ASTVผู้จัดการรายวัน- ขอ.เล็งปรับปรุงระเบียบการบิน ลดทุนจดทะเบียนเครื่องบินขนาดกลาง 30-50 ที่นั่ง หวังช่วยลดต้นทุนสายการบินเพิ่มเครื่องบินขนาดเล็กให้บริการผู้โดยสาร คาดสรุปได้เดือนก.ย.นี้
นางกรรณิการ์ เขมาวุฒานนท์ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมปรับปรุงกฎระเบียบ เกี่ยวกับคุณสมบัติและหลักเกณฑ์พิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ใหม่ในส่วนที่กำหนดทุนจดทะเบียนสำหรับการบินแบบประจำ ซึ่งปัจจุบันนั้นมีหลักเกณฑ์การพิจารณาเพียง 2 ประเภท เท่านั้น คือ การบินแบบประจำด้วยอากาศยานขนาดเล็ก น้ำหนักสูงสุดเมื่อบินขึ้นไม่เกิน 5700 กิโลกรัม มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท และการบินแบบประจำขนาดใหญ่ มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
ทั้งนี้ การมีระเบียบด้านทุนจดทะเบียนเพียง 2 ประเภท เป็นข้อจำกัดของสายการบินขนาดกลาง ที่ต้องการจดทะเบียนแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น สายการบินที่มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารระหว่าง 30-50 ที่นั่ง ซึ่งต้องข้ามไปจดทะเบียนประเภทอากาศยานขนาดใหญ่ ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ซึ่งกรมฯได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ย.นี้ ก่อนจะเสนอมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป
“มีผู้ประกอบหลายรายได้ติดต่อเข้ามาว่ามีแรงตอบรับจากผู้โดยสารที่อยู่ในจังหวัดเล็กๆ ที่อยากมีเที่ยวบินให้บริการ แต่จำนวนผู้โดยสารไม่มากนักในระดับประมาณ 30 คนต่อเที่ยว เช่น ชุมพร ระนอง ซึ่งเหมาะกับเครื่องบินขนาดกลาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสนามบินของขอ.อยู่ ดังนั้นหากมีเที่ยวบินไปลงยังสนามบินเหล่านี้ได้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นด้วย ซึ่งหากสามารถแบ่งระดับการจดทะเบียนอากาศยานเป็น 3 ระดับ โดยเพิ่มเครื่องบินขนาดกลาง จากเดิมที่มี แค่ 2 ประเภท ก็จะช่วยให้มีสายการบินที่สามารถเข้ามาบริการได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางที่มีความต้องการและยังช่วยลดต้นทุนของสายการบินด้วย ”นางกรรณิการ์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ กรมฯ ได้มีการเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาออกกฎระเบียบด้านการบินเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสายการบินขนาดเล็ก โดยจะกำหนดให้สายการบินที่ทำการบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กที่มีความจุไม่เกิน 20 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัทการบินประจำได้ ภายใต้ทุนจดทะเบียนเพียง 50 ล้านบาท จากเดิมที่กำหนดว่าสายการบินที่จะเปิดให้บริการในรูปแบบการบินเชิงพาณิชย์แบบประจำเส้นทางจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท แต่ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ ประจำปี 2553 นั้น กรมฯ มีแผนการพัฒนาท่าอากาศยานจำนวน 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 หรือแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ประกอบด้วย ท่าอากาศยานปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเงินรวม 38 ล้านบาท แบ่งเป็น งานต่อเติมความยาวทางวิ่ง (รันเวย์) เพิ่มเติมอีก 200 เมตร วงเงิน 27 ล้านบาท และงานปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิมที่มีอายุการใช้งานนานให้อยู่ในสภาพดี วงเงิน 8 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 10 เดือน
รวมทั้งการปรับปรุงพื้นที่ข้างทางวิ่งเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะ ที่ท่าอากาศยานหัวหินวงเงิน 20 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่ด้านข้างทางวิ่งมีความลาดชันสูง เนื่องจากถูกกัดเซาะจากน้ำฝนไหลที่ออกจากทางวิ่งลงไปยังที่ระบายน้ำด้านล่าง แม้ว่าปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกหญ้า แต่ไม่สามารถลดการกัดเซาะได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ทางวิ่งเกิดการทรุดตัวเสียหายและเป็นอันตรายได้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 7 เดือน
นางกรรณิการ์ เขมาวุฒานนท์ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมปรับปรุงกฎระเบียบ เกี่ยวกับคุณสมบัติและหลักเกณฑ์พิจารณาการขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ใหม่ในส่วนที่กำหนดทุนจดทะเบียนสำหรับการบินแบบประจำ ซึ่งปัจจุบันนั้นมีหลักเกณฑ์การพิจารณาเพียง 2 ประเภท เท่านั้น คือ การบินแบบประจำด้วยอากาศยานขนาดเล็ก น้ำหนักสูงสุดเมื่อบินขึ้นไม่เกิน 5700 กิโลกรัม มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 35 ล้านบาท และการบินแบบประจำขนาดใหญ่ มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
ทั้งนี้ การมีระเบียบด้านทุนจดทะเบียนเพียง 2 ประเภท เป็นข้อจำกัดของสายการบินขนาดกลาง ที่ต้องการจดทะเบียนแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น สายการบินที่มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารระหว่าง 30-50 ที่นั่ง ซึ่งต้องข้ามไปจดทะเบียนประเภทอากาศยานขนาดใหญ่ ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ซึ่งกรมฯได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ย.นี้ ก่อนจะเสนอมาที่กระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาต่อไป
“มีผู้ประกอบหลายรายได้ติดต่อเข้ามาว่ามีแรงตอบรับจากผู้โดยสารที่อยู่ในจังหวัดเล็กๆ ที่อยากมีเที่ยวบินให้บริการ แต่จำนวนผู้โดยสารไม่มากนักในระดับประมาณ 30 คนต่อเที่ยว เช่น ชุมพร ระนอง ซึ่งเหมาะกับเครื่องบินขนาดกลาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสนามบินของขอ.อยู่ ดังนั้นหากมีเที่ยวบินไปลงยังสนามบินเหล่านี้ได้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นด้วย ซึ่งหากสามารถแบ่งระดับการจดทะเบียนอากาศยานเป็น 3 ระดับ โดยเพิ่มเครื่องบินขนาดกลาง จากเดิมที่มี แค่ 2 ประเภท ก็จะช่วยให้มีสายการบินที่สามารถเข้ามาบริการได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางที่มีความต้องการและยังช่วยลดต้นทุนของสายการบินด้วย ”นางกรรณิการ์ กล่าว
ก่อนหน้านี้ กรมฯ ได้มีการเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาออกกฎระเบียบด้านการบินเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสายการบินขนาดเล็ก โดยจะกำหนดให้สายการบินที่ทำการบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กที่มีความจุไม่เกิน 20 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งเป็นรูปแบบบริษัทการบินประจำได้ ภายใต้ทุนจดทะเบียนเพียง 50 ล้านบาท จากเดิมที่กำหนดว่าสายการบินที่จะเปิดให้บริการในรูปแบบการบินเชิงพาณิชย์แบบประจำเส้นทางจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท แต่ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน ที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ ประจำปี 2553 นั้น กรมฯ มีแผนการพัฒนาท่าอากาศยานจำนวน 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 หรือแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ประกอบด้วย ท่าอากาศยานปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเงินรวม 38 ล้านบาท แบ่งเป็น งานต่อเติมความยาวทางวิ่ง (รันเวย์) เพิ่มเติมอีก 200 เมตร วงเงิน 27 ล้านบาท และงานปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิมที่มีอายุการใช้งานนานให้อยู่ในสภาพดี วงเงิน 8 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 10 เดือน
รวมทั้งการปรับปรุงพื้นที่ข้างทางวิ่งเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะ ที่ท่าอากาศยานหัวหินวงเงิน 20 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมาพื้นที่ด้านข้างทางวิ่งมีความลาดชันสูง เนื่องจากถูกกัดเซาะจากน้ำฝนไหลที่ออกจากทางวิ่งลงไปยังที่ระบายน้ำด้านล่าง แม้ว่าปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกหญ้า แต่ไม่สามารถลดการกัดเซาะได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจทำให้ทางวิ่งเกิดการทรุดตัวเสียหายและเป็นอันตรายได้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 7 เดือน