ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจของโลก และเศรษฐกิจประเทศไทย ที่กำลังตกลงอยู่ในขณะนี้ การทำมาหากินหรือทำธุรกิจอะไร ก็ดูจะยากลำบากเสียเหลือเกิน ไม่เว้นแม้ว่าธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่รายได้หลักมาจากการปล่อยสินเชื่อ ปัจจุบันเป็นไปอย่างยากลำบาก ทั้งในส่วนของแบงก์เอง และลูกค้า ซึ่งเป็นปัญหาที่แตกต่างจากช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งที่ขาดสภาพคล่องและรับภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล แต่ปัจจุบันเป็นปัญหาสภาพคล่องล้นระบบ ปล่อยสินเชื่อไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
แบงก์กรุงศรีอยุธยา ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ช่วงภาวะเศรษรฐกิจตกต่ำขนาดนี้ มีการลงทุนหรือขยายธูรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมน้อยมาก ความต้องการสินเชื่อจึงลดลง ในขณะเดียวกันแบงก์เองก็ต้องป้องกันความเสี่ยง ที่เข้มงวด หวั่นปัญหาเอ็นพีแอล จึงเดินหน้าลุยซื้อกิจการ และพอร์ตสินเชื่อเข้าแบงก์ต่อเนื่อง หวังทดแทนการขยายธุรกิจปกติที่ยังติดลบตามภาวะเศรษฐกิจ
ล่าสุดวันที่ 29 สิงหาคม 2552 ที่จะถึงนี้ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1 / 2552 เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ธนาคารเข้าทำธุรกรรมซื้อกิจการ และ/หรือ ซื้อหุ้น และ/หรือ ถือหุ้นของ บ.บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด บ.เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด บ. จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บ. โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) บ.เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด บ.เทสโก้ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บ. เทสโก้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บ.ควอลิตี้ ไลฟ์ แอสชัวร์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท ควอลิตี้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หลังจากได้พิจารณาการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด(มหาชน) และบริษัท เอไอจี คาร์ด(ประเทศไทย) จำกัด มาแล้ว
คุณ ตัน คอง คูน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้เล่าให้ “มะจัง” ฟังถึงเหตุผลของการเข้าไปซื้อกิจการต่างๆในช่วงนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของงบดุลที่แข็งแกร่ง แบงก์ได้ดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมในภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ยากลำบากกลยุทธ์การเติบโตจากภายนอกของเรากำลังให้ดอกผลโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การเติบโตโดยปกติอาจเป็นเรื่องยาก
โดยจะใช้โอกาสดังกล่าวในการเข้าซื้อกิจการหรือพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนการขยายสินเชื่อโดยปกติ ที่ขณะนี้ซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าแบงก์ใช้นโยบายเข้าซื้อกิจการเป็นผลดีกับธนาคารและผู้ถือหุ้น เนื่องจากจังหวะดังกล่าวจะเป็นช่วงที่มีกิจการหรือพอร์ตสินเชื่อที่มีคุณภาพและราคาที่น่าพอใจ ซึ่งมั่นใจว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวเมื่อไร ธนาคารจะมีผลประกอบการที่ก้าวกระโดด
”มะจัง “ฟังดูแล้วก็น่าสนใจดีล่ะค่ะ ถ้ามีเงิน กับนโยบายซื้อกิจการ เพิ่มพอร์ตสินเชื่อ เข้ามาทดแทน ยามวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ได้เงื่อนไขดี ราคาถูก ภายใต้ภาวะกดดันกับการทำธุรกิจตามปกติที่แสนจะยากลำบาก แหม !!!! พูดยากจริงๆกับคนมีเงิน ทำอะไรก็ดูดีไปซะหมด จริงไหมคะ!!!!!
แบงก์กรุงศรีอยุธยา ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ช่วงภาวะเศรษรฐกิจตกต่ำขนาดนี้ มีการลงทุนหรือขยายธูรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมน้อยมาก ความต้องการสินเชื่อจึงลดลง ในขณะเดียวกันแบงก์เองก็ต้องป้องกันความเสี่ยง ที่เข้มงวด หวั่นปัญหาเอ็นพีแอล จึงเดินหน้าลุยซื้อกิจการ และพอร์ตสินเชื่อเข้าแบงก์ต่อเนื่อง หวังทดแทนการขยายธุรกิจปกติที่ยังติดลบตามภาวะเศรษฐกิจ
ล่าสุดวันที่ 29 สิงหาคม 2552 ที่จะถึงนี้ได้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1 / 2552 เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ธนาคารเข้าทำธุรกรรมซื้อกิจการ และ/หรือ ซื้อหุ้น และ/หรือ ถือหุ้นของ บ.บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด บ.เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด บ. จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด บ. โทเทิล เซอร์วิสเซส โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) บ.เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด บ.เทสโก้ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บ. เทสโก้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด บ.ควอลิตี้ ไลฟ์ แอสชัวร์ โบรคเกอร์ จำกัด บริษัท ควอลิตี้ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด หลังจากได้พิจารณาการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของธนาคารเอไอจี เพื่อรายย่อย จำกัด(มหาชน) และบริษัท เอไอจี คาร์ด(ประเทศไทย) จำกัด มาแล้ว
คุณ ตัน คอง คูน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้เล่าให้ “มะจัง” ฟังถึงเหตุผลของการเข้าไปซื้อกิจการต่างๆในช่วงนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของงบดุลที่แข็งแกร่ง แบงก์ได้ดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมในภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ยากลำบากกลยุทธ์การเติบโตจากภายนอกของเรากำลังให้ดอกผลโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่การเติบโตโดยปกติอาจเป็นเรื่องยาก
โดยจะใช้โอกาสดังกล่าวในการเข้าซื้อกิจการหรือพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนการขยายสินเชื่อโดยปกติ ที่ขณะนี้ซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเป็นข้อพิสูจน์แล้วว่าแบงก์ใช้นโยบายเข้าซื้อกิจการเป็นผลดีกับธนาคารและผู้ถือหุ้น เนื่องจากจังหวะดังกล่าวจะเป็นช่วงที่มีกิจการหรือพอร์ตสินเชื่อที่มีคุณภาพและราคาที่น่าพอใจ ซึ่งมั่นใจว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวเมื่อไร ธนาคารจะมีผลประกอบการที่ก้าวกระโดด
”มะจัง “ฟังดูแล้วก็น่าสนใจดีล่ะค่ะ ถ้ามีเงิน กับนโยบายซื้อกิจการ เพิ่มพอร์ตสินเชื่อ เข้ามาทดแทน ยามวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ได้เงื่อนไขดี ราคาถูก ภายใต้ภาวะกดดันกับการทำธุรกิจตามปกติที่แสนจะยากลำบาก แหม !!!! พูดยากจริงๆกับคนมีเงิน ทำอะไรก็ดูดีไปซะหมด จริงไหมคะ!!!!!