ASTV ผู้จัดการรายวัน - ธปท.ได้ช่องปรับปรุงรูปแบบพันธบัตรใหม่ หลังประชาชนแห่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์คลัง หันเน้นอายุขนาดกลาง พร้อมใช้กลไกลนี้ดูแลตลาดไม่ให้ผลตอบแทนแกว่งเกินไป และสร้างสมดุลในตลาดให้ดีขึ้น ย้ำไม่ใช่แนวทางออกพันธบัตรเพิ่ม เผยในปัจจุบันยังไม่มีแผนออกพันธบัตรออมทรัพย์มาแข่งกับคลัง ระบุครึ่งหลังปีนี้ ภาคเอกชนยังระดมทุนออกหุ้นกู้กว่าแสนล้านน้อยกว่าครึ่งปีแรก
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.กำลังพิจารณาปรับรูปแบบการออกพันธบัตรใหม่ หลังจากที่ความต้องการซื้อพันธบัตรในตลาดยังอยู่ในระดับสูง และส่วนใหญ่ตลาดมีความต้องการพันธบัตรอายุขนาดกลางมากขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 5 ปี และ 7 ปี จากปัจจุบันที่ธปท.มีการออกพันธบัตรที่มีอายุ 15 วัน ถึง 3 ปี
"การปรับรูปแบบครั้งนี้ไม่ใช่จะเป็นการส่งสัญญาณว่าธปท.จะออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นในตลาด ซึ่งไม่ต้องการสร้างแรงกดดันต่อตลาดและผลตอบแทนตราสารหนี้ในอนาคต แต่เราพิจารณาด้านซับพลายและดีมานส์สมดุลมากขึ้น ซึ่งธปท.มองว่าด้านดีมานส์ในตลาดยังมีอยู่ ขณะที่ด้านซัพพลาย แม้มีการออกมาเพิ่มขึ้น แต่ดีมานส์ยังมีอยู่มากกว่า จึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งรักษาผลตอบแทนในตลาดไม่ให้แกว่งเกินไป"นางผ่องเพ็ญกล่าว
ย้ำไม่ออกพันธบัตรออมทรัพย์แข่งกับคลัง
ทั้งนี้ แม้ในปัจจุบันภาครัฐมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์มามาก ส่วนธปท.เองจะออกพันธบัตรประเภทนี้หรือไม่นั้นจะพิจารณาด้านความต้องการซื้อในตลาดเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้มองว่ารัฐบาลยังมีแผนออกอยู่จึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกัน แต่ควรมีการแบ่งๆ กันออกไป
ผลตอบแทนรัฐไม่กดดันผลตอบแทนตลาด
นอกจากนี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรกระทรวงการคลังที่ออกมาสู่ตลาดในปัจจุบันจะสูงกว่าผลตอบแทนในตลาดไม่ได้กดดันให้ผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยอมรับว่าในช่วงแรกผลตอบแทนอาจเพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลังจากกระทรวงการคลังประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ผลตอบแทนกลับมาลดลง ถือว่าเป็นช่วงปกติ ขณะเดียวกัน ธปท.เองเน้นขายให้แก่สถาบันการเงิน ส่วนคลังเน้นลูกค้ารายย่อย จึงเป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน
คาดครึ่งหลังภาคเอกชนระดมทุนน้อย
ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คาดว่าปริมาณหุ้นกู้ในระบบลดลงเหลือกว่า 1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกที่มีการออกหุ้นกู้กว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งมีการทยอยออกหุ้นกู้จำนวนมากนับตั้งแต่ปีก่อน อย่างไรก็ตาม มองว่าภาคเอกชนยังมีแนวโน้มออกหุ้นกู้อยู่จากความต้องการที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาตลาดนี้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นจังหวะที่ดีให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้นและผลกำไรที่ดีขึ้น
อนึ่ง สายตลาดการเงินของธปท.แจ้งว่า ล่าสุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ในระบบมียอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งสิ้น 4.23 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 1.96 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.78 แสนล้านบาท พันธบัตรธปท.จำนวน 1.45 ล้านล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.66 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 2.84 แสนล้านบาท
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.กำลังพิจารณาปรับรูปแบบการออกพันธบัตรใหม่ หลังจากที่ความต้องการซื้อพันธบัตรในตลาดยังอยู่ในระดับสูง และส่วนใหญ่ตลาดมีความต้องการพันธบัตรอายุขนาดกลางมากขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 5 ปี และ 7 ปี จากปัจจุบันที่ธปท.มีการออกพันธบัตรที่มีอายุ 15 วัน ถึง 3 ปี
"การปรับรูปแบบครั้งนี้ไม่ใช่จะเป็นการส่งสัญญาณว่าธปท.จะออกพันธบัตรเพิ่มขึ้นในตลาด ซึ่งไม่ต้องการสร้างแรงกดดันต่อตลาดและผลตอบแทนตราสารหนี้ในอนาคต แต่เราพิจารณาด้านซับพลายและดีมานส์สมดุลมากขึ้น ซึ่งธปท.มองว่าด้านดีมานส์ในตลาดยังมีอยู่ ขณะที่ด้านซัพพลาย แม้มีการออกมาเพิ่มขึ้น แต่ดีมานส์ยังมีอยู่มากกว่า จึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งรักษาผลตอบแทนในตลาดไม่ให้แกว่งเกินไป"นางผ่องเพ็ญกล่าว
ย้ำไม่ออกพันธบัตรออมทรัพย์แข่งกับคลัง
ทั้งนี้ แม้ในปัจจุบันภาครัฐมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์มามาก ส่วนธปท.เองจะออกพันธบัตรประเภทนี้หรือไม่นั้นจะพิจารณาด้านความต้องการซื้อในตลาดเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้มองว่ารัฐบาลยังมีแผนออกอยู่จึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกัน แต่ควรมีการแบ่งๆ กันออกไป
ผลตอบแทนรัฐไม่กดดันผลตอบแทนตลาด
นอกจากนี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรกระทรวงการคลังที่ออกมาสู่ตลาดในปัจจุบันจะสูงกว่าผลตอบแทนในตลาดไม่ได้กดดันให้ผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยอมรับว่าในช่วงแรกผลตอบแทนอาจเพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลังจากกระทรวงการคลังประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ผลตอบแทนกลับมาลดลง ถือว่าเป็นช่วงปกติ ขณะเดียวกัน ธปท.เองเน้นขายให้แก่สถาบันการเงิน ส่วนคลังเน้นลูกค้ารายย่อย จึงเป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน
คาดครึ่งหลังภาคเอกชนระดมทุนน้อย
ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คาดว่าปริมาณหุ้นกู้ในระบบลดลงเหลือกว่า 1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกที่มีการออกหุ้นกู้กว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งมีการทยอยออกหุ้นกู้จำนวนมากนับตั้งแต่ปีก่อน อย่างไรก็ตาม มองว่าภาคเอกชนยังมีแนวโน้มออกหุ้นกู้อยู่จากความต้องการที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาตลาดนี้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นจังหวะที่ดีให้สภาพคล่องเพิ่มขึ้นและผลกำไรที่ดีขึ้น
อนึ่ง สายตลาดการเงินของธปท.แจ้งว่า ล่าสุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ในระบบมียอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งสิ้น 4.23 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 1.96 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.78 แสนล้านบาท พันธบัตรธปท.จำนวน 1.45 ล้านล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.66 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 2.84 แสนล้านบาท