ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ยังแผลงฤทธิ์ต่อเนื่อง สธ.เผยคนไทยดับเพิ่มอีก 2 คน ทำยอดผู้เสียชีวิตขยับขึ้นไปเป็น 5 คน ระบุผู้เสียชีวิตรายที่ 4 เป็นหญิงจากชลบุรีวัย 14 ปี ส่วนรายที่ 5 เป็นชายวัย 45 ปี ไตวายเฉียบพลัน พร้อมเฝ้าระวังเข้มหญิงวัย 21 ปีอีก 1 ราย เตรียมประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญถกใหม่ 3 ก.ค.นี้ ด้านองค์การอนามัยโลกระบุเชื้อลุกลามแล้วใน 118 ดินแดนทั่วโลก ส่วนยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 70,000 ราย พร้อมชี้การระบาดในแถบเอเชีย-แปซิฟิกยังน่าห่วง
วานนี้(1 ก.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เพิ่มอีก 2 ราย ถือเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตรายที่ 4 และ 5 ของประเทศไทย โดยรายแรกเป็นหญิงอายุ 15 ปี ที่ จ.ชลบุรี เสียชีวิตเมื่อเวลา 10.45 น. และรายที่ 2 เป็นชายอายุ 45 ปี ที่รพ.ราชวิถี เสียชีวิตเมื่อเวลา 11.35 น. ทำให้ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 59 ราย รวมมียอดผู้ป่วยสะสมรวม 1,473 ราย รักษาหายแล้ว1,448 ราย เหลือนอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 22 ราย
ส่วนเมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรกรณีที่รมว.สาธารณสุขประเทศอาร์เจนตินาแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกหลังจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตอาร์เจนตินา 26 ราย นายวิทยากล่าวว่า ที่ผ่านมาแนวทางการดำเนินการของ สธ.ทำตามขั้นตอนมาโดยตลอด เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง กับประเทศ และตนเองก็เรียกร้องทุกฝ่ายมาตลอดว่า หากมีข้อแนะนำ มีความรู้ ข้อเสนอแนะ มาตรการในการดำเนินการป้องกันโรคก็สามารถเสนอมา สธ.เปิดกว้างและไม่ปิดกั้นแต่ก็ยังไม่มีข้อเสนอแนะมากกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของสธ.ดำเนินการอยู่ในขณะนี้นี้
เหยื่อรายที่ 4 สารพัดโรครุมเร้า
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 4 หญิงอายุ 15 ปี มีโรคประจำตัวหลายโรค เคยผ่านการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เป็นโรคเบาหวาน เบาจืด ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ ทำให้มีเม็ดเลือดแดงและขาวต่ำ รวมทั้งพิการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาหลายวันแล้ว
วันเดียวกันที่หอประชุม ชั้น 2 สำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี อ.เมือง จ.ชลบุรี หลังพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ น.ส.สุรีวัลย์ เจริญ อายุ 15 ปี ซึ่งเป็นรายที่ 3 ของจังหวัดชลบุรี ต่อจากวิศวกรวัย 42 ปี ที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งของ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และทหารเกณฑ์ของฐานทัพเรือสัตหีบ นายทรงพล จำปาพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้เปิดแถลงข่าวร่วมกับ นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ชลบุรี และนพ.ชาตรี ตันติยวรงค์ ผอ.รพ.ศูนย์ชลบุรี และนายแพทย์ที่ทำการรักษา
นายทรงพลกล่าวว่า ขณะนี้ จ.ชลบุรี พบผู้ที่ต้องเฝ้าระวังป่วยหวัด 2009 ทั้งหมด 184 คน โดยในจำนวนนี้ป่วยไข้หวัด2009 จำนวน 64 คน ใน 5 อำเภอ จาก 11 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.พานทอง อ.ศรีราชา อ.บางละมุง และ อ.สัตหีบ และที่ต้องควบคุมเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มี 2 ราย คือ นักศึกษา ปี 4 ในมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชาที่มีอาการหนัก ส่วนอีกรายคือผู้เสียชีวิต
ทั้งนี้ เนื่องจาก จ.ชลบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้นักท่องเที่ยวหลุดรอดสายตามาแพร่ระบาดมาก อย่างไรก็ตามได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุข จ.ชลบุรี เร่งควบคุมอย่างเข้มงวด และจ่ายยา โอเซลทามีเวียร์ให้ผู้ต้องสงสัยรับประทานป้องกันไว้ก่อน
ด้านนพ.ชาตรีกล่าวว่า ผู้เสียชีวิตเป็นชาว ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ไม่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้ทำงาน เข้ารักษาตัวอยู่ที่ รพ.อ่าวอุดม อ.ศรีราชา ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. มีอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 หอบเหนื่อย ไอ จาม จึงได้ส่งตัวมา รพ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลา เกือบเที่ยงคืน จากนั้นได้ทำการรักษาโดยแยกผู้ป่วย ให้ยาโอเซลทามีเวียร์รับประทาน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบผู้เสียชีวิตเคยผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เมื่อปี 2548 โดยต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ประกอบกับเกล็ดเลือดขวาต่ำและแดงต่ำ โลหิตจาง ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่ทำงาน รวมทั้งมีโรคเบาหวานแทรกซ้อนด้วย
ซึ่งขณะนี้ได้ให้ กองระบาดวิทยา รพ.ชลบุรี ต้องผู้สัมผัสผู้เสียชีวิต 5 คน พบว่าปกติดี ไม่มีไข้หวัด2009 แต่ต้องเฝ้าระวังโดยกักตัวไว้ 7 วัน เพื่อป้องกันอย่างเฉียบขาด
ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 ไตวายเฉียบพลัน
พญ.วารุณี จินารัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากมีไข้มาแล้ว 3 วัน แพทย์ได้เอ็กซเรย์พบอาการปอดบวม หลังจากนั้นภายใน 2 ชั่วโมงอาการลุกลามเร็วมาก ผู้ป่วยหอบมากขึ้น ความดันตก ได้นำเข้าห้องไอซียูทันที แพทย์ได้ให้ยารักษาหลายชนิด มีการควบคุมความดันโดยใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดพิเศษให้ความดันสูงเพื่อเพิ่มออกซิเจนในปอดให้สูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยอาการเหมือนจะดีขึ้น สามารถหายใจได้เองมากขึ้น รู้สึกตัวดี แต่แพทย์ต้องให้ยานอนหลับเพื่อให้เครื่องช่วยหายใจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย.ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอีก โดยหัวใจเต้นผิดปกติ ต้องให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจและใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้เต้นตามปกติถึง 2 ครั้ง แต่ผู้ป่วยยังความดันตกและไตวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตลง ทั้งนี้ โรงพยาบาลได้แจ้งให้ญาติทราบและมีความเข้าใจในรักษามาโดยตลอด ซึ่งญาติเข้าใจดีพร้อมทั้งแจ้งให้แพทย์ไม่ต้องปั๊มหัวใจขึ้นมาอีก
ตัวเลขการตายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขอให้ประชาชนคนไทยไม่ต้องตื่นตระหนก แม้ว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ตายเป็นรายที่ 5 เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตไม่สูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรงที่เฝ้าระวังอยู่ในขณะนี้มี 1 ราย เป็นหญิงวัย 21 ปี ผลการตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะนี้อาการทรงตัว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ยังพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู
สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 5 มีโรคประจำตัว ทั้งโรคทางโลหิต ทำให้เม็ดเลือดทุกชนิดต่ำ โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่มีเพียง 1,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ขณะที่คนปกติมีประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ทั้งนี้ผู้ป่วยรายดังกล่าวสธ.ดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วเพียงแต่ที่ผ่านมาอาการปกติไม่ได้อยู่ในไอซียู จึงไม่มีการรายงานอาการความรุนแรง โดยการสอบสวนโรคนั้น พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากภายนอกไม่ได้ติดเชื้อจากโรงพยาบาลแน่นอน
“ผู้เสียชีวิตรายนี้เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง ทางโรงพยาบาลได้นำตัวแยกในห้องแยกเชื้อ ไม่ให้ได้รับเชื้ออื่นเพิ่มเติม ซึ่งสธ.เป็นห่วงรายดังกล่าวอย่างมาก ได้สอบถามถึงอาการเป็นระยะๆ พร้อมทั้งได้เดินทางไปเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และก็ได้รับรายงานว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น จนกระทั่งผู้ป่วยปวดท้อง และท้องเสียจนอาการทรุดลงอย่างฉับพลัน จนต้องนำตัวเข้าห้องไอซียู และเสียชีวิตในเวลาต่อมา”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เรียกผู้เชี่ยวชาญถกรับมือใหม่
นพ.ศุภมิตร์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่าในวันที่ 3 ก.ค.คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการทางการแพทย์และยุทธศาสตร์แห่งชาติที่มีศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธานจะมีการประชุมโดยนำข้อมูลผู้ป่วยที่หายแล้วรวมถึงรายที่เสียชีวิตมาหารือร่วมกัน เพื่อมาปรับปรุงแนวทางการรักษาการป้องกันให้มีความทันต่อสถานการณ์เป็นระยะๆ
“การหารือครั้งนี้จะนำข้อมูลของผู้ป่วยที่เริ่มเข้าสู่การรักษาพยาบาลตั้งแต่แรก วิธีการรักษาในรายที่มีอาการหนัก รวมถึงสภาพร่างกายในรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงที่เชื้อโรคทำให้เกิดความรุนแรงโดยองค์ความรู้ที่ได้ต้องไปรวมกับองค์ความรู้ของประเทศอื่นๆ มีองค์การอนามัยโลกเป็นตัวกลางในการประสานให้ความรู้โรคดังกล่าวชัดเจนขึ้น ที่ผ่านมาได้ขอความร่วมมือกับญาติผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในการให้เจ้าหน้าที่ได้เก็บชันสูตรและเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้ออย่างละเอียดเพื่อสรุปความรู้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด”นพ.ศุภมิตร์ กล่าว
นพ.ศุภมิตร์ กล่าวต่อว่า โดยปกติมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 10%ของผู้ป่วยทั้งหมด ในจำนวนนี้ 1-10%จะมีอาการรุนแรงน้อยถึงมาก และในรายที่มีอาการมากจะมีประมาณ 1% ที่มีโอกาสเสียชีวิตได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับปัจจัยแต่ละบุคคล
ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 3 ก.ค.กรมอนามัยร่วมกับกรมควบคุมโรคจะเชิญตัวแทนบริษัทและพนักงานบริษัททำความสะอาด เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสวมเสื้อผ้า การใส่ถุงมือ และป้องกันตัวเองด้านอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มพนักงานทำความสะอาดนั้นถือว่ามีความเสี่ยงเพราะทำงานกับสิ่งสกปรกในพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
”วิชาญ”จี้ รบ.-สธ. เข้มคุมหวัด
นายวิชาญ มีนชัยนันทน์ อดีตรมช.สาธารณสุข แถลงว่า กรณีที่มีการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัด 2009 มากขึ้นนั้น ตนมีความเป็นห่วงประชาชน และไม่ได้มาแถลงเพื่อเล่นการเมือง โดยต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ต้องชัดเจนในนโยบายและรูปธรรมมากกว่านี้ ไม่ควรนำตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพราะไม่ได้ช่วยสร้างความมั่นใจ และทำให้ประชาชนกังวล ต่างประเทศจะมองว่า ควบคุมโรคไม่ได้ ทางที่จะสร้างความมั่นใจคือ ต้องดูแลป้องกันให้ดีขึ้น จึงขอให้รมว.สาธารณสุขดูแลนโยบายให้ดีขึ้น
“รมว.กห.ยันไม่ได้ปล่อยพลทหารตาย
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ที่ลุกลามไปถึงกำลังพลในกองทัพจนทำให้มีพลทหารเรือเสียชีวิตว่า เรื่องนี้ทางผู้บัญชาการทหารเรือรู้สึกวิตกกังวลจึงเข้าไปดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราพยายามจะควบคุมอยู่และขอแสดงความเสียใจกับทหารที่เสียชีวิตไป แต่ยืนยันว่าไม่ได้ปล่อยปละละเลย และผบ.ทร.รายงานให้ตนทราบเป็นระยะๆ และดูแลอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ตนฝากให้ ผบ.ทร.ช่วยดูแลเรื่องสุขภาพของกำลังพล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไข้หวัดระบาด ซึ่งทุกเหล่าทัพคงไม่อยากให้ผู้ใต้บังคับบัญชาติดหวัด อย่างไรก็ตามทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำแนะตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือประชาชนคงต้องดูแลสุขภาพตัวเอง โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกเป็นห่วง แต่ไข้หวัดนี้สามารถหายได้ด้วยตัวเอง
หวัดลาม118ดินแดนทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก หรือ“ฮู”ออกรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ เอช 1เอ็น1ฉบับล่าสุดซึ่งเป็นฉบับที่ 55 นับตั้งแต่พบการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยระบุว่า ในขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ทั่วโลกได้เพิ่มจำนวนเป็น 70,893 รายแล้ว และมีผู้เสียชีวิต 311 ราย
โดยข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า ขณะนี้เชื้อมรณะได้ลุกลามไปแล้วในดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวม 118 แห่ง ซึ่งแบ่งเป็นประเทศเอกราช 105 แห่งกับอีก 13 เขตปกครองพิเศษ
นอกจากนั้น ยังพบว่าในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงที่ผ่านมามีรายงานการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 11,079 รายและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 48 รายทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดยังไม่ได้ลดความรุนแรงลงแต่อย่างใด
ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อชนิดนี้เพิ่มในอัตราที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของโลกในเวลานี้ เนื่องจาก 3 วันที่ผ่านมาหลายประเทศในแถบนี้ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ออสเตรเลียพบ 758 คน จีน 353 คน ญี่ปุ่น163 คน
นิวซีแลนด์ 134 คน ฟิลิปปินส์ 416 คน และสิงคโปร์ 284 คน
ด้าน“โรช” ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันวานนี้ (1) ว่ากำลังเดินหน้าโครงการผลิตยา “ทามิฟลู” ให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะได้สิทธิซื้อยาชนิดนี้ในราคาถูกลงร้อยละ 50จากเดิมที่ยาทามิฟลู 1 ซองประกอบไปด้วยแคปซูลยา 10 เม็ด จะขายกันที่ราคา 12 ยูโร หรือราว 580 บาท แต่ทางบริษัทจะขายให้ประเทศกำลังพัฒนาในราคา 6 ยูโรหรือประมาณ 290 บาทเท่านั้นและมีบริการจัดเก็บยาให้ เพราะทางบริษัททราบดีว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีศักยภาพดีพอในการเก็บรักษายาด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศกำลังพัฒนาเพียง 6 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีตัวยาทามิฟลูตุนไว้ในคลังยา ขณะที่ยังมีประเทศยากจนจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงตัวยาชนิดนี้
ซาอุฯแนะไม่แข็งแรงอย่าเพิ่งมาฮัจญ์
รัฐมนตรีสาธารณสุข อัลดุลเลาะห์ อับรอบีรอห์ ของซาอุดีอาระเบีย ได้ออกมาแถลงเมื่อวันอังคาร(30มิ.ย.) ขอร้องให้คนชรา ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง และชาวมุสลิมที่ไม่แข็งแรงอื่นๆ เลื่อนการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะออกไปก่อน ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียกำลังพยายามป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่ระบาดออกไปขนานใหญ่
ในแต่ละปีชาวมุสลิมประมาณ 3 ล้านคนจากกว่า 160 ประเทศมุ่งสู่นครเมกกะเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ กลายเป็นหนึ่งในการรวมตัวทางศาสนาขนาดใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับปีนี้ช่วงเวลาพิธีฮัจญ์เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้นชาวมุสลิมยังสามารถเดินทางไปแสวงบุญยังเมืองเมกกะในช่วงอื่นๆ ของปี แต่จะเรียกกันว่า “อุมเราะห์”
“พวกผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนชรา, ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง, เด็กๆ , และสตรีมีครรภ์ ควรเลื่อนแผนการประกอบพิธีฮัจญ์ออกไปก่อนเพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง” รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกกับผู้สื่อข่าวที่เมืองเจดดาห์
เขายังเรียกร้องให้ผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ตลอดจนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เมื่อมีออกมาในช่วงต่อไปของปีนี้ ก่อนที่จะมาซาอุดีอาระเบีย ขณะเดียวกัน ทางด้านโฆษกกระทรวงแถลงเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้แสวงบุญที่มีจำนวนมาก ซาอุดีอาระเบียจะเพิ่มยาทามิฟลูในสต็อกขึ้นเป็น 20% ซึ่งเป็นสองเท่าตัวของระดับที่องค์การอนามัยโลก(ฮู) แนะนำประเทศต่างๆ ให้เก็บสต็อกไว้
จนถึงเวลานี้ซาอุดีอาระเบียพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 81 ราย ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว รัฐมนตรีสาธารณสุขกล่าว ภายหลังการหารือเป็นเวลา 3 วันกับพวกผู้เชี่ยวชาญของฮูและองค์การอื่นๆ
วานนี้(1 ก.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตยืนยันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เพิ่มอีก 2 ราย ถือเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตรายที่ 4 และ 5 ของประเทศไทย โดยรายแรกเป็นหญิงอายุ 15 ปี ที่ จ.ชลบุรี เสียชีวิตเมื่อเวลา 10.45 น. และรายที่ 2 เป็นชายอายุ 45 ปี ที่รพ.ราชวิถี เสียชีวิตเมื่อเวลา 11.35 น. ทำให้ขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพิ่มอีก 59 ราย รวมมียอดผู้ป่วยสะสมรวม 1,473 ราย รักษาหายแล้ว1,448 ราย เหลือนอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 22 ราย
ส่วนเมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรกรณีที่รมว.สาธารณสุขประเทศอาร์เจนตินาแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกหลังจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตอาร์เจนตินา 26 ราย นายวิทยากล่าวว่า ที่ผ่านมาแนวทางการดำเนินการของ สธ.ทำตามขั้นตอนมาโดยตลอด เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเมือง กับประเทศ และตนเองก็เรียกร้องทุกฝ่ายมาตลอดว่า หากมีข้อแนะนำ มีความรู้ ข้อเสนอแนะ มาตรการในการดำเนินการป้องกันโรคก็สามารถเสนอมา สธ.เปิดกว้างและไม่ปิดกั้นแต่ก็ยังไม่มีข้อเสนอแนะมากกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของสธ.ดำเนินการอยู่ในขณะนี้นี้
เหยื่อรายที่ 4 สารพัดโรครุมเร้า
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 4 หญิงอายุ 15 ปี มีโรคประจำตัวหลายโรค เคยผ่านการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เป็นโรคเบาหวาน เบาจืด ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ ทำให้มีเม็ดเลือดแดงและขาวต่ำ รวมทั้งพิการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมาหลายวันแล้ว
วันเดียวกันที่หอประชุม ชั้น 2 สำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี อ.เมือง จ.ชลบุรี หลังพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ น.ส.สุรีวัลย์ เจริญ อายุ 15 ปี ซึ่งเป็นรายที่ 3 ของจังหวัดชลบุรี ต่อจากวิศวกรวัย 42 ปี ที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งของ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และทหารเกณฑ์ของฐานทัพเรือสัตหีบ นายทรงพล จำปาพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้เปิดแถลงข่าวร่วมกับ นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ชลบุรี และนพ.ชาตรี ตันติยวรงค์ ผอ.รพ.ศูนย์ชลบุรี และนายแพทย์ที่ทำการรักษา
นายทรงพลกล่าวว่า ขณะนี้ จ.ชลบุรี พบผู้ที่ต้องเฝ้าระวังป่วยหวัด 2009 ทั้งหมด 184 คน โดยในจำนวนนี้ป่วยไข้หวัด2009 จำนวน 64 คน ใน 5 อำเภอ จาก 11 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.พานทอง อ.ศรีราชา อ.บางละมุง และ อ.สัตหีบ และที่ต้องควบคุมเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด มี 2 ราย คือ นักศึกษา ปี 4 ในมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในอำเภอศรีราชาที่มีอาการหนัก ส่วนอีกรายคือผู้เสียชีวิต
ทั้งนี้ เนื่องจาก จ.ชลบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงมีนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้นักท่องเที่ยวหลุดรอดสายตามาแพร่ระบาดมาก อย่างไรก็ตามได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุข จ.ชลบุรี เร่งควบคุมอย่างเข้มงวด และจ่ายยา โอเซลทามีเวียร์ให้ผู้ต้องสงสัยรับประทานป้องกันไว้ก่อน
ด้านนพ.ชาตรีกล่าวว่า ผู้เสียชีวิตเป็นชาว ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ไม่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้ทำงาน เข้ารักษาตัวอยู่ที่ รพ.อ่าวอุดม อ.ศรีราชา ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. มีอาการป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 หอบเหนื่อย ไอ จาม จึงได้ส่งตัวมา รพ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลา เกือบเที่ยงคืน จากนั้นได้ทำการรักษาโดยแยกผู้ป่วย ให้ยาโอเซลทามีเวียร์รับประทาน
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบผู้เสียชีวิตเคยผ่าตัดเนื้องอกในสมอง เมื่อปี 2548 โดยต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ประกอบกับเกล็ดเลือดขวาต่ำและแดงต่ำ โลหิตจาง ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่ทำงาน รวมทั้งมีโรคเบาหวานแทรกซ้อนด้วย
ซึ่งขณะนี้ได้ให้ กองระบาดวิทยา รพ.ชลบุรี ต้องผู้สัมผัสผู้เสียชีวิต 5 คน พบว่าปกติดี ไม่มีไข้หวัด2009 แต่ต้องเฝ้าระวังโดยกักตัวไว้ 7 วัน เพื่อป้องกันอย่างเฉียบขาด
ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 ไตวายเฉียบพลัน
พญ.วารุณี จินารัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 5 เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังจากมีไข้มาแล้ว 3 วัน แพทย์ได้เอ็กซเรย์พบอาการปอดบวม หลังจากนั้นภายใน 2 ชั่วโมงอาการลุกลามเร็วมาก ผู้ป่วยหอบมากขึ้น ความดันตก ได้นำเข้าห้องไอซียูทันที แพทย์ได้ให้ยารักษาหลายชนิด มีการควบคุมความดันโดยใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดพิเศษให้ความดันสูงเพื่อเพิ่มออกซิเจนในปอดให้สูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยอาการเหมือนจะดีขึ้น สามารถหายใจได้เองมากขึ้น รู้สึกตัวดี แต่แพทย์ต้องให้ยานอนหลับเพื่อให้เครื่องช่วยหายใจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 30 มิ.ย.ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอีก โดยหัวใจเต้นผิดปกติ ต้องให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจและใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้เต้นตามปกติถึง 2 ครั้ง แต่ผู้ป่วยยังความดันตกและไตวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตลง ทั้งนี้ โรงพยาบาลได้แจ้งให้ญาติทราบและมีความเข้าใจในรักษามาโดยตลอด ซึ่งญาติเข้าใจดีพร้อมทั้งแจ้งให้แพทย์ไม่ต้องปั๊มหัวใจขึ้นมาอีก
ตัวเลขการตายอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขอให้ประชาชนคนไทยไม่ต้องตื่นตระหนก แม้ว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ตายเป็นรายที่ 5 เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตไม่สูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรงที่เฝ้าระวังอยู่ในขณะนี้มี 1 ราย เป็นหญิงวัย 21 ปี ผลการตรวจยืนยันจากห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขณะนี้อาการทรงตัว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ยังพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู
สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 5 มีโรคประจำตัว ทั้งโรคทางโลหิต ทำให้เม็ดเลือดทุกชนิดต่ำ โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่มีเพียง 1,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ขณะที่คนปกติมีประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ทั้งนี้ผู้ป่วยรายดังกล่าวสธ.ดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วเพียงแต่ที่ผ่านมาอาการปกติไม่ได้อยู่ในไอซียู จึงไม่มีการรายงานอาการความรุนแรง โดยการสอบสวนโรคนั้น พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อมาจากภายนอกไม่ได้ติดเชื้อจากโรงพยาบาลแน่นอน
“ผู้เสียชีวิตรายนี้เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง ทางโรงพยาบาลได้นำตัวแยกในห้องแยกเชื้อ ไม่ให้ได้รับเชื้ออื่นเพิ่มเติม ซึ่งสธ.เป็นห่วงรายดังกล่าวอย่างมาก ได้สอบถามถึงอาการเป็นระยะๆ พร้อมทั้งได้เดินทางไปเยี่ยมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และก็ได้รับรายงานว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้น จนกระทั่งผู้ป่วยปวดท้อง และท้องเสียจนอาการทรุดลงอย่างฉับพลัน จนต้องนำตัวเข้าห้องไอซียู และเสียชีวิตในเวลาต่อมา”นพ.ไพจิตร์ กล่าว
เรียกผู้เชี่ยวชาญถกรับมือใหม่
นพ.ศุภมิตร์ ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิระดับ 10 กรมควบคุมโรค กล่าวว่าในวันที่ 3 ก.ค.คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการทางการแพทย์และยุทธศาสตร์แห่งชาติที่มีศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธานจะมีการประชุมโดยนำข้อมูลผู้ป่วยที่หายแล้วรวมถึงรายที่เสียชีวิตมาหารือร่วมกัน เพื่อมาปรับปรุงแนวทางการรักษาการป้องกันให้มีความทันต่อสถานการณ์เป็นระยะๆ
“การหารือครั้งนี้จะนำข้อมูลของผู้ป่วยที่เริ่มเข้าสู่การรักษาพยาบาลตั้งแต่แรก วิธีการรักษาในรายที่มีอาการหนัก รวมถึงสภาพร่างกายในรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงที่เชื้อโรคทำให้เกิดความรุนแรงโดยองค์ความรู้ที่ได้ต้องไปรวมกับองค์ความรู้ของประเทศอื่นๆ มีองค์การอนามัยโลกเป็นตัวกลางในการประสานให้ความรู้โรคดังกล่าวชัดเจนขึ้น ที่ผ่านมาได้ขอความร่วมมือกับญาติผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในการให้เจ้าหน้าที่ได้เก็บชันสูตรและเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้ออย่างละเอียดเพื่อสรุปความรู้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด”นพ.ศุภมิตร์ กล่าว
นพ.ศุภมิตร์ กล่าวต่อว่า โดยปกติมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 10%ของผู้ป่วยทั้งหมด ในจำนวนนี้ 1-10%จะมีอาการรุนแรงน้อยถึงมาก และในรายที่มีอาการมากจะมีประมาณ 1% ที่มีโอกาสเสียชีวิตได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับปัจจัยแต่ละบุคคล
ด้านนพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 3 ก.ค.กรมอนามัยร่วมกับกรมควบคุมโรคจะเชิญตัวแทนบริษัทและพนักงานบริษัททำความสะอาด เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสวมเสื้อผ้า การใส่ถุงมือ และป้องกันตัวเองด้านอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มพนักงานทำความสะอาดนั้นถือว่ามีความเสี่ยงเพราะทำงานกับสิ่งสกปรกในพื้นที่ที่มีชุมชนหนาแน่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
”วิชาญ”จี้ รบ.-สธ. เข้มคุมหวัด
นายวิชาญ มีนชัยนันทน์ อดีตรมช.สาธารณสุข แถลงว่า กรณีที่มีการติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัด 2009 มากขึ้นนั้น ตนมีความเป็นห่วงประชาชน และไม่ได้มาแถลงเพื่อเล่นการเมือง โดยต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ต้องชัดเจนในนโยบายและรูปธรรมมากกว่านี้ ไม่ควรนำตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพราะไม่ได้ช่วยสร้างความมั่นใจ และทำให้ประชาชนกังวล ต่างประเทศจะมองว่า ควบคุมโรคไม่ได้ ทางที่จะสร้างความมั่นใจคือ ต้องดูแลป้องกันให้ดีขึ้น จึงขอให้รมว.สาธารณสุขดูแลนโยบายให้ดีขึ้น
“รมว.กห.ยันไม่ได้ปล่อยพลทหารตาย
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวถึงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ที่ลุกลามไปถึงกำลังพลในกองทัพจนทำให้มีพลทหารเรือเสียชีวิตว่า เรื่องนี้ทางผู้บัญชาการทหารเรือรู้สึกวิตกกังวลจึงเข้าไปดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราพยายามจะควบคุมอยู่และขอแสดงความเสียใจกับทหารที่เสียชีวิตไป แต่ยืนยันว่าไม่ได้ปล่อยปละละเลย และผบ.ทร.รายงานให้ตนทราบเป็นระยะๆ และดูแลอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ตนฝากให้ ผบ.ทร.ช่วยดูแลเรื่องสุขภาพของกำลังพล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไข้หวัดระบาด ซึ่งทุกเหล่าทัพคงไม่อยากให้ผู้ใต้บังคับบัญชาติดหวัด อย่างไรก็ตามทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้คำแนะตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือประชาชนคงต้องดูแลสุขภาพตัวเอง โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกเป็นห่วง แต่ไข้หวัดนี้สามารถหายได้ด้วยตัวเอง
หวัดลาม118ดินแดนทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก หรือ“ฮู”ออกรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิดเอ เอช 1เอ็น1ฉบับล่าสุดซึ่งเป็นฉบับที่ 55 นับตั้งแต่พบการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยระบุว่า ในขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ทั่วโลกได้เพิ่มจำนวนเป็น 70,893 รายแล้ว และมีผู้เสียชีวิต 311 ราย
โดยข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า ขณะนี้เชื้อมรณะได้ลุกลามไปแล้วในดินแดนต่างๆ ทั่วโลกรวม 118 แห่ง ซึ่งแบ่งเป็นประเทศเอกราช 105 แห่งกับอีก 13 เขตปกครองพิเศษ
นอกจากนั้น ยังพบว่าในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงที่ผ่านมามีรายงานการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 11,079 รายและมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 48 รายทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดยังไม่ได้ลดความรุนแรงลงแต่อย่างใด
ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่พบการแพร่ระบาดของเชื้อชนิดนี้เพิ่มในอัตราที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของโลกในเวลานี้ เนื่องจาก 3 วันที่ผ่านมาหลายประเทศในแถบนี้ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ออสเตรเลียพบ 758 คน จีน 353 คน ญี่ปุ่น163 คน
นิวซีแลนด์ 134 คน ฟิลิปปินส์ 416 คน และสิงคโปร์ 284 คน
ด้าน“โรช” ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันวานนี้ (1) ว่ากำลังเดินหน้าโครงการผลิตยา “ทามิฟลู” ให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะได้สิทธิซื้อยาชนิดนี้ในราคาถูกลงร้อยละ 50จากเดิมที่ยาทามิฟลู 1 ซองประกอบไปด้วยแคปซูลยา 10 เม็ด จะขายกันที่ราคา 12 ยูโร หรือราว 580 บาท แต่ทางบริษัทจะขายให้ประเทศกำลังพัฒนาในราคา 6 ยูโรหรือประมาณ 290 บาทเท่านั้นและมีบริการจัดเก็บยาให้ เพราะทางบริษัททราบดีว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีศักยภาพดีพอในการเก็บรักษายาด้วยตัวเอง
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประเทศกำลังพัฒนาเพียง 6 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีตัวยาทามิฟลูตุนไว้ในคลังยา ขณะที่ยังมีประเทศยากจนจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงตัวยาชนิดนี้
ซาอุฯแนะไม่แข็งแรงอย่าเพิ่งมาฮัจญ์
รัฐมนตรีสาธารณสุข อัลดุลเลาะห์ อับรอบีรอห์ ของซาอุดีอาระเบีย ได้ออกมาแถลงเมื่อวันอังคาร(30มิ.ย.) ขอร้องให้คนชรา ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง และชาวมุสลิมที่ไม่แข็งแรงอื่นๆ เลื่อนการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะออกไปก่อน ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียกำลังพยายามป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่ระบาดออกไปขนานใหญ่
ในแต่ละปีชาวมุสลิมประมาณ 3 ล้านคนจากกว่า 160 ประเทศมุ่งสู่นครเมกกะเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ กลายเป็นหนึ่งในการรวมตัวทางศาสนาขนาดใหญ่ที่สุดของโลก สำหรับปีนี้ช่วงเวลาพิธีฮัจญ์เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้นชาวมุสลิมยังสามารถเดินทางไปแสวงบุญยังเมืองเมกกะในช่วงอื่นๆ ของปี แต่จะเรียกกันว่า “อุมเราะห์”
“พวกผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คนชรา, ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง, เด็กๆ , และสตรีมีครรภ์ ควรเลื่อนแผนการประกอบพิธีฮัจญ์ออกไปก่อนเพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง” รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกกับผู้สื่อข่าวที่เมืองเจดดาห์
เขายังเรียกร้องให้ผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ตลอดจนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เมื่อมีออกมาในช่วงต่อไปของปีนี้ ก่อนที่จะมาซาอุดีอาระเบีย ขณะเดียวกัน ทางด้านโฆษกกระทรวงแถลงเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมช่วยเหลือผู้แสวงบุญที่มีจำนวนมาก ซาอุดีอาระเบียจะเพิ่มยาทามิฟลูในสต็อกขึ้นเป็น 20% ซึ่งเป็นสองเท่าตัวของระดับที่องค์การอนามัยโลก(ฮู) แนะนำประเทศต่างๆ ให้เก็บสต็อกไว้
จนถึงเวลานี้ซาอุดีอาระเบียพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 81 ราย ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว รัฐมนตรีสาธารณสุขกล่าว ภายหลังการหารือเป็นเวลา 3 วันกับพวกผู้เชี่ยวชาญของฮูและองค์การอื่นๆ