ASTVผู้จัดการรายวัน-การท่าเรือทุ่มงบ 1,000 ล้านบาทปรับปรุงระบบไอที พัฒนาเป็นท่าเรืออิเล็คทรอนิกส์ (e-Port) ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ 20% เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน “เกื้อกูล” คงนโยบายตู้สินค้าท่าเรือกรุงเทพไม่เกิน 1.34 ทีอียูต่อปี ชี้พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดแออัดในเขตท่าเรือ คาดระบบสมบูรณ์ทั้งท่ากรุงเทพและแหลมฉบังปลายปี 53
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังตรวจความคืบหน้าโครงการท่าเรืออิเล็คทรอนิกส์(e-Port) วานนี้ (2 ก.ย.) ว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อใช้ในการให้บริการที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ). ซึ่งจะผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกที่รวดเร็วมากขึ้น ช่วยให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ประมาณ 20% โดยระบบทั้งหมดจะติดตั้งเสร็จและใช้งานได้สมบูรณ์ประมาณปลายปี 2553
นายเกื้อกูล กล่าวว่า การลดต้นทุนและเวลาในการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้นำเข้าและส่งออกถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าท่าเรือกรุงเทพจะสามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้รวดเร็วขึ้นทำให้ลดความแออัดลงได้แต่จะยังคงนโยบายจำกัดปริมาณตู้สินค้าไว้ที่ 1.34 ล้านทีอียูต่อปี ต่อไปโดยให้ตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้นไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังที่จะมีการพัฒนาในระยะที่ 3
“การพัฒนาและนำระบบไอทีมาใช้ในการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของการท่าเรือ”นายเกื้อกูลกล่าว
นางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการและรักษาการผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่า โครงการ e-Port เป็นการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานที่สำคัญของท่าเรือ เพื่อให้มีมาตรฐานการให้บริการเป็นสากล โดยกทท.ได้พัฒนาปรับปรุงด้านการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ไม่ต้องเดินทางมาติดต่อธุรกรรมที่ท่าเรือเพื่อสนับสนุนนโยบายลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของ ให้ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการการขนส่งสินค้าทางน้ำมากขึ้น เป็นการสนับสนุนนโยบายการลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
สำหรับ โครงการท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ กทท.ใช้งบลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในส่วนของท่าเรือกรุงเทพ อยู่ระหว่างการติดตั้ง ระบบ e-GATE คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้งานได้เดือนม.ค. 2553 นอกจากนี้ยังมีการนำระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal Management System :CTMS) มาใช้แทนระบบเดิม ลงทุนประมาณ 130 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทดสอบระบบใหม่คู่ขนานกับระบบเก่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รวมทั้งติดตั้งระบบแจ้งข้อมูลเรืออัตโนมัติ (AIS) ที่ขณะนี้กทท.ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจมาเป็นสมาชิกตั้งแต่กลางปี 2551 ส่วนท่าเรือแหลมฉบังติดตั้งระบบ e-TOLL ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ม.ค. 52
ทั้งนี้ระบบ CTMS ที่ท่าเรือกรุงเทพนั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารจัดการตู้สินค้า รับส่งข้อมูบด้วยระบบ EDI โดยจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น70% ลดเวลาเรือใช้ท่าจาก 17ชม./เที่ยวเป็น 16 ชม./เที่ยว ลดเวลาเรือปฎิบัติงานจาก 14 ชม./เที่ยวเป็น 13 ชม./เที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพการยกตู้สินค้าจาก 22 ตู้/ปั่นจั่น/ชม. เป็น 25 ตู้/ปั่นจั่น/ชม.ลดระยะเวลาส่งมอบและรับมอบตู้จาก 37 นาที/ตู้เป็น 35 นาที/ตู้ ในส่วนของมาตรการรักษาความปลอดภัยในบริเวณท่าเรือนั้น กทท.ได้ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จำนวน 39 ตัว ครอบคลุมพื้นที่ในเขตรั้วศุลกากรของท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อตรวจจับผู้บุกรุกเขตหวงห้าม และส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก และสามารถตรวจสอบการกระทำความผิดต่างๆได้
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังตรวจความคืบหน้าโครงการท่าเรืออิเล็คทรอนิกส์(e-Port) วานนี้ (2 ก.ย.) ว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้นำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อใช้ในการให้บริการที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ). ซึ่งจะผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกที่รวดเร็วมากขึ้น ช่วยให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ประมาณ 20% โดยระบบทั้งหมดจะติดตั้งเสร็จและใช้งานได้สมบูรณ์ประมาณปลายปี 2553
นายเกื้อกูล กล่าวว่า การลดต้นทุนและเวลาในการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้นำเข้าและส่งออกถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าท่าเรือกรุงเทพจะสามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้รวดเร็วขึ้นทำให้ลดความแออัดลงได้แต่จะยังคงนโยบายจำกัดปริมาณตู้สินค้าไว้ที่ 1.34 ล้านทีอียูต่อปี ต่อไปโดยให้ตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้นไปใช้ท่าเรือแหลมฉบังที่จะมีการพัฒนาในระยะที่ 3
“การพัฒนาและนำระบบไอทีมาใช้ในการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของการท่าเรือ”นายเกื้อกูลกล่าว
นางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการและรักษาการผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่า โครงการ e-Port เป็นการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานที่สำคัญของท่าเรือ เพื่อให้มีมาตรฐานการให้บริการเป็นสากล โดยกทท.ได้พัฒนาปรับปรุงด้านการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ไม่ต้องเดินทางมาติดต่อธุรกรรมที่ท่าเรือเพื่อสนับสนุนนโยบายลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของ ให้ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการการขนส่งสินค้าทางน้ำมากขึ้น เป็นการสนับสนุนนโยบายการลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
สำหรับ โครงการท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ กทท.ใช้งบลงทุนรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยในส่วนของท่าเรือกรุงเทพ อยู่ระหว่างการติดตั้ง ระบบ e-GATE คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้งานได้เดือนม.ค. 2553 นอกจากนี้ยังมีการนำระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal Management System :CTMS) มาใช้แทนระบบเดิม ลงทุนประมาณ 130 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทดสอบระบบใหม่คู่ขนานกับระบบเก่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รวมทั้งติดตั้งระบบแจ้งข้อมูลเรืออัตโนมัติ (AIS) ที่ขณะนี้กทท.ได้เปิดให้ผู้ที่สนใจมาเป็นสมาชิกตั้งแต่กลางปี 2551 ส่วนท่าเรือแหลมฉบังติดตั้งระบบ e-TOLL ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ม.ค. 52
ทั้งนี้ระบบ CTMS ที่ท่าเรือกรุงเทพนั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารจัดการตู้สินค้า รับส่งข้อมูบด้วยระบบ EDI โดยจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น70% ลดเวลาเรือใช้ท่าจาก 17ชม./เที่ยวเป็น 16 ชม./เที่ยว ลดเวลาเรือปฎิบัติงานจาก 14 ชม./เที่ยวเป็น 13 ชม./เที่ยว เพิ่มประสิทธิภาพการยกตู้สินค้าจาก 22 ตู้/ปั่นจั่น/ชม. เป็น 25 ตู้/ปั่นจั่น/ชม.ลดระยะเวลาส่งมอบและรับมอบตู้จาก 37 นาที/ตู้เป็น 35 นาที/ตู้ ในส่วนของมาตรการรักษาความปลอดภัยในบริเวณท่าเรือนั้น กทท.ได้ติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จำนวน 39 ตัว ครอบคลุมพื้นที่ในเขตรั้วศุลกากรของท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อตรวจจับผู้บุกรุกเขตหวงห้าม และส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีผู้บุกรุก และสามารถตรวจสอบการกระทำความผิดต่างๆได้