ASTVผู้จัดการรายวัน – ธีร์ โฮลดิ้ง เบนเข็มโฟกัสธุรกิจปลากระป๋องซีเล็ค หลังปลาทูน่า-สแนก ตลาดติดลบ ชูกลยุทธ์ราคาถล่มสามแม่ครัว ปั้นปลากระป๋องแมคคาเรล ราคา 14-15 บาท หั่นราคาถูก 1-2 บาท ทะลวงเทรดิชันนัลเทรด ส่งแคมเปญ”ซีเล็ค กินด้วยกันที่บ้าน” ชูแพคประหยัดราคาถูก 20-30 บาท ล่อใจ อัด 60 ล้านบาท แตกไลน์เวเฟอร์ปีหน้า สิ้นปีโต 17-18% กวาด 1,300 ล้านบาท
นายธนธัช จุนชนะเวชานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท ธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องตราซีเล็ค เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดของบริษัทโฟกัสกลุ่มปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีมูลค่า 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับตลาดปลาทูน่ามูลค่า 700-800 ล้านบาท ซึ่งในแง่ของปริมาณไม่เติบโตมากนัก
และหลังจากทำตลาดกลุ่มปลากระป๋องมากว่า 1 ปี ยอดขายเติบโต 60%
สำหรับการทำตลาดปลากระป๋องซีเล็ค บริษัทใช้กลยุทธ์ราคาในการทำตลาด ล่าสุดเดือนกันยายนนี้ เปิดตัวปลากระป๋องแมคคาเรล ราคา 14-15 บาท ถูกกว่าผู้นำตลาดสามแม่ครัว ราคา 16 บาท และมุ่งเจาะช่องทางเทรดิชันนัลเทรด แตกต่างจากคู่แข่งที่เน้นเจาะช่องทางโมเดิร์นเทรด ส่วนปลากระป๋องซาดีนในซอสมะเขือเทศ บริษัทวางตำแหน่งเป็นสินค้าไฟท์ติ้งแบรนด์ ราคา 12-13 บาท
ทั้งนี้บริษัทได้ทุ่มงบ 40-50 ล้านบาท ในการทำตลาดปลากระป๋อง จากงบรวม 80-100 ล้านบาท ล่าสุดได้จัดแคมเปญชิงโชคทอง และจัดกิจกรรมโรดโชว์ เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย เนื่องจากลูกค้าปลากระป๋องเป็นกลุ่มที่มีความจงรักภักดีสูง อีกทั้งเน้นเจาะตลาดภาคอีสานและเหนือเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดใหญ่ 55%
พร้อมกันนี้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจถดถอย พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป หันมากินข้าวในบ้านแทนการกินข้าวนอกบ้าน จึงได้เปิดตัวแคมเปญโฆษณาในเชิงภาพลักษณ์องค์กรภายใต้”ซีเล็ค กินด้วยกันที่บ้าน” เพื่อรงรณค์ให้ครอบครัวมีเวลากินข้าวด้วยกัน ผ่านการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีเล็คมัลติแพ็ค 2 ชุด คือ ราคา 105 บาท เหลือ 75 บาท และราคาปกติ 69 บาท เหลือ 45 บาท
ในช่วงสิงหาคม-ตุลาคม นี้
ทั้งนี้คาดว่าแคมเปญดังกล่าวกระตุ้นตลาดปลากระป๋องเติบโต 5-10% และผลักดันยอดขายของบริษัทเติบโต 5-7% ตลอดจนขยายฐานลูกค้ากลุ่มวัยทำงานอายุ 23-35 ปีเพิ่มมากขึ้น และจากการดำเนินตลาดเชิงรุก ตั้งเป้าปลากระป๋องซีเล็ค มีส่วนแบ่ง 25% ภายใน 3 ปี หรือขึ้นเป็นอันดับ 3 ของตลาด จากปัจจุบันอยู่อันดับ 1 ใน 5 ของตลาด ส่วนอันดับ 2 คือ ตราเพชร มีส่วนแบ่งกว่า 20%
และปลากระป๋องสามแม่ครัวผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 33% จากมูลค่า 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ปลาซาร์ดีน 30% และอีก 70% เป็นปลาแมคคาเรล
นายธนธัช กล่าวเพิ่มเติมถึงกลุ่มขนมขบเคี้ยวว่า ขณะนี้บริษัทได้ทุ่มงบ 60 ล้านบาท สั่งซื้อเครื่องจักรที่โรงงานมหาชัย เพื่อขยายโปรดักส์ไลน์ใหม่ในกลุ่มเวเฟอร์ภายใต้แบรนด์ใหม่ ซึ่งจะเปิดตัวในปีหน้าไตรมาส 2 หรือ 3 เจาะช่องทางเทรดิชันนัลเทรด ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มธุรกิจขนมขบเคี้ยวมีการเติบโตมากขึ้น หลังจากในปีนี้ภาพรวมตลาดขนมขบเคี้ยวติดลบ 20%
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่กลุ่มปลาเส้นแบรนด์ฟิชโชและขนมอื่นๆ ติดลบ 7% ส่วนกลุ่มอาหารแช่แข็งซีเล็ค ได้เลิกทำตลาดในประเทศไปกว่า 1 ปี เพราะพบว่าพฤติกรรมของคนไทยไม่นิยมกินอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป
สำหรับผลประกอบการ 7 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 25% โดยสิ้นปีนี้ตั้งเป้าโต 17-18% หรือกวาดรายได้ 1,200-1,300 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มอาหารกระป๋อง สัดส่วน 70% ซึ่งปลาทูน่ากระป๋องซีเล็คปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 40-45% จากมูลค่า 700-800 ล้านบาท กลุ่มขนมขบเคี้ยวมี 26% และกลุ่มอาหารสัตว์ 4%
นายธนธัช จุนชนะเวชานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท ธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องตราซีเล็ค เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดของบริษัทโฟกัสกลุ่มปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีมูลค่า 4,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับตลาดปลาทูน่ามูลค่า 700-800 ล้านบาท ซึ่งในแง่ของปริมาณไม่เติบโตมากนัก
และหลังจากทำตลาดกลุ่มปลากระป๋องมากว่า 1 ปี ยอดขายเติบโต 60%
สำหรับการทำตลาดปลากระป๋องซีเล็ค บริษัทใช้กลยุทธ์ราคาในการทำตลาด ล่าสุดเดือนกันยายนนี้ เปิดตัวปลากระป๋องแมคคาเรล ราคา 14-15 บาท ถูกกว่าผู้นำตลาดสามแม่ครัว ราคา 16 บาท และมุ่งเจาะช่องทางเทรดิชันนัลเทรด แตกต่างจากคู่แข่งที่เน้นเจาะช่องทางโมเดิร์นเทรด ส่วนปลากระป๋องซาดีนในซอสมะเขือเทศ บริษัทวางตำแหน่งเป็นสินค้าไฟท์ติ้งแบรนด์ ราคา 12-13 บาท
ทั้งนี้บริษัทได้ทุ่มงบ 40-50 ล้านบาท ในการทำตลาดปลากระป๋อง จากงบรวม 80-100 ล้านบาท ล่าสุดได้จัดแคมเปญชิงโชคทอง และจัดกิจกรรมโรดโชว์ เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นยอดขาย เนื่องจากลูกค้าปลากระป๋องเป็นกลุ่มที่มีความจงรักภักดีสูง อีกทั้งเน้นเจาะตลาดภาคอีสานและเหนือเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดใหญ่ 55%
พร้อมกันนี้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจถดถอย พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป หันมากินข้าวในบ้านแทนการกินข้าวนอกบ้าน จึงได้เปิดตัวแคมเปญโฆษณาในเชิงภาพลักษณ์องค์กรภายใต้”ซีเล็ค กินด้วยกันที่บ้าน” เพื่อรงรณค์ให้ครอบครัวมีเวลากินข้าวด้วยกัน ผ่านการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีเล็คมัลติแพ็ค 2 ชุด คือ ราคา 105 บาท เหลือ 75 บาท และราคาปกติ 69 บาท เหลือ 45 บาท
ในช่วงสิงหาคม-ตุลาคม นี้
ทั้งนี้คาดว่าแคมเปญดังกล่าวกระตุ้นตลาดปลากระป๋องเติบโต 5-10% และผลักดันยอดขายของบริษัทเติบโต 5-7% ตลอดจนขยายฐานลูกค้ากลุ่มวัยทำงานอายุ 23-35 ปีเพิ่มมากขึ้น และจากการดำเนินตลาดเชิงรุก ตั้งเป้าปลากระป๋องซีเล็ค มีส่วนแบ่ง 25% ภายใน 3 ปี หรือขึ้นเป็นอันดับ 3 ของตลาด จากปัจจุบันอยู่อันดับ 1 ใน 5 ของตลาด ส่วนอันดับ 2 คือ ตราเพชร มีส่วนแบ่งกว่า 20%
และปลากระป๋องสามแม่ครัวผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 33% จากมูลค่า 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ปลาซาร์ดีน 30% และอีก 70% เป็นปลาแมคคาเรล
นายธนธัช กล่าวเพิ่มเติมถึงกลุ่มขนมขบเคี้ยวว่า ขณะนี้บริษัทได้ทุ่มงบ 60 ล้านบาท สั่งซื้อเครื่องจักรที่โรงงานมหาชัย เพื่อขยายโปรดักส์ไลน์ใหม่ในกลุ่มเวเฟอร์ภายใต้แบรนด์ใหม่ ซึ่งจะเปิดตัวในปีหน้าไตรมาส 2 หรือ 3 เจาะช่องทางเทรดิชันนัลเทรด ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มธุรกิจขนมขบเคี้ยวมีการเติบโตมากขึ้น หลังจากในปีนี้ภาพรวมตลาดขนมขบเคี้ยวติดลบ 20%
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่กลุ่มปลาเส้นแบรนด์ฟิชโชและขนมอื่นๆ ติดลบ 7% ส่วนกลุ่มอาหารแช่แข็งซีเล็ค ได้เลิกทำตลาดในประเทศไปกว่า 1 ปี เพราะพบว่าพฤติกรรมของคนไทยไม่นิยมกินอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป
สำหรับผลประกอบการ 7 เดือนที่ผ่านมา เติบโต 25% โดยสิ้นปีนี้ตั้งเป้าโต 17-18% หรือกวาดรายได้ 1,200-1,300 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มอาหารกระป๋อง สัดส่วน 70% ซึ่งปลาทูน่ากระป๋องซีเล็คปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 40-45% จากมูลค่า 700-800 ล้านบาท กลุ่มขนมขบเคี้ยวมี 26% และกลุ่มอาหารสัตว์ 4%