ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเร่งเดินหน้าประชาพิจารณ์กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หวังดันเข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 53 ระบุให้เวลาปรับตัว 2 ปีก่อนมีผลจริงปี 55 เผยหลายฝ่ายหนุนกฎหมายสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นถึง 9 หมื่นล้านลดการพึ่งพารัฐบาลกลาง ย้ำเอาจริงฟันภาษีนักเก็งกำไรตั้งเพดานสูงสุด 2.0% ของมูลค่าที่ดิน
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.ได้จัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ไปตามพื้นที่ต่างๆ กระจายไปทั่วทุกภาคในหลายจังหวัด เช่น สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ และสัปดาห์หน้าจะไปทำประชาพิจารณ์ที่จังหวัดชลบุรี
โดยจะเน้นจัดทำในจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 6 วัน ในการจัดงานชี้แจงทำความเข้าใจให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) และประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละจังหวัด จากนั้นในครั้งสุดท้ายจะเชิญนักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปจัดเสวนา เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จากการจัดประชาพิจารณ์แต่ละครั้งที่ผ่านมา ประชาชนให้การตอบรับค่อนข้างดีมาก และเข้าใจถึงการสนับสนุนให้ภาษีที่ดินฯ เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีคำถามว่า ประชาชนจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่ และต้องทำอย่างไรบ้างในการบริหารจัดการที่ดินของตนเอง ผู้ที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเสียภาษีมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ รัฐจะเริ่มเก็บภาษีเมื่อใด และอัตราเท่าใด พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ นั้น ดีจริงหรือไม่ เป็นต้น
นายสมชัย กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ชี้แจงถึงข้อดีและข้อเสียของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน ให้ประชาชนรับทราบว่า ปัจจุบันนี้ ประชาชนทั่วประเทศกว่า 90% ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ไร่ ขณะที่ประชาชนเพียง 10% เท่านั้นถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่ ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระจายการถือครองที่ดินโดยไม่เป็นธรรม ยังมีความลักลั่นอยู่ หากรัฐบาลไม่มีกลไกมาแก้ปัญหา และในสัดส่วนของผู้มีรายได้สูงถือครองที่ดิน 10% นี้ มีสัดส่วนถึง 75% ที่ถือครองที่ดินโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เป็นเพียงการซื้อที่ดินเปล่าทิ้งไว้ เพื่อเก็งกำไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีระบบภาษีมาดูแลเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันนี้รายได้ของ อปท. ที่จัดเก็บเอง มีเพียง 10% เท่านั้น หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่ ส่วนอีก 90% มาจากการอุดหนุนของงบประมาณจากส่วนกลางของรัฐบาล เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น นิวซีแลนด์ อปท.จัดเก็บรายได้เองได้ถึง 90% ขณะที่มาเลเซีย จัดเก็บรายได้เอง 85% เมื่อ อปท. เป็นผู้จัดเก็บภาษีที่ดินเองโดยไม่ต้องส่งเข้างบประมาณส่วนกลางและบริหารจัดการเงินดังกล่าวเพื่อใช้พัฒนาพื้นที่ของตนเองได้ทันที ซึ่งจะทำให้มีความสามารถจัดเก็บจากปัจจุบันจาก 10% เพิ่มเป็น 70-80% ได้ รายได้เก็บภาษีจะเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาทเป็น 4 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก และหากเก็บเต็มเพดานจะได้กว่า 9 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น ร่างกฎหมายดังกล่าว ทำให้ อปท. จัดเก็บรายได้สัดส่วนที่สูงขึ้น จะทำให้ประชาชนสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง การให้ความสำคัญในการเลือกตั้งตัวแทนเข้ามาบริหารท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น กฎหมายดังกล่าวจะทำให้ทุกคนต้องเสียภาษีที่ดินเหมือนกันหมด โดยมีฐานภาษีที่มีอัตราต่างกันไปตามขนาดและมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ขณะที่อัตราภาษีนั้นจะกำหนดเพดานไว้ตามการใช้ที่ดิน คือ ในเชิงพาณิชย์จะกำหนดเพดานไว้ที่ 0.5% ของมูลค่า
โดยจะมีคณะกรรมการกลางที่จะพิจารณาว่าจะจัดเก็บภาษีอัตราเท่าใด และจะปรับอัตราทุก ๆ 4 ปี เช่น เชิงพาณิชย์อาจคิด 0.2% หากอยู่อาศัยด้วยตนเองคงต้องคิดภาษีน้อยกว่า 0.1% สำหรับที่ดินทำการเกษตรกรรม จะกำหนดเพดานน้อยกว่า 0.05% แต่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะคิดแพงที่สุด และสูงกว่าอัตราในเชิงพาณิชย์ด้วย เช่น หากกำหนดอัตราภาษีในเชิงพาณิชย์ไว้ที่ 0.4% ต้องเก็บภาษีที่ดินเปล่า 0.45 - 0.5% เป็นต้น และหากยังคงปล่อยที่รกร้างว่างเปล่าทิ้งไว้อีก 3 ปี จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว แต่จะไม่เกิน 2% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ทั้งนี้หากร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ แล้ว กระทรวงการคลังกำหนดไว้ว่ากฎหมายภาษีที่ดินจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป โดยยังคงมีช่วงเวลาให้ประชาชนปรับตัวก่อน 2 ปีแรก เพราะจะเริ่มมีผลบังคับจริงใช้ในปี 55 เป็นต้นไป แต่ช่วง 3 ปีแรก ที่เริ่มบังคับใช้นั้น จะให้ อปท. ทุกแห่ง ใช้กฎหมายดังกล่าวแบบขั้นบันได คือ ในปีแรกจะเก็บภาษีเพียง 50% ปีที่ 2 จัดเก็บเพิ่มเป็น 75% และปีที่ 3 เป็นต้นไป จึงจะเก็บภาษีเต็ม 100% ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี อปท.ถึงจะได้เงินจากภาษีที่ดินแบบเต็มรูปแบบ
สำหรับคนจน จะไม่เก็บภาษีด้วยการกำหนดเกณฑ์ว่า จะต้องมีที่ดินถือครองเท่าใด จึงจะไม่ต้องเสียภาษี แต่ขณะนี้ยังไม่สรุปตัวเลขดังกล่าว แต่คนแก่นั้นไม่ยกเว้นให้ เพราะเกรงว่าอาจมีช่องโหว่ทางกฎหมายที่ลูกหลานจะให้เป็นชื่อของผู้สูงอายุแทน เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายภาษี ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมนั้นก็คิดอีกอัตราหนึ่ง และหากมีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ขณะที่ ผู้ที่มีที่ดินว่างเปล่าที่ซื้อเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรนั้น หากเก็บไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 80% จะต้องเสียภาษีแพงมาก ช่วยลดปัญหาการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ลงได้ ซึ่งขณะนี้กรมธนารักษ์ กำลังจัดทำราคาประเมินที่ดิน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี โดยไทยมีที่ดินทั้งประเทศ 30 ล้านแปลง ขณะนี้ประเมินไปแล้ว 5 ล้านแปลง ยังเหลืออีก 25 ล้านแปลง ที่ต้องเร่งประเมินให้แล้วเสร็จก่อนปี 55
ส่วนกรมที่ดินต้องจัดทำแผนที่ดิจิตอลทั่วประเทศให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างรายแปลงทั่วประเทศ คาดว่าเมื่อจัดทำประชาพิจารณ์แล้ว จะให้ รมว.คลัง นำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในเดือน ส.ค. จากนั้นในเดือน ต.ค.-พ.ย. เสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ และเริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีแล้วว่า จะพยายามเสนอกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้สภาฯ พิจารณาให้ทันการประชุมสภาสมัยการประชุมนี้หลังจากได้ประชาพิจารณ์ที่จังหวัดเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว เพราะจากการจัดงานดังกล่าวมาหลายพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.ได้จัดทำประชาพิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...ไปตามพื้นที่ต่างๆ กระจายไปทั่วทุกภาคในหลายจังหวัด เช่น สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี เชียงใหม่ และสัปดาห์หน้าจะไปทำประชาพิจารณ์ที่จังหวัดชลบุรี
โดยจะเน้นจัดทำในจังหวัดหัวเมืองขนาดใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 6 วัน ในการจัดงานชี้แจงทำความเข้าใจให้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) และประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละจังหวัด จากนั้นในครั้งสุดท้ายจะเชิญนักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปจัดเสวนา เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จากการจัดประชาพิจารณ์แต่ละครั้งที่ผ่านมา ประชาชนให้การตอบรับค่อนข้างดีมาก และเข้าใจถึงการสนับสนุนให้ภาษีที่ดินฯ เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีคำถามว่า ประชาชนจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่ และต้องทำอย่างไรบ้างในการบริหารจัดการที่ดินของตนเอง ผู้ที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเสียภาษีมากขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ รัฐจะเริ่มเก็บภาษีเมื่อใด และอัตราเท่าใด พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ นั้น ดีจริงหรือไม่ เป็นต้น
นายสมชัย กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ชี้แจงถึงข้อดีและข้อเสียของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน ให้ประชาชนรับทราบว่า ปัจจุบันนี้ ประชาชนทั่วประเทศกว่า 90% ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ไร่ ขณะที่ประชาชนเพียง 10% เท่านั้นถือครองที่ดินมากกว่า 100 ไร่ ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระจายการถือครองที่ดินโดยไม่เป็นธรรม ยังมีความลักลั่นอยู่ หากรัฐบาลไม่มีกลไกมาแก้ปัญหา และในสัดส่วนของผู้มีรายได้สูงถือครองที่ดิน 10% นี้ มีสัดส่วนถึง 75% ที่ถือครองที่ดินโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เป็นเพียงการซื้อที่ดินเปล่าทิ้งไว้ เพื่อเก็งกำไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีระบบภาษีมาดูแลเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันนี้รายได้ของ อปท. ที่จัดเก็บเอง มีเพียง 10% เท่านั้น หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท คือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่ ส่วนอีก 90% มาจากการอุดหนุนของงบประมาณจากส่วนกลางของรัฐบาล เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น นิวซีแลนด์ อปท.จัดเก็บรายได้เองได้ถึง 90% ขณะที่มาเลเซีย จัดเก็บรายได้เอง 85% เมื่อ อปท. เป็นผู้จัดเก็บภาษีที่ดินเองโดยไม่ต้องส่งเข้างบประมาณส่วนกลางและบริหารจัดการเงินดังกล่าวเพื่อใช้พัฒนาพื้นที่ของตนเองได้ทันที ซึ่งจะทำให้มีความสามารถจัดเก็บจากปัจจุบันจาก 10% เพิ่มเป็น 70-80% ได้ รายได้เก็บภาษีจะเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาทเป็น 4 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ในช่วง 2 ปีแรก และหากเก็บเต็มเพดานจะได้กว่า 9 หมื่นล้านบาท
ดังนั้น ร่างกฎหมายดังกล่าว ทำให้ อปท. จัดเก็บรายได้สัดส่วนที่สูงขึ้น จะทำให้ประชาชนสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง การให้ความสำคัญในการเลือกตั้งตัวแทนเข้ามาบริหารท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น กฎหมายดังกล่าวจะทำให้ทุกคนต้องเสียภาษีที่ดินเหมือนกันหมด โดยมีฐานภาษีที่มีอัตราต่างกันไปตามขนาดและมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ขณะที่อัตราภาษีนั้นจะกำหนดเพดานไว้ตามการใช้ที่ดิน คือ ในเชิงพาณิชย์จะกำหนดเพดานไว้ที่ 0.5% ของมูลค่า
โดยจะมีคณะกรรมการกลางที่จะพิจารณาว่าจะจัดเก็บภาษีอัตราเท่าใด และจะปรับอัตราทุก ๆ 4 ปี เช่น เชิงพาณิชย์อาจคิด 0.2% หากอยู่อาศัยด้วยตนเองคงต้องคิดภาษีน้อยกว่า 0.1% สำหรับที่ดินทำการเกษตรกรรม จะกำหนดเพดานน้อยกว่า 0.05% แต่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า จะคิดแพงที่สุด และสูงกว่าอัตราในเชิงพาณิชย์ด้วย เช่น หากกำหนดอัตราภาษีในเชิงพาณิชย์ไว้ที่ 0.4% ต้องเก็บภาษีที่ดินเปล่า 0.45 - 0.5% เป็นต้น และหากยังคงปล่อยที่รกร้างว่างเปล่าทิ้งไว้อีก 3 ปี จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว แต่จะไม่เกิน 2% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ทั้งนี้หากร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ แล้ว กระทรวงการคลังกำหนดไว้ว่ากฎหมายภาษีที่ดินจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป โดยยังคงมีช่วงเวลาให้ประชาชนปรับตัวก่อน 2 ปีแรก เพราะจะเริ่มมีผลบังคับจริงใช้ในปี 55 เป็นต้นไป แต่ช่วง 3 ปีแรก ที่เริ่มบังคับใช้นั้น จะให้ อปท. ทุกแห่ง ใช้กฎหมายดังกล่าวแบบขั้นบันได คือ ในปีแรกจะเก็บภาษีเพียง 50% ปีที่ 2 จัดเก็บเพิ่มเป็น 75% และปีที่ 3 เป็นต้นไป จึงจะเก็บภาษีเต็ม 100% ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี อปท.ถึงจะได้เงินจากภาษีที่ดินแบบเต็มรูปแบบ
สำหรับคนจน จะไม่เก็บภาษีด้วยการกำหนดเกณฑ์ว่า จะต้องมีที่ดินถือครองเท่าใด จึงจะไม่ต้องเสียภาษี แต่ขณะนี้ยังไม่สรุปตัวเลขดังกล่าว แต่คนแก่นั้นไม่ยกเว้นให้ เพราะเกรงว่าอาจมีช่องโหว่ทางกฎหมายที่ลูกหลานจะให้เป็นชื่อของผู้สูงอายุแทน เพื่อเลี่ยงไม่จ่ายภาษี ขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมนั้นก็คิดอีกอัตราหนึ่ง และหากมีมูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ขณะที่ ผู้ที่มีที่ดินว่างเปล่าที่ซื้อเก็บไว้เพื่อเก็งกำไรนั้น หากเก็บไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ 80% จะต้องเสียภาษีแพงมาก ช่วยลดปัญหาการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ลงได้ ซึ่งขณะนี้กรมธนารักษ์ กำลังจัดทำราคาประเมินที่ดิน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี โดยไทยมีที่ดินทั้งประเทศ 30 ล้านแปลง ขณะนี้ประเมินไปแล้ว 5 ล้านแปลง ยังเหลืออีก 25 ล้านแปลง ที่ต้องเร่งประเมินให้แล้วเสร็จก่อนปี 55
ส่วนกรมที่ดินต้องจัดทำแผนที่ดิจิตอลทั่วประเทศให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างรายแปลงทั่วประเทศ คาดว่าเมื่อจัดทำประชาพิจารณ์แล้ว จะให้ รมว.คลัง นำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในเดือน ส.ค. จากนั้นในเดือน ต.ค.-พ.ย. เสนอเข้าสู่การพิจารณาในสภาฯ และเริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 53 เป็นต้นไป
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ได้หารือกับนายกรัฐมนตรีแล้วว่า จะพยายามเสนอกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้สภาฯ พิจารณาให้ทันการประชุมสภาสมัยการประชุมนี้หลังจากได้ประชาพิจารณ์ที่จังหวัดเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว เพราะจากการจัดงานดังกล่าวมาหลายพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ต่างเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว