ศูนย์ข่าวภูเก็ต- ชาวประมงพื้นบ้านป่าคลอก รวมตัวยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมง คัดค้านการก่อสร้างมารีนาที่แหลมยามู อ้างเป็นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่บริเวณสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านป่าคลอก ได้แก่ ประมงพื้นบ้านยามู กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรฯป่าคลอก และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน 3 หมู่บ้าน (ผักฉีด บางลา ยามู) ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นำโดยนายจุรุณ ราชพล ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรฯป่าคลอก และ นายฉาย สมบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มประมงพื้นบ้านยามู ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมงผ่านทาง นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต เพื่อคัดค้านการอนุญาตสร้างท่าเทียบเรือมารีนาแหลมยามู
สำหรับเนื้อหาของหนังสือคัดค้านสรุปสารสำคัญได้ว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลตามกฎหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตในการสร้างมารีน่าแหลมยามู มี 3 หน่วยงานหลัก คือ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี แต่เนื่องจากทะเลและชายฝั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การที่หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจะอนุญาตให้เอกชนใช้ประโยชน์ได้ก็เพียงแต่ที่กฎหมายที่กำหนดเท่านั้น
ในส่วนของกรมประมงมีพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ซึ่งกำหนดที่จับสัตว์น้ำไว้ในมาตรา 6 จำนวน 4 ประเภท คือ ที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าการประมูล ที่อนุญาต และที่สาธารณประโยชน์ โดยมาตรา 16 ระบุว่า ที่สาธารณประโยชน์ คือ ที่จับสัตว์น้ำซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิ์ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ แต่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุกเบกษา ในมาตรา 17 ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างสิ่งใดลงไปในที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าการประมูล ที่อนุญาต ที่มิใช้ที่ของเอกชน และในมาตรา 21 ห้ามมิให้บุคคลใดแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ข้อ 7(8) การเก็บหรือทำลายปะการัง ซากปะการัง หรือหินปะการัง หรือกระทำการใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือผลกระทบ หรือทำให้ปะการัง หรือหินปะการังถูกทำลายหรือเสียหาย
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ตามมาตรา 17 มิได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ หรืออธิบดีกรมประมงอนุญาตปลูกสร้างหรือก่อสร้างสิ่งใดลงในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ แต่ให้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตได้ตามมาตรา 21 แต่การอนุญาตนั้นต้องมีข้อกำหนด คือ ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไข ทางประมงพื้นบ้านร้องเรียนว่าตามมาตรา 21 คำว่าการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ มิได้หมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง และพนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตสิ่งปลูกสร้างได้ตามมาตรที่ 17 เท่านั้น แต่มิได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่กรมประมงพิจารณาอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทสาธารณประโยชน์จะรวมถึงมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินด้วย
การที่กรมประมงจะอนุญาตให้เอกชนใช้ประโยชน์ ในการปลูกสร้างลงในที่สาธารณประโยชน์จะเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนในการใช้ประโยชน์ที่สาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกรมประมงอาจจะมีส่วนร่วมกันรับผิดตามกฎหมายกับเอกชนในการกระทำผิดต่อประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ข้อ 7(8)
นอกจากนี้ พื้นที่ ต.ป่าคลอก ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากจังหวัด 1.6 ล้านบาท ทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทั้งตำบลเป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชน หากมีการอนุญาตให้ก่อสร้างมารีนาลงในทะเล มิเพียงเป็นการอนุญาตที่ผิดกฎหมายเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อการฟื้นฟูทรัพยากรประมง แหล่งหญ้าทะเลและปะการังด้วย และการสร้างมารีนาเป็นการใช้ประโยชน์เกินความจำเป็น และเพิ่มมูลค่าให้สิ่งปลูกสร้างบนฝั่ง
นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตยังมีโครงการที่จะสร้างมารีนาไว้บริการนักท่องเที่ยว ตามโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต จึงไม่สมควรที่จะส่งเสริมท่าเทียบเรือมารีนาโดยไม่มีการควบคุม ซึ่งมีผลกระทบต่อฐานการผลิตทรัพยากรประมงและทำลายวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตซึ่งสำคัญมาก
ดังนั้น ประมงพื้นบ้านตำบลป่าคลอก จึงขอเรียนว่า หากมีการอนุญาตให้ก่อสร้างมารีนาดังกล่าว ทางกลุ่มฯมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีในทุกๆ ฐานความผิดที่จะดำเนินคดีได้ เพราะที่ผ่านมาได้ใช้วิธีการร้องเรียนแต่ไม่เป็นผล ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการมิเช่นนั้นคงไม่สามารถที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ และไม่สามารถบำบัดความเดือดร้อนได้ ยกตัวอย่างกรณีเกาะแรด ต.ป่าคลอก
ด้าน นายจุรุณ กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ให้ชาวบ้านได้ช่วยกันดูแลทรัพยากรในอ่าวป่าคลอกจนมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งหญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเลหายาก เช่น พะยูน เต่าทะเล เป็นต้น และยังเป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของคนในชุมชน ดังนั้นหากภาครัฐปล่อยให้เอกชนก่อสร้างก็จะเดินหน้าคัดค้านอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต ได้รับเรื่องไว้และจะเร่งดำเนินการส่งไปยังอธิบดีกรมประมง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการกรมประมง ที่ดูแลในเรื่องดังกล่าว เพราะสำหรับการขออนุญาตก่อสร้างโครงการดังกล่าว มีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและคัดค้าน
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่บริเวณสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านป่าคลอก ได้แก่ ประมงพื้นบ้านยามู กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรฯป่าคลอก และกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน 3 หมู่บ้าน (ผักฉีด บางลา ยามู) ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นำโดยนายจุรุณ ราชพล ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรฯป่าคลอก และ นายฉาย สมบูรณ์ ตัวแทนกลุ่มประมงพื้นบ้านยามู ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประมงผ่านทาง นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต เพื่อคัดค้านการอนุญาตสร้างท่าเทียบเรือมารีนาแหลมยามู
สำหรับเนื้อหาของหนังสือคัดค้านสรุปสารสำคัญได้ว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลตามกฎหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตในการสร้างมารีน่าแหลมยามู มี 3 หน่วยงานหลัก คือ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี แต่เนื่องจากทะเลและชายฝั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การที่หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบจะอนุญาตให้เอกชนใช้ประโยชน์ได้ก็เพียงแต่ที่กฎหมายที่กำหนดเท่านั้น
ในส่วนของกรมประมงมีพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ซึ่งกำหนดที่จับสัตว์น้ำไว้ในมาตรา 6 จำนวน 4 ประเภท คือ ที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าการประมูล ที่อนุญาต และที่สาธารณประโยชน์ โดยมาตรา 16 ระบุว่า ที่สาธารณประโยชน์ คือ ที่จับสัตว์น้ำซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิ์ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ แต่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุกเบกษา ในมาตรา 17 ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างสิ่งใดลงไปในที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าการประมูล ที่อนุญาต ที่มิใช้ที่ของเอกชน และในมาตรา 21 ห้ามมิให้บุคคลใดแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ข้อ 7(8) การเก็บหรือทำลายปะการัง ซากปะการัง หรือหินปะการัง หรือกระทำการใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือผลกระทบ หรือทำให้ปะการัง หรือหินปะการังถูกทำลายหรือเสียหาย
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ตามมาตรา 17 มิได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ หรืออธิบดีกรมประมงอนุญาตปลูกสร้างหรือก่อสร้างสิ่งใดลงในที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ แต่ให้อำนาจในการพิจารณาอนุญาตได้ตามมาตรา 21 แต่การอนุญาตนั้นต้องมีข้อกำหนด คือ ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไข ทางประมงพื้นบ้านร้องเรียนว่าตามมาตรา 21 คำว่าการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ มิได้หมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง และพนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตสิ่งปลูกสร้างได้ตามมาตรที่ 17 เท่านั้น แต่มิได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่กรมประมงพิจารณาอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทสาธารณประโยชน์จะรวมถึงมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินด้วย
การที่กรมประมงจะอนุญาตให้เอกชนใช้ประโยชน์ ในการปลูกสร้างลงในที่สาธารณประโยชน์จะเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนในการใช้ประโยชน์ที่สาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกรมประมงอาจจะมีส่วนร่วมกันรับผิดตามกฎหมายกับเอกชนในการกระทำผิดต่อประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2546 ข้อ 7(8)
นอกจากนี้ พื้นที่ ต.ป่าคลอก ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากจังหวัด 1.6 ล้านบาท ทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงทั้งตำบลเป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชน หากมีการอนุญาตให้ก่อสร้างมารีนาลงในทะเล มิเพียงเป็นการอนุญาตที่ผิดกฎหมายเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อการฟื้นฟูทรัพยากรประมง แหล่งหญ้าทะเลและปะการังด้วย และการสร้างมารีนาเป็นการใช้ประโยชน์เกินความจำเป็น และเพิ่มมูลค่าให้สิ่งปลูกสร้างบนฝั่ง
นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตยังมีโครงการที่จะสร้างมารีนาไว้บริการนักท่องเที่ยว ตามโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต จึงไม่สมควรที่จะส่งเสริมท่าเทียบเรือมารีนาโดยไม่มีการควบคุม ซึ่งมีผลกระทบต่อฐานการผลิตทรัพยากรประมงและทำลายวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนผลกระทบกับความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตซึ่งสำคัญมาก
ดังนั้น ประมงพื้นบ้านตำบลป่าคลอก จึงขอเรียนว่า หากมีการอนุญาตให้ก่อสร้างมารีนาดังกล่าว ทางกลุ่มฯมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีในทุกๆ ฐานความผิดที่จะดำเนินคดีได้ เพราะที่ผ่านมาได้ใช้วิธีการร้องเรียนแต่ไม่เป็นผล ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการมิเช่นนั้นคงไม่สามารถที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ และไม่สามารถบำบัดความเดือดร้อนได้ ยกตัวอย่างกรณีเกาะแรด ต.ป่าคลอก
ด้าน นายจุรุณ กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ให้ชาวบ้านได้ช่วยกันดูแลทรัพยากรในอ่าวป่าคลอกจนมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นแหล่งหญ้าทะเล ปะการัง สัตว์ทะเลหายาก เช่น พะยูน เต่าทะเล เป็นต้น และยังเป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญของคนในชุมชน ดังนั้นหากภาครัฐปล่อยให้เอกชนก่อสร้างก็จะเดินหน้าคัดค้านอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดภูเก็ต ได้รับเรื่องไว้และจะเร่งดำเนินการส่งไปยังอธิบดีกรมประมง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการกรมประมง ที่ดูแลในเรื่องดังกล่าว เพราะสำหรับการขออนุญาตก่อสร้างโครงการดังกล่าว มีทั้งกลุ่มเห็นด้วยและคัดค้าน