ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังมอบหมายสภาพัฒน์แม่งานศึกษาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ หลังถกกรอบกับตัวแทนกระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงาน หวังปรับโครงสร้างภาษีสนับสนุน ต้องฟันธงว่าจะเลือกไบโอหรืออีโคคาร์
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้หารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อกำหนดกรอบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนว่าจะเดินไปในรูปแบบใด เนื่องจากมองว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สศช. ไปจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาให้ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการผลิตยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกจากพืช (bio fuel) หรือสนับสนุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน มาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ประเภทที่ไม่ใช่ไบโอซึ่งจะต้องนำเสนอกลับมาให้พิจารณาภายในสิ้นเดือน ก.ย.2552 นี้
"ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการคุยกันเรื่องภาษี แต่สุดท้ายแล้วก็จะต้องมีการพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ซึ่งตรงนี้ สศช.ต้องไปจัดทำยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน อย่างเรื่องที่ว่าจะสนับสนุนไบโอฟิลหรืออีโคคาร์ หรือทั้ง 2 อย่าง ตรงนี้เป็นคำถามที่ สศช. ต้องตอบให้ได้หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาเรื่องโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับการพัฒนา" นายกรณ์ กล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจว่าที่ผ่านมาไทยไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชัดเจน โดย การประชุมร่วมกันในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนหรือตั้งธงไว้ว่าจะเลือกแนวทางการพัฒนาทางใด เพราะต้องรอให้ สศช.ไปจัดทำยุทธศาสตร์มาก่อน ซึ่งจากการรับฟังเหตุผลของกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมต่างก็มีเหตุผลของตัวเองทั้งคู่
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาซึ่งประกอบด้วย 3 หน่วยงาน โดยมี สศช.เป็นแกนหลักไปกำหนดว่าจะให้ความสำคัญอย่างไร เรื่องแรกคือเรื่องพลังงานที่สำคัญคือความคุ้มค่า โดยจะเป็นเหมือนกับล้างไพ่ใหม่หมดเลยว่าจะสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ประหยัดพลังงานประเภทไหน ทั้งในกลุ่มที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีหรือแอลพีจี อีโคคาร์ อี85 รวมทั้งไฮบริดจ์ว่าจะเอาระบบไหนให้เป็นรูปแบบชัดเจนต่อไป
“ที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้มีปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสหากรรม และเลขา สศช.ไปหารือร่วมกันว่าภาพรวมจะเอายังไง ดูความคุ้มค่า ตลาดพลังงานและความประหยัดหลายๆ อย่าง และจะมีมาตรการอะไรไปรองรับหลังกำหนดยุทศาสตร์ที่ชัดเจนออกมาแล้ว ซึ่งอเมริกา บลาซิล เป็นไบโอฟิว เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนเยอะ แต่ถ้าญี่ปุ่นก็เป็นพลังงานไฟฟ้า มันไม่เหมือนกันยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา 3 ที่ใช้ไม่เหมือนกัน เราก็มาดูว่าจะเอาอะไรซึ่ง ในส่วนของกระทรวงการคลังก็จะกำหนดมาตรการสนับสนุนด้านภาษีให้สอดคล้องกันต่อไป” นพ.พฤฒิชัยกล่าว.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้หารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อกำหนดกรอบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ยังขาดทิศทางที่ชัดเจนว่าจะเดินไปในรูปแบบใด เนื่องจากมองว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สศช. ไปจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาให้ชัดเจนว่าจะสนับสนุนการผลิตยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกจากพืช (bio fuel) หรือสนับสนุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน มาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ประเภทที่ไม่ใช่ไบโอซึ่งจะต้องนำเสนอกลับมาให้พิจารณาภายในสิ้นเดือน ก.ย.2552 นี้
"ขณะนี้ ยังไม่ได้มีการคุยกันเรื่องภาษี แต่สุดท้ายแล้วก็จะต้องมีการพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนการพัฒนา ซึ่งตรงนี้ สศช.ต้องไปจัดทำยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน อย่างเรื่องที่ว่าจะสนับสนุนไบโอฟิลหรืออีโคคาร์ หรือทั้ง 2 อย่าง ตรงนี้เป็นคำถามที่ สศช. ต้องตอบให้ได้หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาเรื่องโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับการพัฒนา" นายกรณ์ กล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจว่าที่ผ่านมาไทยไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ชัดเจน โดย การประชุมร่วมกันในครั้งนี้ยังไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนหรือตั้งธงไว้ว่าจะเลือกแนวทางการพัฒนาทางใด เพราะต้องรอให้ สศช.ไปจัดทำยุทธศาสตร์มาก่อน ซึ่งจากการรับฟังเหตุผลของกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมต่างก็มีเหตุผลของตัวเองทั้งคู่
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง กล่าวว่า ได้มีการหารือเรื่องยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาซึ่งประกอบด้วย 3 หน่วยงาน โดยมี สศช.เป็นแกนหลักไปกำหนดว่าจะให้ความสำคัญอย่างไร เรื่องแรกคือเรื่องพลังงานที่สำคัญคือความคุ้มค่า โดยจะเป็นเหมือนกับล้างไพ่ใหม่หมดเลยว่าจะสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ประหยัดพลังงานประเภทไหน ทั้งในกลุ่มที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวีหรือแอลพีจี อีโคคาร์ อี85 รวมทั้งไฮบริดจ์ว่าจะเอาระบบไหนให้เป็นรูปแบบชัดเจนต่อไป
“ที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้มีปลัดกระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสหากรรม และเลขา สศช.ไปหารือร่วมกันว่าภาพรวมจะเอายังไง ดูความคุ้มค่า ตลาดพลังงานและความประหยัดหลายๆ อย่าง และจะมีมาตรการอะไรไปรองรับหลังกำหนดยุทศาสตร์ที่ชัดเจนออกมาแล้ว ซึ่งอเมริกา บลาซิล เป็นไบโอฟิว เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนเยอะ แต่ถ้าญี่ปุ่นก็เป็นพลังงานไฟฟ้า มันไม่เหมือนกันยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา 3 ที่ใช้ไม่เหมือนกัน เราก็มาดูว่าจะเอาอะไรซึ่ง ในส่วนของกระทรวงการคลังก็จะกำหนดมาตรการสนับสนุนด้านภาษีให้สอดคล้องกันต่อไป” นพ.พฤฒิชัยกล่าว.