ตลอดหลายปีที่ผ่านมา โบรเกอร์จะแนะนำกลุ่มหุ้นเด่นในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพียง 3- 4 กลุ่ม อันดับหนึ่งและสองที่มีมาเสมอนั่นคือ กลุ่มพลังงาน ธนาคารพาณิชย์ ติดตามมาด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อสังหาริมทรัพย์ หรือสื่อสาร แต่ถ้ามีการพูดถึงกลุ่มอื่น จะพบว่า **บริษั บีอีซี เวิร์ล จำกัด (มหาชน) BEC หรือ ช่อง3** เป็นหุ้นที่โดดเดนสุดในกลุ่มสื่อด้วยกัน ด้วยผลประกอบการที่เติบโตในระดับสูง ตามแนวโน้มของธุรกิจ
**อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีปัจจัยสำคัญที่จะมาสร้างผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว นั่นคือ การต่อสัญญาสัมปทานกับ บมจ.อสม จำกัด (มหาชน) MCOT นั่นเอง**
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา **สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี** ในฐานะกำกับดูแลMCOT กล่าวถึงการต่ออายุสัญญาสัมปทานการกับช่อง 3 ว่าหลังจากที่สัญญาซึ่ง BEC ทำไว้กับ MCOT จะหมดลงในปี 2553 ทางบีอีซี ได้ทำหนังสือมาถึงคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด อสมท แล้ว และบอร์ดได้ตั้งคณะกรมการขึ้นมาพิจารณาข้อเสนดังกล่าว ซึ่งต้อมีการพูดคุยกันต่อไป
**“ตามหลักการเราต้องรักษาผลประโยชน์ของ อสมท ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนก็ควรจะอยู่ในระดับที่คุ้มค่าทางธุรกิจต่อ อสมท เนื่องจากเดิมมีการแก้ไขสัญญาค่าสัมปทานสมัย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ โดยมีการอ้างว่าเศรษฐกิจไม่ดีเลยต้องตั้งค่าสัมปทานไว้ตายตัว แต่เมื่อไปเทียบกบผลประโยชน์ที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (หาชน) TRUE ทำไว้กับ อสมท เพื่อทำโทรทัศน์ช่องทรูวิชั่นส์ ปรากฏว่าต้องจ่ายผลประโยชน์มากกว่า ดังนั้นการต่อสัญญาสัมปทานของช่อง 3ต้องคิดถึงผลประโยชน์ให้มากเข้าไว้ เพราะ อสมท เป็นบริษัทมหาชนที่ต้องทำกำไร โดยเบื้องต้นผลประโยชน์ที่ MCOT จะได้รับจากบริษัทเอกชนที่จะมาทำสถานีโทรทัศน์ต้องไม่น้อยกว่าที่บริษัทเอกชนอื่นให้ไว้" นายสาทิตย์กล่าว**
และเมื่อมีข่าวดังกล่าวเกิดขึ้น ย่อมสร้างผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนที่ถือหลักทรัพย์ของBEC ไว้อย่างแน่นอน โดยตลอดช่วงที่ผ่านมามีโบรกเกอร์หลายแห่งออกมาคาดการณ์ทั้งในแง่ดีและแง่ร้ายต่อราคาหุ้นBEC ในอนาคต บ้างก็ให้มุมมองที่เชื่อว่าจะสร้างผลกระทบสูง บ้างก็มองว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลสั่นสะเทือนถึงราคาหุ้นแม้แต่น้อยด้วยปัจจัยและเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อBEC ให้น่าดูหวั่นไหวไม่ได้นั่นคือ เหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศนั่นเอง
ส่วน**กรณีที่หนักสุด** นั่นคือประเด็นการหาบริษัทเอกชนรายอื่นเข้ามาแข่งขันกับ BEC โดยในเรื่องนี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า “แล้วแต่บอร์ด อสมท จะพิจารณาย่างไร แต่การเปิดประมูลใหม่กับให้รายเดิมมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน โดยการให้รายเดิมต่อสัญญาอย่างที่เขาได้ตกลงลงกันไปก่อนแล้ว ถ้าเป็นรายใหม่เข้ามาก็จะต้องมีวงเงินลงทุนมากขึ้น จะรับไหวหรือเปล่าเพราะ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำลังจะออกมาบังคับใช้ซึ่งจะทำให้วิธีการบริหารสัญญาสัมปทานเปลี่ยนไปอีก แต่กฎหมายใหม่จะออกมาอย่างเร็วก็ประมาณกลางปี 2553 ขณะที่สัมปทานจะหมดลงในช่วงต้นปี จึงอาจจะต้องพิจาณาสัญญาก่อน ไม่ใช่ว่ารอให้กฎหมายออกก่อนแล้วค่อยต่อสัญญา เพราะจะทำให้เกิดช่องว่างที่คล้ายการต่อสัญญาให้โดยปริยาย ซึ่งจะทำให้เกิดเสียง
วิพากษ์วิจารณ์อีก
โดยนายสาทิตย์ ยืนยันว่า **“แม้ตระกูลมาลีนนท์มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค โดยอาจจะส่งผลต่อการต่ออายุสัญญาสัมปทาน แต่รัฐบาลต้องตัดสินใจบนพื้นฐานเพื่อรักษาปะโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งบอร์ด อสมท ก็จะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ ดังนั้นคงไม่ตัดสินว่าใครเป็นพวกใคร”**
ขณะที่ฝั่งบิ๊กบอสใหญ่ของค่ายโทรทัศน์ย่านพระราม 4 **ประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ BEC** กล่าวว่า การต่อสัญญาสัมปทานเพิ่ม10 ปี กับทาง อสมท นั้นช่วงเวลาที่มีการเจรจาทำสัญญากับทาง อ สมท เมื่อ 10 ปีก่อน ถือเป็นสัญญาแบบฟิกซ์เรต โดมีการพูดคุยถึงค่าตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว และทั้งสองฝ่ายต่างก็มองว่าเป็นสัญญาที่ได้ระโยชน์ร่วมกัน แต่การพิจารณาการต่อสัญญาอัตโนมัติครั้งนี้กลับดูเหมือนช่อง3ได้ประโยชน์มากกว่า นั่นเพระเป็นการคิดจากเหตุการณ์ปัจจุบัน ในวันที่ช่อง3มีรายได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริงสัญญาที่ได้ทำขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน และเป็นการพิจารณาเหตุผลทั้งหมดเมื่อ 10 ปีก่อน
นอกจากนี้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ช่อง 3 ทำตามสัญญาที่ระบุมาโดยตลอดไม่มีบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีส่งให้ทาง อสมท รวมกว่า 30 สถานี คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้นบาท ตามที่สัญญาระบุ ซึ่ง 10 ปีนี้ทางช่อง3 ก็มีเรื่องของการขาดทุนเข้ามา แต่ก็ไม่ได้เรียกร้องให้แก้สัญญากัน แต่พอช่อง3 มีรายได้มากขึ้นกลับมาพูดและจะพิจารณาสัญญากันใหม่ ทั้งที่ความเป็นจริงเราทำตามสัญญาอย่างถูกต้อง เชื่อว่าไม่ว่าจะอย่างไร ข้อตกลงที่ทำไว้แล้วจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
อย่างรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังไม่ถึงตอนจบ....ดังนั้นจึงเหลือเพียงแค่การคาดการณ์ต่างๆ นานาที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี โดย**กรณีแรกหากเรื่องดังกล่าวถึงสถานการณ์ที่หนักสุด** ต้องยอมรับว่าผู้กุมความได้เปรียบ ณ เวลานี้ไม่ใช่ BEC แต่เป็นฝ่ายรัฐบาลที่กุมบังเหียน MCOT อีกทอด ดังนั้นหากข้อเสนอที่ยื่นมาไม่เป็นที่น่าพอใจการออมชอม หรือเจรจาไม่เป็นอันหาข้อยุติกันได้ โอกาสที่จะเกิดการยุติสัญญาก็ย่อมมีความเป็นไปได้เสมอ และผู้เสียหายที่สุดก็หนีไม่พ้นBEC แม้ว่าบรรดานักวิเคราะห์จะเชื่อว่าแทบไม่มีทางเป็นไปได้ หากวัดกันที่ตัวเลข และความสม่ำเสมอในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ของช่อง 3
**แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องดังกล่าว เสมือนมีการเมืองมาเกี่ยวข้อง จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรายไดของรัฐหดหายลงไป การรัดเข็มขัดและการขวนขวายหารายได้จากช่องทางอื่นๆ ย่อมเป็นที่ปรารถนามากขึ้น อีกทั้งสัญญาเดิมระทำไว้ในยุคสมัยหนึ่ง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นเงาตามตัว งานนี้เรียกว่าต่างฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
ช่อง3 เองเชื่อว่าทุกสิ่งที่ทำมาเหมาะสมและถูกต้องแล้วแต่ถูกต้องเพียงเสี้ยวหนึ่งของเหตุผล เพราะเมื่อในทุกวันนี้เมื่ออะไรๆ มันเปลี่ยนไป ผลตอบทนของ MCOT ย่อมต้องเปลี่ยนไปด้วย (ล่าสุก็มีข่าวคาดการณ์ว่ารายได้ปีนี้จะดีกว่าปีก่อน) ดังนั้นจะอ้างว่าได้รับผลกระทบเพียงฝ่ายเดียวนั้นไม่ได้ หากจะยกข้ออ้างเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนครั้งก่อน ก็ดูเหมือนฟังไม่ขึ้น เพราะขนาดคนที่ทั้งชีวิตอยู่กับตัวเลขอย่างโบรเกอร์ยังประสานเสียง 6 เดือนที่เหลือของปีนี้อย่างมาก 3-4 เดือนเท่านั้นที่แย่ แต่หลังจากนั้นทุกอย่างะเริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติ
และMCOT ก็คงไม่อยากมีตราบาปให้ชาวบ้านเขาเซ็งอารมณ์เหมือนกรณีอดีตเอ็มดีเก่าที่หันไปเดินบนเส้นทางการเมือง และกรณีไร่อ้อยร้อยรัก ดังเช่นที่ผ่านมาอีก ไม่งั้นค่าโง่ครังนี้ก็ไม่ต่างจากค่าโง่ประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังฉาวโฉ่อยู่ในปัจจุบัน หรือจะยกเหตุการณ์ว่าหากตอนนี้ยังขาดทุน จะมีการแก้ไขสัมปทานหรือไม่ นี่ก็อาจเป็นไปได้ แต่จะเป็นในมุมมองเพื่อช่วยเหลือหรือเอาตัวให้รอดก็ต้องมาดูกันอีกที**
ขณะเดียวกัน นี่อาจเป็นหมัดแย็บเตือนจากฝั่งรัฐที่ทีวีช่องนี้มักจะนิยมกระจายข้อมูลถึงคนที่อยู่ต่างแดน (คนที่คุณก็รู้ว่าใคร?) ในแง่บวก แต่ลบไมค่อยเห็น ผ่านรายการจ้อข่าวประจำวัน ว่าหากยังดื้อแพ่งอยู่ ก็ต้องเจอไม้นี้ ดังนั้นจะตัดทอน หรือแตะเบรก ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ และดำเนินการแก้ไขหากต้องการเอาใจ เพื่อหวังไม่ให้ปัญหาสัญญาสัมปทานลุกลาม
ส่วน**กรณีที่ไม่เลวร้ายเลย** อย่างที่หลายโบรกเกอร์คาดการณ์ ด้วยให้เหตุผล BEC ยังไม่ได้ทำผิดสัญญาอะไร นอจากนี้เมื่อหมดอายุสัมปทานทาง BEC ก็ต้องโอนเครือข่ายที่เคยลงทุนทั้งหมดคืน ซึ่งต่างกับทางทรูวิชั่นที่ไม่มีโครงขาย ทำให้มีโอกาสไม่มากนักที่ BEC จะจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หรือเป็นไปได้ยกที่ MCOT จะสามารถปรับขึ้นค่าสัมปทานของ BEC ให้เท่ากับที่ได้รับจากทูรวิชั่น ประมาณ 650 ล้านบาท ต้องบอกว่ามีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่าบางครั้งการดูเฉพาะตัวเลข และสถิติอย่างเดียวมันก็ไม่อาจจะเป็นเครื่องการันตีอะไรได้เหมือนฟุตบอลลูกลมๆ ทีมเต็งจ๋า...บางที่ก็ม้วยคาสนาม หากเดินหมากไม่ดี
สุดท้าย **กรณีมีผกระทบระดับปานกลาง** โบรกเกอร์ ประเมินไว้หลากลายเช่น กรณีที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานเทียบเท่ากับช่อง 7 ที่จ่ายให้กับกองทัพบก 230 ล้านบาท ซึ่ง BEC ต้องจ่ายค่าสัมปทานเพิ่มขึ้นจากเดิมราวปีละ 70 ล้านบาท แต่จะทำให้ราคาเป้ามายของ BEC ลดลงจากเดิมเพียง 0.30 บาทเท่านั้น และขณะที่ต้องจ่ายถึง 6.5% เท่ากับทรูวิชั่น ก็คิดเป็นเงินอยู่ในระดับ 300-400 ล้านบาท เพราะเป็นการนำมาจากเงินรายได้ตัวบริษัทแม่เท่านั้นไม่ได้รวมในส่วนของบริษัทลูก
นักวิเคราะห์จาก บล.ทรีนิตี้กล่าวให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่BEC จะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับMCOT เพิ่มขึ้นอีก 30%จากของเดิมที่จ่ายอยู่ หรือประมาณ 1 เท่าตัว เพราะปัจจุบันเรตของบริษัทนั้นอยู่ต่ำมากที่ 1.8% เมื่อเทียบกับทรูวิชั่นที่จ่ายถึง 6.5%
ขณะเดียวกันกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในปี 2532 ทังที่เพิ่งทำไปเมื่อปี 2530 ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ นอกจากนี้ในสัญญาที่ทำไว้ ก็เปิดช่องให้ภาครัฐมีความได้เปรียบ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ตามภาวะแวดล้อม ดังนั้นการปรับเพิ่มค่าตอบแทนตามสัมปทาน ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักที่กระทบต่อมูลค่าเหมาะสม ทำให้เราไม่กล้ามองข้ามความเสี่ยงจากการที่ ช่อง 3 จะถูกปรับการจ่ายผลตอบแทนขึ้น ทั้งนี้การปรับขึ้นสัมปทานอีก 1 เท่า หรือ 100% จะกระทบให้กำไรลดลงประมาณ 5% และกระทบมูลค่าเหมาะสมประมาณ 1 บาท/หุ้น
**“อย่างไรก็ตามเราคาดว่า ทั้งสองฝ่ายน่าจะหาข้อยุติตกลงร่วมกันได้ และจะไม่ถึงขั้นยุติสัญญาระหว่างกัน แต่จะเป็นฝ่ายBEC ที่ต้องยอมแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนจะมากน้อยกว่ากันเท่าใดเป็นเรื่องที่ต้องติดตามและนำมาคำนวณอีกครั้งในอนาคต”**
และดังที่ระบุไว้ข้างต้น ว่าที่นำเสนอนี้คือเหตุผลและความเป็นไปได้ของเรื่องราวระว่างBEC และ MCOT ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งหากชี้แนะนำกันง่ายๆ สำหรับคนเล่นรอบระยะสั้นแล้ว ก็ยังสามารถเล่นราคาตามข่าวสารที่รับรู้วันต่อวันไปได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความเจนจัดในกระดานของคุณเองว่าจะสามารถทำกำไรจากข่าวเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนคนที่ถือระยะยาวอันนีต้องคิดหนักขึ้นหน่อย ว่าจะถือต่อไปด้วยความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม หรือโยกย้ายออกไปสักพักเพื่อรอดูสถานการณ์ เพราะตอนนี้ที่แว่วๆ ก็มีตาอยู่หลายราย สนใจและภาวนาให้ทุกอย่างไม่สมหวัง เพื่อหวังยึดอาณาจักรนี้อยู่เหมืนกัน
**อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีปัจจัยสำคัญที่จะมาสร้างผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้แล้ว นั่นคือ การต่อสัญญาสัมปทานกับ บมจ.อสม จำกัด (มหาชน) MCOT นั่นเอง**
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา **สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี** ในฐานะกำกับดูแลMCOT กล่าวถึงการต่ออายุสัญญาสัมปทานการกับช่อง 3 ว่าหลังจากที่สัญญาซึ่ง BEC ทำไว้กับ MCOT จะหมดลงในปี 2553 ทางบีอีซี ได้ทำหนังสือมาถึงคณะกรรมการบริหารหรือบอร์ด อสมท แล้ว และบอร์ดได้ตั้งคณะกรมการขึ้นมาพิจารณาข้อเสนดังกล่าว ซึ่งต้อมีการพูดคุยกันต่อไป
**“ตามหลักการเราต้องรักษาผลประโยชน์ของ อสมท ดังนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนก็ควรจะอยู่ในระดับที่คุ้มค่าทางธุรกิจต่อ อสมท เนื่องจากเดิมมีการแก้ไขสัญญาค่าสัมปทานสมัย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ โดยมีการอ้างว่าเศรษฐกิจไม่ดีเลยต้องตั้งค่าสัมปทานไว้ตายตัว แต่เมื่อไปเทียบกบผลประโยชน์ที่บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (หาชน) TRUE ทำไว้กับ อสมท เพื่อทำโทรทัศน์ช่องทรูวิชั่นส์ ปรากฏว่าต้องจ่ายผลประโยชน์มากกว่า ดังนั้นการต่อสัญญาสัมปทานของช่อง 3ต้องคิดถึงผลประโยชน์ให้มากเข้าไว้ เพราะ อสมท เป็นบริษัทมหาชนที่ต้องทำกำไร โดยเบื้องต้นผลประโยชน์ที่ MCOT จะได้รับจากบริษัทเอกชนที่จะมาทำสถานีโทรทัศน์ต้องไม่น้อยกว่าที่บริษัทเอกชนอื่นให้ไว้" นายสาทิตย์กล่าว**
และเมื่อมีข่าวดังกล่าวเกิดขึ้น ย่อมสร้างผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนที่ถือหลักทรัพย์ของBEC ไว้อย่างแน่นอน โดยตลอดช่วงที่ผ่านมามีโบรกเกอร์หลายแห่งออกมาคาดการณ์ทั้งในแง่ดีและแง่ร้ายต่อราคาหุ้นBEC ในอนาคต บ้างก็ให้มุมมองที่เชื่อว่าจะสร้างผลกระทบสูง บ้างก็มองว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่มีผลสั่นสะเทือนถึงราคาหุ้นแม้แต่น้อยด้วยปัจจัยและเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อBEC ให้น่าดูหวั่นไหวไม่ได้นั่นคือ เหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงของประเทศนั่นเอง
ส่วน**กรณีที่หนักสุด** นั่นคือประเด็นการหาบริษัทเอกชนรายอื่นเข้ามาแข่งขันกับ BEC โดยในเรื่องนี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า “แล้วแต่บอร์ด อสมท จะพิจารณาย่างไร แต่การเปิดประมูลใหม่กับให้รายเดิมมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน โดยการให้รายเดิมต่อสัญญาอย่างที่เขาได้ตกลงลงกันไปก่อนแล้ว ถ้าเป็นรายใหม่เข้ามาก็จะต้องมีวงเงินลงทุนมากขึ้น จะรับไหวหรือเปล่าเพราะ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำลังจะออกมาบังคับใช้ซึ่งจะทำให้วิธีการบริหารสัญญาสัมปทานเปลี่ยนไปอีก แต่กฎหมายใหม่จะออกมาอย่างเร็วก็ประมาณกลางปี 2553 ขณะที่สัมปทานจะหมดลงในช่วงต้นปี จึงอาจจะต้องพิจาณาสัญญาก่อน ไม่ใช่ว่ารอให้กฎหมายออกก่อนแล้วค่อยต่อสัญญา เพราะจะทำให้เกิดช่องว่างที่คล้ายการต่อสัญญาให้โดยปริยาย ซึ่งจะทำให้เกิดเสียง
วิพากษ์วิจารณ์อีก
โดยนายสาทิตย์ ยืนยันว่า **“แม้ตระกูลมาลีนนท์มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค โดยอาจจะส่งผลต่อการต่ออายุสัญญาสัมปทาน แต่รัฐบาลต้องตัดสินใจบนพื้นฐานเพื่อรักษาปะโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งบอร์ด อสมท ก็จะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ ดังนั้นคงไม่ตัดสินว่าใครเป็นพวกใคร”**
ขณะที่ฝั่งบิ๊กบอสใหญ่ของค่ายโทรทัศน์ย่านพระราม 4 **ประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ BEC** กล่าวว่า การต่อสัญญาสัมปทานเพิ่ม10 ปี กับทาง อสมท นั้นช่วงเวลาที่มีการเจรจาทำสัญญากับทาง อ สมท เมื่อ 10 ปีก่อน ถือเป็นสัญญาแบบฟิกซ์เรต โดมีการพูดคุยถึงค่าตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว และทั้งสองฝ่ายต่างก็มองว่าเป็นสัญญาที่ได้ระโยชน์ร่วมกัน แต่การพิจารณาการต่อสัญญาอัตโนมัติครั้งนี้กลับดูเหมือนช่อง3ได้ประโยชน์มากกว่า นั่นเพระเป็นการคิดจากเหตุการณ์ปัจจุบัน ในวันที่ช่อง3มีรายได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริงสัญญาที่ได้ทำขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน และเป็นการพิจารณาเหตุผลทั้งหมดเมื่อ 10 ปีก่อน
นอกจากนี้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ช่อง 3 ทำตามสัญญาที่ระบุมาโดยตลอดไม่มีบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีส่งให้ทาง อสมท รวมกว่า 30 สถานี คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้นบาท ตามที่สัญญาระบุ ซึ่ง 10 ปีนี้ทางช่อง3 ก็มีเรื่องของการขาดทุนเข้ามา แต่ก็ไม่ได้เรียกร้องให้แก้สัญญากัน แต่พอช่อง3 มีรายได้มากขึ้นกลับมาพูดและจะพิจารณาสัญญากันใหม่ ทั้งที่ความเป็นจริงเราทำตามสัญญาอย่างถูกต้อง เชื่อว่าไม่ว่าจะอย่างไร ข้อตกลงที่ทำไว้แล้วจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
อย่างรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังไม่ถึงตอนจบ....ดังนั้นจึงเหลือเพียงแค่การคาดการณ์ต่างๆ นานาที่อาจเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี โดย**กรณีแรกหากเรื่องดังกล่าวถึงสถานการณ์ที่หนักสุด** ต้องยอมรับว่าผู้กุมความได้เปรียบ ณ เวลานี้ไม่ใช่ BEC แต่เป็นฝ่ายรัฐบาลที่กุมบังเหียน MCOT อีกทอด ดังนั้นหากข้อเสนอที่ยื่นมาไม่เป็นที่น่าพอใจการออมชอม หรือเจรจาไม่เป็นอันหาข้อยุติกันได้ โอกาสที่จะเกิดการยุติสัญญาก็ย่อมมีความเป็นไปได้เสมอ และผู้เสียหายที่สุดก็หนีไม่พ้นBEC แม้ว่าบรรดานักวิเคราะห์จะเชื่อว่าแทบไม่มีทางเป็นไปได้ หากวัดกันที่ตัวเลข และความสม่ำเสมอในการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ของช่อง 3
**แต่ต้องไม่ลืมว่าเรื่องดังกล่าว เสมือนมีการเมืองมาเกี่ยวข้อง จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นรายไดของรัฐหดหายลงไป การรัดเข็มขัดและการขวนขวายหารายได้จากช่องทางอื่นๆ ย่อมเป็นที่ปรารถนามากขึ้น อีกทั้งสัญญาเดิมระทำไว้ในยุคสมัยหนึ่ง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นเงาตามตัว งานนี้เรียกว่าต่างฝ่ายต่างต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด
ช่อง3 เองเชื่อว่าทุกสิ่งที่ทำมาเหมาะสมและถูกต้องแล้วแต่ถูกต้องเพียงเสี้ยวหนึ่งของเหตุผล เพราะเมื่อในทุกวันนี้เมื่ออะไรๆ มันเปลี่ยนไป ผลตอบทนของ MCOT ย่อมต้องเปลี่ยนไปด้วย (ล่าสุก็มีข่าวคาดการณ์ว่ารายได้ปีนี้จะดีกว่าปีก่อน) ดังนั้นจะอ้างว่าได้รับผลกระทบเพียงฝ่ายเดียวนั้นไม่ได้ หากจะยกข้ออ้างเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนครั้งก่อน ก็ดูเหมือนฟังไม่ขึ้น เพราะขนาดคนที่ทั้งชีวิตอยู่กับตัวเลขอย่างโบรเกอร์ยังประสานเสียง 6 เดือนที่เหลือของปีนี้อย่างมาก 3-4 เดือนเท่านั้นที่แย่ แต่หลังจากนั้นทุกอย่างะเริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติ
และMCOT ก็คงไม่อยากมีตราบาปให้ชาวบ้านเขาเซ็งอารมณ์เหมือนกรณีอดีตเอ็มดีเก่าที่หันไปเดินบนเส้นทางการเมือง และกรณีไร่อ้อยร้อยรัก ดังเช่นที่ผ่านมาอีก ไม่งั้นค่าโง่ครังนี้ก็ไม่ต่างจากค่าโง่ประวัติศาสตร์อื่นๆ ที่ยังฉาวโฉ่อยู่ในปัจจุบัน หรือจะยกเหตุการณ์ว่าหากตอนนี้ยังขาดทุน จะมีการแก้ไขสัมปทานหรือไม่ นี่ก็อาจเป็นไปได้ แต่จะเป็นในมุมมองเพื่อช่วยเหลือหรือเอาตัวให้รอดก็ต้องมาดูกันอีกที**
ขณะเดียวกัน นี่อาจเป็นหมัดแย็บเตือนจากฝั่งรัฐที่ทีวีช่องนี้มักจะนิยมกระจายข้อมูลถึงคนที่อยู่ต่างแดน (คนที่คุณก็รู้ว่าใคร?) ในแง่บวก แต่ลบไมค่อยเห็น ผ่านรายการจ้อข่าวประจำวัน ว่าหากยังดื้อแพ่งอยู่ ก็ต้องเจอไม้นี้ ดังนั้นจะตัดทอน หรือแตะเบรก ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ และดำเนินการแก้ไขหากต้องการเอาใจ เพื่อหวังไม่ให้ปัญหาสัญญาสัมปทานลุกลาม
ส่วน**กรณีที่ไม่เลวร้ายเลย** อย่างที่หลายโบรกเกอร์คาดการณ์ ด้วยให้เหตุผล BEC ยังไม่ได้ทำผิดสัญญาอะไร นอจากนี้เมื่อหมดอายุสัมปทานทาง BEC ก็ต้องโอนเครือข่ายที่เคยลงทุนทั้งหมดคืน ซึ่งต่างกับทางทรูวิชั่นที่ไม่มีโครงขาย ทำให้มีโอกาสไม่มากนักที่ BEC จะจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หรือเป็นไปได้ยกที่ MCOT จะสามารถปรับขึ้นค่าสัมปทานของ BEC ให้เท่ากับที่ได้รับจากทูรวิชั่น ประมาณ 650 ล้านบาท ต้องบอกว่ามีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นว่าบางครั้งการดูเฉพาะตัวเลข และสถิติอย่างเดียวมันก็ไม่อาจจะเป็นเครื่องการันตีอะไรได้เหมือนฟุตบอลลูกลมๆ ทีมเต็งจ๋า...บางที่ก็ม้วยคาสนาม หากเดินหมากไม่ดี
สุดท้าย **กรณีมีผกระทบระดับปานกลาง** โบรกเกอร์ ประเมินไว้หลากลายเช่น กรณีที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานเทียบเท่ากับช่อง 7 ที่จ่ายให้กับกองทัพบก 230 ล้านบาท ซึ่ง BEC ต้องจ่ายค่าสัมปทานเพิ่มขึ้นจากเดิมราวปีละ 70 ล้านบาท แต่จะทำให้ราคาเป้ามายของ BEC ลดลงจากเดิมเพียง 0.30 บาทเท่านั้น และขณะที่ต้องจ่ายถึง 6.5% เท่ากับทรูวิชั่น ก็คิดเป็นเงินอยู่ในระดับ 300-400 ล้านบาท เพราะเป็นการนำมาจากเงินรายได้ตัวบริษัทแม่เท่านั้นไม่ได้รวมในส่วนของบริษัทลูก
นักวิเคราะห์จาก บล.ทรีนิตี้กล่าวให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่BEC จะต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับMCOT เพิ่มขึ้นอีก 30%จากของเดิมที่จ่ายอยู่ หรือประมาณ 1 เท่าตัว เพราะปัจจุบันเรตของบริษัทนั้นอยู่ต่ำมากที่ 1.8% เมื่อเทียบกับทรูวิชั่นที่จ่ายถึง 6.5%
ขณะเดียวกันกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานในปี 2532 ทังที่เพิ่งทำไปเมื่อปี 2530 ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ นอกจากนี้ในสัญญาที่ทำไว้ ก็เปิดช่องให้ภาครัฐมีความได้เปรียบ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขได้ตามภาวะแวดล้อม ดังนั้นการปรับเพิ่มค่าตอบแทนตามสัมปทาน ยังคงเป็นความเสี่ยงหลักที่กระทบต่อมูลค่าเหมาะสม ทำให้เราไม่กล้ามองข้ามความเสี่ยงจากการที่ ช่อง 3 จะถูกปรับการจ่ายผลตอบแทนขึ้น ทั้งนี้การปรับขึ้นสัมปทานอีก 1 เท่า หรือ 100% จะกระทบให้กำไรลดลงประมาณ 5% และกระทบมูลค่าเหมาะสมประมาณ 1 บาท/หุ้น
**“อย่างไรก็ตามเราคาดว่า ทั้งสองฝ่ายน่าจะหาข้อยุติตกลงร่วมกันได้ และจะไม่ถึงขั้นยุติสัญญาระหว่างกัน แต่จะเป็นฝ่ายBEC ที่ต้องยอมแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนจะมากน้อยกว่ากันเท่าใดเป็นเรื่องที่ต้องติดตามและนำมาคำนวณอีกครั้งในอนาคต”**
และดังที่ระบุไว้ข้างต้น ว่าที่นำเสนอนี้คือเหตุผลและความเป็นไปได้ของเรื่องราวระว่างBEC และ MCOT ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งหากชี้แนะนำกันง่ายๆ สำหรับคนเล่นรอบระยะสั้นแล้ว ก็ยังสามารถเล่นราคาตามข่าวสารที่รับรู้วันต่อวันไปได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความเจนจัดในกระดานของคุณเองว่าจะสามารถทำกำไรจากข่าวเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนคนที่ถือระยะยาวอันนีต้องคิดหนักขึ้นหน่อย ว่าจะถือต่อไปด้วยความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม หรือโยกย้ายออกไปสักพักเพื่อรอดูสถานการณ์ เพราะตอนนี้ที่แว่วๆ ก็มีตาอยู่หลายราย สนใจและภาวนาให้ทุกอย่างไม่สมหวัง เพื่อหวังยึดอาณาจักรนี้อยู่เหมืนกัน