วิกฤติการเงินของสหรัฐฯที่ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติโลกในปัจจุบันนี้ นอกจากจะเป็นวิกฤติที่รุนแรงมากแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษอีกหลายประการ วารสารด้านเศรษฐกิจและธุรกิจชั้นนำ เช่น The Economist และ The Asian Wall Street Journal ได้เขียนถึงเรื่องนี้หลายครั้ง ผมจึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลจากหลายแห่งเพื่อสรุปว่าวิกฤตินี้พิเศษกว่าครั้งอื่นๆอย่างไร กระทั่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนยอมรับว่าเป็น "The Great Recession" และเป็นวิกฤติสำคัญที่สุดตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทั่วโลกหรือ "The Great Depression" ที่เกิดในช่วงปี 2472-9 ผมคิดว่าลักษณะพิเศษของการถดถอยของเศรษฐกิจครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ความรุนแรงของการถดถอย และลักษณะของการถดถอย ซึ่งบทความนี้จะเป็นตอนแรก ซึ่งจะว่าด้วยเรื่องของความรุนแรงของการถดถอย
ด้านความรุนแรงของการถดถอย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของการถดถอยและปัญหาในด้านต่างๆโดยรวมแล้วรุนแรงกว่าการถดถอยทางเศรษฐกิจทั้งหมดในอดีตตั้งแต่ The Great Depression เป็นต้นมา
วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นมีผลกระทบอย่างรุนแรงในระดับต้นๆในเกือบทุกด้าน เริ่มจากการเป็นวิกฤติที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ The Great Depression โดยเทียบจากมาตรฐานของ National Bureau Of Economic Research (NBER) องค์กรที่กำหนดการถดถอยและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ โดยวิเคราะห์จากการจ้างงาน, การผลิต และอุปสงค์ การถดถอยที่ยาวนานรองลงมาคือวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2516-7 และปี 2525-6 ซึ่งมีระยะเวลาของการถดถอย 16 เดือน NBER ระบุว่าในครั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลารวมที่เศรษฐกิจถดถอยแล้วถึง 19 เดือน และยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน
เศรษฐกิจถดถอยในรอบนี้มีความรุนแรงเป็นอันดับ 2 โดยวัดตั้งแต่จุดสูงสุดของวัฏจักรจนถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 1 ปี 2552 เศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัวไปแล้วร้อยละ 3.1 มีเพียงวิกฤติในปี 2496-7 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยมากกว่าที่ร้อยละ 3.7 ทว่าการถดถอยของเศรษฐกิจในครั้งนี้ยังไม่จบ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอยอีก 1 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย ข้อมูลล่วงหน้า (Advanced) ชี้ว่าในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมากนัก เศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวประมาณร้อยละ 4.0 ดังนั้นค่อนข้างแน่นอนว่าการการหดตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้น่าจะรุนแรงกว่าวิกฤติในปี 2496-7 หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกัน
สำหรับด้านปัญหาการว่างงานนั้น ปัจจุบันอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจถดถอยในปี 2525-6 ที่สูงถึงร้อยละ 10.8 เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯยังถดถอยอยู่ และโดยปกติการว่างงานจะยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม ด้วยภาวะการณ์เช่นนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นอีกว่า อัตราการว่างงานครั้งนี้น่าจะสูงขึ้นอย่างน้อยเท่ากับกรณีการถดถอยในปี 2525-6 นอกจากนี้ ถ้าเราใช้จำนวนผู้ที่ถูกออกจากงาน (lay-off) จากผลของวิกฤติโดยเฉพาะ วิกฤติครั้งนี้ทำให้มีผู้ถูกออกจากงานไปแล้วถึง 6.7 ล้านคนหรือร้อยละ 4.7 ของแรงงานทั้งหมดสูงกว่าการถดถอยปี 2525-6 ที่มีผู้ถูกออกจากงานเพียงร้อยละ 3.1 และเป็นอันดับสองรองจากวิกฤติปี 2500-1 ซึ่งมีผู้ถูกออกจากงานมากสุดที่ร้อยละ 5.2 คาดว่าการถดถอยของเศรษฐกิจในปัจจุบัน จะส่งผลให้สัดส่วนของผู้ถูกออกจากงานน่าจะใกล้เคียงกับปี 2500-1 หรืออาจจะสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะดูถึงความรุนแรงของการถดถอยแล้ว ก็ยังคงต้องดูเรื่องลักษณะของการถดถอยซึ่งผมจะกล่าวในสัปดาห์หน้าด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพของความรุนแรงของวิกฤตที่เกิดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
bunluasak.p@cimbthai.com
ด้านความรุนแรงของการถดถอย ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของการถดถอยและปัญหาในด้านต่างๆโดยรวมแล้วรุนแรงกว่าการถดถอยทางเศรษฐกิจทั้งหมดในอดีตตั้งแต่ The Great Depression เป็นต้นมา
วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นมีผลกระทบอย่างรุนแรงในระดับต้นๆในเกือบทุกด้าน เริ่มจากการเป็นวิกฤติที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ The Great Depression โดยเทียบจากมาตรฐานของ National Bureau Of Economic Research (NBER) องค์กรที่กำหนดการถดถอยและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ โดยวิเคราะห์จากการจ้างงาน, การผลิต และอุปสงค์ การถดถอยที่ยาวนานรองลงมาคือวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2516-7 และปี 2525-6 ซึ่งมีระยะเวลาของการถดถอย 16 เดือน NBER ระบุว่าในครั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลารวมที่เศรษฐกิจถดถอยแล้วถึง 19 เดือน และยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน
เศรษฐกิจถดถอยในรอบนี้มีความรุนแรงเป็นอันดับ 2 โดยวัดตั้งแต่จุดสูงสุดของวัฏจักรจนถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 1 ปี 2552 เศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัวไปแล้วร้อยละ 3.1 มีเพียงวิกฤติในปี 2496-7 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยมากกว่าที่ร้อยละ 3.7 ทว่าการถดถอยของเศรษฐกิจในครั้งนี้ยังไม่จบ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะถดถอยอีก 1 ไตรมาสเป็นอย่างน้อย ข้อมูลล่วงหน้า (Advanced) ชี้ว่าในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัวร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลมากนัก เศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวประมาณร้อยละ 4.0 ดังนั้นค่อนข้างแน่นอนว่าการการหดตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้น่าจะรุนแรงกว่าวิกฤติในปี 2496-7 หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกัน
สำหรับด้านปัญหาการว่างงานนั้น ปัจจุบันอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 9.5 ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจถดถอยในปี 2525-6 ที่สูงถึงร้อยละ 10.8 เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯยังถดถอยอยู่ และโดยปกติการว่างงานจะยังคงเพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม ด้วยภาวะการณ์เช่นนี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นอีกว่า อัตราการว่างงานครั้งนี้น่าจะสูงขึ้นอย่างน้อยเท่ากับกรณีการถดถอยในปี 2525-6 นอกจากนี้ ถ้าเราใช้จำนวนผู้ที่ถูกออกจากงาน (lay-off) จากผลของวิกฤติโดยเฉพาะ วิกฤติครั้งนี้ทำให้มีผู้ถูกออกจากงานไปแล้วถึง 6.7 ล้านคนหรือร้อยละ 4.7 ของแรงงานทั้งหมดสูงกว่าการถดถอยปี 2525-6 ที่มีผู้ถูกออกจากงานเพียงร้อยละ 3.1 และเป็นอันดับสองรองจากวิกฤติปี 2500-1 ซึ่งมีผู้ถูกออกจากงานมากสุดที่ร้อยละ 5.2 คาดว่าการถดถอยของเศรษฐกิจในปัจจุบัน จะส่งผลให้สัดส่วนของผู้ถูกออกจากงานน่าจะใกล้เคียงกับปี 2500-1 หรืออาจจะสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะดูถึงความรุนแรงของการถดถอยแล้ว ก็ยังคงต้องดูเรื่องลักษณะของการถดถอยซึ่งผมจะกล่าวในสัปดาห์หน้าด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพของความรุนแรงของวิกฤตที่เกิดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
bunluasak.p@cimbthai.com