เมื่อเร็วๆ นี้ ผมพบอดีตรัฐมนตรีผู้หนึ่ง ปรารภถึงความเป็นห่วงบ้านเมือง เขาบอกว่า เวลานี้คนเข้าใจผิดว่าทักษิณใช้ประชาชน แต่ที่จริงประชาชนต่างหากที่ใช้ทักษิณ แม้ทักษิณจะตายไป ประชาชนก็จะเป็นอย่างนี้
หมายความว่า ประชาชนก็จะแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่าย “เอาเจ้า” กับ “ฝ่ายไม่เอาเจ้า” ประชาชนในที่นี้รวมถึงข้าราชการด้วย
เขาบอกว่าเวลานี้กระแส “ไม่เอาเจ้า” แพร่หลายไปทั่วประเทศแล้ว
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็น่าเป็นห่วงประเทศไทย เพราะแต่เดิมนั้น เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจ มาบัดนี้แทนที่จะพูดตรงๆ ถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็เลี่ยงไปพูดถึง “เจ้า” แทน ซึ่งฟังดูอ่อนกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์
ตอนที่ทักษิณมีคนจัดงานวันเกิดให้ ก็เป็นเรื่องที่มีคนพูดกันมากว่า “ทำตัวเทียมเจ้า” เพราะนอกจากสมาชิกราชวงศ์แล้ว ก็ไม่มีประชาชนออกมาฉลองวันเกิดให้ใครมากมายเท่านี้ คือ ทำกันแพร่หลายทั่วประเทศ รวมไปถึงพระสงฆ์องค์เจ้าที่พลอยออกมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ทักษิณด้วย นับว่าเป็นการแสดงบารมีกันอย่างเปิดเผย และแสดงออกว่าใครอยู่ข้างใคร
มีคนพูดว่า การที่คนชนบทชอบทักษิณมากนัก ก็เพราะทักษิณเป็นนักการเมืองคนแรกที่ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญก็คือ เรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรคกับกองทุนหมู่บ้าน
ก็เห็นจะจริงเพราะแต่ก่อนคนในชนบทไม่เคยได้รับเงินที่ถึงมือจริงๆ แม้แต่เงินผัน ชาวบ้านก็เพียงแต่มาเป็นคนทำงานแล้วได้ค่าจ้างไป แต่กองทุนหมู่บ้านลงมาถึงชาวบ้านโดยชาวบ้านเป็นผู้กำหนดเองว่าอยากทำอะไร
ปรากฏการณ์ความนิยมทักษิณ แสดงถึงช่องว่างของการเมืองไทยในอดีต ซึ่งอยู่ในมือข้าราชการกับนักการเมืองซึ่งก็ไม่มีนโยบายอะไรใหม่ ได้แต่ทำตามสิ่งที่ข้าราชการทำคือ กำหนดกันเองว่า ชาวบ้านควรจะได้อะไร ได้เมื่อใด และได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อชาวบ้านมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเอง จึงเทคะแนนให้พรรคของทักษิณมากมาย
เรื่องนี้พอจะเข้าใจได้ แต่เรื่องผู้สนับสนุนทักษิณกลายไปเป็นฝ่าย “ไม่เอาเจ้า” นี่เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการโจมตีองคมนตรีซึ่งกระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย อีกส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า มีการจัดตั้งขบวนการทำใบปลิว และพูดจาปลุกปั่นยุยงคนในชนบท และกลุ่มแท็กซี่
นอกจากนั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีการปลุกความรู้สึกของคนล้านนา ว่าแต่ก่อนก็มีกษัตริย์ของล้านนา และมีความแตกต่างจากคนใต้คือ คนกรุงเทพฯ
กระแสต้านสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ในที่สุดคงไม่บังเกิดผลอะไร และในอดีตก็เคยมีมาแล้ว โดยเฉพาะปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยรัชกาลที่ 6 ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น พระมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดกับขุนนางมากขึ้น และทรงมีพระจริยวัตรแบบสามัญชน เช่น ทรงแสดงละคร เป็นต้น มีคนบอกว่า เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์ไม่มีระยะห่างจากคนทั่วไป เมื่อนั้นคนก็จะไม่ยำเกรง และจะเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ เพราะคนทั่วไปจะเห็นว่า พระมหากษัตริย์ก็คือ คนธรรมดาๆ นั่นเอง
ผมเป็นห่วงเรื่องความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของคนไทยยุคนี้ว่า เหตุใดจึงยังคงนิยมยกย่องบูชาคนอย่างทักษิณ ไม่มีใครคิดเลยหรือว่าสิ่งที่ทักษิณทำไปนั้นผิด หรือว่ามองแต่ประโยชน์ที่ทักษิณให้ การสำรวจความคิดของเด็กรุ่นนี้ ระบุว่า การคอร์รัปชันนั้นไม่เป็นไร ไม่เสียหาย หากนักการเมืองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้
กรณีทักษิณก็เช่นนั้น จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของทักษิณ หรือ เงินของทักษิณ กันแน่ ผมรู้จักคนหัวก้าวหน้าหลายคนที่ไปสนับสนุนทักษิณ ถึงขั้นสวมหน้ากากหน้าทักษิณ ผมคิดว่า ลึกๆ แล้วคนเหล่านี้คงรู้ผิดชอบชั่วดี แต่ก็ทำไปเพราะได้เงิน ได้งานทำมากกว่าอย่างอื่น
ในระยะเวลา 4-5 ปีนี้ สังคมและการเมืองไทยก็จะว่ายเวียนอยู่ตรงนี้ ตราบใดที่คดีของทักษิณยังไม่จบ ทักษิณก็จะดำเนินการเมืองแบบการตลาดต่อไป
หากมีการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาท การกลับมาของทักษิณก็จะไม่ง่าย และการต่อสู้ก็จะมีการแบ่งขั้วมากขึ้น เวลานี้ ใครๆ ก็พูดว่าตำรวจเป็นพวกทักษิณเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ มีทหารที่ไปรักษาการในทำเนียบฯ เล่าว่า พวกตำรวจนั้นดูทีวีของฝ่ายเสื้อแดง และไชโยโห่ร้องเชียร์ทักษิณอย่างเปิดเผย
ถ้าทักษิณและขบวนการ “ไม่เอาเจ้า” ยังขยายผลได้เรื่อยๆ เพราะตำรวจไม่ดำเนินการอย่างเด็ดขาด โอกาสที่พรรคการเมืองในอนาคตจะสนับสนุนระบบสาธารณรัฐก็จะมี เพราะขณะนี้นักวิชาการฝ่าย “ไม่เอาเจ้า” ก็ถกกันถึงเรื่องนี้อยู่ เพียงแต่ยังไม่ออกมาอย่างชัดเจนเท่านั้น
แต่การวิจารณ์ “เจ้า” ก็ไม่อาจทำแบบเหวี่ยงแหได้ และก็ไม่มีข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริงมาสนับสนุนคำวิจารณ์ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี รู้สึกว่าจะไม่สนใจเรื่องนี้มากเท่าใดนัก ต่างกับคนรุ่น 50-60 ปีขึ้นไป ซึ่งยังมีความจงรักภักดีที่แน่นแฟ้นอยู่มาก
อนาคตเมืองไทยจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับคนหนุ่มคนสาว เวลานี้ซึ่งดูจะเป็นพวกวัตถุนิยมสุดขั้วกันมาก ถ้าจะพูดถึงความภักดีต่อชาติหรือสถาบันแล้ว คงหวังได้ยาก ทำให้น่าห่วงว่า สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ และจะมีแต่ความรุนแรงและการเอาตัวรอด
หมายความว่า ประชาชนก็จะแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่าย “เอาเจ้า” กับ “ฝ่ายไม่เอาเจ้า” ประชาชนในที่นี้รวมถึงข้าราชการด้วย
เขาบอกว่าเวลานี้กระแส “ไม่เอาเจ้า” แพร่หลายไปทั่วประเทศแล้ว
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็น่าเป็นห่วงประเทศไทย เพราะแต่เดิมนั้น เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจ มาบัดนี้แทนที่จะพูดตรงๆ ถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็เลี่ยงไปพูดถึง “เจ้า” แทน ซึ่งฟังดูอ่อนกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์
ตอนที่ทักษิณมีคนจัดงานวันเกิดให้ ก็เป็นเรื่องที่มีคนพูดกันมากว่า “ทำตัวเทียมเจ้า” เพราะนอกจากสมาชิกราชวงศ์แล้ว ก็ไม่มีประชาชนออกมาฉลองวันเกิดให้ใครมากมายเท่านี้ คือ ทำกันแพร่หลายทั่วประเทศ รวมไปถึงพระสงฆ์องค์เจ้าที่พลอยออกมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้ทักษิณด้วย นับว่าเป็นการแสดงบารมีกันอย่างเปิดเผย และแสดงออกว่าใครอยู่ข้างใคร
มีคนพูดว่า การที่คนชนบทชอบทักษิณมากนัก ก็เพราะทักษิณเป็นนักการเมืองคนแรกที่ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญก็คือ เรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรคกับกองทุนหมู่บ้าน
ก็เห็นจะจริงเพราะแต่ก่อนคนในชนบทไม่เคยได้รับเงินที่ถึงมือจริงๆ แม้แต่เงินผัน ชาวบ้านก็เพียงแต่มาเป็นคนทำงานแล้วได้ค่าจ้างไป แต่กองทุนหมู่บ้านลงมาถึงชาวบ้านโดยชาวบ้านเป็นผู้กำหนดเองว่าอยากทำอะไร
ปรากฏการณ์ความนิยมทักษิณ แสดงถึงช่องว่างของการเมืองไทยในอดีต ซึ่งอยู่ในมือข้าราชการกับนักการเมืองซึ่งก็ไม่มีนโยบายอะไรใหม่ ได้แต่ทำตามสิ่งที่ข้าราชการทำคือ กำหนดกันเองว่า ชาวบ้านควรจะได้อะไร ได้เมื่อใด และได้อย่างไร ดังนั้นเมื่อชาวบ้านมีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเอง จึงเทคะแนนให้พรรคของทักษิณมากมาย
เรื่องนี้พอจะเข้าใจได้ แต่เรื่องผู้สนับสนุนทักษิณกลายไปเป็นฝ่าย “ไม่เอาเจ้า” นี่เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการโจมตีองคมนตรีซึ่งกระทบไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย อีกส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า มีการจัดตั้งขบวนการทำใบปลิว และพูดจาปลุกปั่นยุยงคนในชนบท และกลุ่มแท็กซี่
นอกจากนั้น ในจังหวัดเชียงใหม่ยังมีการปลุกความรู้สึกของคนล้านนา ว่าแต่ก่อนก็มีกษัตริย์ของล้านนา และมีความแตกต่างจากคนใต้คือ คนกรุงเทพฯ
กระแสต้านสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น ในที่สุดคงไม่บังเกิดผลอะไร และในอดีตก็เคยมีมาแล้ว โดยเฉพาะปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยรัชกาลที่ 6 ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น พระมหากษัตริย์มีความใกล้ชิดกับขุนนางมากขึ้น และทรงมีพระจริยวัตรแบบสามัญชน เช่น ทรงแสดงละคร เป็นต้น มีคนบอกว่า เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์ไม่มีระยะห่างจากคนทั่วไป เมื่อนั้นคนก็จะไม่ยำเกรง และจะเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ เพราะคนทั่วไปจะเห็นว่า พระมหากษัตริย์ก็คือ คนธรรมดาๆ นั่นเอง
ผมเป็นห่วงเรื่องความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของคนไทยยุคนี้ว่า เหตุใดจึงยังคงนิยมยกย่องบูชาคนอย่างทักษิณ ไม่มีใครคิดเลยหรือว่าสิ่งที่ทักษิณทำไปนั้นผิด หรือว่ามองแต่ประโยชน์ที่ทักษิณให้ การสำรวจความคิดของเด็กรุ่นนี้ ระบุว่า การคอร์รัปชันนั้นไม่เป็นไร ไม่เสียหาย หากนักการเมืองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้
กรณีทักษิณก็เช่นนั้น จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของทักษิณ หรือ เงินของทักษิณ กันแน่ ผมรู้จักคนหัวก้าวหน้าหลายคนที่ไปสนับสนุนทักษิณ ถึงขั้นสวมหน้ากากหน้าทักษิณ ผมคิดว่า ลึกๆ แล้วคนเหล่านี้คงรู้ผิดชอบชั่วดี แต่ก็ทำไปเพราะได้เงิน ได้งานทำมากกว่าอย่างอื่น
ในระยะเวลา 4-5 ปีนี้ สังคมและการเมืองไทยก็จะว่ายเวียนอยู่ตรงนี้ ตราบใดที่คดีของทักษิณยังไม่จบ ทักษิณก็จะดำเนินการเมืองแบบการตลาดต่อไป
หากมีการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองเข้ามามีบทบาท การกลับมาของทักษิณก็จะไม่ง่าย และการต่อสู้ก็จะมีการแบ่งขั้วมากขึ้น เวลานี้ ใครๆ ก็พูดว่าตำรวจเป็นพวกทักษิณเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ มีทหารที่ไปรักษาการในทำเนียบฯ เล่าว่า พวกตำรวจนั้นดูทีวีของฝ่ายเสื้อแดง และไชโยโห่ร้องเชียร์ทักษิณอย่างเปิดเผย
ถ้าทักษิณและขบวนการ “ไม่เอาเจ้า” ยังขยายผลได้เรื่อยๆ เพราะตำรวจไม่ดำเนินการอย่างเด็ดขาด โอกาสที่พรรคการเมืองในอนาคตจะสนับสนุนระบบสาธารณรัฐก็จะมี เพราะขณะนี้นักวิชาการฝ่าย “ไม่เอาเจ้า” ก็ถกกันถึงเรื่องนี้อยู่ เพียงแต่ยังไม่ออกมาอย่างชัดเจนเท่านั้น
แต่การวิจารณ์ “เจ้า” ก็ไม่อาจทำแบบเหวี่ยงแหได้ และก็ไม่มีข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริงมาสนับสนุนคำวิจารณ์ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี รู้สึกว่าจะไม่สนใจเรื่องนี้มากเท่าใดนัก ต่างกับคนรุ่น 50-60 ปีขึ้นไป ซึ่งยังมีความจงรักภักดีที่แน่นแฟ้นอยู่มาก
อนาคตเมืองไทยจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับคนหนุ่มคนสาว เวลานี้ซึ่งดูจะเป็นพวกวัตถุนิยมสุดขั้วกันมาก ถ้าจะพูดถึงความภักดีต่อชาติหรือสถาบันแล้ว คงหวังได้ยาก ทำให้น่าห่วงว่า สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ และจะมีแต่ความรุนแรงและการเอาตัวรอด