ทีพีซี ไม่สนสมาชิกอีลิทการ์ดโวย ลั่นหั่นสิทธิประโยชน์รอบสอง เน้นกลุ่มผู้ถือบัตรราคา 1 ล้านบาทที่ได้รับบริการเสริมแบบ Unlimit เล็งยกเลิกระบบตัวแทนจำหน่าย อ้างตัวการทำปั่นป่วน ด้านแอคทีฟ รวมเอกสารร้องเรียนจากสมาชิกยื่น “ชุมพล”เดือนนี้
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในฐานะรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้อนุกรรมการฝ่ายกฎหมายไปดำเนินการตรวจสอบสัญญาที่ทำไว้กับสมาชิกอีลิทการ์ดกลุ่มแรกๆที่ซื้อสมาชิกในราคา 1 ล้านบาทเพื่อดูว่าจะสามารถเข้าไปแก้ไขสัญญา หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ได้หรือไม่
ทั้งนี้เตรียมปรับลดสิทธิประโยชน์สมาชิกในกลุ่มผู้ถือบัตรในราคา 1 ล้านบาท ซึ่งมีประมาณ 2,000 กว่าราย จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,570 ราย เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับสิทธิประโยชน์ใช้บริการได้อย่างไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งยังเป็นอายุบัตรตลอดชีพ เปลี่ยนมือได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยเบื้องต้นจะปรับให้สิทธิประโยชน์การรับบริการให้เท่ากับกลุ่มใหม่ ที่ซื้อบัตรมาในราคา 1.5ล้านบาท โดยจะได้สิทธิใช้กอล์ฟ สปา เฉลี่ยอย่างละ 24 ครั้ง ต่อปี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการให้บริการสมาชิกเหลือเพียง 25% ต่อเดือน หรือประมาณ 5 ล้านบาท จากปกติบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถึงเดือนละ 20 ล้านบาท เราจะคงสิทธิประโยชน์หลักๆไว้ คือ วีซ่า 5 ปี และฟาสต์แทรก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจะเสนอแผนปรับลดสิทธิประโยชน์รอบสองนี้ต่อที่ประชุมบอร์ดอีลิทกลางเดือนนี้ แต่จะเริ่มใช้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีว่าให้อีลิทการ์ดเดินหน้าโครงการต่อไปได้
“ที่เราเริ่มปรับลดสิทธิประโยชน์สมาชิกไปบ้างแล้ว เช่น เปลี่ยนรถลีมูซีนจาก บีเอ็มดับเบิ้ลยู มาเป็นโตโยต้า คัมรี่ และ การงดให้ผู้ติดตามเข้ามาใช้บริการเลาจ์ที่สนามบิน ซึ่งก็มีเสียงต่อว่าเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งเราก็มีเหตุผลชี้แจงให้สมาชิกทราบแล้ว”
นายอุดม กล่าวอีกว่า ประมาณเดือนสิงหาคมนี้ จะนำเสนอแนวทางเลือกให้กับอีลิทการ์ด ต่อที่ประชุมบอร์ด ททท. ก่อนนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้รับทราบและพิจารณา เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ตัดสินใจเป็นลำดับต่อไป โดยจะมีประมาณ 4 แนวทางเลือก ได้แก่ 1.ปรับโครงสร้างบริษัท ซึ่งจะรวมถึงการปรับลดจำนวนพนักงานด้วย 2. แปรรูปโดยจำหน่ายหุ้นให้แก่เอกชนที่สนใจ 3.เลิกกิจการ แต่โอนภาระกิจให้ ททท.เป็นผู้ดูแลต่อ และ 4. เลิกกิจการโดยสิ้นเชิง แต่มี 2 วิธีการ คือ เลิกโดยคืนเงินทั้งหมดให้แก่สมาชิก หรือเลิกแต่หักค่าใช้บริการตามจริงและคืนเงินส่วนที่เหลือให้แก่สมาชิก
***เตรียมยกเลิกตัวแทนจำหน่าย***
สำหรับเบื้องต้นจะยกเลิกตัวแทนจำหน่าย แล้วใช้สำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ รวมถึงทีมไทยแลนด์ เป็นหน้าร้าน และผู้ทำตลาดให้ เพราะที่ผ่านมาปัญหาอีลิทที่ปั่นป่วนขณะนี้มองว่าเพราะตัวแทนจำหน่ายที่มุ่งจะขายบัตรสมาชิกเพื่อหวังค่าคอมมิชชั่น ด้วยการไปโฆษณาสิทธิประโยชน์ที่จะได้จนทำให้ต้นทุนบริการของอีลิทการ์ดพุ่งสูงไปมาก และสมาชิกบางรายก็มีที่พำนักถาวรในประเทศไทย ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องปรับออกเช่นกัน
***แอคทีฟเล็งส่งเรื่อถึง “ชุมพล”*****
นางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอคทีฟ ตัวแทนจำหน่ายบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อีลิท การ์ด กล่าวว่า บริษัทเตรียมรวบรวมความเดือดร้อนของสมาชิกที่ร้องเรียนมาทั้งหมด ยื่นเสนอต่อ นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายในเดือนนี้ พร้อมกับถามหาความชัดเจนโครงการอีลิทการ์ดนี้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร
“ตอนนี้ภาพลักษณ์บัตรไทยแลนด์อีลิทไม่เหลือแล้วในสายตาชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ถือบัตร ที่ไม่เชื่อว่าองค์กรอีลิทจะอยู่ต่อไปได้ เพราะรัฐบาลสั่งชะลอโครงการ แต่หากมติ ครม.ให้เดินหน้าโครงการต่อก็คงต้องมีการปรับแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์กู้ภาพลักษณ์องค์กรอย่างหนักแต่ก็คงฟื้นยาก” นางสุนทรี กล่าว
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ ที่ปรึกษาระดับ 10 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ในฐานะรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้อนุกรรมการฝ่ายกฎหมายไปดำเนินการตรวจสอบสัญญาที่ทำไว้กับสมาชิกอีลิทการ์ดกลุ่มแรกๆที่ซื้อสมาชิกในราคา 1 ล้านบาทเพื่อดูว่าจะสามารถเข้าไปแก้ไขสัญญา หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ได้หรือไม่
ทั้งนี้เตรียมปรับลดสิทธิประโยชน์สมาชิกในกลุ่มผู้ถือบัตรในราคา 1 ล้านบาท ซึ่งมีประมาณ 2,000 กว่าราย จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,570 ราย เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับสิทธิประโยชน์ใช้บริการได้อย่างไม่จำกัดจำนวน อีกทั้งยังเป็นอายุบัตรตลอดชีพ เปลี่ยนมือได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยเบื้องต้นจะปรับให้สิทธิประโยชน์การรับบริการให้เท่ากับกลุ่มใหม่ ที่ซื้อบัตรมาในราคา 1.5ล้านบาท โดยจะได้สิทธิใช้กอล์ฟ สปา เฉลี่ยอย่างละ 24 ครั้ง ต่อปี ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการให้บริการสมาชิกเหลือเพียง 25% ต่อเดือน หรือประมาณ 5 ล้านบาท จากปกติบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถึงเดือนละ 20 ล้านบาท เราจะคงสิทธิประโยชน์หลักๆไว้ คือ วีซ่า 5 ปี และฟาสต์แทรก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจะเสนอแผนปรับลดสิทธิประโยชน์รอบสองนี้ต่อที่ประชุมบอร์ดอีลิทกลางเดือนนี้ แต่จะเริ่มใช้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีว่าให้อีลิทการ์ดเดินหน้าโครงการต่อไปได้
“ที่เราเริ่มปรับลดสิทธิประโยชน์สมาชิกไปบ้างแล้ว เช่น เปลี่ยนรถลีมูซีนจาก บีเอ็มดับเบิ้ลยู มาเป็นโตโยต้า คัมรี่ และ การงดให้ผู้ติดตามเข้ามาใช้บริการเลาจ์ที่สนามบิน ซึ่งก็มีเสียงต่อว่าเข้ามาจำนวนมาก ซึ่งเราก็มีเหตุผลชี้แจงให้สมาชิกทราบแล้ว”
นายอุดม กล่าวอีกว่า ประมาณเดือนสิงหาคมนี้ จะนำเสนอแนวทางเลือกให้กับอีลิทการ์ด ต่อที่ประชุมบอร์ด ททท. ก่อนนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้รับทราบและพิจารณา เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ตัดสินใจเป็นลำดับต่อไป โดยจะมีประมาณ 4 แนวทางเลือก ได้แก่ 1.ปรับโครงสร้างบริษัท ซึ่งจะรวมถึงการปรับลดจำนวนพนักงานด้วย 2. แปรรูปโดยจำหน่ายหุ้นให้แก่เอกชนที่สนใจ 3.เลิกกิจการ แต่โอนภาระกิจให้ ททท.เป็นผู้ดูแลต่อ และ 4. เลิกกิจการโดยสิ้นเชิง แต่มี 2 วิธีการ คือ เลิกโดยคืนเงินทั้งหมดให้แก่สมาชิก หรือเลิกแต่หักค่าใช้บริการตามจริงและคืนเงินส่วนที่เหลือให้แก่สมาชิก
***เตรียมยกเลิกตัวแทนจำหน่าย***
สำหรับเบื้องต้นจะยกเลิกตัวแทนจำหน่าย แล้วใช้สำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ รวมถึงทีมไทยแลนด์ เป็นหน้าร้าน และผู้ทำตลาดให้ เพราะที่ผ่านมาปัญหาอีลิทที่ปั่นป่วนขณะนี้มองว่าเพราะตัวแทนจำหน่ายที่มุ่งจะขายบัตรสมาชิกเพื่อหวังค่าคอมมิชชั่น ด้วยการไปโฆษณาสิทธิประโยชน์ที่จะได้จนทำให้ต้นทุนบริการของอีลิทการ์ดพุ่งสูงไปมาก และสมาชิกบางรายก็มีที่พำนักถาวรในประเทศไทย ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งกลุ่มนี้จะต้องปรับออกเช่นกัน
***แอคทีฟเล็งส่งเรื่อถึง “ชุมพล”*****
นางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท แอคทีฟ ตัวแทนจำหน่ายบัตรสมาชิกไทยแลนด์ อีลิท การ์ด กล่าวว่า บริษัทเตรียมรวบรวมความเดือดร้อนของสมาชิกที่ร้องเรียนมาทั้งหมด ยื่นเสนอต่อ นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายในเดือนนี้ พร้อมกับถามหาความชัดเจนโครงการอีลิทการ์ดนี้ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร
“ตอนนี้ภาพลักษณ์บัตรไทยแลนด์อีลิทไม่เหลือแล้วในสายตาชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ถือบัตร ที่ไม่เชื่อว่าองค์กรอีลิทจะอยู่ต่อไปได้ เพราะรัฐบาลสั่งชะลอโครงการ แต่หากมติ ครม.ให้เดินหน้าโครงการต่อก็คงต้องมีการปรับแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์กู้ภาพลักษณ์องค์กรอย่างหนักแต่ก็คงฟื้นยาก” นางสุนทรี กล่าว