นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า การประชุม ครม. วานนี้ (9 ก.ค.) ได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จากการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่ได้ใช้ในการช่วยเหลือ ผู้โดยสารตกค้างและอื่นๆ ในช่วงที่มีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ตามนัยมติ ครม.วันที่ 9 ธ.ค.51 วงเงินทั้งสิ้น 8,096,025 บาท โดยให้กระทรวงคมนาคมเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในส่วนของงบกลางตามมติครม. 9 ธ.ค. 2551
ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการให้ความช่วย เหลือนักท่องเที่ยว ตกค้างตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 671,628,910.75 บาท ของบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) และสายการบินต่างๆ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ลูกค้าตามภารกิจ และความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือบริษัทนั้นๆ รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือตามนัยมติครม.ดังกล่าว จึงควรที่หน่วยงานหรือบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ยังรับทราบผลเสียหายจากการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 18,932,594,271บาท ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเรียกร้อง ค่าชดเชยจากผู้ก่อความเสียหายตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่ากระทรวงคมนาคม ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ในการเยียวยาผู้ประสบวิกฤติด้านการท่องเที่ยว และค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ ในเหตุการณ์สนามบินถูกปิดล้อม ของทั้ง 5 หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานเอกชน จำนวน 679,724,935.75 บาท และค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ไว ในเบื้องต้น จำนวน 18,943 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 19,612,319,206.75 บาท
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี และผอ.สำนักงบประมาณ ได้พิจารณาให้เฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงให้แก่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งสำนักงบฯเห็นว่ามีตัวเลขอยู่ที่ 8,096,025 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้เฉพาะ ขสมก. บริษัท ขนส่ง จำกัด บริษัท วิทยุการบิน บริษัท ท่าอากาศยานไทย ท่าอากาศยานอู่ตะเภา และศูนย์นิทรรศการการประชุมไบเทค เท่านั้นส่วนค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ และความเสียหาย ขององค์กรตามที่เสนอมาเป็นเรื่องควาเมสียหายขององค์กรเอง ดังนั้นองค์กรน่าที่จะเป็นฝ่ายรับภาระได้เอง
ขณะที่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒนในฐานะประธานบอร์ด การบินไทย ได้พยายามชี้แจงว่า ทางบริษัการบินไทยเองมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึง 570,427,790.68 บาท ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ได้แซวนายอำพลว่าพูดในฐานะเลขาฯสภาพัฒน์ หรือบอร์ดการบินไทย ซึ่งในที่สุด นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ บริษัท การบินไทยกลับไปดูรายละเอียดข้อเท้จจริงเพื่อนำเสนอต่อ ครม.ใหม่อีกครั้ง
ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการให้ความช่วย เหลือนักท่องเที่ยว ตกค้างตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 671,628,910.75 บาท ของบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) และสายการบินต่างๆ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ลูกค้าตามภารกิจ และความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือบริษัทนั้นๆ รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือตามนัยมติครม.ดังกล่าว จึงควรที่หน่วยงานหรือบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ยังรับทราบผลเสียหายจากการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 18,932,594,271บาท ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเรียกร้อง ค่าชดเชยจากผู้ก่อความเสียหายตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่ากระทรวงคมนาคม ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ในการเยียวยาผู้ประสบวิกฤติด้านการท่องเที่ยว และค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ ในเหตุการณ์สนามบินถูกปิดล้อม ของทั้ง 5 หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานเอกชน จำนวน 679,724,935.75 บาท และค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ไว ในเบื้องต้น จำนวน 18,943 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 19,612,319,206.75 บาท
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี และผอ.สำนักงบประมาณ ได้พิจารณาให้เฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงให้แก่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งสำนักงบฯเห็นว่ามีตัวเลขอยู่ที่ 8,096,025 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้เฉพาะ ขสมก. บริษัท ขนส่ง จำกัด บริษัท วิทยุการบิน บริษัท ท่าอากาศยานไทย ท่าอากาศยานอู่ตะเภา และศูนย์นิทรรศการการประชุมไบเทค เท่านั้นส่วนค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้ และความเสียหาย ขององค์กรตามที่เสนอมาเป็นเรื่องควาเมสียหายขององค์กรเอง ดังนั้นองค์กรน่าที่จะเป็นฝ่ายรับภาระได้เอง
ขณะที่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒนในฐานะประธานบอร์ด การบินไทย ได้พยายามชี้แจงว่า ทางบริษัการบินไทยเองมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงถึง 570,427,790.68 บาท ขณะที่ นายกรัฐมนตรี ได้แซวนายอำพลว่าพูดในฐานะเลขาฯสภาพัฒน์ หรือบอร์ดการบินไทย ซึ่งในที่สุด นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ บริษัท การบินไทยกลับไปดูรายละเอียดข้อเท้จจริงเพื่อนำเสนอต่อ ครม.ใหม่อีกครั้ง