รอยเตอร์ – ประชากรผู้สูงอายุของโลก กำลังเพิ่มขึ้นในอัตรารวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา และในไม่ช้านี้จำนวนประชากรสูงวัยจะมีมากกว่าคนหนุ่มสาวเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะนักวิจัยสหรัฐฯที่นำออกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์(20)
จำนวนประชากรสูงวัยจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านดูแลสุขภาพและเงินชดเชยหลังเกษียณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลพุ่งพรวด ซึ่งอาจส่งผลชะลออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศยากจนและร่ำรวย
จากข้อมูลของสำนักงานสำมโนประชากรของสหรัฐฯ ในช่วงกลางปี 2008 คนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปของโลก มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 506 ล้านคน และจะทะยานขึ้นเป็น 1,300 ล้านคนในปี 2010 หรือเท่ากับ 14% ของประชากรโลกทั้งหมด
“อีกไม่นานนับจากนี้ คนที่อายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนมากกว่าเด็กอายุ 5 ขวบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์” เป็นเนื้อหาตอนหนึ่งของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจัดทำโดย เควิน คินเซลลาและ ว่านเหอ แห่งสำนักงานสำมโนประชากรของสหรัฐฯ
“ความชรากำลังส่งผลกระทบกระเทือนต่อทุกประเทศในทุกส่วนของโลก” ริชาร์ด ซูสแมนแห่งสถาบันความชราแห่งชาติของสหรัฐฯกล่าว สถาบันแห่งนี้เป็นผู้อุดหนุนการทำรายงานฉบับนี้ “ขณะที่มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญในระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศร่ำรวยแล้ว แต่การที่ประชากรอยู่ในวัยชรากันทั่วโลกเช่นนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของพื้นพิภพนี้ และกำลังกลายเป็นการเสนอความท้าทายใหม่ ๆ ที่ยากลำบากอีกด้วย”
รายงานฉบับนี้ยังพบว่า ในประเทศจำนวนมาก คนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเร็วที่สุด โดยรายงานคาดการณ์ว่าประชากรกลุ่มนี้ในระดับโลก จะเพิ่มขึ้นราว 233% ในช่วงระหว่างปี 2008 ถึง 2040
การเพิ่มขึ้นเช่นนี้จะส่งผลกลายเป็นปัญหาหนักสำหรับลูก ๆและหลาน ๆของพวกเขา
“อัตราส่วนคนทำงานต่อคนเกษียณอายุ ที่กำลังมีตัวเลขลดต่ำลงเรื่อยๆ และการที่ผู้คนจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำลังใช้ชีวิตแบบเกษียณอายุนั้น เป็นการสร้างภาระมากขึ้นๆ แก่ระบบการดูแลสุขภาพและระบบบำเหน็จบำนาญที่มีอยู่” รายงานบอก
“ในเวลาอีกไม่กี่ปี เพียงแค่หลังปี 2010 ทั้งจำนวนและอัตราส่วนของคนที่สูงอายุ (โดยเฉพาะคนที่สูงอายุที่สุด นั่นคือตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ และในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก” รายงานกล่าวต่อ
“การเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ประการแรกทีเดียวเป็นผลมาจากการที่โลกมีอัตราการเกิดสูงมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และประการที่สอง ซึ่งจะสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากการที่อัตราการตายของคนวัยชราได้ลดน้อยลง”
โรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคหัวใจ และมะเร็ง ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้คนเสียชีวิตในอันดับต้น ๆต่อไป โดยเฉพาะในคนวัยชรา ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วย และลักษณะเช่นนี้จะมิได้มีเฉพาะแต่ในประเทศอุตสาหกรรมเท่านั้น
“ภายในปี 2040 ประเทศกำลังพัฒนาในปัจจุบันน่าจะมีคนอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 1,000 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 76% ของประชากรทั้งของโลก”
เวลานี้ในแต่ละเดือนจะมีคนอายุ 65 ปีถึง 870,000 คน และใน 10 ปีข้างหน้าทุกๆ เดือนจะมีคนฉลองอายุครบ 65 ปีถึง 1.9 ล้านคน
หากประเทศต่างๆ และธุรกิจทั้งหลายวางแผนได้ถูกต้อง ประชากรที่สูงวัยเพิ่มขึ้นก็จะสร้างโอกาสให้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ikp’koit[6
ทว่ารายงานก็ได้อ้างรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู) ซึ่งระบุว่าต้นทุนของบำเหน็จบำนาญ, การดูแลสุขภาพ, และการดูแลในระยะยาวนั้น จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐพุ่งขึ้นและทำให้อัตราเติบโตของผลผลิตในประเทศลดลง
“หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายแล้ว ก็จะมีความเป็นไปได้ที่ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอียูจะลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030” รายงานชี้
จำนวนประชากรสูงวัยจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านดูแลสุขภาพและเงินชดเชยหลังเกษียณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลพุ่งพรวด ซึ่งอาจส่งผลชะลออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศยากจนและร่ำรวย
จากข้อมูลของสำนักงานสำมโนประชากรของสหรัฐฯ ในช่วงกลางปี 2008 คนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปของโลก มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 506 ล้านคน และจะทะยานขึ้นเป็น 1,300 ล้านคนในปี 2010 หรือเท่ากับ 14% ของประชากรโลกทั้งหมด
“อีกไม่นานนับจากนี้ คนที่อายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีจำนวนมากกว่าเด็กอายุ 5 ขวบเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์” เป็นเนื้อหาตอนหนึ่งของรายงานฉบับนี้ ซึ่งจัดทำโดย เควิน คินเซลลาและ ว่านเหอ แห่งสำนักงานสำมโนประชากรของสหรัฐฯ
“ความชรากำลังส่งผลกระทบกระเทือนต่อทุกประเทศในทุกส่วนของโลก” ริชาร์ด ซูสแมนแห่งสถาบันความชราแห่งชาติของสหรัฐฯกล่าว สถาบันแห่งนี้เป็นผู้อุดหนุนการทำรายงานฉบับนี้ “ขณะที่มีความแตกต่างกันอย่างสำคัญในระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศร่ำรวยแล้ว แต่การที่ประชากรอยู่ในวัยชรากันทั่วโลกเช่นนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของพื้นพิภพนี้ และกำลังกลายเป็นการเสนอความท้าทายใหม่ ๆ ที่ยากลำบากอีกด้วย”
รายงานฉบับนี้ยังพบว่า ในประเทศจำนวนมาก คนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเร็วที่สุด โดยรายงานคาดการณ์ว่าประชากรกลุ่มนี้ในระดับโลก จะเพิ่มขึ้นราว 233% ในช่วงระหว่างปี 2008 ถึง 2040
การเพิ่มขึ้นเช่นนี้จะส่งผลกลายเป็นปัญหาหนักสำหรับลูก ๆและหลาน ๆของพวกเขา
“อัตราส่วนคนทำงานต่อคนเกษียณอายุ ที่กำลังมีตัวเลขลดต่ำลงเรื่อยๆ และการที่ผู้คนจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำลังใช้ชีวิตแบบเกษียณอายุนั้น เป็นการสร้างภาระมากขึ้นๆ แก่ระบบการดูแลสุขภาพและระบบบำเหน็จบำนาญที่มีอยู่” รายงานบอก
“ในเวลาอีกไม่กี่ปี เพียงแค่หลังปี 2010 ทั้งจำนวนและอัตราส่วนของคนที่สูงอายุ (โดยเฉพาะคนที่สูงอายุที่สุด นั่นคือตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ และในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก” รายงานกล่าวต่อ
“การเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ประการแรกทีเดียวเป็นผลมาจากการที่โลกมีอัตราการเกิดสูงมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และประการที่สอง ซึ่งจะสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลจากการที่อัตราการตายของคนวัยชราได้ลดน้อยลง”
โรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคหัวใจ และมะเร็ง ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้คนเสียชีวิตในอันดับต้น ๆต่อไป โดยเฉพาะในคนวัยชรา ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วย และลักษณะเช่นนี้จะมิได้มีเฉพาะแต่ในประเทศอุตสาหกรรมเท่านั้น
“ภายในปี 2040 ประเทศกำลังพัฒนาในปัจจุบันน่าจะมีคนอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 1,000 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 76% ของประชากรทั้งของโลก”
เวลานี้ในแต่ละเดือนจะมีคนอายุ 65 ปีถึง 870,000 คน และใน 10 ปีข้างหน้าทุกๆ เดือนจะมีคนฉลองอายุครบ 65 ปีถึง 1.9 ล้านคน
หากประเทศต่างๆ และธุรกิจทั้งหลายวางแผนได้ถูกต้อง ประชากรที่สูงวัยเพิ่มขึ้นก็จะสร้างโอกาสให้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ikp’koit[6
ทว่ารายงานก็ได้อ้างรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรป อันเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู) ซึ่งระบุว่าต้นทุนของบำเหน็จบำนาญ, การดูแลสุขภาพ, และการดูแลในระยะยาวนั้น จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐพุ่งขึ้นและทำให้อัตราเติบโตของผลผลิตในประเทศลดลง
“หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายแล้ว ก็จะมีความเป็นไปได้ที่ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอียูจะลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030” รายงานชี้