นายชุมพล ศิลปะอาชา รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สรุปออกมาแล้ว แต่ทางรัฐบาลยังเหมือนนิ่งๆ อยู่ จนถูกมองว่ากำลังยื้อเวลาออกไป เรื่อยๆว่า คงไม่ใช่อย่างนั้น เรื่องคณะกรรมการของสภาฯ เป็นเรื่องที่ประธานสภาฯ เป็นคนตั้ง ผลสรุปออกมา ก็เป็นเรื่องของสภาฯ ไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลเลย เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นคนตั้ง ผลสรุปออกมาอย่างไรก็แล้วแต่ประธานสภาฯจะส่งไปให้ใครดูบ้าง ท่านอาจจะบอกว่าถ้าเห็นด้วยก็เสนอกันขึ้นมาเป็นญัติติมาเลย
ผู้สื่อข่าวถามว่าโดยส่วนตัวมองว่าถึงเวลาหรือยังที่จะมีการเดินหน้าเสียที หลังจากให้สภาฯไปศึกษามาแล้ว นายชุมพล กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้ให้สภาฯไปศึกษา แต่สภาฯไปศึกษาเอง เพราะมันมีญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคณะกรรมการประชาชนพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) อยู่ เมื่อศึกษาเสร็จแล้วก็เป็นเรื่องของสภาฯไป รัฐบาลจริงๆ แล้วไม่ได้มีหน้าที่มาแก้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้าถามว่า พรรคชาติไทยพัฒนา มีความเห็นยังไร ประเด็นทั้งหมด ที่เสนอมานั้นอยู่ในจุดยืนของพรรคอยู่แล้ว ได้ประกาศมาตั้งแต่ตอนตั้งพรรคว่าถ้าจะแก้ไขวิกฤติบ้านเมือง ต้องแก้ไขที่การเมืองก่อน และการแก้ไขการเมืองต้องแก้ไข รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทางพรรคจึงเสนอทีละประเด็นไป แล้วมันบังเอิญมาตรงกันทั้งหมดเลย
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า แสดงว่าพรรคยังมั่นใจว่าประเด็นที่เสนอจะสามารถเกิดขึ้น ได้จริง นายชุมพล กล่าวว่า มันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ และควรจะเกิดขึ้นด้วย แต่จะช้าเร็วอะไรก็ขึ้นอยู่กับกลไกรัฐสภาฯ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. เพราะฉะนั้นถ้าประธานสภาฯได้รับรายงานของคณะกรรมการฯทั้ง 2 ชุด ประธานสภาฯอาจจะดำเนินการ โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ มาหารือกันอีกครั้งหนึ่ง หรือประธานสภาฯอาจจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาได้รับทราบรายงาน หลังจากนั้น ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่มีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลมอบหมายให้แต่ละพรรคไปหารือกันนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว นายชินวรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อยุติไปแล้วว่าน่าจะเป็นเรื่องของสภาและพรรคการเมืองในการที่จะดำเนินการ แต่จะทำได้ต้องรอความเห็นจากรัฐสภาว่าดำเนินการไปในทิศทางใด ถ้าหากว่าให้ดำเนินการไปในทิศทางตามมาตรา 291 ก็จะต้องดำเนินการไปตามนั้น โดยผู้ที่จะเสนอได้มี 3 ทางเท่านั้นคือ 1.ครม. 2.สมาชิกรัฐสภา 1 ใน 5 และ3.ประชาชนเข้าชื่อกัน 5 หมื่นชื่อ ดังนั้นจึงต้องรอที่ประชุมก่อน
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถแสวงหาความเห็นพ้องต้องกันของทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และวุฒิสภาได้ โอกาสความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นไปได้มากกว่า ตนจึงเรียกร้องตรงนี้ตลอดเวลาว่า ถ้าหากเราต้องการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์ขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ระยะยาว และมีความเป็นไปได้จริงในการที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเท่านั้นแต่เพื่อการปฏิรูปทางการเมืองด้วย และเพื่อการสร้างความสมานฉันท์ด้วย นี่คือสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นกระบวนการในการฟังความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าวิธีการแก้ ซึ่งไม่ยาก
ผู้สื่อข่าวถามว่าโดยส่วนตัวมองว่าถึงเวลาหรือยังที่จะมีการเดินหน้าเสียที หลังจากให้สภาฯไปศึกษามาแล้ว นายชุมพล กล่าวว่า รัฐบาลไม่ได้ให้สภาฯไปศึกษา แต่สภาฯไปศึกษาเอง เพราะมันมีญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคณะกรรมการประชาชนพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) อยู่ เมื่อศึกษาเสร็จแล้วก็เป็นเรื่องของสภาฯไป รัฐบาลจริงๆ แล้วไม่ได้มีหน้าที่มาแก้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้าถามว่า พรรคชาติไทยพัฒนา มีความเห็นยังไร ประเด็นทั้งหมด ที่เสนอมานั้นอยู่ในจุดยืนของพรรคอยู่แล้ว ได้ประกาศมาตั้งแต่ตอนตั้งพรรคว่าถ้าจะแก้ไขวิกฤติบ้านเมือง ต้องแก้ไขที่การเมืองก่อน และการแก้ไขการเมืองต้องแก้ไข รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทางพรรคจึงเสนอทีละประเด็นไป แล้วมันบังเอิญมาตรงกันทั้งหมดเลย
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า แสดงว่าพรรคยังมั่นใจว่าประเด็นที่เสนอจะสามารถเกิดขึ้น ได้จริง นายชุมพล กล่าวว่า มันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ และควรจะเกิดขึ้นด้วย แต่จะช้าเร็วอะไรก็ขึ้นอยู่กับกลไกรัฐสภาฯ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค. เพราะฉะนั้นถ้าประธานสภาฯได้รับรายงานของคณะกรรมการฯทั้ง 2 ชุด ประธานสภาฯอาจจะดำเนินการ โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ มาหารือกันอีกครั้งหนึ่ง หรือประธานสภาฯอาจจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาได้รับทราบรายงาน หลังจากนั้น ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่มีอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลมอบหมายให้แต่ละพรรคไปหารือกันนั้น ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว นายชินวรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อยุติไปแล้วว่าน่าจะเป็นเรื่องของสภาและพรรคการเมืองในการที่จะดำเนินการ แต่จะทำได้ต้องรอความเห็นจากรัฐสภาว่าดำเนินการไปในทิศทางใด ถ้าหากว่าให้ดำเนินการไปในทิศทางตามมาตรา 291 ก็จะต้องดำเนินการไปตามนั้น โดยผู้ที่จะเสนอได้มี 3 ทางเท่านั้นคือ 1.ครม. 2.สมาชิกรัฐสภา 1 ใน 5 และ3.ประชาชนเข้าชื่อกัน 5 หมื่นชื่อ ดังนั้นจึงต้องรอที่ประชุมก่อน
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถแสวงหาความเห็นพ้องต้องกันของทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และวุฒิสภาได้ โอกาสความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นไปได้มากกว่า ตนจึงเรียกร้องตรงนี้ตลอดเวลาว่า ถ้าหากเราต้องการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์ขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ระยะยาว และมีความเป็นไปได้จริงในการที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเท่านั้นแต่เพื่อการปฏิรูปทางการเมืองด้วย และเพื่อการสร้างความสมานฉันท์ด้วย นี่คือสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นกระบวนการในการฟังความคิดเห็นที่สอดคล้องต้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าวิธีการแก้ ซึ่งไม่ยาก