ASTVผู้จัดการรายวัน - มึนกันเป็นแถวอยู่ๆ ภท.เสนอร่าง กม.นิรโทษกรรมฯ กลุ่มพันธมิตรฯ-นปช.พ่วงท้ายตำรวจในเหตุการณ์ชุมนุม มท.2 นำทีมยื่นร่างฯต่อประธานสภาฯแล้ว "ชัย" รับลูกรีบบรรจุ เป็นเรื่องเร่งด่วน คาดเข้าสู่ที่ประชุมได้สัปดาห์หน้า ขณะที่ "อภิสิทธิ์"ขอดูร่าง กม.ก่อนครอบคลุมแค่ไหน ผิดหลักการหรือไม่ ต้องมีเหตุผลแจงสังคมได้ แต่เบื้องต้นบอกเป็นเรื่องของสภา ด้านประธานวิปรัฐบาล-ฝ่ายค้าน รุดถกด่วน "วิทยา"ปูด"ชวรัตน์" ลงทุนโทรฯล๊อบบี้เอง พันธมิตรฯ ชี้มีวาระซ้อนเร้น หวังไต่ระดับนิรโทษนักการเมืองและขรก.ลิ้วล้อตัวเอง ยันพันธมิตรฯไม่วิตกคดี "คำนูณ" แฉหมกเม็ด ม.6 ยกโทษวินัย-อาญาตำรวจ ช่วย "พัชรวาท"และตำรวจในคดี 7 ตุลาเลือด
ที่รัฐสภา วานนี้ (19 ส.ค.) นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย พร้อม ส.ส. 22 คน ยื่นหนังสือด่วนที่สุด ต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 25 พฤษาภาคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 และระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2552 ถึง วันที่ 14 เมษายน 2552
นายบุญจง ให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการแสดงออก ทางการเมืองโดยสุจริต หากยังมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันต่อไป ปัญหาความขัดแย้งจะยังมีอยู่ พรรคจึงมีแนวคิดเรื่องดังกล่าว เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในบ้านเมือง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีจำนวน 9 มาตรา และจะมีผลต่อประชาชน ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม นปช. และเจ้าหน้าที่รัฐ โดยยกเว้นผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและผู้ที่หมิ่นสถาบัน
ไม่ว่า ส.ส.ส่วนใหญ่จะมีมติอย่างไรก็พร้อมน้อมรับ ยืนยันว่าการดำเนินการ เรื่องดังกล่าวไม่มีนัยแอบแฝง นายบุญจง กล่าว
ด้าน นายชัย ชิดชอบ กล่าวว่า จะบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม วันนี้ (20 ส.ค.) เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณา คาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสัปดาห์หน้า
"มาร์ค"ขอถามเหตุผลทำไมต้องมี กม.นี้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ายังไม่เห็นร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ทราบว่าวิปรัฐบาลจะประสานมาดูเบื้องต้น เมื่อเห็นแล้วก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมพรรค ถือเป็นเรื่องปกติไม่ใช่กฎหมายของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องระบบนิติธรรมที่จะถูกตั้งคำถามหรือไม่ ว่าสุดท้ายพอสภามีอำนาจก็ไปลบล้างทุกอย่างโดยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องไปฟังเหตุผลก่อนว่า ครอบคลุมใคร ความผิดอะไรบ้าง และเหตุใดจึงต้องมีกฎหมายลักษณะนี้ อย่างไรก็ตามตนยังไม่ได้คุยกันในเรื่องนี้ เห็นแต่ข่าว แต่ยังไม่เห็นตัวร่างกฎหมาย อย่าไรก็ตาม นาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้โทรมาบอกว่า ได้รับเรื่องนี้ไว้ ตนก็บอกว่าให้เขาดูก่อนและเรื่องนี้จะต้องเสนอในที่ประชุมพรรค
ผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าคนที่จะได้รับอานิสงส์คือ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. และนายก ษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ กล่าาว่า ยังไม่ทราบ จะไปดูตรงนั้นคงไม่ได้ต้องดูในเชิงหลักว่ามันมีเหตุผลอะไรที่ต้องนิรโทษกรรม เมื่อถามว่า การลบล้างในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว และเป็นความผิดเป็นหลักที่ควรทำหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กฎหมายนิรโทษกรรม เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ได้ และต้องผ่านกระบวนการตรากฎหมายตามปกติ แต่โดยหลักต้องคำนึงว่าจะต้องมีเหตุผล พิเศษ เพราะถ้าทำบ่อย ทำพร่ำเพรื่อ จะเป็นจุดที่ทำให้คนมองว่าต่อไปอาจจะละเมิดกฎหมายได้ เพราะหวังว่าจะมีการนิรโทษกรรมฉะนั้นแต่ละครั้งที่จะทำ ต้องมีเหตุผลพิเศษจริงๆ
รัฐบาลไม่มีนโยบายนิรโทษกรรมใคร
ส่วนสภาพบ้านเมืองขณะนี้ถือว่าเป็นเหตุผลพิเศษหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นว่ามีความผิดอะไรบ้างคลอบคลุมใครบ้าง จะมีผลกระทบอย่างไร ต้องดูตรงนั้นก่อน อย่างไรก็ตามมันเป็นความพยายามบางทีมุมมองก็ต่างกัน คนเสนอเขามองว่า ตรงนี้อาจเป็นวิธีการที่ทำให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน แต่ฝ่ายที่วิเคราะห์อาจจะมีความคิดเห็นอย่างอื่น ต้องมาคุยด้วยเหตุผล
แต่เรื่องนี้ไม่ใช่กฎหมายของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้เสนอ และไม่ได้มีนโยบายในเรื่องนิรโทษกรรมอยู่ แต่สิทธิของสมาชิก เขาเสนอได้ และพรรคแต่ละพรรคก็ต้องไปกำหนดจุดยืนของตัวเอง หากพรรคร่วมรัฐบาลสามารถที่จะเห็นพ้องต้องกันได้ก็ดีถ้าไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของแต่ละพรรคการเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่แกนนำรัฐบาลจะต้องนัดหารือกันในเรื่องนี้ จริงๆ แล้วเวลานี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ในสภา และเป็นเรื่องด่วนอีกเยอะมาก ทั้งนี้ขอย้ำว่ากฎหมายนิรโทษกรรมต้องครอบคลุมเหตุการณ์ บุคคลใด ความผิดฐานอะไร ผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าครอบคลุมไปถึงเหตุการณ์เดือนเม.ย.ด้วยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นั่นแหละแค่ไหน เราต้องดูเพราะเดือนเม.ย.มีตั้งแต่ที่อยู่ตรงทำเนียบฯ ส่วนที่ชุมชนนางเลิ้งที่มีปัญหายิงคน มันคนละเรื่องกัน
"ผมว่าต้องดูให้รอบคอบเพราะกฎหมายพิเศษอย่างนี้ต้องสามารถอธิบายได้ และต้องคิดถึงอนาคตด้วย ส่วนที่นายชัย เห็นว่าเป็นเรื่องด่วนที่ต้องรีบบรรจุเข้าสภา ก็เป็นดุลพินิจของท่าน เสร็จแล้วก็เป็นเรื่องของสภาที่ต้องตัดสินใจ"
วิปรัฐบาล-ฝ่ายค้านมึน ภท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น.วันเดียวกัน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ได้เข้าหารือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ถึงกรณีที่ พรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
นายวิทยา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือว่า นายชินวรณ์ขอมาหารือเรื่องดังกล่าวและได้แสดงความแปลกใจถึงท่าทีของพรรคภูมิใจไทย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา เช่นเดียวกับตนที่ไม่รู้มาก่อนเช่นกัน แต่เมื่อมีการยื่นเรื่องให้ประธานสภาฯแล้ว ก็เป็นเรื่องของสภาที่จะพิจารณาไปตามระเบียบวาระ
ทั้งนี้ ได้มีการหารือมาก่อนแล้วจาก 4 ฝ่ายคือ ประธานสภา ส.ว. รัฐบาล และฝ่ายค้าน โดยมีเจตนาที่จะทำกฎหมายออกมาเพื่อลดความขัดแย้ง และให้มีทางลง สำหรับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ หรือการเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯของฝ่ายค้าน
"วิทยา"ปูด"ชวรัตน์"โทรฯ ล็อบบี้
แต่เมื่อมีร่างพ.ร.บ.ของพรรคภูมิใจไทยเข้ามา ส่วนตัวก็เห็นด้วยในสาระหลัก เพราะเรื่องนิรโทษกรรมนั้นพรรคเพื่อไทยได้เสนอมาตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้โทรศัพท์มาพูดคุยกับตนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยแสดงเจตนาและความจริงใจที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาจริงๆ
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า เวลานี้ใครทำอะไรเข้ามาถ้าทำให้ดีเราก็ยินดี ถ้ามีความคิดเห็นตรงกัน เอาความเห็นของแต่ละฝ่ายมาผสมผสานตัดตอน หรือเพิ่มเติมบางส่วนอย่างนี้ก็ยินดี แต่ยอมรับว่าการเสนอร่างพ.ร.บ.จากทางโน้นที ทางนี้ทีเป็นปัญหาล่าช้า ทำให้ไม่ได้ทำเสียที ถ้าเข้าสภาเชื่อว่าทุกพรรคเห็นตรงกันอยู่แล้ว แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่เอาด้วยก็ตาม
พมธ.เชื่อ ภท.หวังช่วยบิ๊ก ตร.ใหม่
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวว่า การเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของพรรคภูมิใจไทยนั้น น่าจะมีวาระซ่อนเร้นมากกว่าต้องการความสมานฉันท์อย่างแท้จริง เพราะในสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หวังนิรโทษกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ด้วย ซึ่งเป็นการเหวี่ยงแหโดยไม่จำแนกแยกแยะ
ซึ่งผลของกฎหมายฉบับนี้จะทำให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 และกรณีที่ ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำกว่า 40 คน ที่คบคิดกันยกปราสาทพระวิหารให้แก่ประเทศกัมพูชา ซึ่งพันธมิตรฯ ได้ยื่นร้องต่อ ป.ป.ช.ไต่สวนและกำลังจะชี้มูลความผิดเร็วๆ นี้แล้ว
นายสุริยะใส กล่าวว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เอาเรื่องความสมานฉันท์และความขัดแย้งของประชาชนมาเป็นข้ออ้างเท่านั้น เพราะลึกๆ แล้วหวังนิรโทษกรรมให้แก่ข้าราชการประจำระดับสูงที่อิงแอบกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะนายตำรวจใหญ่หลายนายที่กำลังจะต้องรับผิดชอบในคดี 7 ตุลา ประการสำคัญหากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผ่านสภา ก็จะไต่ระดับไปออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบรรดานักการเมือง อีกหลายสิบคน ที่ถูกดำเนินคดีต่างๆ อยู่ในขณะนี้
แนะเสนอ กม.จัดการนักโทษหนีคดีไป ตปท.
ถ้าพรรคภูมิใจไทยอยากเห็นความสมานฉันท์จริงควรเสนอร่างกฎหมายพิเศษ เพื่อดำเนินคดีกับนักโทษที่หนีคดีหนีคำพิพากษาไปอยู่ต่างประเทศ หรือไม่ก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับเกษตรกรคนยากคนจนน่าจะดีกว่า
นายสุริยะใส กล่าวว่า หากร่างกฎหมายนี้ผ่านสภา จะยิ่งเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะศาลสถิตย์ยุติธรรม และสร้างแบบอย่างไม่ดีให้กับคนผิด เมื่อทำผิดแล้วก็มาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเองหรือพวกพ้อง
ส่วนคดีความของแกนนำพันธมิตรฯ นั้น พวกเราไม่เคยวิตกกังวลเพราะเรามั่นใจในความบริสุทธิ์ใจและการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาที่เคร่งครัดในรัฐธรรมนูญและแนวทางสันติวิธีและทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะโดยเฉพาะการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เคลื่อนไหวเพื่ออคนๆ เดียว
แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะพิสูจน์ความบริสุทธ์ใจของตัวเองทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมแม้มีคำพิพากษาให้มีความผิดก็จะน้อมรับคำพิพากษาจะไม่หนีไปไหน และที่สำคัญจะไม่มีการถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษอีกด้วย
"คำนูณ"แฉหมกเม็ด ม.6 ช่วย ตร.คดี 7 ตุลาฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ส.สรรหา กล่าวว่าโดยปกติ การจะตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในอดีต มักจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของความเห็นร่วมกันทั้งสังคมจนเกิดฉันทามติขึ้นก่อน และรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเอง แต่สถานการณ์ในขณะนี้ ยังไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับนิรโทษกรรมทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันว่าไม่ต้องการและพร้อมจะต่อสู้คดี ขณะที่รัฐบาลเองก็อ้างว่า ไม่ได้เสนอ แต่เป็นเรื่องของพรรคการเมืองสำคัญที่ร่วมรัฐบาล ในประเด็นแรก คงต้องขอความชัดเจน ขอจุดยืนที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคแกนนำของรัฐบาลอย่าเอาแต่โยนให้สภา
เนื้อแท้ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สำคัญที่สุดอยู่ที่มาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ นิรโทษกรรมคดีแพ่ง อาญา และวินัย ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐที่สั่งการหรือรับคำสั่งให้ปฏิบัติการณ์ในการชุมนุมสองช่วงดังกล่าว ซึ่งก็คือการนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลในขณะเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลา 2551 หรือพูดตรงๆ ก็คือ เป็นการนิรโทษกรรมให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. และนายตำรวจระดับรอง ผบช.น. บางคน ซึ่งอยู่ในข่ายที่อาจจะถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดในเร็วๆ นี้ และเป็นที่ชัดเจนว่า มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับกลุ่มอำนาจ ที่ร่วมรัฐบาลอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ จะเห็นได้ว่านายตำรวจใน บช.น. ก ที่รับผิดชอบในเหตุการณ์ 7 ตุลาคมนั้น เพิ่งขึ้นสู่ตำแหน่งจากการผลักดันของ กลุ่มการเมืองที่เป็นพรรคภูมิใจไทยในวันนี้ การส่งตัว พล.ต.อ.พัชรวาท คืนสู่ตำแหน่ง ผบ.ตร.หลังจากที่ถูกสั่งให้มาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ลงนามโดยคน ที่เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจในวันนี้
นายคำนูญ กล่าวว่า แม้หลักการของร่างพ.ร.บ.นี้จะไม่คอบคลุมไปถึงคดีทุจริต ที่ คตส.ดำเนินการ แลคดีความมั่นคง คดีหมิ่นสถาบัน คดียุบพรรค และการตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งก็คือไม่รวมถึงการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น พอรับฟังได้ แต่การเสนอเป็นร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่สภาไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกแก้ไขในชั้นแปรญัตติในวารที่ 2 วาระที่ 3 หรือในชั้นการพิจารณา ของวุฒิสภาเพื่อนิรโทษกรรมคดีเหล่านี้ โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ที่แท้จริง ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็เคยเสนอร่าง พ.ร.บ. ความปรองดองแห่งชาติที่มีเนื้อหาในทำนองให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปอยู่เสมือน ก่อนหน้าวันที่ 19 ก.ย. 2549 มาแล้ว และยังค้างพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ผมจึงต้องการความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์เป็น อย่างยิ่ง อย่าพูดแต่เพียงว่าเป็นเรื่องของสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรค ที่มีเสียงจำนวนมากอยู่ในสภาและพรรคประชาธิปัตย์บวกกับพรรคร่วมรัฐบาลก็ถือว่ามีเสียงข้างมาก จึงไม่อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ลอยตัว
"จตุพร"ยันแดงก็ไม่เอาด้วยกับภูมิใจไทย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. หรือคนเสื้อแดง กล่าวว่ารู้สึกเป็นห่วงพฤติกรรมของพรรคภูมิใจไทยเพราะไม่รู้ว่า มีจุดยืนอย่างไรกันแน่ ก่อนหน้านี้มีการเคลื่อนไหวโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ที่ให้ตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อคัดค้านการถวายฎีกา ของกลุ่มคนเสื้อแดง ขณะเดียวกันสมาชิกพรรคภูมิใจไทยบางส่วนก็ออกมากล่าวหา กลุ่มคนเสื้อแดงว่าต้องการล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่วันนี้กลับจะเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ถือว่าเป็นความสับสนในตัวเอง ยืนยันว่ากลุ่มคนเสื้อแดง ไม่เอาด้วย ไม่รู้ว่าพรรรคภูมิใจไทยมีวาระอะไรเป็นพิเศษหรือหวังอะไรกันแน่ ยืนยันว่า คดีของคนเสื้อแดงจะเอามาแลกกับคดีของคนเสื้อเหลืองไม่ได้เพราะความผิดมันแตกต่างกัน กลุ่มคนเสื้อเหลืองมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตจากการยึดสนามบิน สุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ขณะที่คนเสื้อแดงมีโทษเล็กน้อยจากการปิดถนน เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่รู้ว่าจากวันนี้ถึงวันที่ 21 ก.ย. ที่จะมีการตัดสินคดีกล้ายางนั้นจะมีปมใหม่ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรกับอะไรอีกหรือไม่ ยืนยันว่ากลุ่มเสื้อแดง ไม่ต้องการให้มีการนิรโทษกรรมโดยมีเงื่อนไขอย่างนี้ เลวขนาดนี้ยังกล้ามาเสนอ เงื่อนไข ไม่รู้ว่าทำเองหรือใครบอกมา แต่ตนไม่เอาด้วยแน่เพราะกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน เป็นตัวการที่ออกมาทำร้ายคนเสื้อแดง
เสื้อแดง-พท.ให้นิรโทษตั้งแต่ 19 กันยาฯ
ด้านนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว.กทม. เครือข่ายกลุ่มคนเสื้อแดง ให้สัมภาษณ์ว่า การที่ พรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจจะเป็นความตั้งใจดี แต่ถ้าทำตามนั้นจะเกิดวัฒธรรมที่ไม่ถูกต้อง เกิดมาตรฐานการเลียนแบบ คนที่ทำผิดควรได้รับการลงโทษ ไม่ควรเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ถ้ามีการนิรโทษกรรมก็ควรทำตั้งแต่การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นต้นมา
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ถ้าหากจะให้มีการนิรโทษกรรมก็ควรจะทำตั้งแต่ หลังวันที่ 19 ก.ย. ทำกฎหมายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและพิจารณากันใหม่ทั้งหมด คดีที่เคยเข้า คตส.ก็นำมาทำใหม่ให้หมด ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกตัดสินให้จำคุก 2 ปีในคดีที่ดินรัชดานั้น ขอให้จับตาดูว่า เร็วๆ นี้จะมีเหตุการณ์ดาบคืนสนอง
ที่รัฐสภา วานนี้ (19 ส.ค.) นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย พร้อม ส.ส. 22 คน ยื่นหนังสือด่วนที่สุด ต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 25 พฤษาภาคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 และระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2552 ถึง วันที่ 14 เมษายน 2552
นายบุญจง ให้เหตุผลว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการแสดงออก ทางการเมืองโดยสุจริต หากยังมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันต่อไป ปัญหาความขัดแย้งจะยังมีอยู่ พรรคจึงมีแนวคิดเรื่องดังกล่าว เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในบ้านเมือง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีจำนวน 9 มาตรา และจะมีผลต่อประชาชน ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม นปช. และเจ้าหน้าที่รัฐ โดยยกเว้นผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและผู้ที่หมิ่นสถาบัน
ไม่ว่า ส.ส.ส่วนใหญ่จะมีมติอย่างไรก็พร้อมน้อมรับ ยืนยันว่าการดำเนินการ เรื่องดังกล่าวไม่มีนัยแอบแฝง นายบุญจง กล่าว
ด้าน นายชัย ชิดชอบ กล่าวว่า จะบรรจุเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม วันนี้ (20 ส.ค.) เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณา คาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสัปดาห์หน้า
"มาร์ค"ขอถามเหตุผลทำไมต้องมี กม.นี้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ายังไม่เห็นร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ทราบว่าวิปรัฐบาลจะประสานมาดูเบื้องต้น เมื่อเห็นแล้วก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมพรรค ถือเป็นเรื่องปกติไม่ใช่กฎหมายของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องระบบนิติธรรมที่จะถูกตั้งคำถามหรือไม่ ว่าสุดท้ายพอสภามีอำนาจก็ไปลบล้างทุกอย่างโดยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องไปฟังเหตุผลก่อนว่า ครอบคลุมใคร ความผิดอะไรบ้าง และเหตุใดจึงต้องมีกฎหมายลักษณะนี้ อย่างไรก็ตามตนยังไม่ได้คุยกันในเรื่องนี้ เห็นแต่ข่าว แต่ยังไม่เห็นตัวร่างกฎหมาย อย่าไรก็ตาม นาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้โทรมาบอกว่า ได้รับเรื่องนี้ไว้ ตนก็บอกว่าให้เขาดูก่อนและเรื่องนี้จะต้องเสนอในที่ประชุมพรรค
ผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าคนที่จะได้รับอานิสงส์คือ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. และนายก ษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ กล่าาว่า ยังไม่ทราบ จะไปดูตรงนั้นคงไม่ได้ต้องดูในเชิงหลักว่ามันมีเหตุผลอะไรที่ต้องนิรโทษกรรม เมื่อถามว่า การลบล้างในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว และเป็นความผิดเป็นหลักที่ควรทำหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กฎหมายนิรโทษกรรม เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถใช้ได้ และต้องผ่านกระบวนการตรากฎหมายตามปกติ แต่โดยหลักต้องคำนึงว่าจะต้องมีเหตุผล พิเศษ เพราะถ้าทำบ่อย ทำพร่ำเพรื่อ จะเป็นจุดที่ทำให้คนมองว่าต่อไปอาจจะละเมิดกฎหมายได้ เพราะหวังว่าจะมีการนิรโทษกรรมฉะนั้นแต่ละครั้งที่จะทำ ต้องมีเหตุผลพิเศษจริงๆ
รัฐบาลไม่มีนโยบายนิรโทษกรรมใคร
ส่วนสภาพบ้านเมืองขณะนี้ถือว่าเป็นเหตุผลพิเศษหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่เห็นว่ามีความผิดอะไรบ้างคลอบคลุมใครบ้าง จะมีผลกระทบอย่างไร ต้องดูตรงนั้นก่อน อย่างไรก็ตามมันเป็นความพยายามบางทีมุมมองก็ต่างกัน คนเสนอเขามองว่า ตรงนี้อาจเป็นวิธีการที่ทำให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน แต่ฝ่ายที่วิเคราะห์อาจจะมีความคิดเห็นอย่างอื่น ต้องมาคุยด้วยเหตุผล
แต่เรื่องนี้ไม่ใช่กฎหมายของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้เสนอ และไม่ได้มีนโยบายในเรื่องนิรโทษกรรมอยู่ แต่สิทธิของสมาชิก เขาเสนอได้ และพรรคแต่ละพรรคก็ต้องไปกำหนดจุดยืนของตัวเอง หากพรรคร่วมรัฐบาลสามารถที่จะเห็นพ้องต้องกันได้ก็ดีถ้าไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของแต่ละพรรคการเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นที่แกนนำรัฐบาลจะต้องนัดหารือกันในเรื่องนี้ จริงๆ แล้วเวลานี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ในสภา และเป็นเรื่องด่วนอีกเยอะมาก ทั้งนี้ขอย้ำว่ากฎหมายนิรโทษกรรมต้องครอบคลุมเหตุการณ์ บุคคลใด ความผิดฐานอะไร ผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าครอบคลุมไปถึงเหตุการณ์เดือนเม.ย.ด้วยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นั่นแหละแค่ไหน เราต้องดูเพราะเดือนเม.ย.มีตั้งแต่ที่อยู่ตรงทำเนียบฯ ส่วนที่ชุมชนนางเลิ้งที่มีปัญหายิงคน มันคนละเรื่องกัน
"ผมว่าต้องดูให้รอบคอบเพราะกฎหมายพิเศษอย่างนี้ต้องสามารถอธิบายได้ และต้องคิดถึงอนาคตด้วย ส่วนที่นายชัย เห็นว่าเป็นเรื่องด่วนที่ต้องรีบบรรจุเข้าสภา ก็เป็นดุลพินิจของท่าน เสร็จแล้วก็เป็นเรื่องของสภาที่ต้องตัดสินใจ"
วิปรัฐบาล-ฝ่ายค้านมึน ภท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น.วันเดียวกัน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ได้เข้าหารือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ถึงกรณีที่ พรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
นายวิทยา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือว่า นายชินวรณ์ขอมาหารือเรื่องดังกล่าวและได้แสดงความแปลกใจถึงท่าทีของพรรคภูมิใจไทย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการผลักดันร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา เช่นเดียวกับตนที่ไม่รู้มาก่อนเช่นกัน แต่เมื่อมีการยื่นเรื่องให้ประธานสภาฯแล้ว ก็เป็นเรื่องของสภาที่จะพิจารณาไปตามระเบียบวาระ
ทั้งนี้ ได้มีการหารือมาก่อนแล้วจาก 4 ฝ่ายคือ ประธานสภา ส.ว. รัฐบาล และฝ่ายค้าน โดยมีเจตนาที่จะทำกฎหมายออกมาเพื่อลดความขัดแย้ง และให้มีทางลง สำหรับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ หรือการเสนอ ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯของฝ่ายค้าน
"วิทยา"ปูด"ชวรัตน์"โทรฯ ล็อบบี้
แต่เมื่อมีร่างพ.ร.บ.ของพรรคภูมิใจไทยเข้ามา ส่วนตัวก็เห็นด้วยในสาระหลัก เพราะเรื่องนิรโทษกรรมนั้นพรรคเพื่อไทยได้เสนอมาตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้โทรศัพท์มาพูดคุยกับตนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยแสดงเจตนาและความจริงใจที่ตั้งใจจะแก้ปัญหาจริงๆ
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า เวลานี้ใครทำอะไรเข้ามาถ้าทำให้ดีเราก็ยินดี ถ้ามีความคิดเห็นตรงกัน เอาความเห็นของแต่ละฝ่ายมาผสมผสานตัดตอน หรือเพิ่มเติมบางส่วนอย่างนี้ก็ยินดี แต่ยอมรับว่าการเสนอร่างพ.ร.บ.จากทางโน้นที ทางนี้ทีเป็นปัญหาล่าช้า ทำให้ไม่ได้ทำเสียที ถ้าเข้าสภาเชื่อว่าทุกพรรคเห็นตรงกันอยู่แล้ว แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่เอาด้วยก็ตาม
พมธ.เชื่อ ภท.หวังช่วยบิ๊ก ตร.ใหม่
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวว่า การเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของพรรคภูมิใจไทยนั้น น่าจะมีวาระซ่อนเร้นมากกว่าต้องการความสมานฉันท์อย่างแท้จริง เพราะในสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หวังนิรโทษกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ด้วย ซึ่งเป็นการเหวี่ยงแหโดยไม่จำแนกแยกแยะ
ซึ่งผลของกฎหมายฉบับนี้จะทำให้มีการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 และกรณีที่ ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำกว่า 40 คน ที่คบคิดกันยกปราสาทพระวิหารให้แก่ประเทศกัมพูชา ซึ่งพันธมิตรฯ ได้ยื่นร้องต่อ ป.ป.ช.ไต่สวนและกำลังจะชี้มูลความผิดเร็วๆ นี้แล้ว
นายสุริยะใส กล่าวว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เอาเรื่องความสมานฉันท์และความขัดแย้งของประชาชนมาเป็นข้ออ้างเท่านั้น เพราะลึกๆ แล้วหวังนิรโทษกรรมให้แก่ข้าราชการประจำระดับสูงที่อิงแอบกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะนายตำรวจใหญ่หลายนายที่กำลังจะต้องรับผิดชอบในคดี 7 ตุลา ประการสำคัญหากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผ่านสภา ก็จะไต่ระดับไปออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับบรรดานักการเมือง อีกหลายสิบคน ที่ถูกดำเนินคดีต่างๆ อยู่ในขณะนี้
แนะเสนอ กม.จัดการนักโทษหนีคดีไป ตปท.
ถ้าพรรคภูมิใจไทยอยากเห็นความสมานฉันท์จริงควรเสนอร่างกฎหมายพิเศษ เพื่อดำเนินคดีกับนักโทษที่หนีคดีหนีคำพิพากษาไปอยู่ต่างประเทศ หรือไม่ก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับเกษตรกรคนยากคนจนน่าจะดีกว่า
นายสุริยะใส กล่าวว่า หากร่างกฎหมายนี้ผ่านสภา จะยิ่งเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะศาลสถิตย์ยุติธรรม และสร้างแบบอย่างไม่ดีให้กับคนผิด เมื่อทำผิดแล้วก็มาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเองหรือพวกพ้อง
ส่วนคดีความของแกนนำพันธมิตรฯ นั้น พวกเราไม่เคยวิตกกังวลเพราะเรามั่นใจในความบริสุทธิ์ใจและการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาที่เคร่งครัดในรัฐธรรมนูญและแนวทางสันติวิธีและทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณะโดยเฉพาะการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เคลื่อนไหวเพื่ออคนๆ เดียว
แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมจะพิสูจน์ความบริสุทธ์ใจของตัวเองทุกขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมแม้มีคำพิพากษาให้มีความผิดก็จะน้อมรับคำพิพากษาจะไม่หนีไปไหน และที่สำคัญจะไม่มีการถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษอีกด้วย
"คำนูณ"แฉหมกเม็ด ม.6 ช่วย ตร.คดี 7 ตุลาฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ส.สรรหา กล่าวว่าโดยปกติ การจะตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในอดีต มักจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของความเห็นร่วมกันทั้งสังคมจนเกิดฉันทามติขึ้นก่อน และรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเอง แต่สถานการณ์ในขณะนี้ ยังไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับนิรโทษกรรมทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันว่าไม่ต้องการและพร้อมจะต่อสู้คดี ขณะที่รัฐบาลเองก็อ้างว่า ไม่ได้เสนอ แต่เป็นเรื่องของพรรคการเมืองสำคัญที่ร่วมรัฐบาล ในประเด็นแรก คงต้องขอความชัดเจน ขอจุดยืนที่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีและพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคแกนนำของรัฐบาลอย่าเอาแต่โยนให้สภา
เนื้อแท้ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สำคัญที่สุดอยู่ที่มาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ นิรโทษกรรมคดีแพ่ง อาญา และวินัย ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐที่สั่งการหรือรับคำสั่งให้ปฏิบัติการณ์ในการชุมนุมสองช่วงดังกล่าว ซึ่งก็คือการนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และนักการเมืองที่เป็นรัฐบาลในขณะเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลา 2551 หรือพูดตรงๆ ก็คือ เป็นการนิรโทษกรรมให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น. และนายตำรวจระดับรอง ผบช.น. บางคน ซึ่งอยู่ในข่ายที่อาจจะถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดในเร็วๆ นี้ และเป็นที่ชัดเจนว่า มีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับกลุ่มอำนาจ ที่ร่วมรัฐบาลอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ จะเห็นได้ว่านายตำรวจใน บช.น. ก ที่รับผิดชอบในเหตุการณ์ 7 ตุลาคมนั้น เพิ่งขึ้นสู่ตำแหน่งจากการผลักดันของ กลุ่มการเมืองที่เป็นพรรคภูมิใจไทยในวันนี้ การส่งตัว พล.ต.อ.พัชรวาท คืนสู่ตำแหน่ง ผบ.ตร.หลังจากที่ถูกสั่งให้มาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ก็ลงนามโดยคน ที่เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจในวันนี้
นายคำนูญ กล่าวว่า แม้หลักการของร่างพ.ร.บ.นี้จะไม่คอบคลุมไปถึงคดีทุจริต ที่ คตส.ดำเนินการ แลคดีความมั่นคง คดีหมิ่นสถาบัน คดียุบพรรค และการตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งก็คือไม่รวมถึงการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น พอรับฟังได้ แต่การเสนอเป็นร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่สภาไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกแก้ไขในชั้นแปรญัตติในวารที่ 2 วาระที่ 3 หรือในชั้นการพิจารณา ของวุฒิสภาเพื่อนิรโทษกรรมคดีเหล่านี้ โดยอ้างเหตุผลว่า เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ที่แท้จริง ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง ส.ส.พรรคเพื่อไทย ก็เคยเสนอร่าง พ.ร.บ. ความปรองดองแห่งชาติที่มีเนื้อหาในทำนองให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปอยู่เสมือน ก่อนหน้าวันที่ 19 ก.ย. 2549 มาแล้ว และยังค้างพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
ผมจึงต้องการความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์เป็น อย่างยิ่ง อย่าพูดแต่เพียงว่าเป็นเรื่องของสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรค ที่มีเสียงจำนวนมากอยู่ในสภาและพรรคประชาธิปัตย์บวกกับพรรคร่วมรัฐบาลก็ถือว่ามีเสียงข้างมาก จึงไม่อยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ลอยตัว
"จตุพร"ยันแดงก็ไม่เอาด้วยกับภูมิใจไทย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. หรือคนเสื้อแดง กล่าวว่ารู้สึกเป็นห่วงพฤติกรรมของพรรคภูมิใจไทยเพราะไม่รู้ว่า มีจุดยืนอย่างไรกันแน่ ก่อนหน้านี้มีการเคลื่อนไหวโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ที่ให้ตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อคัดค้านการถวายฎีกา ของกลุ่มคนเสื้อแดง ขณะเดียวกันสมาชิกพรรคภูมิใจไทยบางส่วนก็ออกมากล่าวหา กลุ่มคนเสื้อแดงว่าต้องการล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่วันนี้กลับจะเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ถือว่าเป็นความสับสนในตัวเอง ยืนยันว่ากลุ่มคนเสื้อแดง ไม่เอาด้วย ไม่รู้ว่าพรรรคภูมิใจไทยมีวาระอะไรเป็นพิเศษหรือหวังอะไรกันแน่ ยืนยันว่า คดีของคนเสื้อแดงจะเอามาแลกกับคดีของคนเสื้อเหลืองไม่ได้เพราะความผิดมันแตกต่างกัน กลุ่มคนเสื้อเหลืองมีโทษถึงขั้นประหารชีวิตจากการยึดสนามบิน สุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ขณะที่คนเสื้อแดงมีโทษเล็กน้อยจากการปิดถนน เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่รู้ว่าจากวันนี้ถึงวันที่ 21 ก.ย. ที่จะมีการตัดสินคดีกล้ายางนั้นจะมีปมใหม่ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนอะไรกับอะไรอีกหรือไม่ ยืนยันว่ากลุ่มเสื้อแดง ไม่ต้องการให้มีการนิรโทษกรรมโดยมีเงื่อนไขอย่างนี้ เลวขนาดนี้ยังกล้ามาเสนอ เงื่อนไข ไม่รู้ว่าทำเองหรือใครบอกมา แต่ตนไม่เอาด้วยแน่เพราะกลุ่มคนเสื้อน้ำเงิน เป็นตัวการที่ออกมาทำร้ายคนเสื้อแดง
เสื้อแดง-พท.ให้นิรโทษตั้งแต่ 19 กันยาฯ
ด้านนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว.กทม. เครือข่ายกลุ่มคนเสื้อแดง ให้สัมภาษณ์ว่า การที่ พรรคภูมิใจไทยเสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอาจจะเป็นความตั้งใจดี แต่ถ้าทำตามนั้นจะเกิดวัฒธรรมที่ไม่ถูกต้อง เกิดมาตรฐานการเลียนแบบ คนที่ทำผิดควรได้รับการลงโทษ ไม่ควรเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ถ้ามีการนิรโทษกรรมก็ควรทำตั้งแต่การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นต้นมา
นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ถ้าหากจะให้มีการนิรโทษกรรมก็ควรจะทำตั้งแต่ หลังวันที่ 19 ก.ย. ทำกฎหมายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและพิจารณากันใหม่ทั้งหมด คดีที่เคยเข้า คตส.ก็นำมาทำใหม่ให้หมด ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกตัดสินให้จำคุก 2 ปีในคดีที่ดินรัชดานั้น ขอให้จับตาดูว่า เร็วๆ นี้จะมีเหตุการณ์ดาบคืนสนอง