เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ได้ปรับประมาณการอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้าเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 1.9 เป็นร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นครั้งแรกของวิกฤติรอบนี้ที่ IMF ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากที่มีการปรับลดลงไปแล้วหลายครั้ง และยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นครั้งแรกของ IMF ที่มีการปรับประมาณการเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการถดถอยของเศรษฐกิจโลกใน 2 ครั้งที่ผ่านมา (ปี 2534 และ2544) ถ้าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เป็นไปตามที่ IMF คาดไว้ ก็จะเป็นการฟื้นตัวที่แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา คือเศรษฐกิจโลกฟื้นได้ด้วยแรงฉุดจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาแทนที่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และปรากฎการณ์นี้อาจจะเป็นการเปลี่ยนทิศทางสู่แนวโน้มใหม่ของโครงสร้างเศรษฐกิจของโลกก็เป็นได้
วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรปต้องทุ่มใช้ทั้งมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน รวมไปถึงมาตรการการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้านมาตรการการเงินหลายประเทศได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนด้านนโยบายการคลัง ก็มีการใช้งบประมาณรวมกันแล้วมีมูลค่าถึงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณร้อยละ 3.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลกในปี 2552 (รวบรวมโดยสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย) IMF ชี้ให้เห็นว่า จากความพยายามดังกล่าวทั้งหมดส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพและมีโอกาสสูงที่จะฟื้นตัวในปี 2553 ทว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างอ่อนแอ
จากรายงานล่าสุด IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวร้อยละ 1.4 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่จะหดตัวร้อยละ 1.3 ขณะที่เศรษฐกิจในปี 2553 จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 2.5 จากที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.9 หรือสูงกว่าระดับเดิมถึงร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างเปราะบางและปัญหาต่างๆยังไม่หมดไป นั่นคือสถาบันการเงินของสหรัฐฯและยุโรปยังไม่อยู่ในสภาวะปกติ ตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯและในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สเปน อังกฤษ ยังอาจจะอยู่ในช่วงขาลง ประเด็นที่น่าสังเกต คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ไม่ได้มาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯและยุโรป แต่มาจากการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ประกอบกับแนวโน้มที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆได้อานิสงค์ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปด้วย
กรณีประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรป ผลจากปัญหาสถาบันการเงินที่ยังคงอยู่ ทำให้ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ IMF จึงคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วโดยรวมจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ในปี 2553 จากที่คาดว่าจะหดตัวถึงร้อยละ 3.8 ในปี 2552 โดยสหรัฐฯจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 จากที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.6 ในปีนี้ ขณะที่สหภาพยุโรปจะหดตัวต่อไปในอัตราร้อยละ0.3 ในปีหน้า จากที่หดตัวร้อยละ 4.8 ในปีนี้
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว IMF คาดว่าญี่ปุ่นจะฟื้นตัวเร็วที่สุดคือในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 จากความมั่นใจของผู้บริโภคที่ดีขึ้น การปรับตัวของสินค้าคงคลัง การใช้มาตรการการคลังและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย ประเทศที่จะฟื้นตามมาคือสหรัฐฯ ซึ่งแม้ว่าจะมีปัญหาแต่ทว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความมั่นใจที่สูงขึ้นและวัฎจักรสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯในครึ่งหลังปีนี้จะมีเสถียรภาพและจะฟื้นตัวในปี 2553 ขณะที่ยุโรปจะฟื้นตัวช้าที่สุด เนื่องจากดัชนีชี้นำต่างๆแสดงถึงการมีเสถียรภาพช้ากว่าภูมิภาคอื่น และตลาดแรงงานยังทรุดตัวลงมาก นอกจากนี้ สถาบันการเงินของยุโรปยังคงมีปัญหามากและรุนแรงกว่าสหรัฐฯ อีกทั้งธุรกิจยังต้องพึ่งระบบธนาคารมากกว่าสหรัฐฯ เศรษฐกิจของยุโรปในปี 2553 จึงยังคงหดตัวอยู่ โดยเฉพาะเยอรมนีและสเปนจะฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น
เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวก่อนประเทศพัฒนาแล้วในส่วนใหญ่ โดยเอเชียจะฟื้นตัวเร็วที่สุดในครึ่งหลังของปี 2552 จากการฟื้นตัวของจีนและอินเดีย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 5.5 ในปี 2552 และร้อยละ 7 ในปี 2553 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ สำหรับประเทศในกลุ่มละตินอเมริกานั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 2.3 ในปี 2553 ฟื้นจากการหดตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2552 ขณะที่เศรษฐกิจของแอฟริกาและตะวันออกกลางจะฟื้นตัวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่นกัน โดยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 และ 3.7 ตามลำดับในปี 2553 ส่วนประเทศกำลังพัฒนากลุ่มอื่นๆจะฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มที่กล่าวมาแล้ว
โดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียนำโดยจีนและอินเดียจะเป็นกลไกสำคัญในการฉุดดึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่ประเทศพัฒนาแล้วเหมือนในอดีต การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่มนี้ส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศในละตินอเมริกา แอฟริกาและตะวันออกกลาง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นฟื้นตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางกลุ่มได้แก่ ยุโรปตะวันออก ยุโรปกลาง ตลอดจน กลุ่ม CIS ก็ยังมีปัญหาในปีหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในรูปแบบเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาจะมีบทบาทมากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลกในอนาคต
bunluasak.p@cimbthai.com
วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรปต้องทุ่มใช้ทั้งมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน รวมไปถึงมาตรการการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้านมาตรการการเงินหลายประเทศได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำที่สุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนด้านนโยบายการคลัง ก็มีการใช้งบประมาณรวมกันแล้วมีมูลค่าถึงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณร้อยละ 3.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจโลกในปี 2552 (รวบรวมโดยสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย) IMF ชี้ให้เห็นว่า จากความพยายามดังกล่าวทั้งหมดส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพและมีโอกาสสูงที่จะฟื้นตัวในปี 2553 ทว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างอ่อนแอ
จากรายงานล่าสุด IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะหดตัวร้อยละ 1.4 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่จะหดตัวร้อยละ 1.3 ขณะที่เศรษฐกิจในปี 2553 จะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 2.5 จากที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.9 หรือสูงกว่าระดับเดิมถึงร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างเปราะบางและปัญหาต่างๆยังไม่หมดไป นั่นคือสถาบันการเงินของสหรัฐฯและยุโรปยังไม่อยู่ในสภาวะปกติ ตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯและในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สเปน อังกฤษ ยังอาจจะอยู่ในช่วงขาลง ประเด็นที่น่าสังเกต คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ไม่ได้มาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯและยุโรป แต่มาจากการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ประกอบกับแนวโน้มที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆได้อานิสงค์ และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปด้วย
กรณีประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรป ผลจากปัญหาสถาบันการเงินที่ยังคงอยู่ ทำให้ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ IMF จึงคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วโดยรวมจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ในปี 2553 จากที่คาดว่าจะหดตัวถึงร้อยละ 3.8 ในปี 2552 โดยสหรัฐฯจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 จากที่คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.6 ในปีนี้ ขณะที่สหภาพยุโรปจะหดตัวต่อไปในอัตราร้อยละ0.3 ในปีหน้า จากที่หดตัวร้อยละ 4.8 ในปีนี้
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว IMF คาดว่าญี่ปุ่นจะฟื้นตัวเร็วที่สุดคือในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 จากความมั่นใจของผู้บริโภคที่ดีขึ้น การปรับตัวของสินค้าคงคลัง การใช้มาตรการการคลังและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย ประเทศที่จะฟื้นตามมาคือสหรัฐฯ ซึ่งแม้ว่าจะมีปัญหาแต่ทว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความมั่นใจที่สูงขึ้นและวัฎจักรสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯในครึ่งหลังปีนี้จะมีเสถียรภาพและจะฟื้นตัวในปี 2553 ขณะที่ยุโรปจะฟื้นตัวช้าที่สุด เนื่องจากดัชนีชี้นำต่างๆแสดงถึงการมีเสถียรภาพช้ากว่าภูมิภาคอื่น และตลาดแรงงานยังทรุดตัวลงมาก นอกจากนี้ สถาบันการเงินของยุโรปยังคงมีปัญหามากและรุนแรงกว่าสหรัฐฯ อีกทั้งธุรกิจยังต้องพึ่งระบบธนาคารมากกว่าสหรัฐฯ เศรษฐกิจของยุโรปในปี 2553 จึงยังคงหดตัวอยู่ โดยเฉพาะเยอรมนีและสเปนจะฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น
เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวก่อนประเทศพัฒนาแล้วในส่วนใหญ่ โดยเอเชียจะฟื้นตัวเร็วที่สุดในครึ่งหลังของปี 2552 จากการฟื้นตัวของจีนและอินเดีย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 5.5 ในปี 2552 และร้อยละ 7 ในปี 2553 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ สำหรับประเทศในกลุ่มละตินอเมริกานั้น IMF คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 2.3 ในปี 2553 ฟื้นจากการหดตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2552 ขณะที่เศรษฐกิจของแอฟริกาและตะวันออกกลางจะฟื้นตัวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์เช่นกัน โดยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 และ 3.7 ตามลำดับในปี 2553 ส่วนประเทศกำลังพัฒนากลุ่มอื่นๆจะฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มที่กล่าวมาแล้ว
โดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียนำโดยจีนและอินเดียจะเป็นกลไกสำคัญในการฉุดดึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ไม่ใช่ประเทศพัฒนาแล้วเหมือนในอดีต การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่มนี้ส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศในละตินอเมริกา แอฟริกาและตะวันออกกลาง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นฟื้นตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางกลุ่มได้แก่ ยุโรปตะวันออก ยุโรปกลาง ตลอดจน กลุ่ม CIS ก็ยังมีปัญหาในปีหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในรูปแบบเช่นนี้ ชี้ให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาจะมีบทบาทมากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลกในอนาคต
bunluasak.p@cimbthai.com