ASTVผู้จัดการรายวัน - กสิกรฯจับมือ 2 องค์กร "ISMAD-TTA" จัดโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวเอสเอ็มอี จัดแพ็คเก็จเพิ่มความสะดวกด้านการรับ-จ่ายเงินคิดค่าฟีในอัตราพิเศษ พร้อมจัดอบรมแนวทางการลดต้นทุนอย่างถูกต้องเพื่อรับมือช่วงยอดขายตก และการใช้ ICT ช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดในระยะยาว
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันที่ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลให้อยู่ในภาวะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยจะมีจำนวน 12.5 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 14% ซึ่งการลดลงดังกล่าวส่งผลกระทบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและย่อม ซึ่งในส่วนนี้ธนาคารจึงร่วมกับ 2 องค์กร ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (TTA) ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวเอสเอ็มอี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านธุรกิจท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งบริการด้านการเงิน ความรู้ และการจัดการธุรกิจ
โดยในส่วนของความช่วยเหลือด้านการเงิน ธนาคารกสิกรไทยนำเสนอแพ็คเกจบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-จ่ายเงินของธุรกิจ ด้วยบริการครบวงจรเพื่อธุรกิจท่องเที่ยวกสิกรไทย ดังนี้ บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ ได้แก่ บริการร้านค้ารับบัตรเครดิตและบัตรเดบิต บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตกสิกรไทย บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ บริการโอนเงินต่าง ๆ บริการเช็คเรียกเก็บเงินต่างจังหวัด และบริการอื่น ๆ แบบครบวงจรของธุรกิจ
ด้านบริการจ่ายสบาย ๆ ได้แก่ บริการระบบจัดการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์กสิกรไทย บริการโอนเงินระหว่างบัญชีบริษัท บริการโอนเงินให้บุคคลที่สาม บริการโอนเงินอัตโนมัติให้บุคคลอื่นที่มีบัญชีกสิกรไทย บริการโอนเงินเพื่อบุคคลอื่นที่ไม่มีบัญชีกสิกรไทย โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงาน และบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย
"ที่ผ่านมาธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มาจนถึงสถานการณ์ทางการเมืองในภายในประเทศ และล่าสุดไข้หวัดนก 2009 ทำให้ธุรกิจซบเซาลงมาก ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำคือ การเพิ่มความคล่องตัวทางการเงิน ซึ่งเป็นส่วนที่ธนาคารได้จัดบริการเป็นแพ็คเก็จแล้วลดค่าธรรมเนียมให้"
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องมีการดูแลบริหารต้นทุนในส่วนอื่นๆด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทางสถาบัน ISMED จะมีเจ้าหน้าที่ในการให้คำแนะนำถึงแนวทางที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ประกอบการมักแก้ปัญหาด้วยการลดต้นทุนที่ไม่ถูกวิธี เช่น การลดคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร ลดคุณภาพการให้บริการ หรือปลดพนักงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความเข้าใจ จนสามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
และในด้านระบบงานไอซีทีทางสมาคม TTA จะส่งทีมที่ปรึกษาและวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระบบงานไอซีที เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการนำซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยบริหารธุรกิจ พัฒนาระบบบัญชี และอื่นๆที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ ซึ่งในช่วงที่ธุรกิจซบเซาก็อาจจะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการจะหันมาพัฒนาองค์กรของตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจในระยะยาว
สำหรับโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวเอสเอ็มอี เป็นโครงการที่จะสามารถช่วยเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจทองเที่ยวเอสเอ็มอีได้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ และคาดหมายว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 1,000 ราย
นายปกรณ์กล่าวอีกว่า สินเชื่อที่ธนาคารให้กับธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบันอยู่ระดับที่ไม่สูงนักประมาณ 18,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าอัตราการเติบโตในปีนี้ที่ 7% ซึ่งแม้ว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะไม่ค่อยขอสินเชื่อเพิ่ม แต่ในปีนี้ยังมีโรงแรมบางส่วนที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบกับคาดว่าในไตรมาส 4 ปีนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวจะเริ่มตัวขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซันและเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวฝั่งยุโรปจะเริ่มเข้ามา
ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีโดยรวมของธนาคารนั้น เริ่มขยับเพิ่มขึ้นบ้างแล้วหลังจากที่หดตัวลงในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวลดลง โดยปัจุบันยอดสินเชื่ออยุ่ในระดับทรงตัวหรือยังไม่มีอัตราการเติบโต ขณะที่ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)อยู่ในระดับ 4% ซึ่งถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากธนาคารมีการดูแลและปรับโครงสร้างหนี้มาโดยตลอด
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันที่ธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลให้อยู่ในภาวะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยจะมีจำนวน 12.5 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 14% ซึ่งการลดลงดังกล่าวส่งผลกระทบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและย่อม ซึ่งในส่วนนี้ธนาคารจึงร่วมกับ 2 องค์กร ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (TTA) ร่วมกันจัดทำโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวเอสเอ็มอี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านธุรกิจท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งบริการด้านการเงิน ความรู้ และการจัดการธุรกิจ
โดยในส่วนของความช่วยเหลือด้านการเงิน ธนาคารกสิกรไทยนำเสนอแพ็คเกจบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-จ่ายเงินของธุรกิจ ด้วยบริการครบวงจรเพื่อธุรกิจท่องเที่ยวกสิกรไทย ดังนี้ บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ ได้แก่ บริการร้านค้ารับบัตรเครดิตและบัตรเดบิต บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตกสิกรไทย บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ บริการโอนเงินต่าง ๆ บริการเช็คเรียกเก็บเงินต่างจังหวัด และบริการอื่น ๆ แบบครบวงจรของธุรกิจ
ด้านบริการจ่ายสบาย ๆ ได้แก่ บริการระบบจัดการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์กสิกรไทย บริการโอนเงินระหว่างบัญชีบริษัท บริการโอนเงินให้บุคคลที่สาม บริการโอนเงินอัตโนมัติให้บุคคลอื่นที่มีบัญชีกสิกรไทย บริการโอนเงินเพื่อบุคคลอื่นที่ไม่มีบัญชีกสิกรไทย โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงาน และบริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ และอื่น ๆ อีกมากมาย
"ที่ผ่านมาธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว มาจนถึงสถานการณ์ทางการเมืองในภายในประเทศ และล่าสุดไข้หวัดนก 2009 ทำให้ธุรกิจซบเซาลงมาก ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำคือ การเพิ่มความคล่องตัวทางการเงิน ซึ่งเป็นส่วนที่ธนาคารได้จัดบริการเป็นแพ็คเก็จแล้วลดค่าธรรมเนียมให้"
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องมีการดูแลบริหารต้นทุนในส่วนอื่นๆด้วย ซึ่งในส่วนนี้ทางสถาบัน ISMED จะมีเจ้าหน้าที่ในการให้คำแนะนำถึงแนวทางที่ถูกต้อง เนื่องจากผู้ประกอบการมักแก้ปัญหาด้วยการลดต้นทุนที่ไม่ถูกวิธี เช่น การลดคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร ลดคุณภาพการให้บริการ หรือปลดพนักงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความเข้าใจ จนสามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
และในด้านระบบงานไอซีทีทางสมาคม TTA จะส่งทีมที่ปรึกษาและวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระบบงานไอซีที เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการนำซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยบริหารธุรกิจ พัฒนาระบบบัญชี และอื่นๆที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ได้ ซึ่งในช่วงที่ธุรกิจซบเซาก็อาจจะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการจะหันมาพัฒนาองค์กรของตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจในระยะยาว
สำหรับโครงการเสริมศักยภาพธุรกิจท่องเที่ยวเอสเอ็มอี เป็นโครงการที่จะสามารถช่วยเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจทองเที่ยวเอสเอ็มอีได้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ และคาดหมายว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 1,000 ราย
นายปกรณ์กล่าวอีกว่า สินเชื่อที่ธนาคารให้กับธุรกิจท่องเที่ยวในปัจจุบันอยู่ระดับที่ไม่สูงนักประมาณ 18,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าอัตราการเติบโตในปีนี้ที่ 7% ซึ่งแม้ว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะไม่ค่อยขอสินเชื่อเพิ่ม แต่ในปีนี้ยังมีโรงแรมบางส่วนที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบกับคาดว่าในไตรมาส 4 ปีนี้ธุรกิจการท่องเที่ยวจะเริ่มตัวขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซันและเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวฝั่งยุโรปจะเริ่มเข้ามา
ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอีโดยรวมของธนาคารนั้น เริ่มขยับเพิ่มขึ้นบ้างแล้วหลังจากที่หดตัวลงในช่วงไตรมาสแรกปรับตัวลดลง โดยปัจุบันยอดสินเชื่ออยุ่ในระดับทรงตัวหรือยังไม่มีอัตราการเติบโต ขณะที่ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)อยู่ในระดับ 4% ซึ่งถือว่าไม่มากนัก เนื่องจากธนาคารมีการดูแลและปรับโครงสร้างหนี้มาโดยตลอด