ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (16 ก.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ร่วมพิธีรับมอบเอกสารรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการสมานฉันฑ์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังรับมอบรายงานฯว่า ขอบคุณ ประธานสภาและคณะกรรมการฯที่จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมา คงจะได้ว่าตนเป็นคน ปรารภขอให้ประธานสภาฯกรุณาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการเรื่องนี้หลังจากที่บ้านเมืองของเราประสบเหตุการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรงต่อเนื่อง มาหลายครั้ง รายงานฉบับนี้จากที่รับฟังการสรุปก็มีเรื่องซึ่งครอบคลุมไปหลายประเด็น ที่เห็นชัดเจนเฉพาะหน้าที่สุดเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระบวนการการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังมีการเสนอไว้เป็นลักษณะที่เป็นระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว นอกจากนั้นคงจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบการบริหาร เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องวัฒนะธรรมทางการเมืองและพฤติกรรมของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนจะได้ปรึกษาหารือกับประธานรัฐสภา เนื่องจากนี้ รายงานนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และเป็นรายงานซึ่งประธานสภาฯเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพราะฉะนั้นกำลังปรึกษาหารือกันว่า จะทำอย่างไรให้สภาผู้แทนฯ มีโอกาสพิจารณาเรื่องนี้ ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการเมื่อมีการเปิดสมัยประชุม โดยจะปรึกษาว่ารูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด ในส่วนของรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของฝ่ายบริหารก็จะดำเนินการคู่ขนานกันไปในการนำเรื่องนี้ไปปรึกษา หารือในครม.
ผมอยากจะนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วน ผมเข้าใจดีว่ากว่าจะมาเป็นรายงานได้ คณะกรรมการและประธานคงเหน็ดเหนื่อย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความคิดเห็นในเรื่องนี้ยังมีความแตกต่างหลากหลายอยู่พอสมควร และต้องยอมรับว่า บางครั้งความแตกต่างนั้นแม้ว่าจะเป็นเพียงประเด็นหรือสองประเด็น แต่ก็เป็นอาจนำไปสู่ ความขัดแย้งได้อีกเช่นเดียวกันฉะนั้นการดำเนินการของฝ่ายบริหารและการประสานงานใกล้ชิดกับฝ่ายสภา ก็จะคำนึงถึงความละเอียดอ่อนตรงนี้ ก็จะได้มีการพิจารณา ถึงรูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมในการที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป
นายอภิสิทธ์ กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลมีเจตนาอย่างแน่วแน่ที่จะให้การเมืองของเราเข้าสู่ระบบที่เป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่ายและพร้อมๆ กันไปนั้นเป็นการเมืองซึ่งจะมีการแก้ไขปฏิรูปปัญหาต่างๆซึ่ง ได้ดำรงมาเป็นเวลาช้านาน ภายใต้เจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ขอยืนยันที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป
นายชัย ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ในเดือน ส.ค.นี้ จะปรึกษากับนายกรัฐมนตรี และวุฒิสภา ว่า จะมีการดำเนินการอย่างไร โดยจะนำข้อเสนอของคณะกรรมการฯมาศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียด เพราะเท่าที่ดู แต่ละเรื่องมีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องทำอย่างรอบครอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการประชุมสภาฯสมัยที่จะถึงนี้จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เสร็จเลยหรือไม่ นายชัย ปฏิเสธว่าไม่ใช่อย่างนั้นแต่เป็นการเอาข้อเสนอ มาพิจารณา ว่าจะทำอย่างไรให้เป็นรูปธรรม และต้องรอผลการทำงานของคณะกรรมการฯ ที่ดูเรื่องการสลายการชุมนุมด้วย เพื่อจะได้นำมาสรุปร่วมกัน ในคราวเดียว
ทุกเรื่องมีความละเอียดอ่อนมาก ดูอย่างที่ท่านวิทยา (บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย) ก็ส่งเรื่องให้รัฐบาลยุติการออกอาการรายการหนึ่งที่มีในช่อง11 มันมีปัญหาอะไรร้อยแปดไปหมด ถ้าอย่างนั้นผมก็กราบเรียนอดีตนายกรัฐมนตรี หยุดโฟนอิน และทางนี้ก็หยุด ก็หมดเรื่องกัน
ส่วนหากแก้ไขรัฐธรรมนูญช้าจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลงอนได้ นายชัย กล่าวสวนทันควัฯว่า ไม่หรอก เพราะส.ส.ก็ไม่มีใครอยากให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่กันทั้งนั้น เพราะว่ามันเหนื่อยอยากอยู่กันยาวๆ เขามีความคิดเห็นกันอย่างนั้น และยืนยันว่า ไม่ใช่การซื้อเวลาแน่นอน แต่เพื่อการประนีประนอมให้อยู่ด้วยกัน อย่าลืมว่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็ต้องมีการยุบสภาทันที
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคภูมิใจไทย และอดีตกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย กล่าวว่าที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น คงแก้ลำบาก เนื่องจากจะเกิดแรงต่อต้าน และเกิดความขัดแย้ง จึงเห็นว่า ควรแก้ไขเพียงประเด็นเดียวและใช้เวลาสั้นนที่สุด 7 วัน คือ แก้ไขประเด็นเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เรียงเบอร์เป็นวันแมนวันโหวต จะทำให้สะดวกราบรื่นกว่า เพราะทุกพรรค เห็นด้วย พรรคเล็กสามารถแจ้งเกิดได้ง่าย และเป็นการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน จะทำให้ ส.ส.ดูแลประชาชนได้ทั่วถึงมากกว่าเขตการเลือกตั้งใหญ่ ประเด็นนี้ก็ไม่ได้แก้ไข เพื่อนักการเมือง จะไม่ถูกแรงต่อต้าน แต่ถ้าหากเปิดให้มีนิรโทษกรรมนักการเมือง ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองก็จะกระทบคนหลายกลุ่ม ทำให้เกิดความเจ็บปวด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังรับมอบรายงานฯว่า ขอบคุณ ประธานสภาและคณะกรรมการฯที่จัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมา คงจะได้ว่าตนเป็นคน ปรารภขอให้ประธานสภาฯกรุณาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการเรื่องนี้หลังจากที่บ้านเมืองของเราประสบเหตุการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรงต่อเนื่อง มาหลายครั้ง รายงานฉบับนี้จากที่รับฟังการสรุปก็มีเรื่องซึ่งครอบคลุมไปหลายประเด็น ที่เห็นชัดเจนเฉพาะหน้าที่สุดเกี่ยวข้องกับเรื่องของกระบวนการการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังมีการเสนอไว้เป็นลักษณะที่เป็นระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว นอกจากนั้นคงจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย เกี่ยวข้องกับเรื่องของระบบการบริหาร เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องวัฒนะธรรมทางการเมืองและพฤติกรรมของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนจะได้ปรึกษาหารือกับประธานรัฐสภา เนื่องจากนี้ รายงานนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก และเป็นรายงานซึ่งประธานสภาฯเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพราะฉะนั้นกำลังปรึกษาหารือกันว่า จะทำอย่างไรให้สภาผู้แทนฯ มีโอกาสพิจารณาเรื่องนี้ ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการเมื่อมีการเปิดสมัยประชุม โดยจะปรึกษาว่ารูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด ในส่วนของรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของฝ่ายบริหารก็จะดำเนินการคู่ขนานกันไปในการนำเรื่องนี้ไปปรึกษา หารือในครม.
ผมอยากจะนำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วน ผมเข้าใจดีว่ากว่าจะมาเป็นรายงานได้ คณะกรรมการและประธานคงเหน็ดเหนื่อย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความคิดเห็นในเรื่องนี้ยังมีความแตกต่างหลากหลายอยู่พอสมควร และต้องยอมรับว่า บางครั้งความแตกต่างนั้นแม้ว่าจะเป็นเพียงประเด็นหรือสองประเด็น แต่ก็เป็นอาจนำไปสู่ ความขัดแย้งได้อีกเช่นเดียวกันฉะนั้นการดำเนินการของฝ่ายบริหารและการประสานงานใกล้ชิดกับฝ่ายสภา ก็จะคำนึงถึงความละเอียดอ่อนตรงนี้ ก็จะได้มีการพิจารณา ถึงรูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมในการที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป
นายอภิสิทธ์ กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลมีเจตนาอย่างแน่วแน่ที่จะให้การเมืองของเราเข้าสู่ระบบที่เป็นที่ยอมรับของทุกๆ ฝ่ายและพร้อมๆ กันไปนั้นเป็นการเมืองซึ่งจะมีการแก้ไขปฏิรูปปัญหาต่างๆซึ่ง ได้ดำรงมาเป็นเวลาช้านาน ภายใต้เจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขก็ขอยืนยันที่จะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป
นายชัย ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ในเดือน ส.ค.นี้ จะปรึกษากับนายกรัฐมนตรี และวุฒิสภา ว่า จะมีการดำเนินการอย่างไร โดยจะนำข้อเสนอของคณะกรรมการฯมาศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียด เพราะเท่าที่ดู แต่ละเรื่องมีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องทำอย่างรอบครอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าในการประชุมสภาฯสมัยที่จะถึงนี้จะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เสร็จเลยหรือไม่ นายชัย ปฏิเสธว่าไม่ใช่อย่างนั้นแต่เป็นการเอาข้อเสนอ มาพิจารณา ว่าจะทำอย่างไรให้เป็นรูปธรรม และต้องรอผลการทำงานของคณะกรรมการฯ ที่ดูเรื่องการสลายการชุมนุมด้วย เพื่อจะได้นำมาสรุปร่วมกัน ในคราวเดียว
ทุกเรื่องมีความละเอียดอ่อนมาก ดูอย่างที่ท่านวิทยา (บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย) ก็ส่งเรื่องให้รัฐบาลยุติการออกอาการรายการหนึ่งที่มีในช่อง11 มันมีปัญหาอะไรร้อยแปดไปหมด ถ้าอย่างนั้นผมก็กราบเรียนอดีตนายกรัฐมนตรี หยุดโฟนอิน และทางนี้ก็หยุด ก็หมดเรื่องกัน
ส่วนหากแก้ไขรัฐธรรมนูญช้าจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลงอนได้ นายชัย กล่าวสวนทันควัฯว่า ไม่หรอก เพราะส.ส.ก็ไม่มีใครอยากให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่กันทั้งนั้น เพราะว่ามันเหนื่อยอยากอยู่กันยาวๆ เขามีความคิดเห็นกันอย่างนั้น และยืนยันว่า ไม่ใช่การซื้อเวลาแน่นอน แต่เพื่อการประนีประนอมให้อยู่ด้วยกัน อย่าลืมว่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็ต้องมีการยุบสภาทันที
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคภูมิใจไทย และอดีตกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย กล่าวว่าที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น คงแก้ลำบาก เนื่องจากจะเกิดแรงต่อต้าน และเกิดความขัดแย้ง จึงเห็นว่า ควรแก้ไขเพียงประเด็นเดียวและใช้เวลาสั้นนที่สุด 7 วัน คือ แก้ไขประเด็นเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เรียงเบอร์เป็นวันแมนวันโหวต จะทำให้สะดวกราบรื่นกว่า เพราะทุกพรรค เห็นด้วย พรรคเล็กสามารถแจ้งเกิดได้ง่าย และเป็นการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน จะทำให้ ส.ส.ดูแลประชาชนได้ทั่วถึงมากกว่าเขตการเลือกตั้งใหญ่ ประเด็นนี้ก็ไม่ได้แก้ไข เพื่อนักการเมือง จะไม่ถูกแรงต่อต้าน แต่ถ้าหากเปิดให้มีนิรโทษกรรมนักการเมือง ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองก็จะกระทบคนหลายกลุ่ม ทำให้เกิดความเจ็บปวด