ASTVผู้จัดการรายวัน- บีโอไอเผยครึ่งปีแรกปีนี้ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 465 โครงการมูลค่า 1.83 แสนล้านบาทมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 7% บอร์ดบีโอไอวันนี้เตรียมพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 4 กิจการมูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ) เปิดเผยว่า บอร์ดบีโอไอวันนี้(15ก.ค.) จะรับทราบการรายงานเกี่ยวกับภาวะการขอรับส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรกปี 52 โดยมีการยื่นขอรับส่งเสริมฯจำนวนทั้งสิ้น 465 โครงการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 596 โครงการหรือลดลง 22% ส่วนมูลค่าการลงทุนที่ยื่นขอรวม 183,700 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7%ที่มีมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 197,200 ล้านบาท
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้สนใจขอรับส่งเสริมการลงทุนมากสุด ช่วง 6 เดือนแรก คือ อุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่า 140,600 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีมูลค่า 80,500 ล้านบาท หรือเพิ่มข้น 75% อันดับ 2 เป็นอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่า 14,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีมูลค่า 13,300 ล้านบาท หรือเพ่มขึ้น 11% อันดับ 3 เป็น อุตสาหกรรมโลหะ เคร่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าลงทุนรวม 12,300 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 18,000 ล้านบาท หรือลดลง 32%
นอกจากนี้ที่ประชุมจะพิจารณาโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 4 โครงการรวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 7,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการผลิตขวดพลาสติกของบริษัทโออิชิ เทรดดิ้งส์ จำกัด ลงทุนประมาณ 1,430 ล้านบาทตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี 2.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทสยามโซล่าส์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ลงทุนประมาณ 2,400กว่าล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี 3. กิจการขนส่งและเดินเรือทะเลของบริษัททาสโก้ ชิปปิ้ง จำกัด เงินลงทุนประมาณ 844 ล้านบาท และ 4. กิจการบริการทดสอบด้านวิทยาศาสตร์โครงสร้างแทนขุดเจาะปิโตรเลียมของบริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ลงทุนประมาณ 2,333 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า บอร์ดยังจะพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายการนำเข้าเครื่องจักรที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อการอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษให้กับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดินโดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงมาตรการลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนตามมาตรา 30 ส่วนของการผลิตรถยนต์ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากลหรืออีโคคาร์ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ) เปิดเผยว่า บอร์ดบีโอไอวันนี้(15ก.ค.) จะรับทราบการรายงานเกี่ยวกับภาวะการขอรับส่งเสริมการลงทุนครึ่งปีแรกปี 52 โดยมีการยื่นขอรับส่งเสริมฯจำนวนทั้งสิ้น 465 โครงการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 596 โครงการหรือลดลง 22% ส่วนมูลค่าการลงทุนที่ยื่นขอรวม 183,700 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7%ที่มีมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 197,200 ล้านบาท
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้สนใจขอรับส่งเสริมการลงทุนมากสุด ช่วง 6 เดือนแรก คือ อุตสาหกรรมบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่า 140,600 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีมูลค่า 80,500 ล้านบาท หรือเพิ่มข้น 75% อันดับ 2 เป็นอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่า 14,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มีมูลค่า 13,300 ล้านบาท หรือเพ่มขึ้น 11% อันดับ 3 เป็น อุตสาหกรรมโลหะ เคร่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าลงทุนรวม 12,300 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 18,000 ล้านบาท หรือลดลง 32%
นอกจากนี้ที่ประชุมจะพิจารณาโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 4 โครงการรวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 7,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการผลิตขวดพลาสติกของบริษัทโออิชิ เทรดดิ้งส์ จำกัด ลงทุนประมาณ 1,430 ล้านบาทตั้งอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี 2.โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทสยามโซล่าส์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ลงทุนประมาณ 2,400กว่าล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี 3. กิจการขนส่งและเดินเรือทะเลของบริษัททาสโก้ ชิปปิ้ง จำกัด เงินลงทุนประมาณ 844 ล้านบาท และ 4. กิจการบริการทดสอบด้านวิทยาศาสตร์โครงสร้างแทนขุดเจาะปิโตรเลียมของบริษัท เมอร์เมด ออฟชอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ลงทุนประมาณ 2,333 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า บอร์ดยังจะพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายการนำเข้าเครื่องจักรที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อการอื่นๆ เป็นกรณีพิเศษให้กับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดินโดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงมาตรการลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนตามมาตรา 30 ส่วนของการผลิตรถยนต์ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากลหรืออีโคคาร์ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส