ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมศุลกากรส่งเรื่องดีเอสไอดำเนินคดีบริษัทเอกชนเลี่ยงภาษีเหล็กซิลิคอน แม้ศาลภาษีอากรกลางระบุชัด’ยูไนเต็ดคอยล์เซ็นเตอร์’ไม่หลบเลี่ยงจ่ายภาษี คาดหวังกลบสินบนนำจับตัวเงินสูงกว่าพันล้าน
แหล่งข่าวในกรมศุลกากร เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาให้บริษัท ยูไนเต็ดคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด ในฐานะโจทก์เป็นผู้ชนะในคดีที่ถูกกรมศุลกากรและกรมสรรพากรในฐานะจำเลย กล่าวหาว่า หลบเลี่ยงภาษีเหล็กซิลิคอน ซึ่งจะต้องชำระค่าปรับเป็นสองเท่าของอากรที่ขาดค่าภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมจำนวนกว่า 685 ล้านบาท ขณะนี้ได้ส่งผลต่อกรมศุลกากรอย่างมาก
ล่าสุด คณะกรรมการอุทธรณ์เปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ที่มีนายอุทิศ ธรรมวาทิน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เป็นประธานได้มีมติให้ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนดังกล่าวในทันที และขณะนี้ ดีเอสไอได้ออกหมายเรียกผู้บริหารของเอกชนมาไต่สวนในสัปดาห์หน้า ซึ่งการกระทำดังกล่าวของกรมศุลกากรและดีเอสไอ มีการตั้งข้อสังเกตว่า จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ระบุชัดว่า เอกชนไม่มีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่
“ในข้อเท็จจริง กรมศุลฯจะต้องหยุดดำเนินการทุกอย่างในเรื่องนี้ เพราะศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาชัดเจนว่า การประเมินอากรศุลกากรของกรมฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบริษัทฯเอกชนไม่ได้มีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีและสำแดงหลักฐานเท็จในการนำเข้าเหล็กซิลิคอน อีกทั้ง ไม่พบของกลางในขณะจับกุมทั้งที่เป็นคดีอาญา ดังนั้น กรมศุลฯจะต้องรอกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลฎีกาให้แล้วเสร็จเสียก่อน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า คดีภาษีเหล็กซิลิคอนมีปัญหายาวนานกว่า 6 ปี และมีผู้ประกอบการนำเข้าเหล็กซิลิคอนจำนวน 7 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น ได้ถูกกรมศุลกากรในยุคที่มีนายชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นอธิบดี ได้ถูกจับกุมและกล่าวหาว่า มีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีและต้องชำระเบี้ยปรับและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท โดยมีเงินรางวัลนำจับในสัดส่วน 55 % หรือจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาทให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสและเจ้าหน้าที่ผู้เข้าตรวจค้นและจับกุม
โดยขณะนี้มีการระบุว่า ผู้ที่ได้รับสินบนนำจับกว่า 30 % หรือวงเงินร่วม 1,000 ล้านบาทเป็นผู้ใหญ่ระดับสูงในกรมศุลกากร ส่วนที่เหลือในสัดส่วนอีก 25 % ได้มีการจัดสรรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจับกุมและผู้แจ้งเบาะแสไปแล้ว
แหล่งข่าวในกรมศุลกากร เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาให้บริษัท ยูไนเต็ดคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด ในฐานะโจทก์เป็นผู้ชนะในคดีที่ถูกกรมศุลกากรและกรมสรรพากรในฐานะจำเลย กล่าวหาว่า หลบเลี่ยงภาษีเหล็กซิลิคอน ซึ่งจะต้องชำระค่าปรับเป็นสองเท่าของอากรที่ขาดค่าภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มรวมจำนวนกว่า 685 ล้านบาท ขณะนี้ได้ส่งผลต่อกรมศุลกากรอย่างมาก
ล่าสุด คณะกรรมการอุทธรณ์เปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ที่มีนายอุทิศ ธรรมวาทิน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร เป็นประธานได้มีมติให้ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนดังกล่าวในทันที และขณะนี้ ดีเอสไอได้ออกหมายเรียกผู้บริหารของเอกชนมาไต่สวนในสัปดาห์หน้า ซึ่งการกระทำดังกล่าวของกรมศุลกากรและดีเอสไอ มีการตั้งข้อสังเกตว่า จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ระบุชัดว่า เอกชนไม่มีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่
“ในข้อเท็จจริง กรมศุลฯจะต้องหยุดดำเนินการทุกอย่างในเรื่องนี้ เพราะศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาชัดเจนว่า การประเมินอากรศุลกากรของกรมฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบริษัทฯเอกชนไม่ได้มีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีและสำแดงหลักฐานเท็จในการนำเข้าเหล็กซิลิคอน อีกทั้ง ไม่พบของกลางในขณะจับกุมทั้งที่เป็นคดีอาญา ดังนั้น กรมศุลฯจะต้องรอกระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลฎีกาให้แล้วเสร็จเสียก่อน”
แหล่งข่าวกล่าวว่า คดีภาษีเหล็กซิลิคอนมีปัญหายาวนานกว่า 6 ปี และมีผู้ประกอบการนำเข้าเหล็กซิลิคอนจำนวน 7 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น ได้ถูกกรมศุลกากรในยุคที่มีนายชวลิต เศรษฐเมธีกุล เป็นอธิบดี ได้ถูกจับกุมและกล่าวหาว่า มีการหลีกเลี่ยงการชำระภาษีและต้องชำระเบี้ยปรับและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท โดยมีเงินรางวัลนำจับในสัดส่วน 55 % หรือจำนวนกว่า 1,600 ล้านบาทให้แก่ผู้แจ้งเบาะแสและเจ้าหน้าที่ผู้เข้าตรวจค้นและจับกุม
โดยขณะนี้มีการระบุว่า ผู้ที่ได้รับสินบนนำจับกว่า 30 % หรือวงเงินร่วม 1,000 ล้านบาทเป็นผู้ใหญ่ระดับสูงในกรมศุลกากร ส่วนที่เหลือในสัดส่วนอีก 25 % ได้มีการจัดสรรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจับกุมและผู้แจ้งเบาะแสไปแล้ว