xs
xsm
sm
md
lg

เอสเอ็มอีแบงก์ ช่วยวินิจฉัยธุรกิจหวังลดเสี่ยง-เอ็นพีแอลน้อยลง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

        
เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือ ISMED และสสว. จัดทำโครงการวินิจฉัยธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อกับวิสาหกิจ หวังช่วยลดความเสี่ยง และลดเอ็นพีแอลลงได้ พร้อมเผยความคืบหน้ากรณีออกตราสาร FRCD จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ว่าจะโมฆะหรือไม่ แต่ยืนยันยินดีจ่าย 100%
        
         นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยถึง การลงนามร่วมกัน ใน “โครงการวินิจฉัยธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อกับวิสาหกิจ” ระหว่างเอสเอ็มอีแบงก์ กับสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ว่า โครงการดังกล่าว เป็นนำระบบวินิจฉัยธุรกิจจากทั่วโลกที่มีคุณภาพมาคัดสรรประมาณ 40 ระบบ และได้คัดเลือกระบบของประเทศในแถบอียู ที่มีประสิทธิภาพ นำร่องการใช้งานจริงไปแล้วประมาณ 1,500 กิจการ ซึ่งได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจ
        
         “หลังจากที่เราได้มีการนำระบบดังกล่าวมามาใช้นั้น ทั้งตัวผู้ประกอบการเองและทางธนาคาร ก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ ช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้ โดยในช่วงแรกจะนำร่องใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ กลุ่มอาหาร ซึ่งถือเป็นกลุ่มดาวรุ่ง กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ซึ่งทั้ง 5 กลุ่มสินค้า ถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพพร้อมแข่งขัน ซึ่งในเบื้องต้นทางเอสเอ็มอีแบงก์ จะจัดส่งรายชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 30 ราย ให้กับทาง ISMED เพื่อทำการวิเคราะห์กิจการของบริษัทนั้นๆ ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินธุรกิจใดบ้าง” กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์กล่าว
        
         ทั้งนี้คาดว่าจากโครงการดังกล่าว จะช่วยทำให้หนี้เอ็นพีแอลลดลงได้ระดับหนึ่ง เพราะมีระบบที่ดีที่เข้ามาช่วยพิจารณาความเสี่ยงก่อนปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ เพราะจากที่ผ่านมาเอสเอ็มอีไม่มีคนแนะนำ แต่โครงการนี้ทาง ISMED จะช่วยเหลือในการหาตลาดใหม่ให้ด้วย
        
         สำหรับปัญหาภายในเอสเอ็มอีแบงก์ ในกรณีที่ออกตราสาร FRCD จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยนำอัตราดอกเบี้ยไปทำสวอปพิเศษกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ประเมินภาพที่แท้จริง และทำเกิดอำนาจ ซึ่งอาจทำให้กระทรวงการคลังต้องจ่ายค่าเสียหายกว่า 3,000 ล้านบาท นั้น ทางแบงก์ยินดีที่จะจ่ายค่าเสียหายให้ทั้งหมด 100% หากพิจาณาแล้วว่าหลังจากที่มีคนนำไปทำอนุพันธ์ซับซ้อนไม่เป็นโมฆะ
        
         นอกจากนี้ จากกรณีที่ทางเอสเอ็มอีแบงก์ได้ขออนุมัติการขอเพิ่มทุนไปยังนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อีก 3,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1,500 ล้านบาทเพื่อให้ครบตามจำนวนยอดเพิ่มทุนเดิมที่ยังขาดอยู่ และขอเพิ่มทุนใหม่อีก 1,500 ล้านบาท รวมถึงขอเงินช่วยสนับสนุนอีก 1,000 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยโดยตรงแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั้น ซึ่งต้องรอคำตอบในวันที่ 21 พ.ค. นี้ อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวนายพงษ์ศักดิ์ ไม่ได้คาดหวังมากนักแต่หากได้รับการเพิ่มทุนตามที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องไปก็จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับทางแบงก์ได้        
กำลังโหลดความคิดเห็น