ASTVผู้จัดการรายวัน – ถิรไทย เทรดวอร์แรนต์วันแรกจำนวน 67 ล้านหน่วย กำหนดราคาใช้สิทธิหุ้นละ 3 บาท คาดได้เงินกว่า 200 ล้านบาท หวังใช้เป็นทุนรองรับการขยายงาน เล็งเพิ่มส่วนงานส่งออกเป็น 45% ฟุ้งปีนี้กวาดรายได้ตามเป้า 2.6 พันล้านบาท จากงานที่มีในมือกว่า 2.2 พันล้านบาท
นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT เปิดเผยถึง ว่าใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เมื่อ 14 พ.ค. เพื่อใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญครั้งที่ 1 (TRT-W1) จำนวน 67,547,500 หน่วย อายุ 2 ปี นับจากวันที่ออกวอร์แรนต์ ซึ่งใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ทุกๆ 6 เดือน และกำหนดราคาใช้สิทธิหุ้นละ 3 บาท จะเข้าซื้อขายวันนี้ ( 9 กรกฎาคม 52 ) เป็นวันแรก คาดว่าจะได้รับเงินจากการแปลงวอร์แรนต์กว่า 200 ล้านบาท
โดยเงินที่ได้จะใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน และรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่และยังช่วยสร้างฐานะทางการเงินให้มั่นคง โดยตั้งเป้า 2 ปีข้างหน้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ( D/E RATIO ) ลดลงเหลือ 1 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.3-2 เท่า
สำหรับปีนี้บริษัทมั่นใจว่ารายได้จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 2,600 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้งานในมือ (Back Log) ที่มีอยู่มูลค่ากว่า 2,200 ล้านบาท ส่วนของผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 2/52 คาดว่าจะทำได้ใก้ลเคียงกับไตรมาส 1/52 ที่ผ่านมา และบริษัทก็พยายามที่จะรักษาอัตราการเติบโตของกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ในปีนี้ใกล้เคียงกีบปีก่อนที่ 20-25%
ทั้งนี้รายได้หลักปีนี้จะมาจากงานภาครัฐ เอกชน และส่งออกต่างประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 33% เท่าๆกัน ซึ่งไตรมาส2 บริษัทได้รับงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ 300 MVA แรงดัน 230 Kv จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2 ตัว โดยมีมูลค่าโครงการกว่า 200 ล้านบาท คาดสามารถรับรู้รายได้ในปีหน้า
นอกจากนี้บริษัทมีงานอยู่ระหว่างการดำเนินงานหลายโครงการ อาทิ งานการไฟฟ้านครหลวง ที่มูลค่างาน 176 ล้านบาท งานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่างาน 210 ล้านบาท งานไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มูลค่างาน 21 ล้านบาท โครงการ Hi-Tech Systems ประเทศอินเดีย มูลค่างาน 129 ล้านบาท และโครงการStone & Webster ประเทศสิงคโปร์ มูลค่างาน 108 ล้านบาท คาดว่าปีนี้บริษัทน่าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% และตลาดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาวไปได้อีก
" แม้เศรษฐกิจโลกจะมีการผันแปรไปตามสภาพ แต่บริษัทเราก็ถือว่ายังอยู่ในสภาพที่โชคดีกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะด้วยความที่ธุรกิจเรายังอยู่ในประเภทสาธารณูปโภคที่ยังมีความจำเป็นของประเทศและภูมิภาค ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวของภาคการไฟฟ้า ในส่วนการส่งออกก็ยังคงมีการขยายไปเรื่อยๆ ตามอาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียใต้" นายสัมพันธ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกต่างประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 40-45% จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 33% เนื่องจากตลาดในประเทศมีอัตราการเติบโตจำกัด ขณะตลาดต่างประเทศค่อนข้างกว้างขวางกว่าและยังขยายไปได้อีกไกล โดยบริษัทฯจะมุ่งเน้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยจะเน้นในส่วนของสินค้าหม้อแปลงขนาดใหญ่ ซึ่งอนาคตรายได้จากหม้อแปลงขนาดใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของตลาด ซึ่งน่าจะมีสัดส่วนไม่เกิน 20% ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากหม้อแปลงขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 10-20% ต่อปี
นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT เปิดเผยถึง ว่าใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เมื่อ 14 พ.ค. เพื่อใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญครั้งที่ 1 (TRT-W1) จำนวน 67,547,500 หน่วย อายุ 2 ปี นับจากวันที่ออกวอร์แรนต์ ซึ่งใช้สิทธิแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ทุกๆ 6 เดือน และกำหนดราคาใช้สิทธิหุ้นละ 3 บาท จะเข้าซื้อขายวันนี้ ( 9 กรกฎาคม 52 ) เป็นวันแรก คาดว่าจะได้รับเงินจากการแปลงวอร์แรนต์กว่า 200 ล้านบาท
โดยเงินที่ได้จะใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน และรองรับการขยายตัวของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่และยังช่วยสร้างฐานะทางการเงินให้มั่นคง โดยตั้งเป้า 2 ปีข้างหน้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ( D/E RATIO ) ลดลงเหลือ 1 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.3-2 เท่า
สำหรับปีนี้บริษัทมั่นใจว่ารายได้จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 2,600 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้งานในมือ (Back Log) ที่มีอยู่มูลค่ากว่า 2,200 ล้านบาท ส่วนของผลการดำเนินงานช่วงไตรมาส 2/52 คาดว่าจะทำได้ใก้ลเคียงกับไตรมาส 1/52 ที่ผ่านมา และบริษัทก็พยายามที่จะรักษาอัตราการเติบโตของกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ในปีนี้ใกล้เคียงกีบปีก่อนที่ 20-25%
ทั้งนี้รายได้หลักปีนี้จะมาจากงานภาครัฐ เอกชน และส่งออกต่างประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 33% เท่าๆกัน ซึ่งไตรมาส2 บริษัทได้รับงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ 300 MVA แรงดัน 230 Kv จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2 ตัว โดยมีมูลค่าโครงการกว่า 200 ล้านบาท คาดสามารถรับรู้รายได้ในปีหน้า
นอกจากนี้บริษัทมีงานอยู่ระหว่างการดำเนินงานหลายโครงการ อาทิ งานการไฟฟ้านครหลวง ที่มูลค่างาน 176 ล้านบาท งานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่างาน 210 ล้านบาท งานไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มูลค่างาน 21 ล้านบาท โครงการ Hi-Tech Systems ประเทศอินเดีย มูลค่างาน 129 ล้านบาท และโครงการStone & Webster ประเทศสิงคโปร์ มูลค่างาน 108 ล้านบาท คาดว่าปีนี้บริษัทน่าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% และตลาดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาวไปได้อีก
" แม้เศรษฐกิจโลกจะมีการผันแปรไปตามสภาพ แต่บริษัทเราก็ถือว่ายังอยู่ในสภาพที่โชคดีกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะด้วยความที่ธุรกิจเรายังอยู่ในประเภทสาธารณูปโภคที่ยังมีความจำเป็นของประเทศและภูมิภาค ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวของภาคการไฟฟ้า ในส่วนการส่งออกก็ยังคงมีการขยายไปเรื่อยๆ ตามอาเซียน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียใต้" นายสัมพันธ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกต่างประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 40-45% จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 33% เนื่องจากตลาดในประเทศมีอัตราการเติบโตจำกัด ขณะตลาดต่างประเทศค่อนข้างกว้างขวางกว่าและยังขยายไปได้อีกไกล โดยบริษัทฯจะมุ่งเน้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยจะเน้นในส่วนของสินค้าหม้อแปลงขนาดใหญ่ ซึ่งอนาคตรายได้จากหม้อแปลงขนาดใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของตลาด ซึ่งน่าจะมีสัดส่วนไม่เกิน 20% ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากหม้อแปลงขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 10-20% ต่อปี