ASTVผู้จัดการรายวัน - โบรกฯ แจง ลงทุนอนุพันธ์ DW ให้ผลตอบแทนสูง และเสี่ยงสูง เหตุไม่กำหนดเดานสูงหรือต่ำในการซื้อขาย แนะศึกษาฐานะการเงินของ บล.ผู้ออก ระดับเรตติ้งและการบริหารความเสี่ยง ประกอบการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ของนักลงทุน
นางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ DW (Derivative Warrants) ประเภทใหม่ที่จัดทำขึ้นมานั้น มีความแตกต่างจากใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่มีอยู่ปัจจุบัน โดยมีผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่ใช่บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ อีกทั้งถือเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิงได้ตามราคาและช่วงเวลาที่ระบุไว้ล่วงหน้า โดยผู้ถือสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
ทั้งนี้ การลงทุนใน DW จะมีความเสี่ยงกว่าการลงทุนในหุ้น เนื่องด้วยรูปแบบการลงทุนในส่วนของเงินที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อซื้อDW นั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่จะต้องใช้ซื้อหุ้น ดังนั้นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจึงอยู่ในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นมาก เพราะกำไรที่มากกว่าเมื่อเวลาขาดทุนผลกระทบก็ย่อมมากเช่นกัน ฉะนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบก่อนการลงทุน
นอกจากนี้ควรดูในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ผู้ออกว่ามีฐานะทางการเงินดีหรือไม่ รวมถึงการดูระดับเครดิตเรตติ้ง และหลักการในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์นั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินในการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรักษาผลประโยชน์ของนักลงทุนเอง
สำหรับ DW นี้ถือว่าได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนี และประเทศแถบเอเชีย เช่น ฮ่องกงที่มีสัดส่วนการซื้อขายอยู่ที่ 25-30% ของตลาดหุ้น ส่วนไต้หวันและสิงคโปร์มีสัดส่วนอยู่ที่ 5-10% ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่า DW ที่จะมีขึ้นนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน เนื่องจากโดยพื้นฐานของนักลงทุนนั้นมีความเข้าใจและรู้จักวอร์แรนต์เป็นอย่างดีอยู่แล้ว และยังลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีความแตกต่างกันก็ตรงในส่วนของผู้ออกหลักทรัพย์ และเรื่องของเงินทุนทางการซื้อขายที่จะมีอัตราต่ำกว่าวอร์แรนต์ จึงมองว่าเป็นสิ่งที่จูงใจนักลงทุนได้ประการหนึ่ง
ทั้งนี้ นักลงทุนจึงควรเรียนรู้วิธีการลงทุนในDW อย่างรอบคอบ เนื่องจากการลงทุนในประเภทนี้จะไม่มีการกำหนดราคาสูงสุดหรือต่ำสุด (Ceiling-Floor ) ดังนั้น ราคาจะปรับตัวเร็วตามภาวะตลาด เนื่องจากการซื้อขายนี้จะเป็นประเภท call ซึ่งจะส่งผลดีเฉพาะในช่วงของตลาดขาขึ้นเท่านั้น ประกอบกับมีเรื่องของระยะเวลาในการใช้สิทธิเข้ามากำหนด และ นักลงทุนควรศึกษาถึงพื้นฐานความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ออกด้วย ว่ามีระดับเครดิตเรตติ้ง การบริหารความเสี่ยง และความมั่นคงทางการเงินที่แข้มแข็งมากแค่ไหน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง และเกิดผลประโยชน์ที่นักลงทุนพึงพอใจ
นางเกศรา มัญชุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่าใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ DW (Derivative Warrants) ประเภทใหม่ที่จัดทำขึ้นมานั้น มีความแตกต่างจากใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์) ที่มีอยู่ปัจจุบัน โดยมีผู้ออกหลักทรัพย์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และไม่ใช่บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ อีกทั้งถือเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้ออกให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อขายหลักทรัพย์อ้างอิงได้ตามราคาและช่วงเวลาที่ระบุไว้ล่วงหน้า โดยผู้ถือสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้
ทั้งนี้ การลงทุนใน DW จะมีความเสี่ยงกว่าการลงทุนในหุ้น เนื่องด้วยรูปแบบการลงทุนในส่วนของเงินที่นักลงทุนต้องจ่ายเพื่อซื้อDW นั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่จะต้องใช้ซื้อหุ้น ดังนั้นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจึงอยู่ในระดับที่สูงกว่าการลงทุนในหุ้นมาก เพราะกำไรที่มากกว่าเมื่อเวลาขาดทุนผลกระทบก็ย่อมมากเช่นกัน ฉะนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบก่อนการลงทุน
นอกจากนี้ควรดูในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ผู้ออกว่ามีฐานะทางการเงินดีหรือไม่ รวมถึงการดูระดับเครดิตเรตติ้ง และหลักการในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทหลักทรัพย์นั้นๆ เพื่อประกอบการตัดสินในการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรักษาผลประโยชน์ของนักลงทุนเอง
สำหรับ DW นี้ถือว่าได้รับความนิยมมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนี และประเทศแถบเอเชีย เช่น ฮ่องกงที่มีสัดส่วนการซื้อขายอยู่ที่ 25-30% ของตลาดหุ้น ส่วนไต้หวันและสิงคโปร์มีสัดส่วนอยู่ที่ 5-10% ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่า DW ที่จะมีขึ้นนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน เนื่องจากโดยพื้นฐานของนักลงทุนนั้นมีความเข้าใจและรู้จักวอร์แรนต์เป็นอย่างดีอยู่แล้ว และยังลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีความแตกต่างกันก็ตรงในส่วนของผู้ออกหลักทรัพย์ และเรื่องของเงินทุนทางการซื้อขายที่จะมีอัตราต่ำกว่าวอร์แรนต์ จึงมองว่าเป็นสิ่งที่จูงใจนักลงทุนได้ประการหนึ่ง
ทั้งนี้ นักลงทุนจึงควรเรียนรู้วิธีการลงทุนในDW อย่างรอบคอบ เนื่องจากการลงทุนในประเภทนี้จะไม่มีการกำหนดราคาสูงสุดหรือต่ำสุด (Ceiling-Floor ) ดังนั้น ราคาจะปรับตัวเร็วตามภาวะตลาด เนื่องจากการซื้อขายนี้จะเป็นประเภท call ซึ่งจะส่งผลดีเฉพาะในช่วงของตลาดขาขึ้นเท่านั้น ประกอบกับมีเรื่องของระยะเวลาในการใช้สิทธิเข้ามากำหนด และ นักลงทุนควรศึกษาถึงพื้นฐานความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้ออกด้วย ว่ามีระดับเครดิตเรตติ้ง การบริหารความเสี่ยง และความมั่นคงทางการเงินที่แข้มแข็งมากแค่ไหน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง และเกิดผลประโยชน์ที่นักลงทุนพึงพอใจ