รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันนี้( 9 ก.ค.) กระทรวงมหาดไทย จะเสนอขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมตามโครงการเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน จำนวน 5.7 แสนคน งบประมาณ 1,729 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 1.5 แสนคน งบประมาณ 550 ล้านบาท ระยะเวลา 6 เดือน เนื่องจากงบประมาณที่อนุมัติในครั้งก่อนไม่เพียงพอ เพราะยังมีผู้สูงอายุ และอสม. ที่ยังตกสำรวจ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ตั้งข้อสังเกตว่า จากการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(กกถ.) ครั้งที่ 4/2552 ที่มีนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยเฉพาะวาระเรื่อง “แนวทางพัฒนาระบบการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ” ที่สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) นำเสนอให้ทำการยกร่างแนวทางการจ่ายค่าครองชีพผู้สูงอายุของมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จ่ายให้กับผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเรื่องนี้ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย กำกับดูแลอยู่ และร่างนโยบายรัฐบาลของสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อสงเคราะห์เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายละ 500 บาทต่อเดือน และเป็นไปตามกรอบงบประมาณของรัฐบาล
“ในการประชุมกกถ.ล่าสุด ตรงนี้นายกฯยังไม่เห็นชอบ โดยขอให้ฝ่ายเลขาฯ(สปน.)ไปศึกษาเพื่อดำเนินการ ให้เกิดความชัดเจน ดังนั้นการขอเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมทั้ง 2 โครงการ เพียง 6 เดือน จะนำไปเกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ที่จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 11 ก.ค.นี้หรือไม่” แหล่งข่าวกล่าว และว่า นอกจากนั้นที่ผ่านมายังมีหนังสือแถลงการณ์ของ 3 องค์กร อปท. ประกอบด้วย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ที่ขอให้มีการเพิ่มงบประมาณปี2553 ให้กับอปท. มากดดันรัฐบาลด้วย
ทั้งนี้ การจ่ายค่าเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.รูปแบบของกระทรวงมหาดไทย จ่ายให้กับผู้สูงอยุที่มีฐานะยากจน หรือขาดผู้อุปการะจะได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพอย่างน้อยในอัตราคนละ 500 บาทต่อเดือน
2.รูปแบบตามโครงการหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุของรัฐบาลที่จะจ่ายค่ายังชีพรายละ500 บาทต่อเดือน แต่เกิดปัญหาที่อปท.บางแห่งต้องใช้เงินรายได้จ่ายค่าสมทบเพิ่มเพื่อครอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เช่นบางแห่งจ่ายเพิ่มในอัตราคนละ1,000 บาท บางแห่งจ่ายทุกเดือน บางแห่งจ่ายราย 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี53 กำหนดโครงการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ที่ 29,582,950,000 บาท โดยมีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนไว้ 4,930,491 คน แต่รัฐบาลไม่ได้ตั้งงบประมาณในสัดส่วนที่ลงทะเบียนกับ อปท.เพื่อจ่ายสมทบให้ผู้สูงอายุจำนวน 513,919 คน ทำให้อปท.ต้องแบกภาระ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ตั้งข้อสังเกตว่า จากการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(กกถ.) ครั้งที่ 4/2552 ที่มีนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยเฉพาะวาระเรื่อง “แนวทางพัฒนาระบบการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ” ที่สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) นำเสนอให้ทำการยกร่างแนวทางการจ่ายค่าครองชีพผู้สูงอายุของมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จ่ายให้กับผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเรื่องนี้ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย กำกับดูแลอยู่ และร่างนโยบายรัฐบาลของสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อสงเคราะห์เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายละ 500 บาทต่อเดือน และเป็นไปตามกรอบงบประมาณของรัฐบาล
“ในการประชุมกกถ.ล่าสุด ตรงนี้นายกฯยังไม่เห็นชอบ โดยขอให้ฝ่ายเลขาฯ(สปน.)ไปศึกษาเพื่อดำเนินการ ให้เกิดความชัดเจน ดังนั้นการขอเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติมทั้ง 2 โครงการ เพียง 6 เดือน จะนำไปเกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ที่จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 11 ก.ค.นี้หรือไม่” แหล่งข่าวกล่าว และว่า นอกจากนั้นที่ผ่านมายังมีหนังสือแถลงการณ์ของ 3 องค์กร อปท. ประกอบด้วย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ที่ขอให้มีการเพิ่มงบประมาณปี2553 ให้กับอปท. มากดดันรัฐบาลด้วย
ทั้งนี้ การจ่ายค่าเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.รูปแบบของกระทรวงมหาดไทย จ่ายให้กับผู้สูงอยุที่มีฐานะยากจน หรือขาดผู้อุปการะจะได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพอย่างน้อยในอัตราคนละ 500 บาทต่อเดือน
2.รูปแบบตามโครงการหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุของรัฐบาลที่จะจ่ายค่ายังชีพรายละ500 บาทต่อเดือน แต่เกิดปัญหาที่อปท.บางแห่งต้องใช้เงินรายได้จ่ายค่าสมทบเพิ่มเพื่อครอบคลุมจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น เช่นบางแห่งจ่ายเพิ่มในอัตราคนละ1,000 บาท บางแห่งจ่ายทุกเดือน บางแห่งจ่ายราย 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี53 กำหนดโครงการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ที่ 29,582,950,000 บาท โดยมีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนไว้ 4,930,491 คน แต่รัฐบาลไม่ได้ตั้งงบประมาณในสัดส่วนที่ลงทะเบียนกับ อปท.เพื่อจ่ายสมทบให้ผู้สูงอายุจำนวน 513,919 คน ทำให้อปท.ต้องแบกภาระ