ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์อิสลามโชว์โครงการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคล-บัตรเครดิตฉลุย 5 เดือนมียอดสินเชื่อ 1.6 พันล้าน หลังคิดอัตราผลตอบแทน 13.5% เล็งลดอัตรากำไรให้อีก 0.25%พร้อมเดินหน้าโครงการปล่อยกู้สวัสดิการตำรวจ และร่วมกับ ธ.อ.ส.-ออมสิน ปล่อยกู้โครงการ "ยิ้มสู้ กู้วิกฤติ เศรษฐกิจพอเพียง" ช่วยประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งเป้าปล่อยกู้ 1,150 ล้าน
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBANK)เปิดเผยว่า โครงการรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตของธนาคารนั้นได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีผู้ยื่นขอใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มียอดปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1,600 ล้านบาท ขณะที่ฐานรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตเดิมอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนมากอาจจะส่งผลให้สามารถปรับลดอัตรากำไรมาตรฐานลงอีก 0.25% จากปัจจุบันที่คิดอัตรากำไรมาตรฐานบวก 7 % หรือ 13.5 % (ปัจจุบันอัตรากำไรมาตรฐานอยู่ที่ 6.5 %)
"ระดับอัตรากำไรมาตรฐานบวก 7 % หรือปัจจุบันอยู่ที่ 13.5 % ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์หรือนอนแบงก์ที่คิดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล 28% และสินเชื่อบัตรเครดิต 18% ซึ่งทำให้มีผู้มาใช้บริการของธนาคารมากขึ้น" นายธีรศักดิ์ กล่าว
สำหรับการปล่อยสินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพดี โดยลูกค้าที่ได้รับอนุมัติ ยังไม่มีลูกค้ารายใดหยุดชำระหนี้ เนื่องจากการพิจารณาของธนาคารจะยึดหลักการนำยอดรวมสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลที่มีอยู่ทั้งหมดมารวมกัน เพื่อคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้ามีสินเชื่อบัตรเครดิตรวมทุกบัตร 200,000 บาท ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดต้องชำระบัตรเครดิตชำระขั้นต่ำ 10 % ของรอบบัญชีเรียกเก็บ หรือเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน แต่หากผู้ถือบัตรมีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ดังนั้น หากมาขอรีไฟแนนซ์กับธนาคาร ซึ่งกำหนดชำระค่างวดเดือน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ลูกค้ารายนี้มีสามารถชำระหนี้ได้โดยไม่เกินกำลังหรือหวั่นวิตกต่อการถูกตามทวงหนี้
นอกจากนี้ ในปัจจุบันธนาคารยังให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยหากเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ปีแรกคิดอัตรากำไรมาตรฐาน 1.5 % และหากเป็นพนักงานของธุรกิจเอกชนคิดอัตรา 1.85 % และปีที่ 2 จนตลอดอายุสัญญา คิดอัตรากำไรมาตรฐาน ลบ 1.5 % (ปัจจุบันอยู่ที่ 5%) โดยในช่วง 5 เดือนแรกสามารถปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 2,000 ล้านบาท และยังมีลูกค้าให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันจะมีลูกค้าเข้ามาติดต่อของสินเชื่อประมาณ 200-300 ราย มีอัตราการอนุมัติ 60%ของวงเงินขอสินเชื่อรวม
นายธีรศักดิ์กล่าวอีกว่า ธนาคารกำลังเจรจากับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเปิดตัวเงินกู้สวัสดิ์การให้กับข้าราชการตำรวจ และลูกจ้างของสำนักงานตำรวจ ซึ่งมีทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย และการรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต โดยคาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดของโครงการได้เร็วๆ นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นการเข้าไปช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่มีภาระหนี้สิน และในอีกด้านหนึ่งก็ยังเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับธนาคารด้วย โดยคาดว่าจะลูกค้าเพิ่มจากโครงการดังกล่าวประมาณ 100,000 ราย จากปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าประมาณ 200,000 ราย
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังมีโครงการ "ยิ้มสู้ กู้วิกฤติ เศรษฐกิจพอเพียง" ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน สนับสนุนสินเชื่อให้กับประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนาราธิวาส จะเปิดตัวโครงการในวันที่ 22 ก.ค.นี้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งวงเงินที่ปล่อยกู้ในโครงการนี้กำหนดไว้ที่ 5,000-200,000 บาท คิดค่าบริหารจัดการ และค่าธรรมเนียมในอัตราที่เป็นธรรม ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 1,150 ล้านบาท แบ่งเป็นจังหวัดสงขลา 200 ล้านบาท สตูล 100 ล้านบาท จังหวัดยะลา 200 ล้านบาท ปัตตานี 350 ล้านบาท และนราธิวาส 300 ล้านบาท
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBANK)เปิดเผยว่า โครงการรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตของธนาคารนั้นได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีผู้ยื่นขอใช้บริการเป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มียอดปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1,600 ล้านบาท ขณะที่ฐานรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตเดิมอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนผู้ใช้บริการจำนวนมากอาจจะส่งผลให้สามารถปรับลดอัตรากำไรมาตรฐานลงอีก 0.25% จากปัจจุบันที่คิดอัตรากำไรมาตรฐานบวก 7 % หรือ 13.5 % (ปัจจุบันอัตรากำไรมาตรฐานอยู่ที่ 6.5 %)
"ระดับอัตรากำไรมาตรฐานบวก 7 % หรือปัจจุบันอยู่ที่ 13.5 % ถือเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์หรือนอนแบงก์ที่คิดดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคล 28% และสินเชื่อบัตรเครดิต 18% ซึ่งทำให้มีผู้มาใช้บริการของธนาคารมากขึ้น" นายธีรศักดิ์ กล่าว
สำหรับการปล่อยสินเชื่อรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพดี โดยลูกค้าที่ได้รับอนุมัติ ยังไม่มีลูกค้ารายใดหยุดชำระหนี้ เนื่องจากการพิจารณาของธนาคารจะยึดหลักการนำยอดรวมสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลที่มีอยู่ทั้งหมดมารวมกัน เพื่อคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้ามีสินเชื่อบัตรเครดิตรวมทุกบัตร 200,000 บาท ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดต้องชำระบัตรเครดิตชำระขั้นต่ำ 10 % ของรอบบัญชีเรียกเก็บ หรือเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน แต่หากผู้ถือบัตรมีรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ดังนั้น หากมาขอรีไฟแนนซ์กับธนาคาร ซึ่งกำหนดชำระค่างวดเดือน 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้ลูกค้ารายนี้มีสามารถชำระหนี้ได้โดยไม่เกินกำลังหรือหวั่นวิตกต่อการถูกตามทวงหนี้
นอกจากนี้ ในปัจจุบันธนาคารยังให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยหากเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ปีแรกคิดอัตรากำไรมาตรฐาน 1.5 % และหากเป็นพนักงานของธุรกิจเอกชนคิดอัตรา 1.85 % และปีที่ 2 จนตลอดอายุสัญญา คิดอัตรากำไรมาตรฐาน ลบ 1.5 % (ปัจจุบันอยู่ที่ 5%) โดยในช่วง 5 เดือนแรกสามารถปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 2,000 ล้านบาท และยังมีลูกค้าให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง โดยในแต่ละวันจะมีลูกค้าเข้ามาติดต่อของสินเชื่อประมาณ 200-300 ราย มีอัตราการอนุมัติ 60%ของวงเงินขอสินเชื่อรวม
นายธีรศักดิ์กล่าวอีกว่า ธนาคารกำลังเจรจากับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเปิดตัวเงินกู้สวัสดิ์การให้กับข้าราชการตำรวจ และลูกจ้างของสำนักงานตำรวจ ซึ่งมีทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย และการรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต โดยคาดว่าจะสามารถสรุปรายละเอียดของโครงการได้เร็วๆ นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นการเข้าไปช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่มีภาระหนี้สิน และในอีกด้านหนึ่งก็ยังเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับธนาคารด้วย โดยคาดว่าจะลูกค้าเพิ่มจากโครงการดังกล่าวประมาณ 100,000 ราย จากปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าประมาณ 200,000 ราย
พร้อมกันนี้ ธนาคารยังมีโครงการ "ยิ้มสู้ กู้วิกฤติ เศรษฐกิจพอเพียง" ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน สนับสนุนสินเชื่อให้กับประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนาราธิวาส จะเปิดตัวโครงการในวันที่ 22 ก.ค.นี้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดโครงการ ซึ่งวงเงินที่ปล่อยกู้ในโครงการนี้กำหนดไว้ที่ 5,000-200,000 บาท คิดค่าบริหารจัดการ และค่าธรรมเนียมในอัตราที่เป็นธรรม ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 1,150 ล้านบาท แบ่งเป็นจังหวัดสงขลา 200 ล้านบาท สตูล 100 ล้านบาท จังหวัดยะลา 200 ล้านบาท ปัตตานี 350 ล้านบาท และนราธิวาส 300 ล้านบาท