นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) แถลงข่าวการจัดตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญาและการบังคับใช้กฎหมาย ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานบังคับคดีอาญาฯ ขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง เพื่อให้การดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมไทยครบถ้วน เนื่องจากปัจจุบันพบว่า การปฏิบัติตามหมายอาญายังไม่มีประสิทธิภาพในการติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิดหรือหลบหนีหมายจับการควบคุมตัว การปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน และการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งข้อมูลกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหมายจับทั้งระบบ จำนวน 561,756 ฉบับ ดำเนินการแล้ว 299,431 ฉบับ ยังเหลือหมายจับอีกถึง 262,325 ฉบับ ที่ยังติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษไม่ได้ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้กระทำผิดใช้บัตรประชาชนปลอมในการหลบหนีประมาณ 7,000 คนตามจับได้เพียง 1,000 คน หากผู้ต้องหากระทำผิดซ้ำ ก็จะไม่มีหน่วยงานใดหาตัวพบ เพราะไม่มีประวัติในฐานข้อมูล
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้น สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีกำลังพล 160 อัตรา และตนจะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ เพื่อขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากเอฟบีไอและยูเอสมาแชล มาช่วยฝึกอบรมเป็นพิเศษ ทั้งนี้ สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีภารกิจในการติดตามตัวผู้ต้องหาหลบหนีหมายจับทั้งในและต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะดำเนินการได้ในส่วนการหาที่อยู่ของผู้ต้องหาตามหมายจับให้กับอัยการเพื่อประสานขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน โดยการติดตามผู้ต้องหาของสำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะไม่เกี่ยวกับตำรวจ ตำรวจยังติดตามผู้ต้องหาได้เหมือนเดิม
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าการติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีหน้าที่ดำเนินการติดตามและจับกุมได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่เป้าหมายหลักของการตั้งสำนักงานนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ ไม่ได้จัดตั้งเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง หรือติดตามใครเป็นการเฉพาะ
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้น สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีกำลังพล 160 อัตรา และตนจะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ เพื่อขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากเอฟบีไอและยูเอสมาแชล มาช่วยฝึกอบรมเป็นพิเศษ ทั้งนี้ สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีภารกิจในการติดตามตัวผู้ต้องหาหลบหนีหมายจับทั้งในและต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะดำเนินการได้ในส่วนการหาที่อยู่ของผู้ต้องหาตามหมายจับให้กับอัยการเพื่อประสานขอตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน โดยการติดตามผู้ต้องหาของสำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะไม่เกี่ยวกับตำรวจ ตำรวจยังติดตามผู้ต้องหาได้เหมือนเดิม
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าการติดตามตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ จะมีหน้าที่ดำเนินการติดตามและจับกุมได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่เป้าหมายหลักของการตั้งสำนักงานนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สำนักงานบังคับคดีอาญาฯ ไม่ได้จัดตั้งเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง หรือติดตามใครเป็นการเฉพาะ