ASTVผู้จัดการรายวัน - เอเซีย พลัส เผยสนซื้อหุ้นหรือร่วมทุนธุรกิจด้านการเงินกับ บจ.ที่เทรดในตลาดไม่เน้นธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ขอให้เสริมsynergy ต่อกันเชื่อหนุนบริษัทให้เติบโต พร้อมกระจายรายได้ให้เหมาะสมลดความเสี่ยงรองรับการเปิดเสรี
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) เปิดเผยว่า บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจด้านการเงินที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมองว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมรายได้อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกลยุทธ์การลงทุนนอกเหนือจากการลงทุนในพอร์ตซื้อขายหุ้น
" อะไรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรงแต่ถ้าสามารถต่อยอดธุรกิจด้านการลงทุนเราก็จะซื้อ การลงทุนตอนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญของ ASP ซึ่งเรายังมีกระสุนอีกเยอะ แต่การซื้อของเราจะมากน้อยก็อยู่ที่เราพิจารณา ไม่จำเป็นว่าธุรกิจที่จะเข้าไปร่วมทุนจะต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องก็ได้ แต่มี synergy ซึ่งกันและกันก็พอ" นายก้องเกียรติ กล่าว
โดยปัจจุบัน พอร์ตการลงทุนของบริษัทมีเม็ดเงิน 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 1% ของมูลค่าตลาดรวม แบ่งเป็นหุ้น 40% มาร์จินโลน 30% และที่เหลืออื่นๆ เช่น ตราสารหนี้ พันธบัตร และการลงทุนในตลาดเงิน
นายก้องเกียรติกล่าวว่า หลังจากนี้สิ่งที่สำคัญของธุรกิจโบรกเกอร์ คือการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในทางธุรกิจ และการกระจายรายได้ให้เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทกระจายรายได้ส่วนโบรกเกอร์ลดลงและเพิ่มส่วนการลงทุนให้มากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโบรกเกอร์ 59% จากปีก่อนอยู่ที่ 69% ขณะที่สัดส่วนรายได้จากพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 32% จากปีก่อน 17% ด้านธุรกิจบริหารสินทรัพย์ 6% และงานด้านวาณิชธนกิจ (IB) 2%
สำหรับงาน IB นั้น บริษัทได้รับงานอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ครึ่งปีแรกมีงานออกมาน้อยมาก ดีลขนาดใหญ่ก็ไม่มีให้เห็น แต่ก็ยังมีดีลที่อยู่ในมือทยอยทำแบ่งเป็นงานที่ปรึกษากระจายหุ้น IPO ราว 10 ดีล งานที่ปรึกษาควบรวมกิจการ(M&A) 2 ดีล งานที่ปรึกษาออกหุ้นเพิ่มทุน(PO) 1 ดีล และงานที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) 5 ดีล
นายก้องเกียรติกล่าวถึงภาพรวมของตลาดหุ้นไทยว่า ยังมีโอกาสในการลงทุนสูงเนื่องจากพบว่ามีหุ้นกว่า 200 บริษัท ที่มีการซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี(BV) และยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะเลือกลงทุน ขณะนี้ถือว่ามีสัญญาณที่ดีที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีโดยเฉพาะเศรษฐกิจทั่วโลก และแรงกระตุ้นของรัฐบาลที่อัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ขณะที่ในไทยรัฐบาลก็มีการอัดฉีดเงินลงทุนซึ่งก็ทำให้ภาคธุรกิจเกิดความมั่นใจต่อการลงทุน โดยประเมินว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะโต 40% ในปีหน้า 16% แต่ปัจจัยกดดันคือเรื่องการเมืองซึ่งไม่อาจหยั่งรู้ได้
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) (ASP) เปิดเผยว่า บริษัทมีความสนใจที่จะเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจด้านการเงินที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมองว่าจะเป็นโอกาสในการเสริมรายได้อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกลยุทธ์การลงทุนนอกเหนือจากการลงทุนในพอร์ตซื้อขายหุ้น
" อะไรที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรงแต่ถ้าสามารถต่อยอดธุรกิจด้านการลงทุนเราก็จะซื้อ การลงทุนตอนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญของ ASP ซึ่งเรายังมีกระสุนอีกเยอะ แต่การซื้อของเราจะมากน้อยก็อยู่ที่เราพิจารณา ไม่จำเป็นว่าธุรกิจที่จะเข้าไปร่วมทุนจะต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องก็ได้ แต่มี synergy ซึ่งกันและกันก็พอ" นายก้องเกียรติ กล่าว
โดยปัจจุบัน พอร์ตการลงทุนของบริษัทมีเม็ดเงิน 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 1% ของมูลค่าตลาดรวม แบ่งเป็นหุ้น 40% มาร์จินโลน 30% และที่เหลืออื่นๆ เช่น ตราสารหนี้ พันธบัตร และการลงทุนในตลาดเงิน
นายก้องเกียรติกล่าวว่า หลังจากนี้สิ่งที่สำคัญของธุรกิจโบรกเกอร์ คือการเตรียมความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในทางธุรกิจ และการกระจายรายได้ให้เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทกระจายรายได้ส่วนโบรกเกอร์ลดลงและเพิ่มส่วนการลงทุนให้มากขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโบรกเกอร์ 59% จากปีก่อนอยู่ที่ 69% ขณะที่สัดส่วนรายได้จากพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 32% จากปีก่อน 17% ด้านธุรกิจบริหารสินทรัพย์ 6% และงานด้านวาณิชธนกิจ (IB) 2%
สำหรับงาน IB นั้น บริษัทได้รับงานอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ครึ่งปีแรกมีงานออกมาน้อยมาก ดีลขนาดใหญ่ก็ไม่มีให้เห็น แต่ก็ยังมีดีลที่อยู่ในมือทยอยทำแบ่งเป็นงานที่ปรึกษากระจายหุ้น IPO ราว 10 ดีล งานที่ปรึกษาควบรวมกิจการ(M&A) 2 ดีล งานที่ปรึกษาออกหุ้นเพิ่มทุน(PO) 1 ดีล และงานที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) 5 ดีล
นายก้องเกียรติกล่าวถึงภาพรวมของตลาดหุ้นไทยว่า ยังมีโอกาสในการลงทุนสูงเนื่องจากพบว่ามีหุ้นกว่า 200 บริษัท ที่มีการซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี(BV) และยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะเลือกลงทุน ขณะนี้ถือว่ามีสัญญาณที่ดีที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีโดยเฉพาะเศรษฐกิจทั่วโลก และแรงกระตุ้นของรัฐบาลที่อัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ขณะที่ในไทยรัฐบาลก็มีการอัดฉีดเงินลงทุนซึ่งก็ทำให้ภาคธุรกิจเกิดความมั่นใจต่อการลงทุน โดยประเมินว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะโต 40% ในปีหน้า 16% แต่ปัจจัยกดดันคือเรื่องการเมืองซึ่งไม่อาจหยั่งรู้ได้