ASTVผู้จัดการรายวัน- กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอ 8 รายชื่อกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรงให้ชาญชัย 24 ส.ค.นี้เพื่อออกประกาศเรื่องการพิจารณาอนุญาตดำเนินการ เผย 8 กิจการประกอบด้วย 1.เหมืองใต้ดิน 2.เหมืองแร่ตะกั่วสังกะสีแมงกานีส 3.ปิโตรเคมีขั้นต้น-ปลาย 4. โรงถลุงเหล็ก 5.นิคมฯปิโตรเคมี-เหล็ก 6.โรงไฟฟ้า 7. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และ8.โรงกำจัดกาก
นายโกศล ใจรังสี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมที่จะเสนอร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการพิจารณาอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพให้กับนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาในวันที่ 24 ส.ค.2552 โดยร่างประกาศดังกล่าวจะมีบัญชีรายชื่อกิจการที่กระทบชุมชนต่ออย่างรุนแรง 8 กิจการ คือ 1.เหมืองใต้ดินในชั้นดินหรือชั้นหินที่แตกหักง่ายทุกขนาด 2.เหมืองแร่ตะกั่ว สังกะสีและแมงกานีส 3.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง 4.โรงถลุงเหล็ก 5.นิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางและโรงถลุงเหล็ก 6.โรงไฟฟ้า 7.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 8.โรงงานกำจัดของเสียและขยะอุตสาหกรรม
“กิจการดังกล่าวอยู่ในอำนาจการกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือที่เกี่ยวข้อง โดยเหมืองใต้ดิน เหมืองตะกั่ว แมงกานีสและสังกะสี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงกำจัดของเสียอุตสาหกรรมกำหนดให้ทุกขนาดต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ส่วนกิจการอื่นจะมีการกำหนดขนาดของกิจการไว้ ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวปรับปรุงจากร่างที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำไว้ 19 รายการ โดยตัดกิจการที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของกระทรวงอุตสาหกรรมออกไป และกิจการที่ตัดออกอาจให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องออกประกาศแทน เช่น กระทรวงคมนาคมออกประกาศกิจการท่าเรือและสนามบิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกิจการที่เกี่ยวกับการตัดแต่งพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต(จีเอ็มโอ)”นายโกศลกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดร่างประกาศดังกล่าวพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ที่กำหนดว่าต้องกระทบชุมชนรุนแรง 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดย พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่แล้ว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การทำอีไอเอประเมินผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุขและรับฟังทัศนคติของประชาชน โดยการกำหนดกิจการตามบัญชีของกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่ามีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นไปอีกตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ในการร่างประกาศดังกล่าวบางส่วนใช้ข้อมูลจากการควบคุมกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงในต่างประเทศ เช่น แคนาดา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดว่าถ้าเดิมโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กมีขนาดเล็กเข้าข่ายกิจการกระทบชุมชนรุนแรง แต่ถ้ามีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 35 %แล้วถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ต้องเข้าข่ายเป็นกิจการที่กระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในร่างบัญชีกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะมีการกำหนดขนาดของกิจการที่เข้าเกณฑ์กระทบชุมชนรุนแรงด้วย โดยโรงไฟฟ้าต้องมีกำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ขึ้นไป โรงถลุงเหล็กต้องมีกำลังการผลิตวันละ 5,000 ตัน ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางต้องมีกำลังการผลิตวันละ 1,000 ตัน ขึ้นไป
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กนั้น ถ้าโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมไม่ต้องดำเนินการอีก แต่ถ้าโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กไม่ดำเนินการก็เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม
นายโกศล ใจรังสี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมที่จะเสนอร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องการพิจารณาอนุญาตโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพให้กับนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาในวันที่ 24 ส.ค.2552 โดยร่างประกาศดังกล่าวจะมีบัญชีรายชื่อกิจการที่กระทบชุมชนต่ออย่างรุนแรง 8 กิจการ คือ 1.เหมืองใต้ดินในชั้นดินหรือชั้นหินที่แตกหักง่ายทุกขนาด 2.เหมืองแร่ตะกั่ว สังกะสีและแมงกานีส 3.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง 4.โรงถลุงเหล็ก 5.นิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางและโรงถลุงเหล็ก 6.โรงไฟฟ้า 7.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 8.โรงงานกำจัดของเสียและขยะอุตสาหกรรม
“กิจการดังกล่าวอยู่ในอำนาจการกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือที่เกี่ยวข้อง โดยเหมืองใต้ดิน เหมืองตะกั่ว แมงกานีสและสังกะสี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงกำจัดของเสียอุตสาหกรรมกำหนดให้ทุกขนาดต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ส่วนกิจการอื่นจะมีการกำหนดขนาดของกิจการไว้ ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวปรับปรุงจากร่างที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำไว้ 19 รายการ โดยตัดกิจการที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของกระทรวงอุตสาหกรรมออกไป และกิจการที่ตัดออกอาจให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องออกประกาศแทน เช่น กระทรวงคมนาคมออกประกาศกิจการท่าเรือและสนามบิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกิจการที่เกี่ยวกับการตัดแต่งพันธุกรรมสิ่งมีชีวิต(จีเอ็มโอ)”นายโกศลกล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดร่างประกาศดังกล่าวพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ที่กำหนดว่าต้องกระทบชุมชนรุนแรง 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดย พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อยู่แล้ว ซึ่งกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้การทำอีไอเอประเมินผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุขและรับฟังทัศนคติของประชาชน โดยการกำหนดกิจการตามบัญชีของกระทรวงอุตสาหกรรมถือว่ามีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นไปอีกตามรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ในการร่างประกาศดังกล่าวบางส่วนใช้ข้อมูลจากการควบคุมกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงในต่างประเทศ เช่น แคนาดา โดยกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดว่าถ้าเดิมโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กมีขนาดเล็กเข้าข่ายกิจการกระทบชุมชนรุนแรง แต่ถ้ามีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 35 %แล้วถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ต้องเข้าข่ายเป็นกิจการที่กระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในร่างบัญชีกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะมีการกำหนดขนาดของกิจการที่เข้าเกณฑ์กระทบชุมชนรุนแรงด้วย โดยโรงไฟฟ้าต้องมีกำลังการผลิต 500 เมกะวัตต์ขึ้นไป โรงถลุงเหล็กต้องมีกำลังการผลิตวันละ 5,000 ตัน ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางต้องมีกำลังการผลิตวันละ 1,000 ตัน ขึ้นไป
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่มีโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กนั้น ถ้าโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมไม่ต้องดำเนินการอีก แต่ถ้าโรงงานปิโตรเคมีและโรงถลุงเหล็กไม่ดำเนินการก็เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม