ช่วงเย็นวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงได้ฟังพระราชดำรัสตอบพสกนิกรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัย ณ ศาลาดุสิดาลัย ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งมีความแตกต่างจากที่ประทับของพระมหากษัตริย์ชาติอื่น เพราะภายในพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานนั้น จะประกอบไปด้วยทุ่งหญ้าเลี้ยงโคนม มีบ่อเลี้ยงปลาเรียงรายกันหลายบ่อ มีโรงสีข้าว มียุ้งข้าว มีบ่อเลี้ยงสาหร่ายและโรงวิจัยต่างๆ มากมาย รวมทั้งเป็นที่ตั้งโรงเรียนสวนจิตรลดา ภายในตัวพระตำหนัก ก็จะมีห้องรับรองอยู่ไม่กี่ห้องประดับประดาด้วยเครื่องกระเบื้องและภาพวาดตั้งแต่ครั้งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีเครื่องเรือนหรือสิ่งตกแต่งหรูหราเลยแต่เรียบง่าย
ในวันนั้นเองก็มีราษฎรทั่วไปประมาณ 15,865 คน มาเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรรายรอบศาลาดุสิดาลัย พร้อมกันกับคณะบุคคลต่างๆ ประกอบด้วยองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งทั้งหมดนี้คงจะมีความรู้สึกร่วมกับคนทั้งประเทศที่ได้เห็นพระราชอิริยาบถเรียบง่ายของพระองค์ท่าน ทั้งยังได้ยินพระอารมณ์ขันขณะรับสั่งเรื่องราวต่างๆ ซึ่งทำให้รู้สึกว่า โลกทั้งโลกช่างรื่นรมย์สวนกระแสความวุ่นวายทางการเมือง และเศรษฐกิจที่รุมเร้าประเทศชาติอยู่ในขณะนี้
และคาดว่าทุกคนคงจะมีความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้ยินพระองค์ท่านรับสั่งถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ทรงออกพระวรกายเป็นปกติ” ซึ่งเชื่อว่าพสกนิกรผู้จงรักภักดีทุกคนคงจะดีใจ และมีกำลังใจในการที่จะทำนุบำรุงชาติบ้านเมืองตามรอยพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอุทิศพระราชหฤทัยและพระวรกายให้กับประเทศชาติ และพสกนิกรของพระองค์มาเป็นเวลากว่า 60 แล้ว
ประชาชนคนไทยคงจะเห็นพระราชกรณียกิจของทั้งสองพระองค์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมาที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน และทรงแก้ไขปัญหาให้ราษฎร รวมทั้งทรงสร้างสรรค์ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับราษฎรผู้ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร มาจนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยเพราะการเสด็จพระราชดำเนินไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน จึงมิได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎรที่อาศัยอยู่ไกลๆ แต่ยังทรงติดตามโครงการพระราชดำริต่างๆ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงทุ่มพระวรกายเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่พระกำลังก็ถดถอยเช่นเดียวกัน
ในวันนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงให้กำลังใจคนไทยทั้งชาติ และทรงสะท้อนให้เห็นถึงความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของชาวประมงชายฝั่งทะเล ด้วยการที่ทรงพระราชดำริให้สร้างปะการังเทียมจนทรัพยากรประมงชายฝั่งได้รับการฟื้นฟู ทำให้ราษฎรที่อาศัยการประมงชายฝั่งมีรายได้กว่า 10,000 บาทต่อเดือน
แต่พระราชกรณียกิจภาระงานที่สำคัญยิ่งของพระองค์คือ ศูนย์ฝึกศิลปาชีพที่พระองค์ทรงฟื้นฟูงานศิลปะของชาติไทยอย่างเป็นระบบ และปรัชญาเริ่มแรกของพระองค์คือ ทรงปรารถนาให้ราษฎรที่ว่างเว้นจากงานสวน ไร่ นาแล้วมีงานเสริมทำเพื่อสร้างรายได้ แต่พระองค์ทรงต้องการให้มีงานสำเร็จออกมาอย่างมีคุณภาพ และดำรงไว้ซึ่งมรดกทางปัญญาของคนไทย แต่พระราชกิจที่สำคัญของพระองค์คือ การลดภาระครอบครัวคนจนที่มีครอบครัวใหญ่ในชนบทที่มีพรสวรรค์ได้ส่งบุตรหลานที่มีพรสวรรค์ ความสามารถเข้ามาฝึกศิลปาชีพ การฝีมือต่างๆ การทำโลหะอะไรต่อมิอะไรต่างๆ ซึ่งขณะนี้งานศิลปาชีพมีการแสดงนิทรรศการอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใครได้เห็นก็จะรู้ว่า งานฝีมือเหล่านี้วิเศษยิ่งอย่างไร จึงเป็นการประเสริฐแล้วที่ชาวต่างชาติที่ได้เห็นแล้วชมว่า เป็นฝีมือระดับโลก
การสร้างงานศิลปะ งานฝีมือ และการเพิ่มคุณค่าศิลปหัตถกรรมทั้งหลายเป็นการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะงานศิลปะเป็นงานที่สร้างรายได้อย่างงดงามเหมือนอย่างชาวตะวันตกมักจะพูดว่า “Creative Handcraft is Expensive” งานฝีมือสร้างสรรค์เป็นสิ่งมีราคา
นอกจากงานฝีมือแล้วศิลปะการแสดงทั้งแบบสากลและของไทยนั้น พระองค์ทรงให้การสนับสนุนเสมอมาและทรงมีความห่วงใยว่าจะสูญหายไป เช่น กรณีเรื่องโขนซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยว่าจะหมดความนิยม และได้รับพระราชทานเพื่อใช้ในการสร้างโขนชุดใหม่ เพราะเสื้อผ้าตัวโขนนั้นราคาแพง และทรงเกรงว่าจะหมด “ครูโขน” อีกด้วย และโขนนั้นเป็นการแสดงระดับสูงของกลุ่มประเทศเอเชียใต้และอาเซียนที่แสดงถึงอารยธรรมขั้นสูง
พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีมากมายและยังทรงเป็นพระมารดาแห่งชาติ ที่ทรงห่วงใยในรายละเอียดของแต่ละครอบครัวที่พระองค์ทรงพบเห็น ทรงแน่วแน่ในการรับคนไข้อนาถาที่หมดโอกาสนับร้อยนับพันมาไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์
อะไรเป็นพื้นฐานแห่งความสุขสมบูรณ์ของคนไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นเลิศกว่าชาติอื่นๆ และชาติไทยเป็นชาติหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่าราษฎรลุกฮือต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะว่า “ทรงปกครองราษฎรอย่างไร้คุณธรรม”
คนไทยควรจะศึกษาเรื่องพระธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นแม่บทหนึ่งแห่งกฎหมายไทย อันสืบเนื่องมาจากอินเดีย และมอญตกทอดมาตั้งแต่ก่อนกรุงสุโขทัย และในพระธรรมศาสตร์นั้นก็มีสาขากฎหมายย่อยเรียกว่า ราชศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้ในรูปพระราชกำหนด บทพระอัยการ และพระราชบัญญัติมาแต่อดีตกาล อันมีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดกรอบความยุติธรรม และคุณธรรมไว้ แต่คำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ทั้งนี้โดยอาศัยและคำนึงถึงความเหมาะสมกับเหตุการณ์ และวัฒนธรรมประเพณีในสมัยนั้น พระราชศาสตร์จึงเป็นกฎหมายเฉพาะกาล
ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์จะกำหนดถึงหลักปฏิบัติในการใช้พระราชอำนาจ เช่น ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์มีการออกกฎมณเฑียรบาล ป้องกันมิให้พระองค์ทรงใช้อำนาจในทางที่ผิดเป็นพระราชศาสตร์เช่นที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวดำรัสด้วยกิจการคดีถ้อยประการใดๆ ต้องกฎหมายประเพณีเป็นยุติธรรมแล้วให้กระทำตาม ถ้ามิชอบจงอาจเพ็ดทูลทัดทานครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ถ้ามิฟังให้รอไว้อย่าเพิ่งสั่งไป ให้ทูลในที่รโหฐาน ถ้ามิฟังจึงให้กระทำตาม ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระอัยการดั่งนี้ ท่านว่า ผู้นั้นละเมิดพระราชอาญา หรืออนึ่งทรงพิโรธโกรธแก่ผู้ใด และตรัสเรียกพระแสงอย่าให้พนักงานยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย”
จึงเป็นหลักฐานว่า “เจ้าชีวิต เจ้าแผ่นดิน” ของคนไทยมาแต่อดีตกาลได้ใช้พระราชอำนาจด้วยความระมัดระวัง ด้วยความเที่ยงธรรม มิได้ลุแก่พระราชอำนาจ กดขี่ รังแก ข่มเหงราษฎรแต่อย่างใด ทั้งพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยโบราณยังต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในราชธรรม 38 ประการ เช่น ต้องดูแลรักษาประชาชนดุจครูรักศิษย์ หรือมารดารักษาลูกของตน เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็มิได้ใช้พระแสงราชศาสตราปกครองเข่นฆ่า ข่มเหง รังแกประชาราษฎรกลับใช้ธรรมะ คือ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ และจักรพรรดิวัตร 10 ประการ เป็นเครื่องมือและทรงใช้ปัญญาปกครองบ้านเมือง
จึงนับว่าคนไทยทั้งปวงโชคดีกว่าชนชาติใดๆ เพราะพระมหากษัตริย์ และพระราชินีไทยมีหลักการที่ชัดเจน เข้มข้น และเป็นรูปธรรมในการปกครองพสกนิกรของพระองค์เยี่ยงบิดา มารดา สมควรแล้วที่คนไทยยกย่องในหลวง และพระราชินีเป็นทั้งพ่อและแม่แห่งแผ่นดิน ขอทรงพระเจริญ
ในวันนั้นเองก็มีราษฎรทั่วไปประมาณ 15,865 คน มาเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรรายรอบศาลาดุสิดาลัย พร้อมกันกับคณะบุคคลต่างๆ ประกอบด้วยองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งทั้งหมดนี้คงจะมีความรู้สึกร่วมกับคนทั้งประเทศที่ได้เห็นพระราชอิริยาบถเรียบง่ายของพระองค์ท่าน ทั้งยังได้ยินพระอารมณ์ขันขณะรับสั่งเรื่องราวต่างๆ ซึ่งทำให้รู้สึกว่า โลกทั้งโลกช่างรื่นรมย์สวนกระแสความวุ่นวายทางการเมือง และเศรษฐกิจที่รุมเร้าประเทศชาติอยู่ในขณะนี้
และคาดว่าทุกคนคงจะมีความรู้สึกผ่อนคลายที่ได้ยินพระองค์ท่านรับสั่งถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ทรงออกพระวรกายเป็นปกติ” ซึ่งเชื่อว่าพสกนิกรผู้จงรักภักดีทุกคนคงจะดีใจ และมีกำลังใจในการที่จะทำนุบำรุงชาติบ้านเมืองตามรอยพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอุทิศพระราชหฤทัยและพระวรกายให้กับประเทศชาติ และพสกนิกรของพระองค์มาเป็นเวลากว่า 60 แล้ว
ประชาชนคนไทยคงจะเห็นพระราชกรณียกิจของทั้งสองพระองค์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมาที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียน และทรงแก้ไขปัญหาให้ราษฎร รวมทั้งทรงสร้างสรรค์ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับราษฎรผู้ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร มาจนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยเพราะการเสด็จพระราชดำเนินไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน จึงมิได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎรที่อาศัยอยู่ไกลๆ แต่ยังทรงติดตามโครงการพระราชดำริต่างๆ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็ทรงทุ่มพระวรกายเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่พระกำลังก็ถดถอยเช่นเดียวกัน
ในวันนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงให้กำลังใจคนไทยทั้งชาติ และทรงสะท้อนให้เห็นถึงความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของชาวประมงชายฝั่งทะเล ด้วยการที่ทรงพระราชดำริให้สร้างปะการังเทียมจนทรัพยากรประมงชายฝั่งได้รับการฟื้นฟู ทำให้ราษฎรที่อาศัยการประมงชายฝั่งมีรายได้กว่า 10,000 บาทต่อเดือน
แต่พระราชกรณียกิจภาระงานที่สำคัญยิ่งของพระองค์คือ ศูนย์ฝึกศิลปาชีพที่พระองค์ทรงฟื้นฟูงานศิลปะของชาติไทยอย่างเป็นระบบ และปรัชญาเริ่มแรกของพระองค์คือ ทรงปรารถนาให้ราษฎรที่ว่างเว้นจากงานสวน ไร่ นาแล้วมีงานเสริมทำเพื่อสร้างรายได้ แต่พระองค์ทรงต้องการให้มีงานสำเร็จออกมาอย่างมีคุณภาพ และดำรงไว้ซึ่งมรดกทางปัญญาของคนไทย แต่พระราชกิจที่สำคัญของพระองค์คือ การลดภาระครอบครัวคนจนที่มีครอบครัวใหญ่ในชนบทที่มีพรสวรรค์ได้ส่งบุตรหลานที่มีพรสวรรค์ ความสามารถเข้ามาฝึกศิลปาชีพ การฝีมือต่างๆ การทำโลหะอะไรต่อมิอะไรต่างๆ ซึ่งขณะนี้งานศิลปาชีพมีการแสดงนิทรรศการอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใครได้เห็นก็จะรู้ว่า งานฝีมือเหล่านี้วิเศษยิ่งอย่างไร จึงเป็นการประเสริฐแล้วที่ชาวต่างชาติที่ได้เห็นแล้วชมว่า เป็นฝีมือระดับโลก
การสร้างงานศิลปะ งานฝีมือ และการเพิ่มคุณค่าศิลปหัตถกรรมทั้งหลายเป็นการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะงานศิลปะเป็นงานที่สร้างรายได้อย่างงดงามเหมือนอย่างชาวตะวันตกมักจะพูดว่า “Creative Handcraft is Expensive” งานฝีมือสร้างสรรค์เป็นสิ่งมีราคา
นอกจากงานฝีมือแล้วศิลปะการแสดงทั้งแบบสากลและของไทยนั้น พระองค์ทรงให้การสนับสนุนเสมอมาและทรงมีความห่วงใยว่าจะสูญหายไป เช่น กรณีเรื่องโขนซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยว่าจะหมดความนิยม และได้รับพระราชทานเพื่อใช้ในการสร้างโขนชุดใหม่ เพราะเสื้อผ้าตัวโขนนั้นราคาแพง และทรงเกรงว่าจะหมด “ครูโขน” อีกด้วย และโขนนั้นเป็นการแสดงระดับสูงของกลุ่มประเทศเอเชียใต้และอาเซียนที่แสดงถึงอารยธรรมขั้นสูง
พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ มีมากมายและยังทรงเป็นพระมารดาแห่งชาติ ที่ทรงห่วงใยในรายละเอียดของแต่ละครอบครัวที่พระองค์ทรงพบเห็น ทรงแน่วแน่ในการรับคนไข้อนาถาที่หมดโอกาสนับร้อยนับพันมาไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์
อะไรเป็นพื้นฐานแห่งความสุขสมบูรณ์ของคนไทยที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นเลิศกว่าชาติอื่นๆ และชาติไทยเป็นชาติหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่าราษฎรลุกฮือต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะว่า “ทรงปกครองราษฎรอย่างไร้คุณธรรม”
คนไทยควรจะศึกษาเรื่องพระธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นแม่บทหนึ่งแห่งกฎหมายไทย อันสืบเนื่องมาจากอินเดีย และมอญตกทอดมาตั้งแต่ก่อนกรุงสุโขทัย และในพระธรรมศาสตร์นั้นก็มีสาขากฎหมายย่อยเรียกว่า ราชศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้ในรูปพระราชกำหนด บทพระอัยการ และพระราชบัญญัติมาแต่อดีตกาล อันมีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดกรอบความยุติธรรม และคุณธรรมไว้ แต่คำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ทั้งนี้โดยอาศัยและคำนึงถึงความเหมาะสมกับเหตุการณ์ และวัฒนธรรมประเพณีในสมัยนั้น พระราชศาสตร์จึงเป็นกฎหมายเฉพาะกาล
ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์จะกำหนดถึงหลักปฏิบัติในการใช้พระราชอำนาจ เช่น ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์มีการออกกฎมณเฑียรบาล ป้องกันมิให้พระองค์ทรงใช้อำนาจในทางที่ผิดเป็นพระราชศาสตร์เช่นที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวดำรัสด้วยกิจการคดีถ้อยประการใดๆ ต้องกฎหมายประเพณีเป็นยุติธรรมแล้วให้กระทำตาม ถ้ามิชอบจงอาจเพ็ดทูลทัดทานครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ถ้ามิฟังให้รอไว้อย่าเพิ่งสั่งไป ให้ทูลในที่รโหฐาน ถ้ามิฟังจึงให้กระทำตาม ถ้าผู้ใดมิได้กระทำตามพระอัยการดั่งนี้ ท่านว่า ผู้นั้นละเมิดพระราชอาญา หรืออนึ่งทรงพิโรธโกรธแก่ผู้ใด และตรัสเรียกพระแสงอย่าให้พนักงานยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย”
จึงเป็นหลักฐานว่า “เจ้าชีวิต เจ้าแผ่นดิน” ของคนไทยมาแต่อดีตกาลได้ใช้พระราชอำนาจด้วยความระมัดระวัง ด้วยความเที่ยงธรรม มิได้ลุแก่พระราชอำนาจ กดขี่ รังแก ข่มเหงราษฎรแต่อย่างใด ทั้งพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยโบราณยังต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในราชธรรม 38 ประการ เช่น ต้องดูแลรักษาประชาชนดุจครูรักศิษย์ หรือมารดารักษาลูกของตน เป็นต้น ถึงแม้จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็มิได้ใช้พระแสงราชศาสตราปกครองเข่นฆ่า ข่มเหง รังแกประชาราษฎรกลับใช้ธรรมะ คือ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ และจักรพรรดิวัตร 10 ประการ เป็นเครื่องมือและทรงใช้ปัญญาปกครองบ้านเมือง
จึงนับว่าคนไทยทั้งปวงโชคดีกว่าชนชาติใดๆ เพราะพระมหากษัตริย์ และพระราชินีไทยมีหลักการที่ชัดเจน เข้มข้น และเป็นรูปธรรมในการปกครองพสกนิกรของพระองค์เยี่ยงบิดา มารดา สมควรแล้วที่คนไทยยกย่องในหลวง และพระราชินีเป็นทั้งพ่อและแม่แห่งแผ่นดิน ขอทรงพระเจริญ