มอสโกและปักกิ่งต่างยกย่องชมเชยสิ่งที่พวกเขาเรียกขานว่า ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองฝ่าย ทว่าพวกรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานทั้งของรัสเซียและจีน กลับยังต้องใช้ความพยายามกันอย่างหนัก เพื่อให้สามารถตกลงประนีประนอมกันในเรื่องราคาซื้อขายพลังงาน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่า การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ของจีนเมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายนที่ผ่านมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความลึกซึ้งหนักแน่นให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ รวมทั้งเพื่อพัฒนาความร่วมมือกันทางด้านพลังงานด้วย
ในวันที่ 17 มิถุนายน ประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ได้ประกาศว่า เขาประสบความสำเร็จในการทำความตกลงกับฝ่ายจีนที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทว่าการประกาศตัวเลขเช่นนี้ ดูจะไม่ตรงกับตัวเลขผลรวมของบรรดาข้อตกลงต่างๆ ที่กระทำกันได้ระหว่างการเยือนของหูเที่ยวนี้
วันที่ 17 มิถุนายนนั้นเอง เมดเวเดฟกับหูได้ลงนามในคำแถลงร่วมฉบับหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายยังได้เซ็นบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) หลายๆ ฉบับ ในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือกันทางด้านก๊าซและถ่านหิน, การส่งเสริมการค้า, พิมพ์เขียวว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการลงทุน, ข้อตกลงแม่บทว่าด้วยเงินกู้จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน จะให้แก่ธนาคารวีอีบี ของรัสเซีย และบันทึกความเข้าใจฉบับเพิ่มเติมระหว่าง เรโนวา กับบรรษัททำเหมืองทองคำแห่งรัฐของจีน
ขณะเดียวกัน ในวันนั้น ลุคออย ของรัสเซีย กับ ซิโนเปก ของจีน ก็ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายและขนส่งน้ำมันดิบจำนวน 3 ล้านตัน จากแหล่งน้ำมันเซาท์ ฮิลชูยู ในดินแดนปกครองตนเองเนเนตส์ของรัสเซียไปให้ประเทศจีน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2009 ถึง 30 มิถุนายน 2010
แต่ข้อตกลงเหล่านี้แม้รวมกันแล้ว ก็ยังดูจะไม่ถึงระดับ 100,000 ล้านดอลลาร์ตามที่เมดเวเดฟอ้างถึง
ก่อนหน้าการเจรจาระหว่างสองฝ่ายดังกล่าวนี้ บรรดาสำนักข่าวของรัสเซียต่างรายงานโดยอ้างพวกแหล่งข่าววังเครมลินระบุว่า การเจรจาที่กรุงมอสโกคราวนี้ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องพลังงานและการค้า พวกเขายังชี้ด้วยว่าในปี 2009 รัสเซียกับจีนได้ลงนามในข้อตกลงด้านยุทธศาสตร์พลังงานหลายๆ ฉบับ ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น ในการยกย่องชมเชยการตกลงกันเป็นมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์นั้น เมดเวเดฟน่าจะกำลังพูดถึงข้อตกลงซื้อขายและส่งน้ำมันดิบระยะยาวที่ได้ทำกันไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ในปีนี้แล้ว
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21 เมษายน รัฐบาลจีนและรัฐบาลรัสเซียได้บรรลุการตกลงกันในขั้นสุดท้ายของข้อตกลงระหว่างรัฐบาลทั้งสองฉบับหนึ่ง ซึ่งได้มีการเห็นพ้องในขั้นหลักการกันไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2008 ตามข้อตกลงดังกล่าวนี้รัสเซียจะขายและส่งน้ำมันให้จีนเป็นจำนวน 300 ล้านตันในช่วง 20 ปีต่อจากนี้ไป เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ 25,000 ล้านดอลลาร์ที่จีนจะให้แก่พวกบริษัทแห่งรัฐของรัสเซีย ข้อตกลงนี้ยังมีส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำมันความยาว 67 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสายย่อยที่แยกจากแนวท่อส่งน้ำมันไซบีเรียตะวันออกแปซิฟิก (Eastern Siberia Pacific Oil Pipeline หรือ ESPO) เพื่อเชื่อมเมืองสโคโวโรดิโน กับชายแดนจีน พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียให้คำมั่นสัญญาที่จะก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำมันเส้นนี้ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด หรือก่อนสิ้นปี 2010
อย่างไรก็ดี พวกเจ้าหน้าที่จีนดูจะยังคงสงสัยข้องใจ ภายหลังที่เขาเจรจากับเมดเวเดฟแล้ว หูได้บอกกับที่ประชุมแถลงข่าวร่วมว่า ทั้งสองฝ่ายควรตั้งจุดมุ่งหมายที่จะก่อสร้างแนวท่อย่อยของ อีเอสพีโอ นี้ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ที่ผ่านมานั้น กว่าที่พวกบริษัทรัสเซียและบริษัทจีนจะสามารถทำความตกลงในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับแนวท่อสายย่อยนี้ ปรากฏว่าต้องใช้เวลาถึงกว่า 3 ปี กล่าวคือ มีการประกาศการก่อสร้างแนวท่อนี้เป็นครั้งแรกเมื่อตอนที่วลาดิมีร์ ปูติน ที่เวลานั้นยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เดินทางไปเยือนจีนในเดือนมีนาคม 2006
ในครั้งนั้น ปูตินยังได้ให้สัญญาที่จะส่งออกก๊าซรัสเซียให้แก่จีนเป็นจำนวนถึง 40,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ผ่านแนวท่อส่งอัลไต ความยาว 6,700 กิโลเมตรที่จะจัดสร้างขึ้นใหม่ และจะต้องสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในเดือนมีนาคม 2006 นั่นเอง กาซปรอม รัฐวิสาหกิจด้านก๊าซและน้ำมันของรัสเซีย กับบรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของจีน (ซีเอ็นพีซี) ได้เซ็นบันทึกความเข้าใจฉบับหนึ่ง ว่าด้วยการที่รัสเซียจะส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่จีนตั้งแต่ปี 2011
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์ อานาเนนคอฟ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกาซปรอม แสดงความคาดหมายว่า ก๊าซรัสเซียที่จะส่งให้แก่จีนคงไม่สามารถเริ่มต้นได้ในปี 2011 สืบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีจุดที่ไม่เห็นพ้องต้องกันหลายจุดในเรื่องราคาก๊าซ มีรายงานว่ากาซปรอมเสนอที่จะส่งออกก๊าซให้จีนโดยคิดราคาอิงกับราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ขณะที่จีนยังคงลังเลไม่อยากยอมรับข้อเสนอนี้
ด้วยเหตุนี้เองจึงสรุปได้ว่า ถึงแม้มีคำมั่นสัญญาต่างๆ ในเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเรื่องความร่วมมือกันทางด้านพลังงานด้วย แต่รัสเซียกับจีนก็ดูยังจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะตกลงเห็นพ้องกันเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ในโครงการพลังงานขนาดใหญ่ๆ กันได้
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Russia, China numbers missing ของ Sergei Blagov นักวิจัยอิสระและนักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักในกรุงมอสโก)
ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่า การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ของจีนเมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายนที่ผ่านมา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความลึกซึ้งหนักแน่นให้แก่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ รวมทั้งเพื่อพัฒนาความร่วมมือกันทางด้านพลังงานด้วย
ในวันที่ 17 มิถุนายน ประธานาธิบดี ดมิตริ เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ได้ประกาศว่า เขาประสบความสำเร็จในการทำความตกลงกับฝ่ายจีนที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทว่าการประกาศตัวเลขเช่นนี้ ดูจะไม่ตรงกับตัวเลขผลรวมของบรรดาข้อตกลงต่างๆ ที่กระทำกันได้ระหว่างการเยือนของหูเที่ยวนี้
วันที่ 17 มิถุนายนนั้นเอง เมดเวเดฟกับหูได้ลงนามในคำแถลงร่วมฉบับหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายยังได้เซ็นบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) หลายๆ ฉบับ ในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือกันทางด้านก๊าซและถ่านหิน, การส่งเสริมการค้า, พิมพ์เขียวว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการลงทุน, ข้อตกลงแม่บทว่าด้วยเงินกู้จำนวน 700 ล้านดอลลาร์ที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน จะให้แก่ธนาคารวีอีบี ของรัสเซีย และบันทึกความเข้าใจฉบับเพิ่มเติมระหว่าง เรโนวา กับบรรษัททำเหมืองทองคำแห่งรัฐของจีน
ขณะเดียวกัน ในวันนั้น ลุคออย ของรัสเซีย กับ ซิโนเปก ของจีน ก็ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายและขนส่งน้ำมันดิบจำนวน 3 ล้านตัน จากแหล่งน้ำมันเซาท์ ฮิลชูยู ในดินแดนปกครองตนเองเนเนตส์ของรัสเซียไปให้ประเทศจีน ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2009 ถึง 30 มิถุนายน 2010
แต่ข้อตกลงเหล่านี้แม้รวมกันแล้ว ก็ยังดูจะไม่ถึงระดับ 100,000 ล้านดอลลาร์ตามที่เมดเวเดฟอ้างถึง
ก่อนหน้าการเจรจาระหว่างสองฝ่ายดังกล่าวนี้ บรรดาสำนักข่าวของรัสเซียต่างรายงานโดยอ้างพวกแหล่งข่าววังเครมลินระบุว่า การเจรจาที่กรุงมอสโกคราวนี้ จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องพลังงานและการค้า พวกเขายังชี้ด้วยว่าในปี 2009 รัสเซียกับจีนได้ลงนามในข้อตกลงด้านยุทธศาสตร์พลังงานหลายๆ ฉบับ ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านดอลลาร์
ดังนั้น ในการยกย่องชมเชยการตกลงกันเป็นมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์นั้น เมดเวเดฟน่าจะกำลังพูดถึงข้อตกลงซื้อขายและส่งน้ำมันดิบระยะยาวที่ได้ทำกันไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ในปีนี้แล้ว
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21 เมษายน รัฐบาลจีนและรัฐบาลรัสเซียได้บรรลุการตกลงกันในขั้นสุดท้ายของข้อตกลงระหว่างรัฐบาลทั้งสองฉบับหนึ่ง ซึ่งได้มีการเห็นพ้องในขั้นหลักการกันไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2008 ตามข้อตกลงดังกล่าวนี้รัสเซียจะขายและส่งน้ำมันให้จีนเป็นจำนวน 300 ล้านตันในช่วง 20 ปีต่อจากนี้ไป เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินกู้ 25,000 ล้านดอลลาร์ที่จีนจะให้แก่พวกบริษัทแห่งรัฐของรัสเซีย ข้อตกลงนี้ยังมีส่วนหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำมันความยาว 67 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสายย่อยที่แยกจากแนวท่อส่งน้ำมันไซบีเรียตะวันออกแปซิฟิก (Eastern Siberia Pacific Oil Pipeline หรือ ESPO) เพื่อเชื่อมเมืองสโคโวโรดิโน กับชายแดนจีน พวกเจ้าหน้าที่รัสเซียให้คำมั่นสัญญาที่จะก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำมันเส้นนี้ให้แล้วเสร็จก่อนกำหนด หรือก่อนสิ้นปี 2010
อย่างไรก็ดี พวกเจ้าหน้าที่จีนดูจะยังคงสงสัยข้องใจ ภายหลังที่เขาเจรจากับเมดเวเดฟแล้ว หูได้บอกกับที่ประชุมแถลงข่าวร่วมว่า ทั้งสองฝ่ายควรตั้งจุดมุ่งหมายที่จะก่อสร้างแนวท่อย่อยของ อีเอสพีโอ นี้ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ที่ผ่านมานั้น กว่าที่พวกบริษัทรัสเซียและบริษัทจีนจะสามารถทำความตกลงในขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับแนวท่อสายย่อยนี้ ปรากฏว่าต้องใช้เวลาถึงกว่า 3 ปี กล่าวคือ มีการประกาศการก่อสร้างแนวท่อนี้เป็นครั้งแรกเมื่อตอนที่วลาดิมีร์ ปูติน ที่เวลานั้นยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เดินทางไปเยือนจีนในเดือนมีนาคม 2006
ในครั้งนั้น ปูตินยังได้ให้สัญญาที่จะส่งออกก๊าซรัสเซียให้แก่จีนเป็นจำนวนถึง 40,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ผ่านแนวท่อส่งอัลไต ความยาว 6,700 กิโลเมตรที่จะจัดสร้างขึ้นใหม่ และจะต้องสิ้นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในเดือนมีนาคม 2006 นั่นเอง กาซปรอม รัฐวิสาหกิจด้านก๊าซและน้ำมันของรัสเซีย กับบรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งชาติของจีน (ซีเอ็นพีซี) ได้เซ็นบันทึกความเข้าใจฉบับหนึ่ง ว่าด้วยการที่รัสเซียจะส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่จีนตั้งแต่ปี 2011
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์ อานาเนนคอฟ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกาซปรอม แสดงความคาดหมายว่า ก๊าซรัสเซียที่จะส่งให้แก่จีนคงไม่สามารถเริ่มต้นได้ในปี 2011 สืบเนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังคงมีจุดที่ไม่เห็นพ้องต้องกันหลายจุดในเรื่องราคาก๊าซ มีรายงานว่ากาซปรอมเสนอที่จะส่งออกก๊าซให้จีนโดยคิดราคาอิงกับราคาน้ำมันระหว่างประเทศ ขณะที่จีนยังคงลังเลไม่อยากยอมรับข้อเสนอนี้
ด้วยเหตุนี้เองจึงสรุปได้ว่า ถึงแม้มีคำมั่นสัญญาต่างๆ ในเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเรื่องความร่วมมือกันทางด้านพลังงานด้วย แต่รัสเซียกับจีนก็ดูยังจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่จะตกลงเห็นพ้องกันเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ในโครงการพลังงานขนาดใหญ่ๆ กันได้
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Russia, China numbers missing ของ Sergei Blagov นักวิจัยอิสระและนักหนังสือพิมพ์ซึ่งพำนักในกรุงมอสโก)