นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวานนี้ว่า ครม.เห็นชอบในหลักการปรับโครงสร้างแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยการจัดตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ทั้งนี้สาระสำคัญของเรื่องนั้น กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า ครม.ได้มีมติ (24 ก.ค.52) เห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเรื่องขอขยายระยะเวลาการบรรจุ แต่งตั้งบุคลากรเข้ารับราชการในตำแหน่งว่าง ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 200–400 ตำแหน่ง เพื่อนำอัตรากำลังมากำหนดตำแหน่งให้กับสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง และสำนักเลขาธิการ ครม.ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการขอความเห็นชอบในหลักการจากครม. ในการปรับโครงสร้างแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ระหว่างมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย กล่าวว่า การจัดตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อดูแลให้มีการปฏิบัติ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีระบบการอำนวยความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม ซึ่งในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรม ยังคงมีปัญหาในการบังคับคดีตามหมายอาญา การคุ้มครองพยาน การขนย้ายและคุ้มครองนักโทษและผู้ต้องขัง เนื่องจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องยังขาดความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ จึงควรจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลรับผิดชอบภารกิจดังกล่าว ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งในฐานะโจทก์ จำเลย พยาน รวมถึงการคุ้มครองประชาชน จากการล่วงละเมิดหรือการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั้งนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จักได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนที่ทางราชการกำหนด
**เห็นชอบข้อตกลงด้านความมั่นคงกับยูเออี
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ครม.ยังเห็นชอบ และอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ 3 เรื่อง ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคง ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอานาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ สามารถปรับปรุงถ้อยคำร่างความตกลงฯ ซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
2. อนุมัติให้รมว.ต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรมว.ต่างประเทศ ลงนามในความตกลงฯในนามของรัฐบาลแห่งราชอานาจักรไทย
3. อนุมัติการแจ้งฝ่ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลับงคับใช้ต่อไป
นายศุภชัย กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างการตกลงคือ คู่ภาคีจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาชญากรรมทุกรูปแบบ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนตัวบทกฎหมาย โดยมีการสอดคล้องกับกฎหมายภายใน และพันธกรณีระหว่างประเทศของแต่ละฝ่าย และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการหาเบาะแส และการปราบปรามอาชญากรรมต่างๆ เช่น อาชญากรรมร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน การก่อการร้าย การทุจริต การลักลอบค้าอาวุธ การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาญากรรมทางเศรษฐกิจ
**ลิ่วล้อโวยตั้งหน่วยไล่ล่าแม้ว
ด้านนายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญา และการบังคับใช้กฎหมาย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม มีภารกิจสำคัญคือ การติดตามตัวผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าตั้งขึ้นมาเพื่อหวังล่าตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศว่า การตั้งสำนักงานนี้ขึ้นมา ก็มาสามารถทำได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่คิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองภาษีประชาชน เพราะเรื่องนี้มีเป้าหมายชัดเจนคือ ต้องการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา เนื่องจากปกติก็มีกระบวนการขั้นตอนในการติดตามตัวอยู่แล้ว
ดังนั้น การกระทำนี้ของรัฐบาลไม่เกิดประโยชน์อะไร เป็นการหวังผลด้านการเมืองเท่านั้น ต้องการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ มุ่งขจัดคู่แข่งทางการเมือง เพราะรู้ว่าเลือกตั้งอย่างไรก็ไม่ชนะ เพราะเป็นรัฐบาลที่แก้ปัญหาไม่ถูกจุด
ขณะที่นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และคณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การตั้งสำนักงานดังกล่าว รัฐบาลก็มีอำนาจสามารถทำได้ แต่ต้องดูให้ดีว่าตั้งขึ้นมามีอำนาจตามกฎหมายอะไรรองรับ ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ต้องดูให้ชัด แต่แน่นอนว่าเจตนาในการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา ก็เพื่อติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น มีขั้นตอนข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นๆอยู่ การตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาคงเป็นไปได้ยากที่จะติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ เพราะถ้าทำได้ก็ทำไปนานแล้ว เพราะประเทศอื่นเขาก็รู้ว่าคดีของพ.ต.ท.ทักษิณนั้นมีที่มาและมีรายละเอียดอย่างไร
ทั้งนี้สาระสำคัญของเรื่องนั้น กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า ครม.ได้มีมติ (24 ก.ค.52) เห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอเรื่องขอขยายระยะเวลาการบรรจุ แต่งตั้งบุคลากรเข้ารับราชการในตำแหน่งว่าง ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จำนวน 200–400 ตำแหน่ง เพื่อนำอัตรากำลังมากำหนดตำแหน่งให้กับสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมายซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง และสำนักเลขาธิการ ครม.ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการขอความเห็นชอบในหลักการจากครม. ในการปรับโครงสร้างแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ระหว่างมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายศุภชัย กล่าวว่า การจัดตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อดูแลให้มีการปฏิบัติ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีระบบการอำนวยความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมกับทุกกลุ่ม ซึ่งในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรม ยังคงมีปัญหาในการบังคับคดีตามหมายอาญา การคุ้มครองพยาน การขนย้ายและคุ้มครองนักโทษและผู้ต้องขัง เนื่องจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องยังขาดความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ จึงควรจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลรับผิดชอบภารกิจดังกล่าว ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งในฐานะโจทก์ จำเลย พยาน รวมถึงการคุ้มครองประชาชน จากการล่วงละเมิดหรือการละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทั้งนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จักได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนที่ทางราชการกำหนด
**เห็นชอบข้อตกลงด้านความมั่นคงกับยูเออี
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ครม.ยังเห็นชอบ และอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ 3 เรื่อง ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคง ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอานาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ สามารถปรับปรุงถ้อยคำร่างความตกลงฯ ซึ่งไม่มีผลเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ
2. อนุมัติให้รมว.ต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรมว.ต่างประเทศ ลงนามในความตกลงฯในนามของรัฐบาลแห่งราชอานาจักรไทย
3. อนุมัติการแจ้งฝ่ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลับงคับใช้ต่อไป
นายศุภชัย กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างการตกลงคือ คู่ภาคีจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาชญากรรมทุกรูปแบบ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนตัวบทกฎหมาย โดยมีการสอดคล้องกับกฎหมายภายใน และพันธกรณีระหว่างประเทศของแต่ละฝ่าย และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการหาเบาะแส และการปราบปรามอาชญากรรมต่างๆ เช่น อาชญากรรมร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน การก่อการร้าย การทุจริต การลักลอบค้าอาวุธ การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด อาญากรรมทางเศรษฐกิจ
**ลิ่วล้อโวยตั้งหน่วยไล่ล่าแม้ว
ด้านนายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญา และการบังคับใช้กฎหมาย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม มีภารกิจสำคัญคือ การติดตามตัวผู้ต้องหาที่หลบหนีหมายจับทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าตั้งขึ้นมาเพื่อหวังล่าตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศว่า การตั้งสำนักงานนี้ขึ้นมา ก็มาสามารถทำได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่คิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองภาษีประชาชน เพราะเรื่องนี้มีเป้าหมายชัดเจนคือ ต้องการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา เนื่องจากปกติก็มีกระบวนการขั้นตอนในการติดตามตัวอยู่แล้ว
ดังนั้น การกระทำนี้ของรัฐบาลไม่เกิดประโยชน์อะไร เป็นการหวังผลด้านการเมืองเท่านั้น ต้องการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ มุ่งขจัดคู่แข่งทางการเมือง เพราะรู้ว่าเลือกตั้งอย่างไรก็ไม่ชนะ เพราะเป็นรัฐบาลที่แก้ปัญหาไม่ถูกจุด
ขณะที่นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร และคณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การตั้งสำนักงานดังกล่าว รัฐบาลก็มีอำนาจสามารถทำได้ แต่ต้องดูให้ดีว่าตั้งขึ้นมามีอำนาจตามกฎหมายอะไรรองรับ ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ต้องดูให้ชัด แต่แน่นอนว่าเจตนาในการตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมา ก็เพื่อติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น มีขั้นตอนข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นๆอยู่ การตั้งหน่วยงานนี้ขึ้นมาคงเป็นไปได้ยากที่จะติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาได้ เพราะถ้าทำได้ก็ทำไปนานแล้ว เพราะประเทศอื่นเขาก็รู้ว่าคดีของพ.ต.ท.ทักษิณนั้นมีที่มาและมีรายละเอียดอย่างไร