ASTVผู้จัดการรายวัน-ธปท.ชี้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ผู้ประกอบการคาดการลงทุนภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องเป็นผลจากแรงอุปสงค์และความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ระบุห่วงปัญหาเสถียรภาพการเมือง ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมัน ขณะที่ภาคธุรกิจเองก็เริ่มปรับตัวด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต บริหารสินค้าคงคลัง รวมถึงระมัดระวังการทำธุรกิจมากขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่างธปท. นักธุรกิจ สถาบันและสมาคมธุรกิจสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 20 เม.ย.-25 พ.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 242 ราย พบว่า ในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้เศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับตัวดีขึ้นทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก อีกทั้งผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา ภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีการปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหน้า โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต บริหารระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
หลังจากที่ภาคธุรกิจประเมินว่าภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงซบเซาอยู่ และการส่งออกโดยรวมยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น แม้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในบางธุรกิจเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่คำสั่งซื้อปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อประเทศคู่ค้าในเอเชีย
ขณะที่ภาคเอกชนมีการบริโภคชะลอต่อเนื่องทั้งสินค้าฟุ่มเฟื่อยและสินค้าคงทน แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะยอดขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจไตรมาสนี้ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การปรับราคาสินค้า ซึ่งทำได้ยากในภาวะที่อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศหดตัว อีกทั้งมีการแข่งขันสูงในตลาด ทำให้ผลกำไรไตรมาสนี้ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ
แรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2 ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจระหว่างธปท. นักธุรกิจ สถาบันและสมาคมธุรกิจสาขาต่างๆ ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 20 เม.ย.-25 พ.ค.ที่ผ่านมา จำนวน 242 ราย พบว่า ในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้เศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับตัวดีขึ้นทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก อีกทั้งผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่สองที่ผ่านมา ภาคธุรกิจส่วนใหญ่มีการปรับตัวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มตั้งแต่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหน้า โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต บริหารระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น
หลังจากที่ภาคธุรกิจประเมินว่าภาวะธุรกิจโดยรวมยังคงซบเซาอยู่ และการส่งออกโดยรวมยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น แม้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในบางธุรกิจเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่คำสั่งซื้อปรับตัวดีขึ้นจากคำสั่งซื้อประเทศคู่ค้าในเอเชีย
ขณะที่ภาคเอกชนมีการบริโภคชะลอต่อเนื่องทั้งสินค้าฟุ่มเฟื่อยและสินค้าคงทน แต่สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะยอดขายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจไตรมาสนี้ ได้แก่ ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การปรับราคาสินค้า ซึ่งทำได้ยากในภาวะที่อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศหดตัว อีกทั้งมีการแข่งขันสูงในตลาด ทำให้ผลกำไรไตรมาสนี้ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ
แรงกดดันด้านต้นทุนเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันสูงขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2 ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง