เอเอฟพี - เศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย น่าฟื้นขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดตัวได้ในปี 2010 แต่ยังคงมีความหวั่นเกรงว่าพวกเขาจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนกันแค่ไหน ถ้าหากอาการของพวกประเทศเศรษฐกิจใหญ่ๆ ทั่วโลกยังไม่กระเตื้องขึ้น ทั้งนี้ตามรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ที่นำออกเผยแพร่เมื่อวานนี้ (23)
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี ลีจองฮวา กล่าวว่าภาพรวมของเอเชียตะวันออกในปีนี้ยังคง “น่าเป็นห่วง” แต่ก็คาดว่าจะมีการฟื้นตัวในลักษณะรูปตัววี (V) นั่นคือลงต่ำแล้วก็กระเตื้องขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยที่มีจีนเป็นผู้นำหากว่าประเทศทั้งหลายเหล่านี้ยังคงเดินหน้ากระตุ้นความต้องการบริโภคในประเทศต่อไป
“เราเชื่อมั่นว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะมีการฟื้นตัวในลักษณะตัววี ... แต่ปัญหาใหญ่ก็คือมันจะเป็นการกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นระยะยาวหรือไม่ ในส่วนนี่ เป็นเพราะเรากำลังค่อนข้างมองโลกในแง่ร้ายว่า เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่” เขากล่าวกับเอเอฟพีก่อนหน้าการเปิดตัวฉบับล่าสุดของรายงาน “ติดตามเศรษฐกิจเอเชีย” (Asia Economic Monitor) ซึ่งเอดีบีออกทุกๆ ครึ่งปี
“จะเป็นเรื่องลำบากมากๆ เลยที่จะสามารถกลับไปมีแนวโน้มอัตราการเติบโตแบบเดียวกับช่วงก่อนวิกฤต” เขาพูดต่อ
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอดีบีชี้ว่า ถึงแม้จะมีความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นจากภายในเอเชียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีน แต่พวกประเทศในภูมิภาคนี้ก็ยังพึ่งพาตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มากถึง 60%ของการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้าย
เขายังได้ระบุด้วยว่า ตลาดประเทศพัฒนาแล้วเหล่านี้ยังคงไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกง่าย ๆนัก
สำหรับรายงานล่าสุดของเอดีบีนั้น ได้แนะนำให้รัฐบาลใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังต่อไป เพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคในประเทศ โดยมุ่งหนุนให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ๆอยู่รอดได้ รวมทั้งจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
“คำถามก็คือรัฐบาลในเอเชียมีประสิทธิภาพเพียงใดในการระดมทรัพยากรทางด้านการคลังเพิ่มเติม” ลีกล่าว
รายงานของเอดีบีชี้ด้วยว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะความขัดแย้งของเกาหลีเหนือในเรื่องนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ “มีความเป็นไปได้ในระดับต่ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบในระดับใหญ่โต” คือความเสี่ยงใหญ่ในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ไป
เอดีบีกล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ การไหลออกของเงินทุนจากเอเชียไปยังภูมิภาคอื่น ๆเริ่มชะลอตัวลงแล้ว และลีก็กระตุ้นให้นักลงทุนขนาดใหญ่ในเอเชียหันมาลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ลี้ชี้ว่า มีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกนักลงทุนกำลังหวนกลับคืนสู่ความต้องการที่จะเสี่ยงลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ เ แต่เอเชียเองก็จะต้องพัฒนาโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย
ลีบอกด้วยว่า ขณะที่การฟื้นตัวของจีน “จะเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้น” เศรษฐกิจที่เล็กกว่าในภูมิภาคนี้ที่ไม่มีการเปิดเสรีมากนักอย่างเช่น อินโดนีเซียก็กำลังขยายตัวขึ้นไปอีก ทว่าประเทศและดินแดนที่พึ่งพาการส่งออกอย่างเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย น่าจะยังประสบปัญหาอยู่
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี ลีจองฮวา กล่าวว่าภาพรวมของเอเชียตะวันออกในปีนี้ยังคง “น่าเป็นห่วง” แต่ก็คาดว่าจะมีการฟื้นตัวในลักษณะรูปตัววี (V) นั่นคือลงต่ำแล้วก็กระเตื้องขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยที่มีจีนเป็นผู้นำหากว่าประเทศทั้งหลายเหล่านี้ยังคงเดินหน้ากระตุ้นความต้องการบริโภคในประเทศต่อไป
“เราเชื่อมั่นว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียจะมีการฟื้นตัวในลักษณะตัววี ... แต่ปัญหาใหญ่ก็คือมันจะเป็นการกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นระยะยาวหรือไม่ ในส่วนนี่ เป็นเพราะเรากำลังค่อนข้างมองโลกในแง่ร้ายว่า เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่” เขากล่าวกับเอเอฟพีก่อนหน้าการเปิดตัวฉบับล่าสุดของรายงาน “ติดตามเศรษฐกิจเอเชีย” (Asia Economic Monitor) ซึ่งเอดีบีออกทุกๆ ครึ่งปี
“จะเป็นเรื่องลำบากมากๆ เลยที่จะสามารถกลับไปมีแนวโน้มอัตราการเติบโตแบบเดียวกับช่วงก่อนวิกฤต” เขาพูดต่อ
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอดีบีชี้ว่า ถึงแม้จะมีความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นจากภายในเอเชียเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีน แต่พวกประเทศในภูมิภาคนี้ก็ยังพึ่งพาตลาดสหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มากถึง 60%ของการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้าย
เขายังได้ระบุด้วยว่า ตลาดประเทศพัฒนาแล้วเหล่านี้ยังคงไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกง่าย ๆนัก
สำหรับรายงานล่าสุดของเอดีบีนั้น ได้แนะนำให้รัฐบาลใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังต่อไป เพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคในประเทศ โดยมุ่งหนุนให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ๆอยู่รอดได้ รวมทั้งจะต้องมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
“คำถามก็คือรัฐบาลในเอเชียมีประสิทธิภาพเพียงใดในการระดมทรัพยากรทางด้านการคลังเพิ่มเติม” ลีกล่าว
รายงานของเอดีบีชี้ด้วยว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะความขัดแย้งของเกาหลีเหนือในเรื่องนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ “มีความเป็นไปได้ในระดับต่ำ แต่ก็อาจส่งผลกระทบในระดับใหญ่โต” คือความเสี่ยงใหญ่ในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ไป
เอดีบีกล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ การไหลออกของเงินทุนจากเอเชียไปยังภูมิภาคอื่น ๆเริ่มชะลอตัวลงแล้ว และลีก็กระตุ้นให้นักลงทุนขนาดใหญ่ในเอเชียหันมาลงทุนในภูมิภาคนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ลี้ชี้ว่า มีสัญญาณแสดงให้เห็นว่าพวกนักลงทุนกำลังหวนกลับคืนสู่ความต้องการที่จะเสี่ยงลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ เ แต่เอเชียเองก็จะต้องพัฒนาโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่งมากขึ้นด้วย
ลีบอกด้วยว่า ขณะที่การฟื้นตัวของจีน “จะเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้น” เศรษฐกิจที่เล็กกว่าในภูมิภาคนี้ที่ไม่มีการเปิดเสรีมากนักอย่างเช่น อินโดนีเซียก็กำลังขยายตัวขึ้นไปอีก ทว่าประเทศและดินแดนที่พึ่งพาการส่งออกอย่างเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย น่าจะยังประสบปัญหาอยู่