ผมเพิ่งเดินทางกลับจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ...
ระหว่างที่เดินทางไปบรรยากาศที่สนามบินสุวรรณภูมิและบนเครื่องบินเต็มไปด้วยความกลัวและระแวดระวังต่อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ เชื้อ A/H1N1 โดย ผู้โดยสารชาวไทยส่วนใหญ่ต่างหยิบหน้ากากมาสวมกันตั้งแต่ระหว่างรอขึ้นเครื่อง ขณะที่บนเครื่อง เนื่องจากผู้โดยสารมีจำนวนไม่มากนักสายการบินจึงจัดที่นั่งให้ผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยกันให้อยู่ห่างกัน
เมื่อล้อเครื่องบินแตะพื้นรันเวย์สนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่ง กัปตันบนเครื่องก็ประกาศทันทีว่า ขอให้ผู้โดยสารทุกคนอย่าเพิ่งลุกจากที่นั่ง เนื่องจากทางสนามบินกำลังส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจอุณหภูมิร่างกายของผู้โดยสารทุกคน
นอกเหนือจากมาตรการส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจอุณหภูมิผู้โดยสารบนเครื่องแล้ว ทางสนามบินยังมีมาตรการที่เข้มงวดอื่นๆ ด้วย โดยมีการตรวจอุณหภูมิร่างกายผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 2 ด่าน นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้โดยสารทุกคนต้องกรอกรายละเอียดการเดินทาง ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อระหว่างที่อยู่ในประเทศจีน อาการ-ประวัติการเจ็บป่วย ความใกล้ชิดกับผู้เจ็บป่วย และประวัติการเดินทางในรอบ 7 วัน ที่ผ่านมาให้อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งกำชับให้ผู้โดยสารทุกคนเก็บบัตรโดยสารไว้กับตัวอย่างน้อย 7 วัน
ขณะเดียวกัน หากผู้โดยสารคนใดที่มีอาการของไข้หวัด ก็จะถูกกักตัวไว้เป็นเวลา 7 วัน (พร้อมกับคนใกล้ชิด) โดยหากตรวจไม่พบเชื้อ A/H1N1 จึงจะได้รับการปล่อยให้เข้าประเทศ
ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน หรือ อีกนัยหนึ่ง ความไม่ประมาทดังกล่าว ส่งผลให้นับถึงวันที่ 28 ก.ค. จีนที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน กลับมีสถิติผู้ติดเชื้อเพียงไม่ถึง 2,000 คน ขณะที่เมื่อเทียบกับประเทศไทย จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุด (29 ก.ค.) กลับพบยอดผู้ป่วยสะสมมากถึง 8,877 คน และผู้เสียชีวิตมากถึง 65 คนแล้ว โดยสถิติดังกล่าวนี้ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคและของโลก
การแพร่ระบาด และ บรรยากาศของความหวาดกลัวต่อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน ทำเอาผมอดย้อนนึกไปถึง เหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) หรือ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในประเทศจีนเมื่อปี 2546 มิได้
ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี 2546 ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงปักกิ่งประเทศจีน โดยในตอนนั้นต้นตอของการแพร่ระบาดอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง โดยในเวลาต่อมาด้วยความสะเพร่า ดูเบาปัญหา และละเลยต่อหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ทำให้ในที่สุดโรคซาร์สลุกลามจนเกิดการแพร่ระบาดหนักในกรุงปักกิ่ง ส่งผลให้ทางการจีนต้องประกาศปิดสถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียน บริษัทเอกชน และร้านค้า ยกเลิกการประชุม การชุมนุม และงานสังสรรค์-บันเทิง ต่างๆ นานนับสัปดาห์
ทั้งนี้ นอกจากมาตรการที่เข้มงวดเรื่องการปิดสถานที่ราชการ การกักกันโรค และการไม่ประนีประนอมกับภาคธุรกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสงบสุขของสังคมในองค์รวมแล้ว รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนในตอนนั้นยังแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาชนด้วยการประกาศปลด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจาง เหวินคัง และ นายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง นายเมิ่ง เสียว์หนง ทันทีและแต่งตั้ง มาดามอู๋ อี๋ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุขแทน
หลังจากมีการลงโทษรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของรัฐบาลท้องถิ่น มาตรการของภาครัฐในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในประเทศจีนก็เกิดความตื่นตัวและเข้มงวดขึ้นมาทันที จนในที่สุดสถานการณ์การแพร่ระบาดก็สร่างซาลงในอีก 2-3 เดือนต่อมา
หันกลับมามองถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทยในปัจจุบัน ผมขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า คุณวิทยา แก้วภราดัย และ คุณมานิต นพอมรบดี สองรัฐมนตรีที่บริหารกระทรวงสาธารณสุขสามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร โดยไม่แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกัน เรื่องที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าก็คือ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความผิดพลาดอันใหญ่หลวงดังกล่าวอะไรมากไปกว่าการออกมา ประกาศปิดโรงเรียน สถานสอนพิเศษ (แต่กลับไม่กล้าสั่งให้มีการยกเลิกงานคอนเสิร์ต และ งานมหกรรมต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงว่าจะเพิ่มอัตราการแพร่เชื้อ) และนั่งแถลงและรณรงค์ให้ประชาชน “ช่วยตัวเอง และ รักษาชีวิตลูก-หลาน” ไปวันๆ
บอกตรงๆ ว่า ปัจจุบัน รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ที่มีหน้าที่โดยตรงในการปฏิบัติตามมาตรการ “หลีกเลี่ยง-ป้องกัน-รักษา” ขั้นพื้นฐานแทบจะไม่ได้มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนเท่าไหร่เลย ในทางกลับกัน ยังได้สร้างความสับสนและความหวาดกลัวให้กับประชาชนโดยใช่เหตุ
ทุกวันนี้ บริษัทยา ร้านขายยา โรงพยาบาลเอกชน ต่างรับอานิสงส์เป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจจำนวนมหาศาล จากการให้ข้อมูลแบบผิดๆ และสับสนของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล อย่างเช่น ตอนแรกที่ แนะนำให้ผู้ที่รู้สึกว่าป่วยให้รีบไปพบแพทย์จนทำให้ประชาชนต่างแห่ไปเสียเงินคนละหลายพันบาทเพื่อขอตรวจว่าตัวเองติดเชื้อ A/H1N1 หรือไม่ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องไม่จำเป็น, พร้อมกันนั้นคนยังรีบไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งๆ ที่ไม่สามารถป้องกันเชื้อ A/H1N1 ได้แต่อย่างใด ฯลฯ
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่กี่วันที่ผ่านมาการดำเนินการอย่างวู่วามของ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ในการสั่งให้แจกจ่ายยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ลงไปตามคลินิกในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี อันเป็น พื้นที่จังหวัดซึ่งตนเองเป็น ส.ส. โดยมิได้ทำการศึกษาวิจัยให้รอบคอบเสียก่อน จนทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสถาบันออกมาทักท้วงว่าการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ในอนาคตประชาชนผู้ติดเชื้อเกิดอาการดื้อยาได้
การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยซึ่งส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากครั้งนี้ เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึง ความสะเพร่า ความมักง่าย และที่สำคัญที่สุดการขาดความรับผิดชอบของนักการเมืองที่มีต่อประเทศชาติ สังคมและประชาชน
หลายเดือนก่อน เมื่อเกิดเหตุการณ์การแจกปลากระป๋องเน่าของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคุณวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีออกมาประกาศลาออกจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงเดือนกว่าๆ ผมและประชาชนทั่วไปต่างก็รู้สึกชื่นชมและแซ่ซ้องว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นสมกับเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่มี “มาตรฐานทางการเมือง” สูงส่งกว่านักการเมืองพรรคอื่นๆ จริงๆ
ทว่า หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว 5-6 เดือนที่ผ่านมา คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กลับมิได้สร้างเสริมมาตรฐานดังกล่าวให้แข็งแกร่งขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกัน คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กลับทำลายมาตรฐานและความถูกต้อง-ชอบธรรมของตัวเองอย่างน่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็น การหน้าด้านอยู่ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทั้งๆ ที่ทำผิดพลาดอย่างมหันต์ต่อเหตุการณ์การรุมทำร้ายต่อชีวิตนายกรัฐมนตรีที่กระทรวงมหาดไทย เหตุการณ์เสื้อแดงเผาเมืองในช่วงสงกรานต์, การละเลยกับการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะในกรณี โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คน-โครงการชุมชนพอเพียง, การปล่อยปละละเลยให้กลุ่มเสื้อแดง-นปช. จาบจ้วงสถาบัน และดำเนินการถวายฎีกาทั้งๆ ที่เป็นเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอย่างเห็นได้ชัด
รวมไปถึงกรณีล่าสุด คือ การที่นายอภิสิทธิ์เห็นแก่ผลประโยชน์ทางการเมืองโดยแสดงความเกรงใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ไม่สั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งๆ ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท นั้นมีชนักติดอยู่เต็มหลัง ไม่ว่าจะเป็นกรณีปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรณีตำรวจเข่นฆ่าประชาชน 7 ตุลาคม 2551 กรณีการละเลยต่อหน้าที่ในเหตุการณ์เดือนเมษายน 2552 รวมไปถึงตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นต้นเหตุในการขัดขวางการทำคดีลอบสังหาร คุณสนธิ ลิ้มทองกุลของ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์อีกด้วย
ด้วยหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า “มาตรฐานประชาธิปัตย์” ที่คุณอภิสิทธิ์ และ คนในพรรคประชาธิปัตย์พร่ำพูดจนติดปากนั้น แท้จริงแล้ว น่าจะเป็นเพียง “มาตรฐานความรับผิดชอบต่อนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์” มิใช่ “มาตรฐานความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน” อย่างที่พวกเราเข้าใจกัน ใช่หรือไม่?
ระหว่างที่เดินทางไปบรรยากาศที่สนามบินสุวรรณภูมิและบนเครื่องบินเต็มไปด้วยความกลัวและระแวดระวังต่อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ เชื้อ A/H1N1 โดย ผู้โดยสารชาวไทยส่วนใหญ่ต่างหยิบหน้ากากมาสวมกันตั้งแต่ระหว่างรอขึ้นเครื่อง ขณะที่บนเครื่อง เนื่องจากผู้โดยสารมีจำนวนไม่มากนักสายการบินจึงจัดที่นั่งให้ผู้ที่ไม่ได้เดินทางมาด้วยกันให้อยู่ห่างกัน
เมื่อล้อเครื่องบินแตะพื้นรันเวย์สนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่ง กัปตันบนเครื่องก็ประกาศทันทีว่า ขอให้ผู้โดยสารทุกคนอย่าเพิ่งลุกจากที่นั่ง เนื่องจากทางสนามบินกำลังส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจอุณหภูมิร่างกายของผู้โดยสารทุกคน
นอกเหนือจากมาตรการส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจอุณหภูมิผู้โดยสารบนเครื่องแล้ว ทางสนามบินยังมีมาตรการที่เข้มงวดอื่นๆ ด้วย โดยมีการตรวจอุณหภูมิร่างกายผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 2 ด่าน นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้โดยสารทุกคนต้องกรอกรายละเอียดการเดินทาง ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อระหว่างที่อยู่ในประเทศจีน อาการ-ประวัติการเจ็บป่วย ความใกล้ชิดกับผู้เจ็บป่วย และประวัติการเดินทางในรอบ 7 วัน ที่ผ่านมาให้อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งกำชับให้ผู้โดยสารทุกคนเก็บบัตรโดยสารไว้กับตัวอย่างน้อย 7 วัน
ขณะเดียวกัน หากผู้โดยสารคนใดที่มีอาการของไข้หวัด ก็จะถูกกักตัวไว้เป็นเวลา 7 วัน (พร้อมกับคนใกล้ชิด) โดยหากตรวจไม่พบเชื้อ A/H1N1 จึงจะได้รับการปล่อยให้เข้าประเทศ
ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน หรือ อีกนัยหนึ่ง ความไม่ประมาทดังกล่าว ส่งผลให้นับถึงวันที่ 28 ก.ค. จีนที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน กลับมีสถิติผู้ติดเชื้อเพียงไม่ถึง 2,000 คน ขณะที่เมื่อเทียบกับประเทศไทย จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุด (29 ก.ค.) กลับพบยอดผู้ป่วยสะสมมากถึง 8,877 คน และผู้เสียชีวิตมากถึง 65 คนแล้ว โดยสถิติดังกล่าวนี้ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคและของโลก
การแพร่ระบาด และ บรรยากาศของความหวาดกลัวต่อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน ทำเอาผมอดย้อนนึกไปถึง เหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (SARS) หรือ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในประเทศจีนเมื่อปี 2546 มิได้
ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในปี 2546 ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงปักกิ่งประเทศจีน โดยในตอนนั้นต้นตอของการแพร่ระบาดอยู่ที่มณฑลกวางตุ้ง โดยในเวลาต่อมาด้วยความสะเพร่า ดูเบาปัญหา และละเลยต่อหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ทำให้ในที่สุดโรคซาร์สลุกลามจนเกิดการแพร่ระบาดหนักในกรุงปักกิ่ง ส่งผลให้ทางการจีนต้องประกาศปิดสถานที่ราชการ มหาวิทยาลัย โรงเรียน บริษัทเอกชน และร้านค้า ยกเลิกการประชุม การชุมนุม และงานสังสรรค์-บันเทิง ต่างๆ นานนับสัปดาห์
ทั้งนี้ นอกจากมาตรการที่เข้มงวดเรื่องการปิดสถานที่ราชการ การกักกันโรค และการไม่ประนีประนอมกับภาคธุรกิจ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสงบสุขของสังคมในองค์รวมแล้ว รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนในตอนนั้นยังแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประชาชนด้วยการประกาศปลด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายจาง เหวินคัง และ นายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง นายเมิ่ง เสียว์หนง ทันทีและแต่งตั้ง มาดามอู๋ อี๋ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุขแทน
หลังจากมีการลงโทษรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของรัฐบาลท้องถิ่น มาตรการของภาครัฐในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในประเทศจีนก็เกิดความตื่นตัวและเข้มงวดขึ้นมาทันที จนในที่สุดสถานการณ์การแพร่ระบาดก็สร่างซาลงในอีก 2-3 เดือนต่อมา
หันกลับมามองถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทยในปัจจุบัน ผมขอพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า คุณวิทยา แก้วภราดัย และ คุณมานิต นพอมรบดี สองรัฐมนตรีที่บริหารกระทรวงสาธารณสุขสามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร โดยไม่แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกัน เรื่องที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าก็คือ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความผิดพลาดอันใหญ่หลวงดังกล่าวอะไรมากไปกว่าการออกมา ประกาศปิดโรงเรียน สถานสอนพิเศษ (แต่กลับไม่กล้าสั่งให้มีการยกเลิกงานคอนเสิร์ต และ งานมหกรรมต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงว่าจะเพิ่มอัตราการแพร่เชื้อ) และนั่งแถลงและรณรงค์ให้ประชาชน “ช่วยตัวเอง และ รักษาชีวิตลูก-หลาน” ไปวันๆ
บอกตรงๆ ว่า ปัจจุบัน รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ที่มีหน้าที่โดยตรงในการปฏิบัติตามมาตรการ “หลีกเลี่ยง-ป้องกัน-รักษา” ขั้นพื้นฐานแทบจะไม่ได้มีบทบาทช่วยเหลือประชาชนเท่าไหร่เลย ในทางกลับกัน ยังได้สร้างความสับสนและความหวาดกลัวให้กับประชาชนโดยใช่เหตุ
ทุกวันนี้ บริษัทยา ร้านขายยา โรงพยาบาลเอกชน ต่างรับอานิสงส์เป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจจำนวนมหาศาล จากการให้ข้อมูลแบบผิดๆ และสับสนของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล อย่างเช่น ตอนแรกที่ แนะนำให้ผู้ที่รู้สึกว่าป่วยให้รีบไปพบแพทย์จนทำให้ประชาชนต่างแห่ไปเสียเงินคนละหลายพันบาทเพื่อขอตรวจว่าตัวเองติดเชื้อ A/H1N1 หรือไม่ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องไม่จำเป็น, พร้อมกันนั้นคนยังรีบไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทั้งๆ ที่ไม่สามารถป้องกันเชื้อ A/H1N1 ได้แต่อย่างใด ฯลฯ
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่กี่วันที่ผ่านมาการดำเนินการอย่างวู่วามของ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ในการสั่งให้แจกจ่ายยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ลงไปตามคลินิกในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี อันเป็น พื้นที่จังหวัดซึ่งตนเองเป็น ส.ส. โดยมิได้ทำการศึกษาวิจัยให้รอบคอบเสียก่อน จนทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสถาบันออกมาทักท้วงว่าการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ในอนาคตประชาชนผู้ติดเชื้อเกิดอาการดื้อยาได้
การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยซึ่งส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากครั้งนี้ เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึง ความสะเพร่า ความมักง่าย และที่สำคัญที่สุดการขาดความรับผิดชอบของนักการเมืองที่มีต่อประเทศชาติ สังคมและประชาชน
หลายเดือนก่อน เมื่อเกิดเหตุการณ์การแจกปลากระป๋องเน่าของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคุณวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีออกมาประกาศลาออกจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงเดือนกว่าๆ ผมและประชาชนทั่วไปต่างก็รู้สึกชื่นชมและแซ่ซ้องว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นสมกับเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่มี “มาตรฐานทางการเมือง” สูงส่งกว่านักการเมืองพรรคอื่นๆ จริงๆ
ทว่า หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว 5-6 เดือนที่ผ่านมา คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กลับมิได้สร้างเสริมมาตรฐานดังกล่าวให้แข็งแกร่งขึ้นแต่อย่างใด ในทางกลับกัน คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์กลับทำลายมาตรฐานและความถูกต้อง-ชอบธรรมของตัวเองอย่างน่าเสียดาย ไม่ว่าจะเป็น การหน้าด้านอยู่ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทั้งๆ ที่ทำผิดพลาดอย่างมหันต์ต่อเหตุการณ์การรุมทำร้ายต่อชีวิตนายกรัฐมนตรีที่กระทรวงมหาดไทย เหตุการณ์เสื้อแดงเผาเมืองในช่วงสงกรานต์, การละเลยกับการจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะในกรณี โครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คน-โครงการชุมชนพอเพียง, การปล่อยปละละเลยให้กลุ่มเสื้อแดง-นปช. จาบจ้วงสถาบัน และดำเนินการถวายฎีกาทั้งๆ ที่เป็นเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอย่างเห็นได้ชัด
รวมไปถึงกรณีล่าสุด คือ การที่นายอภิสิทธิ์เห็นแก่ผลประโยชน์ทางการเมืองโดยแสดงความเกรงใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ไม่สั่งปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งๆ ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท นั้นมีชนักติดอยู่เต็มหลัง ไม่ว่าจะเป็นกรณีปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรณีตำรวจเข่นฆ่าประชาชน 7 ตุลาคม 2551 กรณีการละเลยต่อหน้าที่ในเหตุการณ์เดือนเมษายน 2552 รวมไปถึงตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นต้นเหตุในการขัดขวางการทำคดีลอบสังหาร คุณสนธิ ลิ้มทองกุลของ พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์อีกด้วย
ด้วยหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า “มาตรฐานประชาธิปัตย์” ที่คุณอภิสิทธิ์ และ คนในพรรคประชาธิปัตย์พร่ำพูดจนติดปากนั้น แท้จริงแล้ว น่าจะเป็นเพียง “มาตรฐานความรับผิดชอบต่อนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์” มิใช่ “มาตรฐานความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน” อย่างที่พวกเราเข้าใจกัน ใช่หรือไม่?