เอเอฟพี - เศรษฐกิจถดถอยในเอเชียน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว และภูมิภาคนี้น่าจะเป็นที่แรกซึ่งสามารถฟื้นตัวไต่ขึ้นจากภาวะชะลอตัว ทั้งนี้เป็นความเห็นของหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)เมื่อวานนี้(2)
อย่างไรก็ตาม ลีจองหวา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเอดีบีเตือนว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่ภูมิภาคแถบนี้จะกลับคืนสู่อัตราการเติบโตในระดับสูงเหมือนปี 2007 หรือก่อนหน้านั้น หากว่าพวกประเทศอุตสาหกรรมมั่งคั่งของโลก ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งรุนแรง
ในการแถลงข่าวที่กรุงมะนิลา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเอดีบี ลีบอกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แล้ว เอเชีย(ที่ยกเว้นญี่ปุ่น) ยังคงสามารถรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ ตลอดช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ถึงแม้จะต่ำลงกว่าเมื่อก่อนก็ตามที
เขากล่าวต่อไปว่า เวลานี้เอดีบีกำลังมองเห็นอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบจาก “การผลิตทางอุตสาหกรรมของไตรมาสต่อไตรมาส” และสามารถสรุปได้ว่า “เอเชียจะฟื้นตัวเร็วกว่าพวกประเทศอุตสาหกรรม”
ลีชี้ว่า การที่รัฐบาลต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ใช้นโยบายการเงินแบบมุ่งกระตุ้นการขยายตัว มีการผ่อนคลายการควบคุมสินเชื่อ และลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยทำให้ชาวเอเชียใช้เงินกันมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เดินต่อไปได้
ขณะเดียวกัน พวกประเทศขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย “ก็ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ซึ่งกลายเป็นแหล่งรองรับการการส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน”
“ตอนนี้เห็นได้ชัดเจนว่า เรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาเป็นการฟื้นตัว แต่คำถามก็ยังมีอยู่ว่าการฟื้นตัวนี้จะเร็วเพียงใด” ลีกล่าวพร้อมกับบอกว่า “ยังไม่มีใครตอบได้อย่างมั่นใจหรอก”
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียแถลงว่า ในวันที่ 22 กันยายนจะออกรายงานฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม สำหรับรายงาน “ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาในเอเชีย” (Asian Development Outlook) ที่เป็นรายงานฉบับหลักของเอดีบี โดยที่รายงานนี้ที่ออกมาเมื่อเดือนมีนาคม ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า พวกประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจละลดต่ำลงเหลือ 3.4% ในปีนี้ เทียบกับ 6.3% ของปี 2008
ลีกล่าวย้ำว่า “การฟื้นตัวในเวลานี้ยังคงไม่แข็งแรงนัก” และรัฐบาลในเอเชียจะต้องไม่ดำเนินนโยบายที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหน่ออ่อนของการฟื้นตัว อีกทั้งควรทบทวนยกเลิกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในเวลานี้ ทันทีที่การฟื้นตัวมีความมั่นคงแล้ว
การจะไต่ขึ้นมาจากวิกฤตนั้นน่าจะยากมาก อันเนื่องมาจาก “การถดถอยโดยพร้อมเพรียงกันอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน” ของพวกประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะในยุโรปที่สถานการณ์ย่ำแย่มากกว่าที่เคยคาดหมายกันเอาไว้
ส่วนในเอเชีย ลีบอกว่า มาเลเซียน่าจะ “ย่ำแย่มากกว่าที่คาดเอาไว้ในเดือนมีนาคม” เนื่องจากพวกอุตสาหกรรมไฮเทคของมาเลเซียนั้นพึ่งพาความต้องการจากต่างประเทศอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศเหล่านั้นก็หดตัวอย่างรุนแรงเพราะภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวนั่นเอง ขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ไม่ได้มีความต้องการสินค้าไฮเทคดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ลีจองหวา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งเอดีบีเตือนว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่ภูมิภาคแถบนี้จะกลับคืนสู่อัตราการเติบโตในระดับสูงเหมือนปี 2007 หรือก่อนหน้านั้น หากว่าพวกประเทศอุตสาหกรรมมั่งคั่งของโลก ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งรุนแรง
ในการแถลงข่าวที่กรุงมะนิลา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเอดีบี ลีบอกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แล้ว เอเชีย(ที่ยกเว้นญี่ปุ่น) ยังคงสามารถรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ ตลอดช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต ถึงแม้จะต่ำลงกว่าเมื่อก่อนก็ตามที
เขากล่าวต่อไปว่า เวลานี้เอดีบีกำลังมองเห็นอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบจาก “การผลิตทางอุตสาหกรรมของไตรมาสต่อไตรมาส” และสามารถสรุปได้ว่า “เอเชียจะฟื้นตัวเร็วกว่าพวกประเทศอุตสาหกรรม”
ลีชี้ว่า การที่รัฐบาลต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ใช้นโยบายการเงินแบบมุ่งกระตุ้นการขยายตัว มีการผ่อนคลายการควบคุมสินเชื่อ และลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยทำให้ชาวเอเชียใช้เงินกันมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เดินต่อไปได้
ขณะเดียวกัน พวกประเทศขนาดใหญ่อย่างจีนและอินเดีย “ก็ยังคงมีอัตราการเติบโตที่ค่อนข้างแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ซึ่งกลายเป็นแหล่งรองรับการการส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน”
“ตอนนี้เห็นได้ชัดเจนว่า เรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาเป็นการฟื้นตัว แต่คำถามก็ยังมีอยู่ว่าการฟื้นตัวนี้จะเร็วเพียงใด” ลีกล่าวพร้อมกับบอกว่า “ยังไม่มีใครตอบได้อย่างมั่นใจหรอก”
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียแถลงว่า ในวันที่ 22 กันยายนจะออกรายงานฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม สำหรับรายงาน “ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาในเอเชีย” (Asian Development Outlook) ที่เป็นรายงานฉบับหลักของเอดีบี โดยที่รายงานนี้ที่ออกมาเมื่อเดือนมีนาคม ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า พวกประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียจะมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจละลดต่ำลงเหลือ 3.4% ในปีนี้ เทียบกับ 6.3% ของปี 2008
ลีกล่าวย้ำว่า “การฟื้นตัวในเวลานี้ยังคงไม่แข็งแรงนัก” และรัฐบาลในเอเชียจะต้องไม่ดำเนินนโยบายที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหน่ออ่อนของการฟื้นตัว อีกทั้งควรทบทวนยกเลิกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้อยู่ในเวลานี้ ทันทีที่การฟื้นตัวมีความมั่นคงแล้ว
การจะไต่ขึ้นมาจากวิกฤตนั้นน่าจะยากมาก อันเนื่องมาจาก “การถดถอยโดยพร้อมเพรียงกันอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน” ของพวกประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะในยุโรปที่สถานการณ์ย่ำแย่มากกว่าที่เคยคาดหมายกันเอาไว้
ส่วนในเอเชีย ลีบอกว่า มาเลเซียน่าจะ “ย่ำแย่มากกว่าที่คาดเอาไว้ในเดือนมีนาคม” เนื่องจากพวกอุตสาหกรรมไฮเทคของมาเลเซียนั้นพึ่งพาความต้องการจากต่างประเทศอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศเหล่านั้นก็หดตัวอย่างรุนแรงเพราะภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวนั่นเอง ขณะที่ตลาดภายในประเทศก็ไม่ได้มีความต้องการสินค้าไฮเทคดังกล่าว