การที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกมาต่อต้านพฤติกรรมล้วงลูกจากฝ่ายการเมือง ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการอัดอั้นตันใจ ที่สะสมมานานนับจากหน่วยงานที่ถูกดูแลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งมีพรรคชาติไทยพัฒนาเพียงรายเดียวดูแลอยู่ มาตลอด 6 ปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกระทรวงฯ
จากฉายาที่นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ว่าเป็น “จอมล้วงลูก” นั้นคงฉายภาพรูปแบบการทำงานของพรรคการเมืองนี้ได้ดี แม้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะเป็นกระทรวงใหม่ ที่ถูกจัดอยู่ในกระทรวงเกรด ซี ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนกระทรวงเกรดเอ อย่าง คมนาคม หรือ เกษตร ที่ต่างมีเมกะโปรเจคที่ต้องเทงบประมาณแผ่นดินต่อปีให้มากมายมหาศาล
แต่ในความเล็กของกระทรวงการท่องเที่ยวนี้ กลับเป็นขุมทรัพย์ ของพรรคชาติไทยมาโดยตลอด เพราะท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่แพ้ธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลจึงเทงบให้ไม่อั้น เพียงหวังให้เป็นฟันเฟืองดึงเศรษฐกิจไทยขึ้นจากก้นเหว แต่สุดท้ายก็อิ่มอยู่กับพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว
***ส่งคนของตัวเองคุมเบ็ดเสร็จ*****
คนแล้วคนเล่าที่เข้ามานั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ล้วนแต่ต้องทำงานตามความต้องการของหัวหน้าพรรคไม่มากก็น้อย ยกเว้น นายสุวิทย์ ยอดมณี เพราะเป็นรัฐมนตรีของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. ประกอบการความที่เป็นพรรคการเมืองที่ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯมาต่อเนื่อง ทำให้ ณ ตอนนี้ คนของพรรคชาติไทย หรือ ชาติไทยพัฒนาในปัจจุบันได้แผ่กิ่งก้านสาขา ลงไปยังทุกหน่วยงานทั้งของกระทรวงการท่องเที่ยวเอง และ รุกคืบมาที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กฎเกณฑ์ภายใต้พรบ.การท่องเที่ยว ฉบับใหม่ที่ต้องการให้ททท. มีการบริหารที่เป็นอิสระจากการเมือง จึงกำหนดว่า ไม่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธานบอร์ด ททท.โดยตำแหน่งเหมือนอย่างที่ผ่านมา แต่ให้เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “แล้วต่างกันตรงไหน”
เพราะคงไม่มีใครแต่งตั้งคนที่ตัวเองไม่รู้จักมักจี่มานั่งเป็นหูเป็นตาในสำคัญเช่นนี้
****ใครขวางต้องพ้นทาง******
แต่คราวนี้ก็รู้ๆกันอยู่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯคนปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นร่างทรงของคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคชาติไทยพัฒนาอยู่ดี ส่วนวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตประธานบอร์ดททท.ที่เพิ่งลาออกไปนั้น ก็เป็นผู้ที่ทำงานให้กับ นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองอยู่
โดยลึกๆแล้ว ระหว่างนายชุมพล ศิลปะอาชา กับนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ไม่ได้รู้จักกันอย่างลึกซึ้ง
แต่หากพูดง่ายๆภาษาชาวบ้านคือ “มีนายคนเดียวกัน” ทำให้ภาพการทำงานของคนทั้ง 2 ไม่ค่อยประสานกันมากนัก และอาจบาดลึกจนเป็นสาเหตุให้นายวีระศักดิ์ ต้องลาออกจากตำแหน่ง เพราะก่อนหน้านี้ นายชุมพล ก็เคยขอเข้าประชุมกับบอร์ด ททท. โดยอ้างว่าในฐานะดูแลด้านนโยบายสูงสุดให้แก่หน่วยงานนี้ ครั้งนั้นได้ออกคำสั่ง ให้ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด หรืออีลิทการ์ด หยุดดำเนินธุรกิจจนกว่าจะมีการตัดสินชี้ขาดจากคณะรัฐมนตรี
ครั้งนี้ก็เช่นกัน การที่นายชุมพล เดินเข้าไปร่วมประชุมบอร์ดททท.อีกครั้ง และสั่งให้เป็นการประชุมลับ โดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องต้องเดินออกมาให้หมด จากนั้นก็เปิดฉาก สั่งด้วยว่าจา ว่าด้วย เรื่องการโยกย้ายตำแหน่งของนายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยว ให้ขึ้นเป็นที่ปรึกษาระดับ 11
โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสมควรจะเป็นเสาหลักอย่างดีให้ ททท.
แต่อย่างไรก็ฟังไม่ขึ้น เพราะทุกคนในหน่วยงาน ททท.ต่างรู้รูปแบบการทำงานของพรรคการเมืองนี้เป็นอย่างดี หากใครขวางทาง หรือทำงานไม่สนองพรรคฯต้องออกไป เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ คนของ ททท.โดยกลั่นแกล้ง เพราะย้ายแบบ 24 ชั่วโมง ก็โดนมาแล้ว ด้วยว่าไปบังเอิญรู้ความลับบางอย่าง
***ย้ายอักกพลฉนวนแตกหัก****
ชนวนการโยกย้ายนายอักกพล ซึ่งเป็นคนทำงานที่ทุ่มเทคนหนึ่งของ ททท. จึงเป็นจุดแตกหัก ให้สหภาพรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) และพนักงาน ททท.ทุกคนทนไม่ได้กับพฤติกรรมล้วงลูกแบบไม่ไว้หน้าแบบนี้ พนักงาน ททท.ทุกคนเห็นตรงกันว่า ทุกวันนี้ องค์กรขาดเอกภาพการทำงานอย่างสุดๆแล้ว เพราะไม่ว่าจะจับต้องอะไรที่ใช้เงินงบประมาณ ต้องมีบริษัทที่มีสายสะดือเกี่ยวโยงกับพรรคการเมืองนี้เข้ามารับงานเกือบทั้งสิ้น แม้จะมีการตกลงกับบริษัทอื่นๆไปแล้วก็ตาม แต่หากยังไม่ถึงขั้นจ่ายเงิน ก็ต้องถูกดึงกลับ เปลี่ยนบริษัทเอเยนซี่ ที่มีราคาสูงกว่า 1-2 เท่ามาดำเนินการแทน
ทุกวันนี้รัฐบาลให้ความหวังกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะออกโครงการสิ่งใดมา ต้องมีชื่อของกระทรวงการท่องเที่ยวฯเข้าไปขอรับงบประมาณทั้งสิ้น รวมๆแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้ง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากงบกลาง และ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการไทยเข้มแข็ง เป็นต้น แต่ก็ไม่เห็นว่า เอกชนจะลืมตาอาปากขึ้นมาได้ เพราะยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ดี
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมือง แต่อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการใช้งบ “เกาไม่ถูกที่คัน” มากกว่า ถึงขนาดที่ว่าการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรครั้ง
ล่าสุด ยังมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่ง ออกมาพูดว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯไม่ต้องแจกแจงงบประมาณหรอกว่าจะขอไปทำโครงการใดบ้าง เพราะหลังจากนั้นก็จะมีการโยกงบประมาณ เพื่อไปลงที่ บึงฉวาก และ พิพิธภัณฑ์ ลูกหลายมังกร ที่ จ.สุพรรณบุรีหมด หรือหากสังเกตดีๆ ทุกโครงการที่ ททท.ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดโปรโมท เส้นทางท่องเที่ยว จะต้องมี เส้นทางเที่ยว จ.สุพรรณบุรี สอดแทรกไปด้วยทุกครั้งไป
***การเมืองครอบขาดอิสระทางความคิด*****
นายเสรี วังส์ไพจิตร คณะบดีคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมัยที่ตนเองเป็นผู้ว่าการ ททท. การเมืองไม่ค่อยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับหน่วยงาน ททท.มากเช่นทุกวันนี้ ทำให้เราทำงานอย่างมีอิสระ การที่พรรคการเมืองเข้ามาดูแลหน่วยงานหากมองเป็นเรื่องที่ดีก็ได้ ถ้ามาแล้วช่วยคิดด้านนโยบาย อย่างมาเพียงเพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตัวเองมากจนเกินไป ททท.เคยมีอิสระทางความคิด การทำงาน แต่ทุกวันนี้พรรคการเมืองอาจใช้อำนาจของตัวเองในทางที่ไม่ถูกนัก ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คนททท.จะลุกขึ้นมาปกป้องหรือคัดค้าน ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะไม่ควร
สิ่งดีที่สุดที่รัฐบาลจะทำได้ขณะนี้ คือการเร่งคลอดวาระท่องเที่ยว ที่บอกว่าจะให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะถือเป็นวิธีเดียวที่จะบูรณาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบได้อย่างแท้จริง เวลานี้เป็นช่วงที่เหมาะแก้การบูรณาการท่องเที่ยวมากที่สุดแล้ว เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตแบบยั่งยืน เป็นเหมือนทองให้พรรคการเมืองใดมาขุดไปโดยประเทศได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย
จากฉายาที่นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ว่าเป็น “จอมล้วงลูก” นั้นคงฉายภาพรูปแบบการทำงานของพรรคการเมืองนี้ได้ดี แม้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะเป็นกระทรวงใหม่ ที่ถูกจัดอยู่ในกระทรวงเกรด ซี ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนกระทรวงเกรดเอ อย่าง คมนาคม หรือ เกษตร ที่ต่างมีเมกะโปรเจคที่ต้องเทงบประมาณแผ่นดินต่อปีให้มากมายมหาศาล
แต่ในความเล็กของกระทรวงการท่องเที่ยวนี้ กลับเป็นขุมทรัพย์ ของพรรคชาติไทยมาโดยตลอด เพราะท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่แพ้ธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลจึงเทงบให้ไม่อั้น เพียงหวังให้เป็นฟันเฟืองดึงเศรษฐกิจไทยขึ้นจากก้นเหว แต่สุดท้ายก็อิ่มอยู่กับพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว
***ส่งคนของตัวเองคุมเบ็ดเสร็จ*****
คนแล้วคนเล่าที่เข้ามานั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ล้วนแต่ต้องทำงานตามความต้องการของหัวหน้าพรรคไม่มากก็น้อย ยกเว้น นายสุวิทย์ ยอดมณี เพราะเป็นรัฐมนตรีของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. ประกอบการความที่เป็นพรรคการเมืองที่ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวฯมาต่อเนื่อง ทำให้ ณ ตอนนี้ คนของพรรคชาติไทย หรือ ชาติไทยพัฒนาในปัจจุบันได้แผ่กิ่งก้านสาขา ลงไปยังทุกหน่วยงานทั้งของกระทรวงการท่องเที่ยวเอง และ รุกคืบมาที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กฎเกณฑ์ภายใต้พรบ.การท่องเที่ยว ฉบับใหม่ที่ต้องการให้ททท. มีการบริหารที่เป็นอิสระจากการเมือง จึงกำหนดว่า ไม่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธานบอร์ด ททท.โดยตำแหน่งเหมือนอย่างที่ผ่านมา แต่ให้เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “แล้วต่างกันตรงไหน”
เพราะคงไม่มีใครแต่งตั้งคนที่ตัวเองไม่รู้จักมักจี่มานั่งเป็นหูเป็นตาในสำคัญเช่นนี้
****ใครขวางต้องพ้นทาง******
แต่คราวนี้ก็รู้ๆกันอยู่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯคนปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นร่างทรงของคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคชาติไทยพัฒนาอยู่ดี ส่วนวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตประธานบอร์ดททท.ที่เพิ่งลาออกไปนั้น ก็เป็นผู้ที่ทำงานให้กับ นายบรรหาร ศิลปะอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองอยู่
โดยลึกๆแล้ว ระหว่างนายชุมพล ศิลปะอาชา กับนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ไม่ได้รู้จักกันอย่างลึกซึ้ง
แต่หากพูดง่ายๆภาษาชาวบ้านคือ “มีนายคนเดียวกัน” ทำให้ภาพการทำงานของคนทั้ง 2 ไม่ค่อยประสานกันมากนัก และอาจบาดลึกจนเป็นสาเหตุให้นายวีระศักดิ์ ต้องลาออกจากตำแหน่ง เพราะก่อนหน้านี้ นายชุมพล ก็เคยขอเข้าประชุมกับบอร์ด ททท. โดยอ้างว่าในฐานะดูแลด้านนโยบายสูงสุดให้แก่หน่วยงานนี้ ครั้งนั้นได้ออกคำสั่ง ให้ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด หรืออีลิทการ์ด หยุดดำเนินธุรกิจจนกว่าจะมีการตัดสินชี้ขาดจากคณะรัฐมนตรี
ครั้งนี้ก็เช่นกัน การที่นายชุมพล เดินเข้าไปร่วมประชุมบอร์ดททท.อีกครั้ง และสั่งให้เป็นการประชุมลับ โดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องต้องเดินออกมาให้หมด จากนั้นก็เปิดฉาก สั่งด้วยว่าจา ว่าด้วย เรื่องการโยกย้ายตำแหน่งของนายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าท่องเที่ยว ให้ขึ้นเป็นที่ปรึกษาระดับ 11
โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสมควรจะเป็นเสาหลักอย่างดีให้ ททท.
แต่อย่างไรก็ฟังไม่ขึ้น เพราะทุกคนในหน่วยงาน ททท.ต่างรู้รูปแบบการทำงานของพรรคการเมืองนี้เป็นอย่างดี หากใครขวางทาง หรือทำงานไม่สนองพรรคฯต้องออกไป เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ คนของ ททท.โดยกลั่นแกล้ง เพราะย้ายแบบ 24 ชั่วโมง ก็โดนมาแล้ว ด้วยว่าไปบังเอิญรู้ความลับบางอย่าง
***ย้ายอักกพลฉนวนแตกหัก****
ชนวนการโยกย้ายนายอักกพล ซึ่งเป็นคนทำงานที่ทุ่มเทคนหนึ่งของ ททท. จึงเป็นจุดแตกหัก ให้สหภาพรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สรทท.) และพนักงาน ททท.ทุกคนทนไม่ได้กับพฤติกรรมล้วงลูกแบบไม่ไว้หน้าแบบนี้ พนักงาน ททท.ทุกคนเห็นตรงกันว่า ทุกวันนี้ องค์กรขาดเอกภาพการทำงานอย่างสุดๆแล้ว เพราะไม่ว่าจะจับต้องอะไรที่ใช้เงินงบประมาณ ต้องมีบริษัทที่มีสายสะดือเกี่ยวโยงกับพรรคการเมืองนี้เข้ามารับงานเกือบทั้งสิ้น แม้จะมีการตกลงกับบริษัทอื่นๆไปแล้วก็ตาม แต่หากยังไม่ถึงขั้นจ่ายเงิน ก็ต้องถูกดึงกลับ เปลี่ยนบริษัทเอเยนซี่ ที่มีราคาสูงกว่า 1-2 เท่ามาดำเนินการแทน
ทุกวันนี้รัฐบาลให้ความหวังกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลจะออกโครงการสิ่งใดมา ต้องมีชื่อของกระทรวงการท่องเที่ยวฯเข้าไปขอรับงบประมาณทั้งสิ้น รวมๆแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท ทั้ง โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากงบกลาง และ งบกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการไทยเข้มแข็ง เป็นต้น แต่ก็ไม่เห็นว่า เอกชนจะลืมตาอาปากขึ้นมาได้ เพราะยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่ดี
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมือง แต่อีกส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการใช้งบ “เกาไม่ถูกที่คัน” มากกว่า ถึงขนาดที่ว่าการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรครั้ง
ล่าสุด ยังมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่ง ออกมาพูดว่า กระทรวงการท่องเที่ยวฯไม่ต้องแจกแจงงบประมาณหรอกว่าจะขอไปทำโครงการใดบ้าง เพราะหลังจากนั้นก็จะมีการโยกงบประมาณ เพื่อไปลงที่ บึงฉวาก และ พิพิธภัณฑ์ ลูกหลายมังกร ที่ จ.สุพรรณบุรีหมด หรือหากสังเกตดีๆ ทุกโครงการที่ ททท.ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดโปรโมท เส้นทางท่องเที่ยว จะต้องมี เส้นทางเที่ยว จ.สุพรรณบุรี สอดแทรกไปด้วยทุกครั้งไป
***การเมืองครอบขาดอิสระทางความคิด*****
นายเสรี วังส์ไพจิตร คณะบดีคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมัยที่ตนเองเป็นผู้ว่าการ ททท. การเมืองไม่ค่อยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับหน่วยงาน ททท.มากเช่นทุกวันนี้ ทำให้เราทำงานอย่างมีอิสระ การที่พรรคการเมืองเข้ามาดูแลหน่วยงานหากมองเป็นเรื่องที่ดีก็ได้ ถ้ามาแล้วช่วยคิดด้านนโยบาย อย่างมาเพียงเพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตัวเองมากจนเกินไป ททท.เคยมีอิสระทางความคิด การทำงาน แต่ทุกวันนี้พรรคการเมืองอาจใช้อำนาจของตัวเองในทางที่ไม่ถูกนัก ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่คนททท.จะลุกขึ้นมาปกป้องหรือคัดค้าน ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะไม่ควร
สิ่งดีที่สุดที่รัฐบาลจะทำได้ขณะนี้ คือการเร่งคลอดวาระท่องเที่ยว ที่บอกว่าจะให้เป็นวาระแห่งชาติ ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะถือเป็นวิธีเดียวที่จะบูรณาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบได้อย่างแท้จริง เวลานี้เป็นช่วงที่เหมาะแก้การบูรณาการท่องเที่ยวมากที่สุดแล้ว เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตแบบยั่งยืน เป็นเหมือนทองให้พรรคการเมืองใดมาขุดไปโดยประเทศได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย