ศูนย์ข่าวศรีราชา-สนามบินอู่ตะเภาเตรียมพลิกโฉมใหม่ดันสู่ความเป็นนานาชาติ หลังรัฐพร้อมทุ่มงบร่วม 1,000 ล้านบาท พัฒนาเชิงพานิชย์รองรับการเติบโตด้านการท่องเที่ยวในอนาคต
ที่สำนักงานท่าอากาศยานสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-เมืองพัทยา จ.ชลบุรี พล.ร.ต.สุรพงษ์ อัยสานนท์ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางอากาศ การบินไทย และเมืองพัทยา เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนาสนามบินร่วมกัน
หลังจากที่รัฐบาลและหลายฝ่ายเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างจริงจังจากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จนภาครัฐต้องหันมาใช้อู่ตะเภาแทนสนามบินหลักอย่างสุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยพบว่าประสบปัญหาในเรื่องของการให้บริการสถานที่ และบุคลากรเป็นอย่างมาก
สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการนำเสนอแผนการพัฒนาในภาพรวมของสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะกรณีในโครงการที่ทางกองทัพเรือได้เสนอไปยังส่วนกลาง เพื่อขอจัดสรรงบประมาณจำ นวน 995 ล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินการก่อสร้างอาคารรองรับผู้โดยสารใหม่ ในงบประมาณจำ นวน 600 ล้านบาท ซึ่งขยายพื้นที่จากเดิมในพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร(ตร.ม.)เป็น 25,200 ตร.ม. ที่สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออกได้จำนวนถึง 1,500 คน/ชม. หรือเพิ่มสัดส่วนการให้บริการจากเดิมเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 100 %
ทั้งนี้ จะมีการจำลองรูปแบบของอาคารมาจากท่าอากาศยานจังหวัดพิษณุโลกมาจัดทำ เพียงปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในและอุปกรณ์บางอย่างให้มีความทันสมัย และสามารถใช้งานในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินจำนวนมากได้โดยสะดวก รวมทั้งการก่อสร้างลานจอดแห่งใหม่เพิ่มเติม การจัดซื้อเครื่อง X-Ray การจัดสร้างโรงน้ำมันเชื่อเพลิง รถดับเพลิง และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์สูงสุดในปี 53-55 นี้
พล.ร.ต.สุรพงษ์ เปิดเผยว่าปัจจุบันสำหรับแผนงานการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นความดำริของภาครัฐที่เล็งเห็นว่าควรพัฒนาอู่ตะเภาให้เป็นพื้นที่สำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะได้มีการนำโครงการเสนอขอจัดสรรอย่างเป็นรูปธรรมภายในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้
ในส่วนของการเตรียมความพร้อม จากการเจรจาร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ก็ได้มอบหมายให้ทางกรมการขนส่งทางอากาศเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ ร่วมกับกรมการทหารช่างของกองทัพเรือ จากนั้นก็จะมีการร่าง TOR ก่อนนำเสนอบอร์ดการท่าอากาศยานเพื่อขอความเห็นชอบภายในระยะเวลา 2 เดือน จากนั้นก็จะมีการดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าจะสามารถลงมือปฏิบัติการได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และจะใช้เวลาในการก่อสร้างรวมแล้วจำนวน 540 วัน ซึ่งคาดว่าหากดำเนินการแล้วเสร็จก็คงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อไป
ที่สำนักงานท่าอากาศยานสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-เมืองพัทยา จ.ชลบุรี พล.ร.ต.สุรพงษ์ อัยสานนท์ รองผู้อำนวยการการท่าอากาศยานสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางอากาศ การบินไทย และเมืองพัทยา เพื่อร่วมหารือแนวทางการพัฒนาสนามบินร่วมกัน
หลังจากที่รัฐบาลและหลายฝ่ายเล็งเห็นว่า จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างจริงจังจากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จนภาครัฐต้องหันมาใช้อู่ตะเภาแทนสนามบินหลักอย่างสุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยพบว่าประสบปัญหาในเรื่องของการให้บริการสถานที่ และบุคลากรเป็นอย่างมาก
สำหรับการประชุมครั้งนี้เป็นการนำเสนอแผนการพัฒนาในภาพรวมของสนามบินอู่ตะเภา โดยเฉพาะกรณีในโครงการที่ทางกองทัพเรือได้เสนอไปยังส่วนกลาง เพื่อขอจัดสรรงบประมาณจำ นวน 995 ล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินการก่อสร้างอาคารรองรับผู้โดยสารใหม่ ในงบประมาณจำ นวน 600 ล้านบาท ซึ่งขยายพื้นที่จากเดิมในพื้นที่ 4,280 ตารางเมตร(ตร.ม.)เป็น 25,200 ตร.ม. ที่สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออกได้จำนวนถึง 1,500 คน/ชม. หรือเพิ่มสัดส่วนการให้บริการจากเดิมเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 100 %
ทั้งนี้ จะมีการจำลองรูปแบบของอาคารมาจากท่าอากาศยานจังหวัดพิษณุโลกมาจัดทำ เพียงปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในและอุปกรณ์บางอย่างให้มีความทันสมัย และสามารถใช้งานในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินจำนวนมากได้โดยสะดวก รวมทั้งการก่อสร้างลานจอดแห่งใหม่เพิ่มเติม การจัดซื้อเครื่อง X-Ray การจัดสร้างโรงน้ำมันเชื่อเพลิง รถดับเพลิง และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์สูงสุดในปี 53-55 นี้
พล.ร.ต.สุรพงษ์ เปิดเผยว่าปัจจุบันสำหรับแผนงานการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นความดำริของภาครัฐที่เล็งเห็นว่าควรพัฒนาอู่ตะเภาให้เป็นพื้นที่สำรองหากเกิดกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งจะได้มีการนำโครงการเสนอขอจัดสรรอย่างเป็นรูปธรรมภายในช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้
ในส่วนของการเตรียมความพร้อม จากการเจรจาร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ก็ได้มอบหมายให้ทางกรมการขนส่งทางอากาศเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ ร่วมกับกรมการทหารช่างของกองทัพเรือ จากนั้นก็จะมีการร่าง TOR ก่อนนำเสนอบอร์ดการท่าอากาศยานเพื่อขอความเห็นชอบภายในระยะเวลา 2 เดือน จากนั้นก็จะมีการดำเนินการก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าจะสามารถลงมือปฏิบัติการได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และจะใช้เวลาในการก่อสร้างรวมแล้วจำนวน 540 วัน ซึ่งคาดว่าหากดำเนินการแล้วเสร็จก็คงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อไป