ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.พร้อมสวมบทบาทธนาคารคนจน เบื้องต้นเสนอให้เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารแต่ขอแยกบัญชี-บุคลากร-การประเมินผลงาน ก่อนดันแยกตั้งเป็นแบงก์ภายหลัง ระบุยังมีช่องปล่อยสินเชื่อรายย่อย ประชาชนทั่วไปได้อีกมากหลังเพิ่มทุน 2 พันล้านเดินหน้าขยายสินเชื่อเต็มที่
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าวันที่ 3 ก.ค.นี้จะหารือกับนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวง อีกครั้งหลังจากที่ธ.ก.ส.ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องการทำธุรกิจบริการทางการเงินระดับฐานราก(ไมโครไฟแนนซ์) สำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายเล็ก รวมถึงเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงบริการทางเงินแบบครบวงจร ทั้งสินเชื่อ เงินฝาก โอนเงิน และการประกันภัย
โดยธ.ก.ส.ยินดีเข้าไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินจนต้องพึ่งพาเงินนอกระบบเพื่อเป็นธนาคารคนจน แต่การดำเนินการนั้นคงต้องมีการแยกบัญชี แยกบุคคลกรและแยกการประเมินผลการดำเนินการานออกจากการดำเนินงานปกติของธนาคาร เนื่องจากส่วนนี้ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นอาจจะให้เป็นหน่วยธุรกิจนึ่งในธ.ก.ส.ก่อน จนกว่าจะมีความเข้มแข็งก็ให้แยกออกไปเป็นธนาคารคนจน เหมือนที่เวียดนามดำเนินการมาก่อนหน้า 10 ปีก่อน โดยหลังจากดำเนินงาน 7-8 ปีก็แยกไปตั้งเป็น แบงก์ ฟอร์ เดอะ พัวร์
นายเอ็นนูกล่าวอีกว่า การสนับสนุนสินเชื่อให้รายย่อยหรือผู้มีรายได้น้อยนั้น ธนาคารไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะแข่งขันกับแบงก์พาณิชย์หรือแบงก์รัฐอื่นๆ ที่มีการปล่อยเฉพาะด้านอยู่แล้วทั้งสินเชื่อบ้านหรือการลงทุน แต่จะเน้นชายเหลือกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินให้สารถนำเงินไปลงทุนได้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด หรือชุมชน หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เป็นต้น
“ที่ผ่านมาธ.ก.ส.ปล่อยกู้นอกภาคเกษตรกรซึ่งให้กับบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว โดยตามกฎหมายสามารถปล่อยได้ 20%ของสินเชื่อรวมที่วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท หรือปล่อยได้ปีละ 1 แสนล้านบาทแต่ยังมีการปล่อยได้จริงเพียง 3-4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ส่วนหนึ่งมีผู้ขอกู้น้อยและธ.ก.ส.เองก็เน้นบทบาทการให้กู้กับเกษตรกรมากกว่า การปล่อยสินเชื่อนอกภาคเกษตรนี้จึงยังสารถขยายสินเชื่อไปสู่รายย่อยและประชาชนทั่วไปได้อีกมาก”นายเอ็นนู กล่าวและว่า ล่าสุดยังได้เงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังอีก 2 พันล้านบาทแม้จะน้อยกว่าที่ขอไป 3-5 พันล้านบาทแต่ก็ช่วยให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเป็น 12% สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 8.5% และทำให้ธ.ก.ส.ชยายสินเชื่อได้อีกถึง 12 เท่า.
นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่าวันที่ 3 ก.ค.นี้จะหารือกับนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวง อีกครั้งหลังจากที่ธ.ก.ส.ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องการทำธุรกิจบริการทางการเงินระดับฐานราก(ไมโครไฟแนนซ์) สำหรับผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการรายเล็ก รวมถึงเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงบริการทางเงินแบบครบวงจร ทั้งสินเชื่อ เงินฝาก โอนเงิน และการประกันภัย
โดยธ.ก.ส.ยินดีเข้าไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินจนต้องพึ่งพาเงินนอกระบบเพื่อเป็นธนาคารคนจน แต่การดำเนินการนั้นคงต้องมีการแยกบัญชี แยกบุคคลกรและแยกการประเมินผลการดำเนินการานออกจากการดำเนินงานปกติของธนาคาร เนื่องจากส่วนนี้ต้องยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูง
อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นอาจจะให้เป็นหน่วยธุรกิจนึ่งในธ.ก.ส.ก่อน จนกว่าจะมีความเข้มแข็งก็ให้แยกออกไปเป็นธนาคารคนจน เหมือนที่เวียดนามดำเนินการมาก่อนหน้า 10 ปีก่อน โดยหลังจากดำเนินงาน 7-8 ปีก็แยกไปตั้งเป็น แบงก์ ฟอร์ เดอะ พัวร์
นายเอ็นนูกล่าวอีกว่า การสนับสนุนสินเชื่อให้รายย่อยหรือผู้มีรายได้น้อยนั้น ธนาคารไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะแข่งขันกับแบงก์พาณิชย์หรือแบงก์รัฐอื่นๆ ที่มีการปล่อยเฉพาะด้านอยู่แล้วทั้งสินเชื่อบ้านหรือการลงทุน แต่จะเน้นชายเหลือกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินให้สารถนำเงินไปลงทุนได้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด หรือชุมชน หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เป็นต้น
“ที่ผ่านมาธ.ก.ส.ปล่อยกู้นอกภาคเกษตรกรซึ่งให้กับบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว โดยตามกฎหมายสามารถปล่อยได้ 20%ของสินเชื่อรวมที่วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท หรือปล่อยได้ปีละ 1 แสนล้านบาทแต่ยังมีการปล่อยได้จริงเพียง 3-4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ส่วนหนึ่งมีผู้ขอกู้น้อยและธ.ก.ส.เองก็เน้นบทบาทการให้กู้กับเกษตรกรมากกว่า การปล่อยสินเชื่อนอกภาคเกษตรนี้จึงยังสารถขยายสินเชื่อไปสู่รายย่อยและประชาชนทั่วไปได้อีกมาก”นายเอ็นนู กล่าวและว่า ล่าสุดยังได้เงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังอีก 2 พันล้านบาทแม้จะน้อยกว่าที่ขอไป 3-5 พันล้านบาทแต่ก็ช่วยให้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเป็น 12% สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 8.5% และทำให้ธ.ก.ส.ชยายสินเชื่อได้อีกถึง 12 เท่า.