เริ่มแรกทีเดียว รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน พูดระหว่างการให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ว่า ฝ่ายเกาหลีเหนือทำตัวเหมือน "เด็กเล็กๆ และวัยรุ่นเกเร ตลอดจนพวกผู้คนที่กำลังมุ่งหวังเรียกร้องความสนใจ"
จากนั้นฝ่ายเกาหลีเหนือก็ตอบโต้เอาคืนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ที่จังหวัดภูเก็ต โดยกล่าวว่า คลินตันเดี๋ยวก็ "ดูเหมือนกับเด็กหญิงโรงเรียนชั้นประถม" เดี๋ยวก็เป็น "สาวแก่วัยเกษียณที่กำลังเดินช็อปปิ้ง"
ช่างเป็นการเหน็บแนมตอบโต้กันระหว่างเด็กๆ โดยแท้
การแลกเปลี่ยนคำเสียดสีเข้าใส่กันเช่นนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมถึงความตึงเครียดอันล้ำลึกในคาบสมุทรเกาหลี ทว่าไม่ได้เพิ่มเติมอะไรให้แก่การถกเถียงอภิปรายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดงเลย ฝ่ายเกาหลีเหนือบอกว่า "นโยบายเป็นศัตรู" ของสหรัฐฯนั่นแหละ ที่ต้องถูกประณามว่าเป็นตัวการทำให้ "สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย" และการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง ซึ่งนอกจากเกาหลีเหนือแล้ว ยังประกอบด้วยสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เกาหลีใต้, และจีน ก็จบสิ้นล้มครืนไปอย่างแน่นอนแล้ว
การประเมินเช่นนี้ไม่ได้ถูกโต้แย้งใดๆ เลยจากวอชิงตัน ถ้าหากอาศัยคำพูดอันแข็งกร้าวของคลินตันเป็นเครื่องชี้บ่ง การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือกำลังเลวร้ายลงอย่างน่าใจหาย นับแต่เกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยไกล "แตโปดอง 2" (Taepodong 2) ในวันที่ 5 เมษายน, ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สองในวันที่ 25 พฤษภาคม, จากนั้นก็ยิงขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยใกล้เป็นชุด ภายหลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่
อย่างน้อยที่สุดเมื่อพิจารณาจากคารมต่อสาธารณชนของเธอ ก็ดูเหมือนจะกล่าวได้ว่า คลินตันมีท่าทีที่ไม่มีลดราวาศอก ยิ่งเสียกว่าพวกหัวแข็งกร้าวในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช แม้กระทั่งในช่วงวาระแรกของเขา ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2002 เขาได้นำเอาเกาหลีเหนือมาใส่ไว้ในกลุ่ม "อักษะปีศาจ" (axis of evil) เคียงคู่กับอิหร่านและอิรัก
เธอส่งสัญญาณว่า ไม่มีทางเลยที่สหรัฐฯจะหว่านโปรยความช่วยเหลือให้เกาหลีเหนือ เพียงเพื่อให้โสมแดง "กลับคืนสู่โต๊ะเจรจา" -หรือเพื่อให้เกาหลีเหนือรับปากรับคำให้สัญญาต่างๆ "และแล้วก็ตระบัดสัตย์ไม่รักษาคำมั่น"
ขณะอยู่ที่ภูเก็ต คลินตันเตือนว่า "การถอดถอนสมรรถนะทางนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์แบบชนิดที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก คือหนทางเดินเพียงสายเดียวสำหรับเกาหลีเหนือ" และแม้เธอไม่ถึงกับหวนกลับมาเรียกเกาหลีเหนือว่าเป็นสมาชิกรายหนึ่งของกลุ่ม "อักษะปีศาจ" แต่เธอน่าจะกำลังคิดเช่นนั้นอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความวิตกของสหรัฐฯเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ในอิหร่าน โดยที่เปียงยางนี่เองคือผู้ที่ขายทั้งความชำนาญการในเรื่องขีปนาวุธและตัวขีปนาวุธเองให้แก่เตหะราน
ยิ่งกว่านั้น คลินตันยังทำท่าปรารถนาที่จะเพิ่มประเทศอีกประเทศหนึ่งเข้าไว้ในกลุ่ม "อักษะ" นี้ด้วยซ้ำ นั่นคือ พม่า ซึ่งถูกต้องสงสัยอย่างแรงว่ากำลังมีความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์อย่างลับๆ และหวังว่าจะได้รับการสนองตอบในเรื่องนี้ด้วยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือ นอกจากนั้นพม่ายังถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายเรือสำหรับการขนส่งขีปนาวุธและข้าวของอุปกรณ์ทางทหารอื่นๆ ของเกาหลีเหนือ เพื่อนำไปขายยังที่อื่น ๆต่อไป
กระนั้นก็ตาม เมื่อเจาะลงไปถึงเบื้องลึกของการพูดจาและท่าทีดังกล่าวเหล่านี้ กลับไม่สามารถบอกได้เลยว่า การประจันหน้ากันเช่นนี้กำลังจะนำไปสู่อะไร ไม่ว่าคลินตันจะพูดอย่างไร เกาหลีเหนือย่อมจะต้องออกมาประณามแบบเป็นกิจวัตรประจำเลย ว่า "เหลวไหลไร้สาระ" ทว่าก็ไม่มีสัญญาณบ่งบอกอะไรเช่นกัน ว่าโสมแดงกำลังจะไปไกลเกินกว่าการทดสอบอาวุธ และจะทุ่มเดิมพันเสี่ยงก่อสงครามเกาหลีครั้งที่สอง หรือแม้เพียงแค่ก่อการปะทะกันในระดับเล็กๆ ขึ้นมา
ไม่มีใครเลยที่ภูเก็ต พูดออกมาอย่างเปิดเผยในเรื่องความกังวลของโสมแดงเกี่ยวกับสุขภาพของคิมจองอิลในเวลานี้ ตลอดจนการต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำในเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ทัศนะมุมมองที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็คือ ความวิตกเหล่านี้เองที่อยู่เบื้องหลังการสำแดงแสนยานุภาพจำนวนมากของโสมแดงในช่วงหลังๆ นี้
หันมามองด้านสหรัฐฯบ้าง ด้วยเหตุผลต่างๆ หลายประการทว่าผิดแผกไปจากของฝ่ายเปียงยาง ทางวอชิงตันก็ไม่สนใจที่จะเล่นเกมแรงไปไกลเกินกว่าคำพูดดุดันของคลินตันเช่นกัน
ประธานาธิบดีบารัค โอบามานั้น รู้สึกวิตกกว่ามากกับพันธะของสหรัฐฯที่มีอยู่กับอัฟกานิสถานและอิรัค แม้สำหรับประเทศหลังนี้ เขายังคงพูดย้ำว่าสหรัฐฯจะสามารถอนทหารของตนออกไปได้ภายในสิ้นปี 2011
ร่องรอยเบาะแสที่บ่งชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากการประจันหน้ากัน เห็นจะดูได้จากการที่เกาหลีใต้ซื้ออาวุธจากสหรัฐฯในปริมาณที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในปีที่แล้วฝ่ายทหารของเกาหลีใต้นำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯเป็นจำนวนทั้งสิ้น 790 ล้านดอลลาร์ แทบจะไล่ทันตัวเลข 808 ล้านดอลลาร์ที่นำเข้าโดยซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ซื้ออาวุธสหรัฐฯรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากอันดับหนึ่งอย่างอิสราเอล ที่ในปีที่แล้วฝ่ายทหารนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯเป็นมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Nuclear powers revert to playground taunts ของ Donald Kirk นักหนังสือพิมพ์ที่ทำข่าวเกี่ยวกับเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี)
จากนั้นฝ่ายเกาหลีเหนือก็ตอบโต้เอาคืนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ที่จังหวัดภูเก็ต โดยกล่าวว่า คลินตันเดี๋ยวก็ "ดูเหมือนกับเด็กหญิงโรงเรียนชั้นประถม" เดี๋ยวก็เป็น "สาวแก่วัยเกษียณที่กำลังเดินช็อปปิ้ง"
ช่างเป็นการเหน็บแนมตอบโต้กันระหว่างเด็กๆ โดยแท้
การแลกเปลี่ยนคำเสียดสีเข้าใส่กันเช่นนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมถึงความตึงเครียดอันล้ำลึกในคาบสมุทรเกาหลี ทว่าไม่ได้เพิ่มเติมอะไรให้แก่การถกเถียงอภิปรายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดงเลย ฝ่ายเกาหลีเหนือบอกว่า "นโยบายเป็นศัตรู" ของสหรัฐฯนั่นแหละ ที่ต้องถูกประณามว่าเป็นตัวการทำให้ "สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย" และการเจรจา 6 ฝ่ายว่าด้วยโครงการนิวเคลียร์ของโสมแดง ซึ่งนอกจากเกาหลีเหนือแล้ว ยังประกอบด้วยสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เกาหลีใต้, และจีน ก็จบสิ้นล้มครืนไปอย่างแน่นอนแล้ว
การประเมินเช่นนี้ไม่ได้ถูกโต้แย้งใดๆ เลยจากวอชิงตัน ถ้าหากอาศัยคำพูดอันแข็งกร้าวของคลินตันเป็นเครื่องชี้บ่ง การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯ-เกาหลีเหนือกำลังเลวร้ายลงอย่างน่าใจหาย นับแต่เกาหลีเหนือทดสอบยิงขีปนาวุธพิสัยไกล "แตโปดอง 2" (Taepodong 2) ในวันที่ 5 เมษายน, ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใต้ดินครั้งที่สองในวันที่ 25 พฤษภาคม, จากนั้นก็ยิงขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยใกล้เป็นชุด ภายหลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่
อย่างน้อยที่สุดเมื่อพิจารณาจากคารมต่อสาธารณชนของเธอ ก็ดูเหมือนจะกล่าวได้ว่า คลินตันมีท่าทีที่ไม่มีลดราวาศอก ยิ่งเสียกว่าพวกหัวแข็งกร้าวในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช แม้กระทั่งในช่วงวาระแรกของเขา ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2002 เขาได้นำเอาเกาหลีเหนือมาใส่ไว้ในกลุ่ม "อักษะปีศาจ" (axis of evil) เคียงคู่กับอิหร่านและอิรัก
เธอส่งสัญญาณว่า ไม่มีทางเลยที่สหรัฐฯจะหว่านโปรยความช่วยเหลือให้เกาหลีเหนือ เพียงเพื่อให้โสมแดง "กลับคืนสู่โต๊ะเจรจา" -หรือเพื่อให้เกาหลีเหนือรับปากรับคำให้สัญญาต่างๆ "และแล้วก็ตระบัดสัตย์ไม่รักษาคำมั่น"
ขณะอยู่ที่ภูเก็ต คลินตันเตือนว่า "การถอดถอนสมรรถนะทางนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์แบบชนิดที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก คือหนทางเดินเพียงสายเดียวสำหรับเกาหลีเหนือ" และแม้เธอไม่ถึงกับหวนกลับมาเรียกเกาหลีเหนือว่าเป็นสมาชิกรายหนึ่งของกลุ่ม "อักษะปีศาจ" แต่เธอน่าจะกำลังคิดเช่นนั้นอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความวิตกของสหรัฐฯเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ในอิหร่าน โดยที่เปียงยางนี่เองคือผู้ที่ขายทั้งความชำนาญการในเรื่องขีปนาวุธและตัวขีปนาวุธเองให้แก่เตหะราน
ยิ่งกว่านั้น คลินตันยังทำท่าปรารถนาที่จะเพิ่มประเทศอีกประเทศหนึ่งเข้าไว้ในกลุ่ม "อักษะ" นี้ด้วยซ้ำ นั่นคือ พม่า ซึ่งถูกต้องสงสัยอย่างแรงว่ากำลังมีความทะเยอทะยานด้านนิวเคลียร์อย่างลับๆ และหวังว่าจะได้รับการสนองตอบในเรื่องนี้ด้วยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือ นอกจากนั้นพม่ายังถูกมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายเรือสำหรับการขนส่งขีปนาวุธและข้าวของอุปกรณ์ทางทหารอื่นๆ ของเกาหลีเหนือ เพื่อนำไปขายยังที่อื่น ๆต่อไป
กระนั้นก็ตาม เมื่อเจาะลงไปถึงเบื้องลึกของการพูดจาและท่าทีดังกล่าวเหล่านี้ กลับไม่สามารถบอกได้เลยว่า การประจันหน้ากันเช่นนี้กำลังจะนำไปสู่อะไร ไม่ว่าคลินตันจะพูดอย่างไร เกาหลีเหนือย่อมจะต้องออกมาประณามแบบเป็นกิจวัตรประจำเลย ว่า "เหลวไหลไร้สาระ" ทว่าก็ไม่มีสัญญาณบ่งบอกอะไรเช่นกัน ว่าโสมแดงกำลังจะไปไกลเกินกว่าการทดสอบอาวุธ และจะทุ่มเดิมพันเสี่ยงก่อสงครามเกาหลีครั้งที่สอง หรือแม้เพียงแค่ก่อการปะทะกันในระดับเล็กๆ ขึ้นมา
ไม่มีใครเลยที่ภูเก็ต พูดออกมาอย่างเปิดเผยในเรื่องความกังวลของโสมแดงเกี่ยวกับสุขภาพของคิมจองอิลในเวลานี้ ตลอดจนการต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำในเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม ทัศนะมุมมองที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็คือ ความวิตกเหล่านี้เองที่อยู่เบื้องหลังการสำแดงแสนยานุภาพจำนวนมากของโสมแดงในช่วงหลังๆ นี้
หันมามองด้านสหรัฐฯบ้าง ด้วยเหตุผลต่างๆ หลายประการทว่าผิดแผกไปจากของฝ่ายเปียงยาง ทางวอชิงตันก็ไม่สนใจที่จะเล่นเกมแรงไปไกลเกินกว่าคำพูดดุดันของคลินตันเช่นกัน
ประธานาธิบดีบารัค โอบามานั้น รู้สึกวิตกกว่ามากกับพันธะของสหรัฐฯที่มีอยู่กับอัฟกานิสถานและอิรัค แม้สำหรับประเทศหลังนี้ เขายังคงพูดย้ำว่าสหรัฐฯจะสามารถอนทหารของตนออกไปได้ภายในสิ้นปี 2011
ร่องรอยเบาะแสที่บ่งชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากการประจันหน้ากัน เห็นจะดูได้จากการที่เกาหลีใต้ซื้ออาวุธจากสหรัฐฯในปริมาณที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในปีที่แล้วฝ่ายทหารของเกาหลีใต้นำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯเป็นจำนวนทั้งสิ้น 790 ล้านดอลลาร์ แทบจะไล่ทันตัวเลข 808 ล้านดอลลาร์ที่นำเข้าโดยซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ซื้ออาวุธสหรัฐฯรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากอันดับหนึ่งอย่างอิสราเอล ที่ในปีที่แล้วฝ่ายทหารนำเข้าอาวุธจากสหรัฐฯเป็นมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์
(เก็บความตัดทอนจากเรื่อง Nuclear powers revert to playground taunts ของ Donald Kirk นักหนังสือพิมพ์ที่ทำข่าวเกี่ยวกับเกาหลี และการประจันหน้ากันระหว่างกลุ่มพลังต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี)