ตราด - บริษัทที่ปรึกษาขุดเจาะปิโตรเลียมแหล่งกฤษณา รับฟังความคิดเห็นชาวตราด ก่อนดำเนินการขุดเจาะสำรวจ เจ้าท่าฯ ตราด จึ้ ตั้งบริษัทควบคุมการปฏิบัติงาน
เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (23 ก.ย.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลาง จ.ตราด นักวิจัยจากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นไวรอนเม็นทอล แมนเน็จเมนท์ จำกัด หรือ ไออีเอ็ม ที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาของบริษัท เพิร์ล ออย ออฟชอร์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของแปลงสัมปทานขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสำรวจหมายเลข G2/48 หรือ แหล่งกฤษณา ได้นำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มานำเสนอให้กับประชาชนชาวตราด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กร ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ก่อนดำเนินการขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล ตามขั้นตอนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมทั้งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 มีนายชลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.ตราดเป็นประธานในการดำเนินการ
หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษา ได้นำเสนอรายงานผลวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลของแหล่งกฤษณาแล้ว โดยระบุถึงปัญหาที่จะเกิดผลกระทบจากการขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมในทะเล จะมีผลกระทบในเรื่องของคุณภาพน้ำทะเล คุณภาพชีวิต รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ทรัพยากรทางด้านชีวภาพ รวมทั้งปัญหาที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การพุ่งของปิโตรเลียม รวมทั้งการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
นายสุรชัย บุรพนนทชัย หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำ จ.ตราด ได้ตั้งข้อสังเกตของปัญหาการดำเนิน การตามขั้นตอนทีบริษัทที่ปรึกษา ได้นำเสนอปัญหาที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะสำรวจว่าจะเกิดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้มีการศึกษาไว้ ปัญหานี้ทางบริษัทควรจะมีบริษัทที่ควบคุม การดำเนินการเพื่อตรวจสอบ การดำเนินการของบริษัท ว่า ได้มีการดำเนินการหรือไม่เพราะไม่มั่นใจว่าบริษัทจะดำเนินการตามที่ระบุไว้หรือไม่ เนื่องจากที่แท่นขุดเจาะอยู่ห่างไกลจากฝั่ง อีกทังทางบริษัทก็ไม่ต้องการให้ใครเขาไปควบคุม จึงต้องขอให้บริษัทได้ดำเนินการจ้างบริษัทที่ปรึกษา มาดำเนินการในเรืองนี้ให้โปร่งใส
ทางด้าน นายธีรศักดิ์ จันทรเนตร ปลัด อบจ.ตราด กล่าวว่า ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อครั้งที่แล้วของทางบริษัท ซึ่งเป็นแปลงสัมปทานอีกแปลงหนึ่ง ก็มีการตั้งข้อสังเกตในลักษณะเดียวกัน บริษัทกับยินยอมที่จะให้มีการดำเนินการ และรับว่า สามารถดำเนินการได้ แต่ในการประชุมครั้งนี้ กลับระบุว่า บุคคลที่จะเข้าไปตรวจสอบ ต้องเป็นบุคคลที่ สผ.ได้กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดไม่มั่นใจในการดำเนินการว่า บริษัทมีจุดยืนในการ ทำงานแค่ไหน
ส่วน นายชลอ สรุปว่า ขอให้บริษัทนำความคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการให้เกิดความชัดเจน เพื่อเราจะได้ไม่เกิดปัญหาวามรู้สึกที่ไม่เป็นผลดีต่อบริษัท จังหวัดยอมรับว่า การขุดเจาะปิโตรเลียมมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่การดำเนินการดังกล่าวก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนที่อยู่ใกล้กับแท่นขุดเจาะด้วย
เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (23 ก.ย.) ที่ห้องประชุมตราดสีทอง ศาลากลาง จ.ตราด นักวิจัยจากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นไวรอนเม็นทอล แมนเน็จเมนท์ จำกัด หรือ ไออีเอ็ม ที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาของบริษัท เพิร์ล ออย ออฟชอร์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของแปลงสัมปทานขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสำรวจหมายเลข G2/48 หรือ แหล่งกฤษณา ได้นำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มานำเสนอให้กับประชาชนชาวตราด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กร ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ก่อนดำเนินการขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล ตามขั้นตอนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รวมทั้งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 มีนายชลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าราชการ จ.ตราดเป็นประธานในการดำเนินการ
หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษา ได้นำเสนอรายงานผลวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเลของแหล่งกฤษณาแล้ว โดยระบุถึงปัญหาที่จะเกิดผลกระทบจากการขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมในทะเล จะมีผลกระทบในเรื่องของคุณภาพน้ำทะเล คุณภาพชีวิต รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ทรัพยากรทางด้านชีวภาพ รวมทั้งปัญหาที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การพุ่งของปิโตรเลียม รวมทั้งการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
นายสุรชัย บุรพนนทชัย หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำ จ.ตราด ได้ตั้งข้อสังเกตของปัญหาการดำเนิน การตามขั้นตอนทีบริษัทที่ปรึกษา ได้นำเสนอปัญหาที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะสำรวจว่าจะเกิดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้มีการศึกษาไว้ ปัญหานี้ทางบริษัทควรจะมีบริษัทที่ควบคุม การดำเนินการเพื่อตรวจสอบ การดำเนินการของบริษัท ว่า ได้มีการดำเนินการหรือไม่เพราะไม่มั่นใจว่าบริษัทจะดำเนินการตามที่ระบุไว้หรือไม่ เนื่องจากที่แท่นขุดเจาะอยู่ห่างไกลจากฝั่ง อีกทังทางบริษัทก็ไม่ต้องการให้ใครเขาไปควบคุม จึงต้องขอให้บริษัทได้ดำเนินการจ้างบริษัทที่ปรึกษา มาดำเนินการในเรืองนี้ให้โปร่งใส
ทางด้าน นายธีรศักดิ์ จันทรเนตร ปลัด อบจ.ตราด กล่าวว่า ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อครั้งที่แล้วของทางบริษัท ซึ่งเป็นแปลงสัมปทานอีกแปลงหนึ่ง ก็มีการตั้งข้อสังเกตในลักษณะเดียวกัน บริษัทกับยินยอมที่จะให้มีการดำเนินการ และรับว่า สามารถดำเนินการได้ แต่ในการประชุมครั้งนี้ กลับระบุว่า บุคคลที่จะเข้าไปตรวจสอบ ต้องเป็นบุคคลที่ สผ.ได้กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดไม่มั่นใจในการดำเนินการว่า บริษัทมีจุดยืนในการ ทำงานแค่ไหน
ส่วน นายชลอ สรุปว่า ขอให้บริษัทนำความคิดเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการให้เกิดความชัดเจน เพื่อเราจะได้ไม่เกิดปัญหาวามรู้สึกที่ไม่เป็นผลดีต่อบริษัท จังหวัดยอมรับว่า การขุดเจาะปิโตรเลียมมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่การดำเนินการดังกล่าวก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนที่อยู่ใกล้กับแท่นขุดเจาะด้วย