยคำนึงว่าหากแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ไม่เกิดความสงบ แต่ต้องดูว่าประเด็นไหนบ้างที่ทั้งพรรคการเมืองและประชาชนพอจะรับกันได้ เพราะถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง
"รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยต้องฟังเสียงประชาชน ไม่ใช่ว่าเรามีมติกันเองในสภา โดยที่ประชาชนไม่เห็นด้วย อย่างนั้นไม่เรียกว่าประชาธิปไตย ถ้าเช่นนั้นสมมุติว่า โจร 10 คน มาขอเสียง 8 คน จะไปปล้นเจ้าอาวาส อย่างนั้นเรียกว่าประชาธิปไตยหรือ แล้วถ้าถามว่าประชาชนเห็นด้วยกับโจร ก็แสดงว้าเห็นด้วยทั้งประเทศอย่างนั้นหรือ ดังนั้นมติของโจร 8 ต่อ 2 ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย ทำอย่างนั้นไม่ได้ จะทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องคิดถึงประชาชนเป็นหลัก เพราะเป็นเจ้าของประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นเจ้าของอำนาจตัวจริง และหากประชาชนไม่เลือกนักการเมืองเข้ามา ก็เป็นใหญ่ไม่ได้ในระบอบนี้ นักการเมืองก็ไม่มีอำนาจ สิ่งที่ถูกคือ เราต้องไม่มองข้ามประชาชน และยืนยันว่าจะไม่ทอดทิ้งประชาชน ต่อให้เก่งขนาดไหน หากไม่มีประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนายชวน นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่มีประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้นประชาชนคือเจ้านายเรา เราต้องยกเอาไว้สูง เราจะข้ามความรู้สึกของประชาชนไม่ได้ นี่คืออุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์"
นายไตรรงค์ กล่าวว่า สำหรับการรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากการร่วมสมัชชาประชาชน ประชาธิปัตย์ ภาคกลาง นั้นทุกความคิดเห็นจะไม่ไปไหน เราจะรับฟังมาเป็นนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหา ให้เสียงสะท้อนส่วนใหญ่ต่อไป ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกรฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจ และงบประมาณรายจ่ายที่รัฐบาลมีอยู่ ซึ่งพรรคยืนยันว่าจะนำไปปฏิบัติต่อไปอย่างแน่นอน
นายไตรงค์ กล่าวว่า บ้านเมืองขณะนี้ไม่สงบ เพราะมีสีแดงอยู่ และพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี ก็ยังให้เงินสนับสนุน แต่ก็ไม่มีอะไรน่ากลัว รู้ลึก เพราะสนิทกับเหล่าทัพ และหน่วยข่าวกรอง ดังนั้นไม่มีอะไรน่ากลัว เปรียบเหมือนก้อนกรวดในรองเท้า ก็รำคาญนิดหน่อย แต่บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ เขาก็เป็นนักเลงที่ออกมาอาละวาด แต่เราเป็นประชาชนก็เกรงใจนักเลงเหมือนกัน เพราะเขาใช้กำลังแต่นักเลงคนนั้นเป็นอัมพฤก ก็ไม่ค่อยน่ากลัวเท่าไหร่ พวกนี้เป็นนักเลงอัมพฤกทำอะไรไม่ถนัด เพราะมีแค่ราคาคุยมากกว่าที่จะกระทำจริง ซึ่งเราควบคุมดูแลได้ไม่ต้องห่วง
นายไตรรงค์ กล่าวว่า มีตัวแทนประชาชนจ.กาญจนบุรี ฝากความเห็นถึงนายกรัฐมนตรี ว่าอย่ายุบสภา อยู่ให้ครบเทอม เพราะยังมีประชาชนสนับสนุน แม้คนเสื้อแดงจะเป็นนักเลง
"สมมุติว่าหากมีการยุบสภา และพรรคประชาธิปัตย์จะไปหาเสียงได้หรือไม่ใน จ.อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย และสมมุติว่าไปได้แต่ใช้วิธีนักเลง แม้ว่าเป็นอัมพฤกก็ตาม แต่การหาเสียงก็ไม่สะดวกและมีปัญหา ซึ่งถือว่าขัดหลักสิทธิเสรีภาพอย่างยื่ง ที่ผ่านมาแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์เคยเจอมาแล้ว มีการปาไข่ โดนนายชวน อย่างนี้ไม่ใช้ประชาธิปไตย แต่เป็นอนาธิปไตย หรือบ้านป่าเมืองเถื่อน"
นายไตรรงค์ กล่าว เพราะฉะนั้นตราบใดที่เราพูดจากันไม่รู้เรื่อง ควบคุมให้อยู่ ในระเบียบไม่ได้ ก็ถือว่าการยุบสภาถือว่าเป็นเรื่องอันตรายมาก ถึงแม้ว่าตน นายชวน นาย อภิสิทธิ์ และส.ส.อีกหลายคนของพรรค เราไม่ต้องการใช้กำลังเพราะเราเป็นนักประชาธิปไตย แต่ผมไม่รับผิดชอบเรื่องญาติและเพื่อนฝูงของผม ถ้าเขามารุนแรงกับผม แล้วพวกญาติของผมไปรุนแรงกับเขา โดยที่ผมไม่รู้เรื่อง ก็อาจจะมีการล้มตาย เพราะทุกคนก็มีญาติด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นก็อันตรายหากบ้านเมืองไม่สงบและมีการยุบสภา แล้วเลือกตั้งก็จะมีการฆ่ากันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ถึงเวลา
ด้านนายชินวรณ์ บุญเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าว ถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า มีหลายฝ่ายเสนอความ คิดเห็นมา และถ้าเป็นไปได้หากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลพรรคเดียว ก็จะไม่มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขณะนี้รัฐบาลได้รับแนวทางจากคณะกรรมการสมานฉันท์ จะแก้ไขเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 และรัฐธรรนูญปี 40 ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ส่วนเรื่องการคอรัปชั่นจากที่มีข่าวในโครงการ ชุมชนพอเพียง ก็ยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นอีก จะป้องกันทุกวถีทางและจะดำเนินการทุกเรื่องอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งขอสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดการทุจริตขึ้นอีก
นางผุศดี ตามไทย ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีผู้เข้าร้วมสัมนา แสดงความคิดเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเรื่องต่างๆล่าช้า ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะไม่อยู่ข้างนายกรัฐมนตรีแล้วนั้น ตนขอชี้แจงว่านายกรัฐมนตรี เป็นคนที่ประณีประนอม ไม่ใช่คนที่จะทุบโต๊ะโดยไม่ฟังเสียงใครอย่างเช่น การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) นายกฯจะทุบโต๊ะก็ได้แต่ไม่ทำ เพราะอยากจะใช้วิธีโน้มน้าวจูงใจ โดยใช้เหตุผลเพื่อที่ประชุมจะได้เห็นพ้องต้องกัน และไม่คิดที่จะใช้อำนาจนิยม นั่นคือความเป็นประชาธิปไตยสูงสุด แม้วว่าในสายตาของหลายคนจะมองว่าช้ามาก แต่อยากให้เข้าใจว่านายกรัฐมนตรีพยามยามที่จะดึงสังคมไทยกลับมาให้อยบู่บนพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย