ASTVผู้จัดการรายวัน - เมืองไทยประกันชีวิตโชว์ยอดเบี้ยประกัน 7 เดือนยังรุ่ง โต 26% พร้อมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ "เมืองไทย สูงวัย สบายใจ" เจาะกลุ่มผู้สูงอายุด้วยประกันสุขภาพคุ้มครอง 5 โรคร้ายแรง หวังข่วยกระตุ้นยอดทั่้งปีทะลุเป้า
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวถึงผลการดำเนินงานช่วง 7 เดือนแรกของปีที่ผ่านมาว่า บริษัทมีเบี้ยประกันรับรวมสูงถึง 12,386 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 26.24 โดยเป็นเบี้ยประกันรับใหม่ 5,218 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 35.94 และเบี้ยประกันต่ออายุ 7,168 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 20 ซึ่งอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันดังกล่าว สูงกว่าเบี้ยประกันของระบบ 6 เดือนที่เติบโต 13% ขณะที่เงินกองทุนอยู่ในระดับ 7,502 ล้านบาท สูงกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)กำหนดกว่า 700% หรือกว่า 7 เท่า
นอกจากนี้ บริษัทมองเห็นถึงความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย การเตรียมความพร้อม การให้บริการและการมอบความดูแลกลุ่มดังกล่าว โดยได้ออกแบบโครงการประกันสุขภาพ "เมืองไทย สูงวัย สบายใจ"ด้วย 3 แผนความคุ้มครอง แผนที่ 1 คุ้มครอง 75,000 ลาท และสัญญาเพิ่มโรคร้ายแรง 150,000 บาท แผนที่ 2 คุ้มครองชีวิต125,000 บาท และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง 250,000 บาท และแผนที่ 3 คุ้มครองชีวิต 250,000 บาท และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้าย 500,000 บาท ระยะยเวลาความคุ้มครอง 10 ปี ชำระเบี้ยประกัน 10 ปี
นายสาระกล่าวอีกว่า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้ เป็นส่วนของความคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วย 5 โรคร้ายแรง ซึ่งประกอบด้วย โรคมะเร็ง โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมอง การผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยวิธี Bypass และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ซึ่งโรคร้ายทั้ง 5 รายการดังกล่าวบริษัทได้ทำการวิจัยมาแล้วว่าเป็น 5 โรคที่จะเกิดกับผู้สูงอายุมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นโรคร้ายแรงที่ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลว่าจะเกิดกับตนเอง ซึ่งประกัน"เมืองไทย สูงวัย สบายใจ"จะช่วยผ่อนภาระในส่วนนี้ได้
"ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จึงยังไม่มีฐานเดิมให้เทียบ แต่เชื่อว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จะได้รับความสนใจเช่นเดียวกันกับประกันสุขภาพตัวอื่นๆที่ออกมา และเชื่อว่าผลิตภัณฑ์จะมีส่วนช่วยให้ยอดประกันทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เบี้ยประกันของบริษัทได้ยังเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้"
สำหรับการดำเนินงานในช่วงต่อไปนั้น เชื่อว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้ แม้ว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นอย่างช้าๆ ซึ่งในส่วนของบริษัทจะเน้นการออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจกลุ่มผู้บริโภค และเน้นการขายที่หลากหลายช่องทางมากขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการขายช่องทางต่างๆดังนี้ ผ่านตัวแทน 40% ขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ 50% ขายผ่านพันธมิตรการค้า 5% และอื่นๆ 5%
ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการขายประกันผ่านโทรศัพท์นั้น นายสาระในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตกล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีความชัดเจนในขั้นตอนการขายอยู่แล้วในประกาศของคปภ.ที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักเกณฑ์ในการโทรศัพท์ ที่มาของรายชื่อลูกค้า หรือหลักเกณฑ์ในการขาย ซึ่งหากมีการตกลงทางโทรศัพท์แล้วยังต้องมีการยืนยันอีกครั้งภายใน 7 วัน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าประกาศมีความรัดกุมอยู่แล้ว ซึ่งหากมีตัวแทนหรือบริษัทที่ทำผิดกฎก็จะต้องถูกลงโทษ แต่จากยอดการขายทางโทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็สะท้อนให้เห็นในอีกด้านว่ายังมีกลุ่มลูกค้าที่ชอบทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์อยู่เช่นกัน
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวถึงผลการดำเนินงานช่วง 7 เดือนแรกของปีที่ผ่านมาว่า บริษัทมีเบี้ยประกันรับรวมสูงถึง 12,386 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 26.24 โดยเป็นเบี้ยประกันรับใหม่ 5,218 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 35.94 และเบี้ยประกันต่ออายุ 7,168 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 20 ซึ่งอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันดังกล่าว สูงกว่าเบี้ยประกันของระบบ 6 เดือนที่เติบโต 13% ขณะที่เงินกองทุนอยู่ในระดับ 7,502 ล้านบาท สูงกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)กำหนดกว่า 700% หรือกว่า 7 เท่า
นอกจากนี้ บริษัทมองเห็นถึงความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย การเตรียมความพร้อม การให้บริการและการมอบความดูแลกลุ่มดังกล่าว โดยได้ออกแบบโครงการประกันสุขภาพ "เมืองไทย สูงวัย สบายใจ"ด้วย 3 แผนความคุ้มครอง แผนที่ 1 คุ้มครอง 75,000 ลาท และสัญญาเพิ่มโรคร้ายแรง 150,000 บาท แผนที่ 2 คุ้มครองชีวิต125,000 บาท และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง 250,000 บาท และแผนที่ 3 คุ้มครองชีวิต 250,000 บาท และสัญญาเพิ่มเติมโรคร้าย 500,000 บาท ระยะยเวลาความคุ้มครอง 10 ปี ชำระเบี้ยประกัน 10 ปี
นายสาระกล่าวอีกว่า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้ เป็นส่วนของความคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วย 5 โรคร้ายแรง ซึ่งประกอบด้วย โรคมะเร็ง โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมอง การผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยวิธี Bypass และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ซึ่งโรคร้ายทั้ง 5 รายการดังกล่าวบริษัทได้ทำการวิจัยมาแล้วว่าเป็น 5 โรคที่จะเกิดกับผู้สูงอายุมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นโรคร้ายแรงที่ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลว่าจะเกิดกับตนเอง ซึ่งประกัน"เมืองไทย สูงวัย สบายใจ"จะช่วยผ่อนภาระในส่วนนี้ได้
"ขณะนี้บริษัทยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่จึงยังไม่มีฐานเดิมให้เทียบ แต่เชื่อว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จะได้รับความสนใจเช่นเดียวกันกับประกันสุขภาพตัวอื่นๆที่ออกมา และเชื่อว่าผลิตภัณฑ์จะมีส่วนช่วยให้ยอดประกันทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เบี้ยประกันของบริษัทได้ยังเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้"
สำหรับการดำเนินงานในช่วงต่อไปนั้น เชื่อว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้ แม้ว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นอย่างช้าๆ ซึ่งในส่วนของบริษัทจะเน้นการออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจกลุ่มผู้บริโภค และเน้นการขายที่หลากหลายช่องทางมากขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการขายช่องทางต่างๆดังนี้ ผ่านตัวแทน 40% ขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ 50% ขายผ่านพันธมิตรการค้า 5% และอื่นๆ 5%
ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการขายประกันผ่านโทรศัพท์นั้น นายสาระในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตกล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีความชัดเจนในขั้นตอนการขายอยู่แล้วในประกาศของคปภ.ที่ออกมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักเกณฑ์ในการโทรศัพท์ ที่มาของรายชื่อลูกค้า หรือหลักเกณฑ์ในการขาย ซึ่งหากมีการตกลงทางโทรศัพท์แล้วยังต้องมีการยืนยันอีกครั้งภายใน 7 วัน เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าประกาศมีความรัดกุมอยู่แล้ว ซึ่งหากมีตัวแทนหรือบริษัทที่ทำผิดกฎก็จะต้องถูกลงโทษ แต่จากยอดการขายทางโทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็สะท้อนให้เห็นในอีกด้านว่ายังมีกลุ่มลูกค้าที่ชอบทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์อยู่เช่นกัน