ASTVผู้จัดการรายวัน –ยอดคนตายหวัดเพิ่มอีก 16 ราย พบ 11 รายมีโรคประจำตัว ส่งผลยอดรวมขยับไปอยู่ที่ 97 ราย พบสัญญาณการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในเกษตรกร ด้าน อภ.ลงนามร่วมมือบริษัทยาเข้าถึงยาซานามิเวียร์สำรองกันโอเซลทามิเวียร์ดื้อยา เผย 4 ก.ย.เริ่มทดลองวัคซีนในอาสาสมัคร
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในรอบสัปดาห์ จำนวน 16 ราย เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้เสียชีวิต 16 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 97 ราย โดย 11 รายมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด โรคไต โรคปอด และตั้งครรภ์ 1 ราย ค่าเฉลี่ยการได้รับยาเร็วขึ้นเป็น 5-6 วัน จากเดิม 7 วัน โดยร้อยละ 50 ของผู้เสียชีวิตเริ่มป่วยก่อนที่จะมีนโยบายกระจายยาต้านสู่คลินิก สำหรับยอดผู้ป่วยสะสมขณะนี้อยู่ที่ 11,585 ราย
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า แนวโน้มการระบาดในเขตกทม.และปริมลฑลขณะนี้ลดลง โดยพิจารณาจากปริมาณผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลที่ลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนในระดับภูมิภาคบางจังหวัดชะลอตัว บางจังหวัดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กลุ่มผู้ป่วยอายุ 6-20 ปี มีการติดเชื้อน้อยลงสะท้อนให้เห็นว่า มาตรการต่างๆ เช่น หยุดอยู่บ้านเมื่อป่วย เริ่มเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป ส่วนกลุ่มเกษตรกรมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แสดงให้เห็นว่าต้องรีบป้องกันเชื้อในชุมชน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้การกระจายยาต้านไวรัสลงคลินิกเอกชนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 โดยนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ได้เร่งรัดผู้ตรวจ 18 เขต เร่งรัดดำเนินการให้ความเข้าใจแพทย์เจ้าของคลินิกแล้ว เชื่อว่าจะมีคลินิกเข้าร่วมโครงการกระจายยามากขึ้น
**อภ.เซ็นซื้อซานามเวียร์สำรองกันดื้อยา
ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือการเข้าถึงยาซานามิเวียร์ พร้อมสำรองใช้ภายในประเทศ ระหว่าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กับนายเนมี่ ลิม กรรมการผู้จัดการบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (จีเอสเค)
นายวิทยากล่าวว่า ยาต้านไวรัสซานามิเวียร์เป็นยาที่ได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกให้สำรองใช้กรณีเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการกระจายยาชนิดนี้ให้โรงพยาบาลรัฐต่างๆ เพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ โดยจะให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นผู้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการกระจายยาให้กับโรงพยาบาลรัฐ
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า อภ. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้แทนในการจำหน่ายยาซานามิเวียร์ให้เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.นี้เป็นต้นไป ส่วนปริมาณการสั่งซื้อยานั้น ต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง
ด้านนายเนมี่ ลิม กรรมการผู้จัดการบริษัทจีเอสเค กล่าวว่า สำหรับยาซานามิเวียร์ จำนวน 1 ชุดรักษา(กล่อง) ราคา 450 บาท โดยข้อบ่งชี้ในการใช้คือ ไม่ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่แพ้สารประกอบของยา รวมถึงแลคโตส ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนจากนม ส่วนอาการข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการหดเกร็งของหลอดลมทำให้เกิดอาการหอบ หืด และหากเกิดอาการหลอดลมหดเกร็งหรือการทำงานที่เกี่ยวกับการหายใจลดลง ในผู้ที่ไม่มีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมาก่อน ควรหยุดการใช้ยาและปรึกษาแพทย์ ส่วนผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่เดิม ควรได้รับยาขยายหลอดลม ชนิดออกฤทธิ์เร็วร่วมด้วย ทำให้การใช้การต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากมีประวัติการแพ้ยาควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง
**สธ.ขอรถเมล์แอร์ถอดผ้าม่านออก
วันเดียวกันนายวิทยาได้มอบหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือให้กับนายโอภาส เพชรมุนี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พร้อมกล่าวว่า สธ.ได้รณรงค์ให้พนักงานสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือเป็นประจำขณะปฏิบัติงานตลอดเวลา พร้อมทั้งขอความร่วมมือรถโดยสารปรับอากาศให้ถอดผ้าม่านหน้าต่างออก เพื่อให้แสงแดดส่องถึงเพื่อฆ่าเชื้อโรคไปในตัว และพิจารณาจุดติดตั้งเจลล้างมือตามอู่รถโดยสาร ป้ายรถโดยสาร และบนรถโดยสาร
**4 ก.ย.ทดลองวัคซีนในคน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการวิจัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ที่องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ผลิต โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดโครงการอีกเล็กน้อยเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งขณะนี้ทราบผลการทดลองในสัตว์ อาทิ หนูตะเภาซึ่งทดลองในประเทศรัสเซีย และเฟอร์เร็ตในประเทศเนเธอร์แลนด์ว่า ผลน่าพอใจ มีความปลอดภัยไม่มีปัญหาใดๆ จากนั้นทีมผู้วิจัยจะต้องนำเรื่องดังกล่าวผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ให้อนุมัติโครงการอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในวันที่ 12 ส.ค.เป็นวันที่อภ.ถือฤกษ์ในการเก็บเกี่ยววัคซีนที่นำไปเพาะในไข่บริสุทธิ์ที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะได้วัคซีนต้นแบบออกมาเป็นครั้งแรก จากนั้นจะส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่ใช้เวลาอีก 7 วัน จากนั้นเก็บไว้ในภาชนะบรรจุดูผลอีก 7 วัน โดยตามแผนที่วางไว้จะสามารถฉีดวัคซีนโดสแรกให้กับอาสาสมัครทดลองวัคซีนที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ครั้งแรกในวันที่ 4 ก.ย. แต่หากล่าช้าก็คงประมาณ5-7 ก.ย. ซึ่งได้มีการประกันชีวิตให้กับอาสาสมัครที่ร่วมทดลองเป็นเงินประกัน 5 แสนบาทต่อคน
**ตั้งกกก.ควบคุมทดลองวัคซีน 3 ชุด
นพ.วิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 3 ชุด คือ คณะกรรมการกำกับดูแลข้อมูลและความปลอดภัย ซึ่งจะมีทำหน้าที่ในการประเมินผลและตัดสินใจว่าจะเดินหน้าโครงการต่อไปหรือไม่ ถือเป็นคณะกรรมการอิสระ โดยได้เชิญนพ.เคนจิ ฮิรายามา คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.นางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับศ.นพ.วิษณุ ธรรมลิขิตกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล,ศ.บุญมี สถาปัตยวงศ์ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนพ.ศุภมิตร์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งตัดสินใจถึงระยะเวลาว่าเมื่อใดที่ควรจะฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเสนอให้คำแนะนำไปยังฝ่ายบริหารด้วย
นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการผลิตวัคซีน โดยมีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุขระดับ 11 สธ. ด้านวิจัยเป็นประธาน และยังมีทีมผู้กำกับดูแลการวิจัยโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฟิลิปปินส์ 1 คนและเจ้าหน้าที่ไทยอีก 2 คนเป็นทีมงานดูแลเรื่องการทำวิจัยประเมินผลรายวัน
**เหยื่อหวัดมรณะพุ่งเฉียด1,500**
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า องค์การอนามัยโลกแถลงเมื่อวาน (11)ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ (เอช1 เอ็น1) ทั่วโลกได้เพิ่มเป็น 1,462 รายแล้ว เพิ่มขึ้นจากการประกาศครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมซึ่งมี 1,154ราย
โฆษกหญิงขององค์การอนามัยโลกยังระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ในซีกโลกใต้เริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้วโดยเฉพาะในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอาร์เจนตินา แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า การแพร่ระบาดของหลายประเทศในเอเชีย เช่น ไทย อินเดีย และเวียดนาม กลับเพิ่มมากขึ้น
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในรอบสัปดาห์ จำนวน 16 ราย เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้เสียชีวิต 16 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยเสียชีวิตสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 97 ราย โดย 11 รายมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด โรคไต โรคปอด และตั้งครรภ์ 1 ราย ค่าเฉลี่ยการได้รับยาเร็วขึ้นเป็น 5-6 วัน จากเดิม 7 วัน โดยร้อยละ 50 ของผู้เสียชีวิตเริ่มป่วยก่อนที่จะมีนโยบายกระจายยาต้านสู่คลินิก สำหรับยอดผู้ป่วยสะสมขณะนี้อยู่ที่ 11,585 ราย
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า แนวโน้มการระบาดในเขตกทม.และปริมลฑลขณะนี้ลดลง โดยพิจารณาจากปริมาณผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลที่ลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนในระดับภูมิภาคบางจังหวัดชะลอตัว บางจังหวัดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กลุ่มผู้ป่วยอายุ 6-20 ปี มีการติดเชื้อน้อยลงสะท้อนให้เห็นว่า มาตรการต่างๆ เช่น หยุดอยู่บ้านเมื่อป่วย เริ่มเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป ส่วนกลุ่มเกษตรกรมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แสดงให้เห็นว่าต้องรีบป้องกันเชื้อในชุมชน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้การกระจายยาต้านไวรัสลงคลินิกเอกชนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 โดยนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ได้เร่งรัดผู้ตรวจ 18 เขต เร่งรัดดำเนินการให้ความเข้าใจแพทย์เจ้าของคลินิกแล้ว เชื่อว่าจะมีคลินิกเข้าร่วมโครงการกระจายยามากขึ้น
**อภ.เซ็นซื้อซานามเวียร์สำรองกันดื้อยา
ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือการเข้าถึงยาซานามิเวียร์ พร้อมสำรองใช้ภายในประเทศ ระหว่าง นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กับนายเนมี่ ลิม กรรมการผู้จัดการบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (จีเอสเค)
นายวิทยากล่าวว่า ยาต้านไวรัสซานามิเวียร์เป็นยาที่ได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกให้สำรองใช้กรณีเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีการกระจายยาชนิดนี้ให้โรงพยาบาลรัฐต่างๆ เพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ โดยจะให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นผู้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการกระจายยาให้กับโรงพยาบาลรัฐ
นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) กล่าวว่า อภ. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้แทนในการจำหน่ายยาซานามิเวียร์ให้เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.นี้เป็นต้นไป ส่วนปริมาณการสั่งซื้อยานั้น ต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง
ด้านนายเนมี่ ลิม กรรมการผู้จัดการบริษัทจีเอสเค กล่าวว่า สำหรับยาซานามิเวียร์ จำนวน 1 ชุดรักษา(กล่อง) ราคา 450 บาท โดยข้อบ่งชี้ในการใช้คือ ไม่ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่แพ้สารประกอบของยา รวมถึงแลคโตส ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนจากนม ส่วนอาการข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการหดเกร็งของหลอดลมทำให้เกิดอาการหอบ หืด และหากเกิดอาการหลอดลมหดเกร็งหรือการทำงานที่เกี่ยวกับการหายใจลดลง ในผู้ที่ไม่มีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมาก่อน ควรหยุดการใช้ยาและปรึกษาแพทย์ ส่วนผู้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่เดิม ควรได้รับยาขยายหลอดลม ชนิดออกฤทธิ์เร็วร่วมด้วย ทำให้การใช้การต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากมีประวัติการแพ้ยาควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง
**สธ.ขอรถเมล์แอร์ถอดผ้าม่านออก
วันเดียวกันนายวิทยาได้มอบหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือให้กับนายโอภาส เพชรมุนี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พร้อมกล่าวว่า สธ.ได้รณรงค์ให้พนักงานสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือเป็นประจำขณะปฏิบัติงานตลอดเวลา พร้อมทั้งขอความร่วมมือรถโดยสารปรับอากาศให้ถอดผ้าม่านหน้าต่างออก เพื่อให้แสงแดดส่องถึงเพื่อฆ่าเชื้อโรคไปในตัว และพิจารณาจุดติดตั้งเจลล้างมือตามอู่รถโดยสาร ป้ายรถโดยสาร และบนรถโดยสาร
**4 ก.ย.ทดลองวัคซีนในคน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการวิจัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ที่องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ผลิต โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดโครงการอีกเล็กน้อยเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งขณะนี้ทราบผลการทดลองในสัตว์ อาทิ หนูตะเภาซึ่งทดลองในประเทศรัสเซีย และเฟอร์เร็ตในประเทศเนเธอร์แลนด์ว่า ผลน่าพอใจ มีความปลอดภัยไม่มีปัญหาใดๆ จากนั้นทีมผู้วิจัยจะต้องนำเรื่องดังกล่าวผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ให้อนุมัติโครงการอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในวันที่ 12 ส.ค.เป็นวันที่อภ.ถือฤกษ์ในการเก็บเกี่ยววัคซีนที่นำไปเพาะในไข่บริสุทธิ์ที่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะได้วัคซีนต้นแบบออกมาเป็นครั้งแรก จากนั้นจะส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่ใช้เวลาอีก 7 วัน จากนั้นเก็บไว้ในภาชนะบรรจุดูผลอีก 7 วัน โดยตามแผนที่วางไว้จะสามารถฉีดวัคซีนโดสแรกให้กับอาสาสมัครทดลองวัคซีนที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ครั้งแรกในวันที่ 4 ก.ย. แต่หากล่าช้าก็คงประมาณ5-7 ก.ย. ซึ่งได้มีการประกันชีวิตให้กับอาสาสมัครที่ร่วมทดลองเป็นเงินประกัน 5 แสนบาทต่อคน
**ตั้งกกก.ควบคุมทดลองวัคซีน 3 ชุด
นพ.วิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 3 ชุด คือ คณะกรรมการกำกับดูแลข้อมูลและความปลอดภัย ซึ่งจะมีทำหน้าที่ในการประเมินผลและตัดสินใจว่าจะเดินหน้าโครงการต่อไปหรือไม่ ถือเป็นคณะกรรมการอิสระ โดยได้เชิญนพ.เคนจิ ฮิรายามา คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.นางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับศ.นพ.วิษณุ ธรรมลิขิตกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล,ศ.บุญมี สถาปัตยวงศ์ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนพ.ศุภมิตร์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งตัดสินใจถึงระยะเวลาว่าเมื่อใดที่ควรจะฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเสนอให้คำแนะนำไปยังฝ่ายบริหารด้วย
นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการผลิตวัคซีน โดยมีนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุขระดับ 11 สธ. ด้านวิจัยเป็นประธาน และยังมีทีมผู้กำกับดูแลการวิจัยโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฟิลิปปินส์ 1 คนและเจ้าหน้าที่ไทยอีก 2 คนเป็นทีมงานดูแลเรื่องการทำวิจัยประเมินผลรายวัน
**เหยื่อหวัดมรณะพุ่งเฉียด1,500**
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า องค์การอนามัยโลกแถลงเมื่อวาน (11)ว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ (เอช1 เอ็น1) ทั่วโลกได้เพิ่มเป็น 1,462 รายแล้ว เพิ่มขึ้นจากการประกาศครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมซึ่งมี 1,154ราย
โฆษกหญิงขององค์การอนามัยโลกยังระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ในซีกโลกใต้เริ่มมีแนวโน้มลดลงแล้วโดยเฉพาะในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอาร์เจนตินา แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า การแพร่ระบาดของหลายประเทศในเอเชีย เช่น ไทย อินเดีย และเวียดนาม กลับเพิ่มมากขึ้น